Skip to main content

พื้นที่ป่าในประเทศไทย เป็นพื้นที่ที่มีคนอาศัยอยู่ก่อนแล้ว โดยเฉพาะชุมชนชาวเขาทั้งหลายที่อาศัยก่อน ต่อมาพื้นที่ป่าก็ถูกประกาศเป็นพื้นที่ในเขตอุทยานแห่งชาติ หลายแห่งที่พยายามเอาคนออกจากป่า ตัวอย่างการย้ายคนออกจากพื้นที่เดิมมีอยู่หลายแห่ง ซึ่งส่งผลกระทบต่อชีวิตผู้คนที่ถูกย้ายและสังคมโดยรวมเป็นอย่างมาก เพราะทำให้เกิดปัญหาการย้ายถิ่นจากชนบทสู่เมือง การอพยพแรงงาน และปัญหาอื่นๆ ติดตามมาอีกมากมาย ทางออกหนึ่งก็คือการสนับสนุนให้คนที่อยู่ในป่าได้อยู่ในพื้นที่เดิมและดูแลป่าด้วยดังนั้น การทำความเข้าใจ ให้คนอยู่กับป่าได้และดูแลป่า น่าจะเป็นทางเลือกที่ดี


มีคำถามว่า คนที่อยู่ในป่าเขาควรจะได้ใช้ทรัพยากรหรือไม่


ทรัพยากรเป็นสิ่งที่ต้องใช้ ทุกคนต่างใช้ทรัพยากรธรรมชาติกันทั้งนั้น ไม่ว่าคุณจะอยู่ตรงไหนของประเทศ แต่จะใช้อย่างไรให้ยั่งยืน หรือใช้อย่างไรไม่ให้หมด นี่เป็นคำถามที่ทุกคนต้องตอบ


เช่นเดียวกับคนที่อยู่ในป่า เขาก็ต้องใช้ประโยชน์จากป่า เราจะให้เขาเฝ้าป่าอยู่เฉยๆ ได้อย่างไร ป่าจึงต้องมีไว้กิน


ทุกชีวิตต้องอยู่รอด ต่างพยายามดิ้นรนเพื่อความอยู่รอด อย่างเช่นการเข้าป่าเพื่อไปล่าสัตว์ หรือการนำนักท่องเที่ยวเข้าไปล่าสัตว์ป่า ตลอดจนการบุกเบิกป่าเพื่อเปิดพื้นที่ทำกินเพิ่มขึ้น ก็เป็นส่วนหนึ่งของการยังชีพเพื่อการอยู่รอด


หากศึกษาเรื่องราวที่เกี่ยวกับชีวิตอย่างใช้ความเข้าใจเราก็จะพบว่า มีปัจจัยต่าง ๆ อีกมากมายที่เราต้องทำความเข้าใจและเอื้อเฟื้อต่อกันเพื่อการอยู่ร่วมในสังคมที่เป็นสุข

 

หมู่บ้านในดอยอินทนนท์

ที่ดอยอินทนนท์มีหมู่บ้านอยู่หลายหย่อมบ้าน เป็นหมู่บ้านเล็กๆ แยกออกมาเป็นหย่อมๆ หมู่บ้านที่ฉันเดินทางไปในปี 2551 ชื่อหมู่บ้านตีนผา



หมู่บ้านตีนผา

 

มารู้จักหมู่บ้านตีนผากันก่อน

หมู่บ้านตีนผา เดิมชื่อหมู่บ้าน ห้วยห้อม เพราะมีลำห้วยและเครือห้อมอยู่มากมาย ห้อมใช้สำหรับย้อมผ้า แรกเริ่ม มีคนอยู่ด้วยกันไม่มากนัก เพียงสามหลังคาเรือน ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นหมู่บ้านผาล้อม ที่ได้ชื่อหมู่บ้านผาล้อมเพราะมีแต่หน้าผาล้อมเอาไว้ ทุกครอบครัวเลี้ยงชีพด้วยการทำไร่หมุนเวียนเท่านั้น

 


แปลงผักของพ่อ


ต่อมาหมู่บ้านนี้ได้ชื่อใหม่อีกครั้งว่า “บ้านตีนผา”
บ้านตีนผา มีผู้คนมากขึ้น เพราะมีคนจากหมู่บ้านใกล้ๆ โยกย้ายเข้ามาอยู่ด้วย จำนวนหลังคาเรือนเพิ่มขึ้น ประชากรเพิ่มขึ้น และมีโบสถ์ ทุกวันนี้ผู้คนนับถือศาสนาคริสต์

 


ดอกไม้ริมทาง


ปัจจุบันที่หมู่บ้านตีนผา มี 43 ครอบครัว มีไฟฟ้าใช้ แต่ชาวบ้านตีนผาใช้แบบประหยัด ในบ้านใช้ไฟฟ้าเพียงดวงเดียว ไม่มีแม้แต่ไฟห้องน้ำ และยังคงหุงหาอาหารด้วยฟืนตามเดิม ในบ้านแต่ละหลังไม่มีเครื่องอำนวยความสะดวกที่ใช้ไฟฟ้าแต่อย่างใด หรือมีน้อยมาก และไม่เปิดไฟตามถนน


นี่แสดงว่าชาวตีนผารู้จักพอเพียง คือรู้จักใช้เท่าที่จำเป็น

 

บล็อกของ แพร จารุ

แพร จารุ
มีคำกล่าวว่า "อาหารอายุสั้น คนกินอายุยืน อาหารอายุยืน คนกินอายุสั้น" แรกที่ฟังก็รู้สึกรำคาญคนพูดนิด ๆ เพราะเรากำลังกินอาหารอายุยืนแต่เราไม่อยากอายุสั้น สงสัยใช่ไหมคะว่าอาหารแบบไหนที่อายุยืน อาหารที่ปรุงแต่งมาเรียบร้อยแล้ว แช่ตู้ไว้ได้นานๆ นั่นคืออาหารอายุยืน กินกันได้นานๆ แช่ไว้ในตู้เย็น อาหารพวกนี้คนกินอายุสั้น แต่อาหารอายุสั้นก็พวกเห็ด ผักบุ้ง พวกเหล่านี้เป็นอาหารอายุสั้นอยู่ได้ไม่นาน แต่คนกินอายุยืน แต่เดี๋ยวนี้มีมะเขือเทศอายุยืนด้วยนะคะ เป็นพวกตัดต่อพันธุกรรมแบบให้ผิวแข็งไม่บอบช้ำในระหว่างขนส่ง
แพร จารุ
  1   เป็นนักเขียนมีความสุขไหม   วันหนึ่งฉันต้องตอบคำถามนี้ “เป็นนักเขียนมีความสุขไหม” ผู้ที่ถามคำถามนี้เป็นเด็กนักเรียนตัวเล็กๆ ชั้นประถมปีที่ 5 ฉันรู้สึกดีใจที่มีเด็กถามเรื่องความสุขมากกว่าเรื่องรายได้
แพร จารุ
ฉันห่างกรุงเทพฯ มานานจริงๆ นานจนไปไหนไม่ถูก ก่อนฟ้าสางรถทัวร์จอดตรงหัวมุมถนน ฉันเดินตรงเข้าไปทางถนนข้าวสารตามพื้นถนนแฉะ หาที่นั่งรอหลานมารับแต่ก็หาไม่ได้ พื้นแฉะ ๆ ผู้คนกำลังล้างพื้นกันอยู่ จึงตัดสินใจ เดินออกจากถนนข้าวสารมุ่งตรงไปทางกองฉลากกินแบ่งรัฐบาล มีคนจรนอนห่มผ้าเก่า ๆ อยู่มากมาย ตามทางเดิน  
แพร จารุ
มีเพื่อนอย่างน้อยสองคนตกหล่นไปจากชีวิต ทั้งที่ก่อนหน้านั้นเราเขียนจดหมายคุยกันอยู่เสมอ ๆ ต่อมาฉันเลิกตอบจดหมายเพื่อนทั้งสองคน 
แพร จารุ
2 กันยายน 2552 นั่งกินมะขามหวานเพลิน ๆ มะขามก็เปรี้ยวขมขึ้นมาทันที เพื่อนโทรมาบอกว่า เธอไปที่โรงพยาบาลนครพิงค์ ได้ยินเสียงตามสายที่ รพ.ขอบริจาคเงินช่วยเหลือเด็กชาวเขาที่แม่มาคลอดตายที่โรงพยาบาล “แม่มาคลอดตายที่โรงพยาบาล แสดงว่าเธอตายระหว่างคลอด” เพื่อนตอบว่าใช่ “เด็กยังอยู่รอดปลอดภัย” “ใช่”    
แพร จารุ
"อะไรเอ่ยมันโผล่ขึ้นมาจากดิน" คำถามเล่น ๆ ของเด็ก ๆ สมัยก่อนเราจะตอบว่า ขอม เพราะเคยเรียนเรื่องพระร่วง  ตอนขอมดำดิน แต่ เดี๋ยวนี้ถ้าไปตอบว่า "ขอม" เด็กไม่เข้าใจ
แพร จารุ
1 วันก่อนไปท่ากาน (ท่ากานเป็นหมู่บ้านหนึ่ง ในอำเภอสันป่าตอง เชียงใหม่ ) พบเด็ก หญิงสองคน เอาก้านกล้วยมาแกว่งไปมากระโดดเล่นกัน ดูน่ารักดี เป็นการเล่นแบบหาของใกล้ตัวมาเล่นกัน
แพร จารุ
10 กันยายน 2552 น้องคนหนึ่งโทรศัพท์มาบอกว่า “มีเรื่องตลกเศร้ามาเล่าให้ฟัง” ฉันหัวเราะ ไม่อยากฟังเธอเล่าอะไรเลยเพราะกำลังเจ็บหูอย่างแรง กำลังจะไปหาหมอ แต่เธอรีบบอกก่อนว่า “พี่ยังไม่รู้ใช่ไหม ลุงหมื่นแกฝายพญาคำ กับพ่อหลวงสมบูรณ์ ผู้ช่วยแกฝาย เขาเซ็นยินยอมให้กรมชลประทานสร้างประตูระบายน้ำแล้ว”
แพร จารุ
   บก.สุชาติ สวัสดิ์ศรี เทียบเชิญฉันเขียนเรื่องสั้น ช่อการะเกด ฉบับเทียบเชิญนักเขียนเก่าที่เคยเขียนช่อการะเกด
แพร จารุ
เธอนิ่งเงียบหลังจากกินอาหารเสร็จ "เศร้าทำไม" ฉันถามเธอ "กำลังดูกระถางต้นไม้อยู่" เธอตอบไม่ตรงกับคำถาม ฉันมองไปที่กระถางต้นไม้ มีอะไรตายอยู่ในนั้นที่ทำให้เธอเศร้า หรือว่าเศร้าที่ต้องมากินอาหารใต้ที่เมืองเหนือทั้งที่เธอเพิ่งเดินทางมาจากสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
แพร จารุ
 ผู้ชายคนหนึ่ง เลี้ยงปลวกเพื่อเอาปลวกไปเลี้ยงปลาดุก เขาบอกว่า เขาเฝ้ามองปลวกตัวอ้วน ๆ ที่ค่อยเติบโตขึ้น และเอาปลวกไปให้ปลาดุกกิน เขาอธิบายตัวเองว่าเป็นวิถีแห่งสัตว์โลก วิธีการใช้ชีวิตให้อยู่รอดฉันแค่สะดุดใจตรงที่เลี้ยงดูเขาไว้ก่อนแล้วค่อยจัดการ ฉันคิดว่า ถ้ามันกินกันเองตามวิถีชีวิตไม่เป็นไรฉันคิดถึงถ้อยคำหนึ่ง จำไม่ได้แล้วว่า ใครพูด "เขารัก...เหมือนคนเลี้ยงหมูรักหมูที่เลี้ยงไว้" นั่นหมายถึงรักและดูแลอย่างดีเพื่อเอาไว้ฆ่าและขาย
แพร จารุ
1  ฉันเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับความตายครั้งแรกเมื่อพ่อตายจากไป ในวันที่แม่ พี่ ๆและ ญาติ ๆ ต่างช่วยกันจัดงานให้พ่อ ผู้หญิงเตรียมอาหาร ปอกหอมกระเทียม เด็ดก้านพริกขี้หนู หั่นตะไคร้ ผู้ชายเตรียมไม้ฟืนเพื่อทำอาหาร หุงข้าว ต้มแกง ต้องหุงข้าวด้วยกระทะใบใหญ่  ต้องทำอาหารจำนวนมากในเวลาหลายวัน เรามีญาติเยอะ มีเพื่อนบ้าน และคนรู้จักมากมาย เพราะเราไม่ได้มีพ่อที่ดีต่อลูกเท่านั้นแต่มีพ่อที่ดีต่อผู้อื่นด้วย