Skip to main content

เรียบเรียงจาก Sarah Leonard. 2006. “pornography and obscenity.” In Palgrave Advances in the Modern History of Sexuality, edited by Matt Houlbrook and Harry Cocks, 180-205. London: Palgrave Macmillan.

แปลและเรียบเรียงโดย orgasmography

 

งานศึกษาสื่อเชิงสังวาสในคริสต์ทศวรรษ 1960 (1960s scholarship)

ภายใต้แรงกระตุ้นเร้าที่จะจำแนกแจกแจงและบันทึกรายการในแบบศตวรรษที่สิบเก้า มันจึงไม่ใช่เรื่องน่าประหลาดใจอะไรที่งานศึกษาประวัติศาสตร์สื่อโป๊/สื่อเชิงสังวาสชิ้นสำคัญชิ้นแรกๆ จะมาจากโลกของนักสะสมหนังสือและบรรณารักษ์

ในช่วงต้นทศวรรษ 1960 ผู้ประกอบอาชีพบรรณารักษ์และนักบรรณานุกรม (bibliographer) David Foxon ได้ตีพิมพ์ความเรียงชุดหนึ่งที่มีเนื้อหาว่าด้วยประวัติศาสตร์ของสิ่งที่ตัวเขาเรียกชื่อว่า “วรรณกรรมอันไร้ศีลธรรมจรรยา” (libertine literature) กล่าวได้ว่าความเรียงเหล่านี้มีบทบาทสำคัญในการเปิดความสนใจให้กับวรรณกรรมในยุคดังกล่าว[i] Foxon อธิบายความคิดที่ปรากฏขึ้นมาในการค้นคว้างานเขียนในศตวรรษที่สิบเจ็ดเหล่านี้ไว้ว่า

สิ่งที่สำคัญที่สุดและเป็นการค้นพบที่คาดไม่ถึงจากการศึกษานี้ก็คือ การที่สื่อเชิงสังวาสดูเหมือนจะเติบโตจนถึงขึ้นสุกงอมโดยใช้เวลาเพียงไม่นานในช่วงกลางศตวรรษที่สิบเจ็ด ... มันดูเหมือนจะแสดงให้เห็นว่า ผู้ชายจำนวนมากยังคงไม่เปลี่ยนแปลงในเรื่องความลุ่มหลงทางกามารมณ์ (erotic preoccupations) กระนั้นก็ตาม รูปแบบที่เรื่องราวของความรู้สึกเชิงกามารมณ์ได้รับการแสดงออกนั้นก็แตกต่างกันอย่างมาก และในช่วงเวลานี้เองที่เรื่องเพศถูกทำให้เป็นเรื่องเชิงวิชาการ/ความรู้ (intellectualized) ไม่มากก็น้อย

Foxon ยืนยันด้วยว่าสื่อเชิงสังวาสนั้นเป็นสิ่งที่มีประวัติศาสตร์ กล่าวคือ รูปแบบการนำเสนอและประเด็นสำคัญที่เป็นใจกลางนั้นมีการเปลี่ยนแปลงข้ามเวลา และที่สำคัญไปกว่านั้น Foxon พยายามเสนอว่า สื่อเชิงสังวาสนี้จะเป็นสิ่งที่ช่วยแสดงให้เห็นถึง “ทัศนคติอันไม่เปิดเผยของแต่ละช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์ที่แตกต่างกันออกไป”[ii]

ข้อเสนอที่ยังไม่สมบูรณ์ในขณะนั้นของ Foxon (ซึ่งได้รับการพัฒนาต่อมาโดยนักประวัติศาสตร์คนอื่นๆ) มีอยู่ว่า ศตวรรษที่สิบเจ็ดเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของประวัติศาสตร์วรรณกรรมอัน “ไร้ศีลธรรมจรรยา” นี้ ในงานชิ้นนี้ นับเป็นครั้งแรกที่มองประวัติศาสตร์ของสื่อเชิงสังวาสด้วยกรอบว่าด้วยประวัติศาสตร์ของภาวะสมัยใหม่ กล่าวคือ การทำให้เรื่องเพศกลายเป็นเรื่องเชิงวิชาการในศตวรรษที่สิบเจ็ดนั้นก็เป็นไปภายใต้สภาวการณ์ที่ความสนใจในเรื่องร่างกายของมนุษย์ขยายตัวขึ้น

ในการที่นักประวัติศาสตร์คนอื่นๆ พยายาม “เขียน” ประวัติศาสตร์ของสื่อโป๊เชิงสังวาส ศตวรรษที่สิบเจ็ดจึงเป็นจุดสนใจของการศึกษาวิจัยอย่างต่อเนื่อง ด้วยเหตุที่ว่า กรอบคิดว่าด้วยเรื่องเกี่ยวกับเพศนั้นก่อตัวขึ้นภายใต้การประสานเชื่อมโยงกันของความรู้/อุดมการณ์ต่างๆ ในแบบศตวรรษที่สิบเจ็ด ไม่ว่าจะเป็น วิทยาศาสตร์, ปรัชญา, กรอบคิดวัตถุนิยม, และการวิพากษ์วิจารณ์ศาสนจักร กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ สำหรับ Foxon แล้ว ความเป็นประวัติศาสตร์ของภาวะสมัยใหม่กับวิวัฒนาการของสื่อลามกอนาจาร (obscenity) นั้นน่าจะส่งอิทธิพลต่อกันไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง

นอกจากนั้น Foxon ยังเสนอให้มองสื่อลามกอนาจารอย่างเป็นประวัติศาสตร์ในแนวทางที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือความสนใจที่เพิ่งก่อตัวขึ้นมาใหม่ในการศึกษาสื่อโป๊ในหมู่นักวิชาการนั้นเกี่ยวพันอยู่กับกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางสังคมของโลกร่วมสมัยในขณะนั้น ดังที่เขาเห็นว่าความสนอกสนใจในความรู้เชิงจิตวิทยาที่เพิ่มมากขึ้นจะช่วยให้ สามารถมองสื่อเชิงสังวาสอย่างเป็นเหตุเป็นผลได้มากขึ้น อีกทั้งเพื่อที่จะสืบสาวกลับไปยังกำเนิดและความเกี่ยวเนื่องต่างๆ ของงานเขียนเชิงเพศเหล่านี้อย่างที่แยกตัวเองออกจากอารมณ์ความรู้สึกมากขึ้น ทั้งนี้ ยังกล่าวได้ว่า สำหรับ Foxon และรวมถึงคนอื่นๆ ในทศวรรษ 1960 ต่างก็เชื่อมโยงอย่างเป็นนัยๆ ระหว่างการศึกษาประเด็น “ต้องห้าม” (taboo) อย่างสื่อโป๊เปลือยเชิงสังวาสนี้เข้ากับเรื่องการเมืองของการปลดปล่อย

อีกเพียงไม่กี่ปีหลังจากที่ความเรียงของ Foxon ตีพิมพ์ ในปี ค.ศ. 1966 Steven Marcus ก็ตีพิมพ์หนังสือ The Other Victorians หนังสือซึ่ง Marcus นำเสนอประวัติศาสตร์ที่ “ถูกละเลย” ของสังคมอังกฤษยุควิคตอเรียน อันหมายถึง “วัฒนธรรมย่อยในเชิงเพศ” (sexual subculture) ไม่ว่าจะเป็นเรื่องโสเภณี, สื่อโป๊เปลือยเชิงสังวาส, และความสำส่อนทางเพศ (promiscuity) ที่ดำรงอยู่ร่วมกันในยุคสมัยแห่งวิทยาศาสตร์, กรอบคิดว่าด้วยชีวิตในเหย้าเรือน (domesticity), และเศรษฐศาสตร์เสรีนิยม ในงานชิ้นดังกล่าว Marcus ใช้และนำเสนอหลักฐานทั้งจากบันทึกของผู้คนและนวนิยายที่มีลักษณะเชิงสังวาสเพื่อจะเปิดโปงทัศนคติว่าด้วยร่างกาย, เรื่องเกี่ยวกับเพศ, และธรรมชาติของความปรารถนาทางเพศของทั้งผู้ชายและผู้หญิง นอกจากนั้น Marcus ยังทุ่มเทศึกษางานของ Ashbee[iii] งานซึ่ง Marcus อธิบายว่าเป็นงานรวบรวมจัดทำบรรณานุกรมในภาษาอังกฤษชิ้นแรกที่มุ่งศึกษางานเขียนที่มีลักษณะเชิงสังวาสหรือเกี่ยวพันกับเรื่องทางเพศ[iv]

สำหรับ Marcus แล้ว การศึกษาวัฒนธรรมย่อยในทางเพศนั้นต้องการวิธีการทางมานุษยวิทยา กล่าวคือ เขาเห็นว่า อุปลักษณ์, ทัศนคติ, ตลอดจนความรู้ความเข้าใจว่าด้วยเรื่องที่เกี่ยวกับเพศ, ร่างกาย, และเพศภาวะ (ในวัฒนธรรมย่อยทางเพศนั้น) มีลักษณะที่แตกต่างในระดับรากฐานไปจากสังคมของตนเอง ดังนั้น การจะทำความเข้าใจโลกอีกแบบหนึ่งนั้นจึงทำได้ในลักษณะเดียวกับการทำความเข้าใจสังคมอื่น

งานเขียนชิ้นดังกล่าวของ Marcus นับได้ว่ามีความสำคัญหลายประการด้วยกัน ประการแรก Marcus ยืนยันว่าเรื่องเกี่ยวกับเพศเป็นเรื่องที่มี/เป็นประวัติศาสตร์ เขาผลักข้อเสนอนี้ไปไกลกว่าคนอื่นก่อนหน้าด้วยการเสนอว่า ประวัติศาสตร์ของเรื่องเกี่ยวกับเพศนี้เกี่ยวพันอยู่กับทัศนวิสัยในเชิงเศรษฐกิจ, ต่อความเป็นบุคคลของมนุษย์ (human subject), และต่อตัวแบบว่าด้วยร่างกายมนุษย์ในเชิงการแพทย์ หรือกล่าวในอีกลักษณะหนึ่งได้ว่า ประวัติศาสตร์ว่าด้วยเรื่องเพศนั้นเชื่อมโยงกับบริบทและสถานที่เฉพาะ

ประการที่สอง งานของ Marcus มุ่งศึกษาหลักฐานที่ก่อนหน้านั้นไม่เคยได้รับความสนใจมาก่อนอย่างจริงจัง (ไม่ว่าจะเป็น บทบันทึกเรื่องราวเชิงสังวาส, วรรณกรรมโป๊เปลือยเชิงสังวาส, วรรณกรรมที่นำเสนอการเฆี่ยนตีร่างกาย, ตลอดจนการรวบรวมรายการ/บรรณานุกรมหนังสือของกลุ่มคนรัก-เล่นหนังสือในศตวรรษที่สิบเก้า) เพื่อที่จะสร้างความเข้าใจอย่างลึกซึ้งต่อประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของสังคมอังกฤษยุควิคตอเรียน ภายใต้ความพยายามดังกล่าวนั้น ข้อเสนอของเขาที่ว่า วรรณกรรมในลักษณะนี้เป็นขุมทรัพย์สำคัญที่จะค้นคว้าสืบสาวเรื่องราวหรือข้อมูลที่เกิดขึ้นในอดีต/เกี่ยวกับอดีต จึงฟังขึ้นเป็นอย่างมาก

งานศึกษาสื่อเชิงสังวาสและวัฒนธรรมทางเพศของ Marcus จึงเป็นงานที่สำคัญมากในขณะนั้น โดยเฉพาะในฐานะที่เสนอว่าเรื่องเกี่ยวกับเพศหรือเพศวิถีนั้นเป็นสิ่งที่มี/เป็นประวัติศาสตร์ ไม่เพียงแต่เท่านั้น ความสำคัญของงานของ Marcus ยังอยู่ตรงที่การพยายามเชื่อมโยงประวัติศาสตร์ของสื่อเชิงสังวาสเข้ากับประเด็นที่ถือกันว่าเป็นเรื่อง “สำคัญๆ” ไม่ว่าจะเป็น เรื่องทางการแพทย์, ทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์, ทัศนะต่อตัวตนของมนุษย์และสังคม ที่สำคัญ Marcus ใช้หลักฐานที่นักวิชาการน้อยคนเฝ้าฝันว่าจะไป “แตะต้อง” ทั้งยังเป็นการแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของความพยายามเก็บรวบรวมและจำแนกแยกแยะ (ข้อมูลความรู้ต่างๆ) ที่ริเริ่มกันมาตั้งแต่ในช่วงศตวรรษที่สิบแปด

 

โป๊ศาสตร์ พิศวาสความรู้คู่กามรมณ์


[i] ความเรียงชุดนี้ชื่อว่า “Libertine Literature in England, 1660–1745.” ตีพิมพ์เป็นตอนๆ ในวารสาร The Book Collector ปีที่ 12 ฉบับที่ 1, 2 และ 3 (ค.ศ. 1963); ทั้งนี้ วารสารดังกล่าวยังคงตีพิมพ์จนถึงปัจจุบัน โปรดดู http://www.thebookcollector.co.uk – ผู้แปล

[ii] ข้อความภาษาอังกฤษมีอยู่ว่า “unacknowledged attitudes of different periods.” ใน David Foxon, Libertine Literature in England, 1660-1745 (New Hyde Park, New York: University Books, 1965), p. ix.

[iii] Henry Spencer Ashbee นักสะสมหนังสือ, นักเขียน, และนักบรรณานุกรมคนสำคัญที่ทำการรวบรวมหนังสือเชิงเร้ากามารมณ์และเชิงสังวาส ดู http://en.wikipedia.org/wiki/Henry_Spencer_Ashbee - ผู้แปล

[iv] Steven Marcus, The Other Victorians: A Study of Sexuality and Pornography in Mid-Nineteenth-Century England (London: Weidenfeld and Nicolson, 1966).

 

บล็อกของ กลุ่มนักโป๊ศาสตร์

กลุ่มนักโป๊ศาสตร์
 โดย ฮิโตมิโตกูฉะดะ
กลุ่มนักโป๊ศาสตร์
โดย ฮิโตมิโตกูฉะดะ
กลุ่มนักโป๊ศาสตร์
โดย ฮิโตมิโตกูฉะดะ
กลุ่มนักโป๊ศาสตร์
เอวีรีวิวหนังเอวีแนวเพื่อนรักเพื่อน
กลุ่มนักโป๊ศาสตร์
โดย ฮิโตมิโตกูฉะดะ
กลุ่มนักโป๊ศาสตร์
 โดย : ฮิโตมิโตกูฉะดะ
กลุ่มนักโป๊ศาสตร์
โดย : ฮิโตมิโ
กลุ่มนักโป๊ศาสตร์
ในขณะที่เรากำลังพยายามรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับโป๊ศาสตร์ ก็อยากให้ blog นี้เป็นพื้นที่เผยแพร่ความรู้ในศาสตร์อื่นๆ โดยเฉพาะ อาชญาวิทยา (criminology) ด้วย จึงขอนำบทความเรื่อง "อาชญากรรมในที่ทำงาน" ของ กฤษฎา แสงเจริญทรัพย์ มาเผยแพร่ด้วย และต่อจากนี้ blog นี้จะมีทั้งเนื้อหาเกี่ยวกับโป๊ศาสตร์ และอาชญาวิทย
กลุ่มนักโป๊ศาสตร์
กลุ่มนักโป๊ศาสตร์
ได้มีโอกาสมาฮ่องกง เดินผ่าน "ร้านผู้ใหญ่" เลยแวะสำรวจหน่อยนึง ทั้งนี้เพื่อการศึกษาล้วนๆ for academic purpose
กลุ่มนักโป๊ศาสตร์
ญี่ปุ่นถือเป็นมหาอำนาจประเทศหนึ่งของโลกด้านการผลิตสื่อโป๊ จนถือได้ว่าได้สร้างหนังโป๊ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวขึ้นเรียกว่า “หนัง AV” ขึ้นมาทาบรัศมีของสื่อโป๊ที่ผลิตโดยประเทศตะวันตกที่เรียกว่า “porn” (อาจเปรียบเทียบได้กับในวงการการ์ตูนที่ถ้าบอกว่า manga คนส่วนใหญ่จะนึกถึงการ์ตูนญี่ปุ่น ในขณะที่ comics