Skip to main content
 

วิถีชีวิตกับไม้ไผ่คู่กัน

 

เมื่อลุงมาบอกว่า วิถีชีวิตปกาเก่อญอกับไม้ไผ่นั่นคู่กัน วันนี้คนรุ่นพะตี(ลุง) จึงต้องสอนให้ลูกหลานรู้จักจักสาน เพราะว่าเด็ก ๆ รุ่นใหม่ ไม่ค่อยรู้เรื่องจักสานแล้ว พะตีมาบอกว่า ถ้าไม่ได้สอนไว้หมดรุ่นพะตีแล้วก็จะหมดรุ่นไปเลย ทั้งที่วิถีปกาเก่อญอกับไม้ไผ่นั่นคู่กัน

 

ฟังพะตีว่า ลูกหลานปกาเก่อญอไม่รู้จักการใช้ไม่ไผ่ ฉันคิดถึงลุงที่บ้านแกว่าลูกชาวเลทำปลากินไม่เป็น ไม่ใช่หาปลามากิน แต่ทำปลากินไม่เป็นนั่นคือเขาหามาให้แล้ว แต่ไม่รู้ว่าจะทำกินอย่างไร ขูดเกล็ดปลาออกจากตัวปลาไม่เป็น ดึงขี้ปลาออกไม่เป็น เป็นต้น

 

ที่เป็นเช่นนี้เพราะอะไร บ้างก็ว่าเพราะลูกหลานออกจากบ้านไปอยู่โรงเรียน และพ่อแม่ก็มอบทุกอย่างให้ครูสอน ลูกหลานลืมไปว่าพ่อแม่ทำอะไรอยู่ และมีพลาสติกซื้อพลาสติกมาใช้แทนที่จะทำของใช้เอง

ปลายฝนต้นหนาว ฉันเดินทางเข้าหมู่บ้านตีนผาอีกครั้ง ในเช้าวันนั้น ผู้ใหญ่สอนเด็กทำจักสาน เริ่มกันตั้งแต่เลือกตัดไม้ไผ่ ผ่าไม้ไผ่เพื่อจักตอก เป็นเส้นบาง ๆ

 

ครูผู้สอนการทำจักสานวันนี้ มีพะตีติทอ (นายติทอ วาทีปราศรัย), พะตีมา(นายมา คุณฐิตินันท์) และผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านยืนยง ลำเนาพงศ์ไพรงาม (พะตี หมายถึงลุง)

 

"ต้องเลือกไม้ไผ่ที่ไม่แก่เกินไป" พะตีมาบอก

เด็กๆ เยาวชนที่กำลังจะจบม.3 ไปจนถึงเด็กหญิงวัยเจ็ดแปดขวบก็มาเรียน บางคนพาน้องเล็กมาด้วย เพราะพ่อแม่ไปเกี่ยวข้าวหมด เธอปล่อยน้องให้คลานเล่นบนลานหญ้าอย่างสบาย


เหลาไม้ไผ่เสร็จแล้วย้ายที่เรียนจากป่าไปเรียนข้างโปสถ์ เพราะมีลานกว้างนั่งสบาย

 

สถาพร ชวลิตธรรมรุ่ง หรือดอน เด็กหนุ่มคนหนึ่งมาเรียนจักสานในวันนี้ เล่าว่าเขาออกจากหมู่บ้านไปเรียนที่วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีเชียงใหม่ วิทยาลัยอยู่ที่อำเภอสันป่าตอง เดือนสองเดือนถึงจะกลับบ้านครั้งหนึ่ง

"เป็นครั้งแรกที่ฝึกจักสานครับ แต่ต่อไปผมคิดว่าจะกลับบ้านบ่อยขึ้น"

 

วีระศักดิ์ ลำเนาพงศ์ไพรงาม เยาวชนในหมู่บ้านตีผา เป็นอีกหนึ่งหนุ่มที่กำลังจะจบม.3 บอกว่า "อยากฝึกครับ เพราะไม่เคยทำเลยเหมือนกัน "

วีระศักดิ์บอกว่า เขาทำงานกับพ่อช่วยพ่อทำสวน ทำปุ๋ยหมัก และทำงานบ้าน แต่ยังไม่เคยฝึกทำจักสาน วันนี้เป็นวันแรก

 

วันนี้พะตีมาเหมือนเป็นครูใหญ่ ฝึกสอนแล้วเดินดูงานของเด็ก ๆ ด้วย

"อย่างนี้ไม่ได้ เอาเส้นนี้ไว้ข้างบน ส่วนเส้นนี้ต้องลงข้างล่าง" พะตีมาบอกพลอย เด็กสาวที่มีความตั้งใจเป็นอย่างยิ่งที่จะทำให้ได้ เธอสวมถุงมือกันไม้ไผ่บาดมาด้วย

"อย่างนี้ใช่ไหม" พลอยถาม

 

พลอยกับเมย์ เป็นเพื่อนกัน เธอทั้งสองมาด้วยกัน ต่างมุ่งมั่นมากที่จะต้องทำให้ได้

"ต้องทำไปเรื่อย ๆ แล้วจะทำได้ละเอียดขึ้นเอง ชีวิตปกาเก่อญอกับไม้ไผ่เป็นของคู่กัน" พะตีมาย่ำว่าชีวิตปกาเก่อญอกับไม้ไผ่คู่กัน

 

เด็กหญิงวัยแปดขวบสองคนเรียกให้พะตีช่วยสอนต่อ ตอนนี้เธอเริ่มตั้งก้นตะกร้าได้แล้ว เธอทั้งสองพยายามรวบไม้ไผ่ขึ้นมาเป็นรูปทรงของตะกร้าเพื่อที่จะสานต่อไปเหมือนกับที่พี่ๆ ทำ แต่มือเล็กๆ เอาไม่อยู่ ไม้ไผ่ดีดกลับ ก่อนที่จะโดนไม้ไผ่ดีดหน้า เธอรีบผละมือออกแล้วถอยหนีทัน ต่างหัวเราะเริงร่า พลอยพี่ที่โตกว่าเข้ามาช่วยรวบปลายไม้ไผ่ พร้อมกับสอนให้สานต่อ ต้องค่อยๆ สานขึ้นไปเรื่อยๆ อย่างใจเย็น

 

"ผิดนิดเดียวก็ไม่ถูกแล้ว" พะตีมาว่า

"ทำอย่างไรดีผมทำตอกไผ่หัก" เด็กชายคนหนึ่งถามพะตีอย่างตกใจ

"ไม่ต้องกลัว ต่อใหม่ได้ เอาอันใหม่เสียบทับเข้าไปเลย เสียบทับเข้าไปตรงเส้นที่หักนั่นแหละแล้วสานต่อไป" พะตีว่า

 

เด็กหญิงคู่แฝดสองคนดาวกับเดือน เธอเพิ่งเรียนชั้น ป.3 มาฝึกสานตะกร้าด้วย คนหนึ่งเริ่มเบื่อลุกขึ้นเดินไปเที่ยวเล่นเก็บเสาวรส และลูกไม้ป่ามากินกับเพื่อน ๆ แต่แฝดอีกคนยังคงพยายามทำต่อไปโดยมีป้าสอนให้เธอ


แม่บ้านคนหนึ่งเตรียมไปหาหน่อไม้แต่มาหยุดดูเด็ก ๆ สานตะกร้ากันก่อน แฝดนั่งกินลูกไม้ป่าก็เปลี่ยนใจไปหาหน่อไม้ดีกว่า


ไผ่เกี่ยวข้องกับชีวิตจริง ๆ เหมือนที่พะตีมาว่า แม่บ้านกำลังไปหาหน่อไม้ไผ่มาทำกิน หน่ออ่อน ๆ ลวกจิ้มน้ำพริก ในเกือบทุกมื้อที่ฉันมาที่นี่ หน่อไม้อยู่ในวงอาหาร บางมื้อก็แกงหน่อไม้ใส่ไก่ ข้าวเบอะ (ข้าวต้มและ ๆ ใส่หน่อไม้ รวมกับผักกาด มีเนื้อหมูหรือเนื้อไก่ลงไปต้มด้วย

 

ฝนตกลงมาก่อนที่เด็กๆ จะทำตะกร้าเสร็จ พวกเขารีบลากงานของตัวเองหลบเข้าชายคาโบสถ์และสานต่อไป

 

เด็กหญิงสองคนเลิกสานตะกร้าแล้วกำลังนั่งเล่นน้ำฝน ตารีบอุ้มหลานวิ่งกลับบ้าน

 

สถาพร สานสุมใส่ไก่ได้แล้ว สุ่มเล็กๆ ขังไก่ได้หนึ่งตัว ที่นี่นอกจากเลี้ยงไก่แบบปล่อยแล้ว เขาจะสานสุ่มสำหรับขังไก่เอาไว้ ทำปากสุมให้ไก่โผล่หน้าออกมาจิกข้าวเปลือกกิน


สมสุข สานเปอะใส่หลัง ซึ่งใช้ในชีวิตประจำวัน ยามเมื่อไปไร่ ทุกคนจะมีเปอะใส่หลังไปด้วย สมสุขทำเสร็จแล้วโยนเล่นให้เพื่อน ๆ ดู

 

"ยิ่งทำยิ่งง่ายขึ้น ยิ่งทำยิ่งงามขึ้น" พะตีมาพูด ให้กำลังใจเด็กๆ แล้วเดินไปดูคนอื่นต่อไป

จริงของพะติยิ่งทำยิ่งง่าย ยิ่งทำยิ่งงาม ไม่ว่าจะทำอะไรก็เอามาใช้ได้หมด



นี่คือเป๊อะที่สานด้วยไม้ไผ่ใช้ในชีวิตประจำวัน


"อันนี้ค่อยสวยหน่อย" พะตีมาหยิบตะกร้าใบหนึ่งมาพิจารณา


พะตีมาบอกฉันว่า เมื่อก่อนสานไปขาย เดี๋ยวนี้สานแค่พอใช้กันในบ้าน บางบ้านก็ไม่ทำ ไปซื้อพลาสติกมาใช้ ไม้ไผ่สานได้หลายอย่าง ทำกระด้งก็ได้ ทำข้องใส่ปลา กระบุงใส่ข้าว ลวดลายมีเยอะ ถ้าสานได้แล้วไม่ต้องซื้อ ทำทุกอย่างใช้เองได้ เมื่อก่อนใช้ไม้ไผ่ทั้งนั้น ไม่มีกะละมัง ถุงพลาสติก

 

 

 

 

บล็อกของ แพร จารุ

แพร จารุ
มีคำกล่าวว่า "อาหารอายุสั้น คนกินอายุยืน อาหารอายุยืน คนกินอายุสั้น" แรกที่ฟังก็รู้สึกรำคาญคนพูดนิด ๆ เพราะเรากำลังกินอาหารอายุยืนแต่เราไม่อยากอายุสั้น สงสัยใช่ไหมคะว่าอาหารแบบไหนที่อายุยืน อาหารที่ปรุงแต่งมาเรียบร้อยแล้ว แช่ตู้ไว้ได้นานๆ นั่นคืออาหารอายุยืน กินกันได้นานๆ แช่ไว้ในตู้เย็น อาหารพวกนี้คนกินอายุสั้น แต่อาหารอายุสั้นก็พวกเห็ด ผักบุ้ง พวกเหล่านี้เป็นอาหารอายุสั้นอยู่ได้ไม่นาน แต่คนกินอายุยืน แต่เดี๋ยวนี้มีมะเขือเทศอายุยืนด้วยนะคะ เป็นพวกตัดต่อพันธุกรรมแบบให้ผิวแข็งไม่บอบช้ำในระหว่างขนส่ง
แพร จารุ
  1   เป็นนักเขียนมีความสุขไหม   วันหนึ่งฉันต้องตอบคำถามนี้ “เป็นนักเขียนมีความสุขไหม” ผู้ที่ถามคำถามนี้เป็นเด็กนักเรียนตัวเล็กๆ ชั้นประถมปีที่ 5 ฉันรู้สึกดีใจที่มีเด็กถามเรื่องความสุขมากกว่าเรื่องรายได้
แพร จารุ
ฉันห่างกรุงเทพฯ มานานจริงๆ นานจนไปไหนไม่ถูก ก่อนฟ้าสางรถทัวร์จอดตรงหัวมุมถนน ฉันเดินตรงเข้าไปทางถนนข้าวสารตามพื้นถนนแฉะ หาที่นั่งรอหลานมารับแต่ก็หาไม่ได้ พื้นแฉะ ๆ ผู้คนกำลังล้างพื้นกันอยู่ จึงตัดสินใจ เดินออกจากถนนข้าวสารมุ่งตรงไปทางกองฉลากกินแบ่งรัฐบาล มีคนจรนอนห่มผ้าเก่า ๆ อยู่มากมาย ตามทางเดิน  
แพร จารุ
มีเพื่อนอย่างน้อยสองคนตกหล่นไปจากชีวิต ทั้งที่ก่อนหน้านั้นเราเขียนจดหมายคุยกันอยู่เสมอ ๆ ต่อมาฉันเลิกตอบจดหมายเพื่อนทั้งสองคน 
แพร จารุ
2 กันยายน 2552 นั่งกินมะขามหวานเพลิน ๆ มะขามก็เปรี้ยวขมขึ้นมาทันที เพื่อนโทรมาบอกว่า เธอไปที่โรงพยาบาลนครพิงค์ ได้ยินเสียงตามสายที่ รพ.ขอบริจาคเงินช่วยเหลือเด็กชาวเขาที่แม่มาคลอดตายที่โรงพยาบาล “แม่มาคลอดตายที่โรงพยาบาล แสดงว่าเธอตายระหว่างคลอด” เพื่อนตอบว่าใช่ “เด็กยังอยู่รอดปลอดภัย” “ใช่”    
แพร จารุ
"อะไรเอ่ยมันโผล่ขึ้นมาจากดิน" คำถามเล่น ๆ ของเด็ก ๆ สมัยก่อนเราจะตอบว่า ขอม เพราะเคยเรียนเรื่องพระร่วง  ตอนขอมดำดิน แต่ เดี๋ยวนี้ถ้าไปตอบว่า "ขอม" เด็กไม่เข้าใจ
แพร จารุ
1 วันก่อนไปท่ากาน (ท่ากานเป็นหมู่บ้านหนึ่ง ในอำเภอสันป่าตอง เชียงใหม่ ) พบเด็ก หญิงสองคน เอาก้านกล้วยมาแกว่งไปมากระโดดเล่นกัน ดูน่ารักดี เป็นการเล่นแบบหาของใกล้ตัวมาเล่นกัน
แพร จารุ
10 กันยายน 2552 น้องคนหนึ่งโทรศัพท์มาบอกว่า “มีเรื่องตลกเศร้ามาเล่าให้ฟัง” ฉันหัวเราะ ไม่อยากฟังเธอเล่าอะไรเลยเพราะกำลังเจ็บหูอย่างแรง กำลังจะไปหาหมอ แต่เธอรีบบอกก่อนว่า “พี่ยังไม่รู้ใช่ไหม ลุงหมื่นแกฝายพญาคำ กับพ่อหลวงสมบูรณ์ ผู้ช่วยแกฝาย เขาเซ็นยินยอมให้กรมชลประทานสร้างประตูระบายน้ำแล้ว”
แพร จารุ
   บก.สุชาติ สวัสดิ์ศรี เทียบเชิญฉันเขียนเรื่องสั้น ช่อการะเกด ฉบับเทียบเชิญนักเขียนเก่าที่เคยเขียนช่อการะเกด
แพร จารุ
เธอนิ่งเงียบหลังจากกินอาหารเสร็จ "เศร้าทำไม" ฉันถามเธอ "กำลังดูกระถางต้นไม้อยู่" เธอตอบไม่ตรงกับคำถาม ฉันมองไปที่กระถางต้นไม้ มีอะไรตายอยู่ในนั้นที่ทำให้เธอเศร้า หรือว่าเศร้าที่ต้องมากินอาหารใต้ที่เมืองเหนือทั้งที่เธอเพิ่งเดินทางมาจากสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
แพร จารุ
 ผู้ชายคนหนึ่ง เลี้ยงปลวกเพื่อเอาปลวกไปเลี้ยงปลาดุก เขาบอกว่า เขาเฝ้ามองปลวกตัวอ้วน ๆ ที่ค่อยเติบโตขึ้น และเอาปลวกไปให้ปลาดุกกิน เขาอธิบายตัวเองว่าเป็นวิถีแห่งสัตว์โลก วิธีการใช้ชีวิตให้อยู่รอดฉันแค่สะดุดใจตรงที่เลี้ยงดูเขาไว้ก่อนแล้วค่อยจัดการ ฉันคิดว่า ถ้ามันกินกันเองตามวิถีชีวิตไม่เป็นไรฉันคิดถึงถ้อยคำหนึ่ง จำไม่ได้แล้วว่า ใครพูด "เขารัก...เหมือนคนเลี้ยงหมูรักหมูที่เลี้ยงไว้" นั่นหมายถึงรักและดูแลอย่างดีเพื่อเอาไว้ฆ่าและขาย
แพร จารุ
1  ฉันเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับความตายครั้งแรกเมื่อพ่อตายจากไป ในวันที่แม่ พี่ ๆและ ญาติ ๆ ต่างช่วยกันจัดงานให้พ่อ ผู้หญิงเตรียมอาหาร ปอกหอมกระเทียม เด็ดก้านพริกขี้หนู หั่นตะไคร้ ผู้ชายเตรียมไม้ฟืนเพื่อทำอาหาร หุงข้าว ต้มแกง ต้องหุงข้าวด้วยกระทะใบใหญ่  ต้องทำอาหารจำนวนมากในเวลาหลายวัน เรามีญาติเยอะ มีเพื่อนบ้าน และคนรู้จักมากมาย เพราะเราไม่ได้มีพ่อที่ดีต่อลูกเท่านั้นแต่มีพ่อที่ดีต่อผู้อื่นด้วย