Skip to main content
10_9_02


พ่อหมื่นแก่ฝายคนสุดท้าย นัดพบที่หน้าฝายพญาคำ ในวันเสาร์ที่ 13 กันยายน เวลา 10.00 . ร่วมทำพิธีสืบชะตาอีกครั้ง


ชาวบ้านยอมให้มีการสร้างประตูระบายน้ำแล้ว แต่มีข้อแม้ว่า ห้ามทุบห้ามรื้อฝายโบราณทั้งสามฝาย หรือทดลองใช้ประตูระบายน้ำก่อนสองปี ว่าสามารถทดน้ำเข้าเหมืองเพื่อส่งเลี้ยงไร่นาได้หรือไม่ คือให้ลองดูว่าประตูน้ำทำหน้าที่แทนฝายหินทิ้งเก่าแก่ได้ดีแค่ไหน


การจัดการน้ำด้วยระบบเหมืองฝายจะถูกเปลี่ยนมือ จากการจัดการโดยชาวบ้านในระบบแก่ฝายมาเป็นจัดการโดยรัฐชลประทาน


ชาวบ้านผู้ใช้น้ำคิดอย่างไรถึงยินยอมทั้งที่ยื้อกันมานาน ถ้านับตั้งแต่ช่วงแรกที่จะมีการรื้อก็เกือบสิบปีแล้ว

10_9_02

 
ในช่วงแรกนี้มีเหตุผลชัดเจนคือจะเปิดทางเพื่อการท่องเที่ยวล่องเรือสำราญ แต่ไม่สามารถทำได้เหตุผลไม่พอ ต่อมาเมื่อน้ำท่วมเมืองเชียงใหม่ในปี
48 การรื้อฝายกลับมาอีก หาเรื่องใหม่ว่ารื้อฝายเพื่อป้องกันน้ำท่วมเพราะฝายหินทิ้งในแม่น้ำปิง ขวางทางน้ำทำให้น้ำไหลไม่สะดวก


ผู้ใช้น้ำจากระบบเหมืองฝาย ก็ยกเหตุผลขึ้นมากล่าวว่า ฝายหินทิ้งน้ำผ่านได้ตามร่องหินและเมื่อน้ำท่วมฝายก็อยู่ใต้น้ำ


สาเหตุที่น้ำท่วมเมืองเชียงใหม่มีมากมายไม่ใช่ฝายและฝายมีความจำเป็นสำหรับทดน้ำเข้าไปใช้เพื่อการเกษตรทั้งในลำพูน และเชียงใหม่ อีกทั้งมีมานานตั้งแต่เริ่มมีเมืองเชียงใหม่นั้นแหละ เขาใช้ระบบเหมืองฝาย ถือเป็นภูมิปัญญาเดิมและมีกฎหมายมังรายศาสตร์รองรับด้วย คราวนี้ผู้จะทุบฝายก็มีเรื่องใหม่มานำเสนอนั่นคือ ทำประตูระบายน้ำเพื่อการเกษตร


คำถามคือเราจะจ่ายเงินห้าร้อยล้านเพื่อทำประตูน้ำเพื่อการเกษตรทำไม ในเมื่อฝายเก่าใช้ได้อยู่ เอาเงินภาษีของประชาชนมาผลาญเพื่อใคร ใครได้ใครเสีย มันคุ้มกันไหม


คราวนี้สำนักงานชลประทานกับสำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดออกทำการประชาสัมพันธ์ทำความเข้าใจกับประชาชน 7 ครั้ง และในที่สุดสรุปว่า ชาวบ้านยินยอมแล้วออกแถลงข่าวเลย


ชาวบ้านส่วนหนึ่งบอกว่า ที่ยินยอมก็เพราะเหนื่อยและเบื่อมาก ๆ สู้กันมาตั้งสี่ห้าปี และที่แน่ ๆ พวกเขาอยากสร้างจริงๆ ที่เขามาพูด มาทำความเข้าใจก็เพื่อเขาจะสร้างนั่นแหละ หาความชอบธรรม เพราะอย่างไรเขาก็สร้างอยู่แล้ว พวกเราเห็นสัญญาที่เขาทำกับบริษัทรับเหมาแล้ว และในสัญญาก็ระบุว่า โครงการสร้างประตูระบายน้ำและรื้อฝาย

10_9_01 10_9_04

 

ผู้ช่วยแก่ฝาย พ่อหลวงสมบูรณ์ บอกว่า บริษัทแนะนำว่า ถ้าให้เขาสร้างอย่างเดียวไม่รื้อฝายก็ให้ทำจดหมายไปถึงสำนักชลประทานเขาจะไม่รื้อ


ว่าไปแล้วมันไม่มีความหมายอะไรหรอก เพราะเขาสร้างประตูน้ำเพื่อรื้อฝายอยู่แล้ว เป็นการหลอก ๆ ไปอย่างนั้น และในที่สุดการทำให้ฝายพังไม่ใช่เรื่องยาก


อีกอย่างหนึ่งความเดือดร้อนไม่ใช่แค่ผู้ใช้น้ำเท่านั้น คนอื่นๆ ก็เดือดร้อนด้วย เพราะระดับน้ำที่จะส่งไปเหนือสุดนั่นต้องใช้แรงดันสูง ดังนั้นพื้นที่ต่ำๆ ก็ถูกน้ำล้นออกมาำท่วมสองฝั่งที่อยู่ระดับต่ำ

หลังจากนั้นเขาก็จะแก้ปัญหาโดยการทำผนังคอนกรีต พวกที่เคยคัดค้านไม่เอาผนังกั้นแม่น้ำปิง ขอบอกว่า เมื่อประตูระบายน้ำมา พนังคอนกรีตก็จะกลับมา และเมืองเชียงใหม่ก็จะเกิดน้ำขังในช่วงฤดูฝนเพราะน้ำฝนไม่สามารถไหลผ่านพนังไปได้เกิดน้ำขังจนเน่า เมืองเชียงใหม่ก็จะเน่า ถึงตอนนั้นอาจจะมีโรคระบาดด้วย ดังนั้นถือว่าเราจะได้รับกันถ้วนหน้าที่เดียว และเชียงใหม่ก็จะไม่ใช่เมืองน่าอยู่อีกต่อไป ถึงตอนนั้นใครจะมาล่องเรือสำราญ อวสานกันถ้วนหน้า

ถ้าไม่ทำจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง ก็จะมีปัญหาคือ จะต้องมีการโดนปรับเพราะว่า มีงบประมาณมาแล้ว และมีการทำสัญญาว่าจ้างกันแล้ว


ในขณะเดียวกันพวกเขาลืมไปว่า ฝายภูมิปัญญาชาวบ้านนั้นมีค่ามหาศาลถ้าตีเป็นเงินนับพันล้านเหมือนกัน ถ้าตีราคาการก่อสร้างในช่วงนี้ ค่าแรงงานเท่าไหร่ อาจนับ 100 ล้าน ค่าหินเท่าไหร่ 


ลองสอบถามแก่ฝายดูแกว่า ฝายหนึ่งใช้ก้อนหินประมาณหนึ่งหมื่นก้อน คิดเป็นค่าหินเท่าไหร่ สามฝายสามหมื่นก้อน คิดราคาก้อนละพัน และค่าภูมิปัญญา (ออกแบบ) อีกเท่าไหร่ ดังนั้นพันล้านจึงไม่ถือว่ามากไป ข้อนี้จะฟ้องร้องใครได้บ้าง เช่นฟ้องศาลเพ่ง จัรับฟ้องค่าเสียหายไหม


มีผู้ยินยอมเพราะเบื่อหน่าย เสียทั้งเงินทั้งเวลา บางคนไม่ได้เก็บลำไย เพราะมัวจะมาฟังบ้าง มายื่นหนังสือบ้าง ต่างจากหน่วยงานรัฐที่ได้เงินในการมาด้วย หรืออย่างน้อยก็ได้เงินเดือน แต่ชาวบ้านยิ่งค้านยิ่งไม่ได้ทำงาน

ผู้ที่ยังไม่ยินยอมอันได้แก่ แก่ฝาย และคนเฒ่าคนแก่จำนวนหนึ่ง

พวกท่าน ๆ แก่ฝาย ผู้ช่วยแก่ฝาย และผู้ใช้น้ำ รวมทั้งคนเชียงใหม่ทั่วไป จะมาทำบุญสืบชะตาฝายกันอีกครั้ง รวมทั้งพิธีสาปแช่งด้วย มีการออกแถลงการณ์ ในวันที่ 13 กันยายนนี้ เวลา 10.00 . แก่ฝายคนสุดท้าย พ่อหมื่นนัดพบค่ะ ฝากผ่านเชิญสื่อมวลชนด้วยค่ะ



 

บล็อกของ แพร จารุ

แพร จารุ
มีคำกล่าวว่า "อาหารอายุสั้น คนกินอายุยืน อาหารอายุยืน คนกินอายุสั้น" แรกที่ฟังก็รู้สึกรำคาญคนพูดนิด ๆ เพราะเรากำลังกินอาหารอายุยืนแต่เราไม่อยากอายุสั้น สงสัยใช่ไหมคะว่าอาหารแบบไหนที่อายุยืน อาหารที่ปรุงแต่งมาเรียบร้อยแล้ว แช่ตู้ไว้ได้นานๆ นั่นคืออาหารอายุยืน กินกันได้นานๆ แช่ไว้ในตู้เย็น อาหารพวกนี้คนกินอายุสั้น แต่อาหารอายุสั้นก็พวกเห็ด ผักบุ้ง พวกเหล่านี้เป็นอาหารอายุสั้นอยู่ได้ไม่นาน แต่คนกินอายุยืน แต่เดี๋ยวนี้มีมะเขือเทศอายุยืนด้วยนะคะ เป็นพวกตัดต่อพันธุกรรมแบบให้ผิวแข็งไม่บอบช้ำในระหว่างขนส่ง
แพร จารุ
  1   เป็นนักเขียนมีความสุขไหม   วันหนึ่งฉันต้องตอบคำถามนี้ “เป็นนักเขียนมีความสุขไหม” ผู้ที่ถามคำถามนี้เป็นเด็กนักเรียนตัวเล็กๆ ชั้นประถมปีที่ 5 ฉันรู้สึกดีใจที่มีเด็กถามเรื่องความสุขมากกว่าเรื่องรายได้
แพร จารุ
ฉันห่างกรุงเทพฯ มานานจริงๆ นานจนไปไหนไม่ถูก ก่อนฟ้าสางรถทัวร์จอดตรงหัวมุมถนน ฉันเดินตรงเข้าไปทางถนนข้าวสารตามพื้นถนนแฉะ หาที่นั่งรอหลานมารับแต่ก็หาไม่ได้ พื้นแฉะ ๆ ผู้คนกำลังล้างพื้นกันอยู่ จึงตัดสินใจ เดินออกจากถนนข้าวสารมุ่งตรงไปทางกองฉลากกินแบ่งรัฐบาล มีคนจรนอนห่มผ้าเก่า ๆ อยู่มากมาย ตามทางเดิน  
แพร จารุ
มีเพื่อนอย่างน้อยสองคนตกหล่นไปจากชีวิต ทั้งที่ก่อนหน้านั้นเราเขียนจดหมายคุยกันอยู่เสมอ ๆ ต่อมาฉันเลิกตอบจดหมายเพื่อนทั้งสองคน 
แพร จารุ
2 กันยายน 2552 นั่งกินมะขามหวานเพลิน ๆ มะขามก็เปรี้ยวขมขึ้นมาทันที เพื่อนโทรมาบอกว่า เธอไปที่โรงพยาบาลนครพิงค์ ได้ยินเสียงตามสายที่ รพ.ขอบริจาคเงินช่วยเหลือเด็กชาวเขาที่แม่มาคลอดตายที่โรงพยาบาล “แม่มาคลอดตายที่โรงพยาบาล แสดงว่าเธอตายระหว่างคลอด” เพื่อนตอบว่าใช่ “เด็กยังอยู่รอดปลอดภัย” “ใช่”    
แพร จารุ
"อะไรเอ่ยมันโผล่ขึ้นมาจากดิน" คำถามเล่น ๆ ของเด็ก ๆ สมัยก่อนเราจะตอบว่า ขอม เพราะเคยเรียนเรื่องพระร่วง  ตอนขอมดำดิน แต่ เดี๋ยวนี้ถ้าไปตอบว่า "ขอม" เด็กไม่เข้าใจ
แพร จารุ
1 วันก่อนไปท่ากาน (ท่ากานเป็นหมู่บ้านหนึ่ง ในอำเภอสันป่าตอง เชียงใหม่ ) พบเด็ก หญิงสองคน เอาก้านกล้วยมาแกว่งไปมากระโดดเล่นกัน ดูน่ารักดี เป็นการเล่นแบบหาของใกล้ตัวมาเล่นกัน
แพร จารุ
10 กันยายน 2552 น้องคนหนึ่งโทรศัพท์มาบอกว่า “มีเรื่องตลกเศร้ามาเล่าให้ฟัง” ฉันหัวเราะ ไม่อยากฟังเธอเล่าอะไรเลยเพราะกำลังเจ็บหูอย่างแรง กำลังจะไปหาหมอ แต่เธอรีบบอกก่อนว่า “พี่ยังไม่รู้ใช่ไหม ลุงหมื่นแกฝายพญาคำ กับพ่อหลวงสมบูรณ์ ผู้ช่วยแกฝาย เขาเซ็นยินยอมให้กรมชลประทานสร้างประตูระบายน้ำแล้ว”
แพร จารุ
   บก.สุชาติ สวัสดิ์ศรี เทียบเชิญฉันเขียนเรื่องสั้น ช่อการะเกด ฉบับเทียบเชิญนักเขียนเก่าที่เคยเขียนช่อการะเกด
แพร จารุ
เธอนิ่งเงียบหลังจากกินอาหารเสร็จ "เศร้าทำไม" ฉันถามเธอ "กำลังดูกระถางต้นไม้อยู่" เธอตอบไม่ตรงกับคำถาม ฉันมองไปที่กระถางต้นไม้ มีอะไรตายอยู่ในนั้นที่ทำให้เธอเศร้า หรือว่าเศร้าที่ต้องมากินอาหารใต้ที่เมืองเหนือทั้งที่เธอเพิ่งเดินทางมาจากสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
แพร จารุ
 ผู้ชายคนหนึ่ง เลี้ยงปลวกเพื่อเอาปลวกไปเลี้ยงปลาดุก เขาบอกว่า เขาเฝ้ามองปลวกตัวอ้วน ๆ ที่ค่อยเติบโตขึ้น และเอาปลวกไปให้ปลาดุกกิน เขาอธิบายตัวเองว่าเป็นวิถีแห่งสัตว์โลก วิธีการใช้ชีวิตให้อยู่รอดฉันแค่สะดุดใจตรงที่เลี้ยงดูเขาไว้ก่อนแล้วค่อยจัดการ ฉันคิดว่า ถ้ามันกินกันเองตามวิถีชีวิตไม่เป็นไรฉันคิดถึงถ้อยคำหนึ่ง จำไม่ได้แล้วว่า ใครพูด "เขารัก...เหมือนคนเลี้ยงหมูรักหมูที่เลี้ยงไว้" นั่นหมายถึงรักและดูแลอย่างดีเพื่อเอาไว้ฆ่าและขาย
แพร จารุ
1  ฉันเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับความตายครั้งแรกเมื่อพ่อตายจากไป ในวันที่แม่ พี่ ๆและ ญาติ ๆ ต่างช่วยกันจัดงานให้พ่อ ผู้หญิงเตรียมอาหาร ปอกหอมกระเทียม เด็ดก้านพริกขี้หนู หั่นตะไคร้ ผู้ชายเตรียมไม้ฟืนเพื่อทำอาหาร หุงข้าว ต้มแกง ต้องหุงข้าวด้วยกระทะใบใหญ่  ต้องทำอาหารจำนวนมากในเวลาหลายวัน เรามีญาติเยอะ มีเพื่อนบ้าน และคนรู้จักมากมาย เพราะเราไม่ได้มีพ่อที่ดีต่อลูกเท่านั้นแต่มีพ่อที่ดีต่อผู้อื่นด้วย