Skip to main content
 

วิถีชีวิตกับไม้ไผ่คู่กัน

 

เมื่อลุงมาบอกว่า วิถีชีวิตปกาเก่อญอกับไม้ไผ่นั่นคู่กัน วันนี้คนรุ่นพะตี(ลุง) จึงต้องสอนให้ลูกหลานรู้จักจักสาน เพราะว่าเด็ก ๆ รุ่นใหม่ ไม่ค่อยรู้เรื่องจักสานแล้ว พะตีมาบอกว่า ถ้าไม่ได้สอนไว้หมดรุ่นพะตีแล้วก็จะหมดรุ่นไปเลย ทั้งที่วิถีปกาเก่อญอกับไม้ไผ่นั่นคู่กัน

 

ฟังพะตีว่า ลูกหลานปกาเก่อญอไม่รู้จักการใช้ไม่ไผ่ ฉันคิดถึงลุงที่บ้านแกว่าลูกชาวเลทำปลากินไม่เป็น ไม่ใช่หาปลามากิน แต่ทำปลากินไม่เป็นนั่นคือเขาหามาให้แล้ว แต่ไม่รู้ว่าจะทำกินอย่างไร ขูดเกล็ดปลาออกจากตัวปลาไม่เป็น ดึงขี้ปลาออกไม่เป็น เป็นต้น

 

ที่เป็นเช่นนี้เพราะอะไร บ้างก็ว่าเพราะลูกหลานออกจากบ้านไปอยู่โรงเรียน และพ่อแม่ก็มอบทุกอย่างให้ครูสอน ลูกหลานลืมไปว่าพ่อแม่ทำอะไรอยู่ และมีพลาสติกซื้อพลาสติกมาใช้แทนที่จะทำของใช้เอง

ปลายฝนต้นหนาว ฉันเดินทางเข้าหมู่บ้านตีนผาอีกครั้ง ในเช้าวันนั้น ผู้ใหญ่สอนเด็กทำจักสาน เริ่มกันตั้งแต่เลือกตัดไม้ไผ่ ผ่าไม้ไผ่เพื่อจักตอก เป็นเส้นบาง ๆ

 

ครูผู้สอนการทำจักสานวันนี้ มีพะตีติทอ (นายติทอ วาทีปราศรัย), พะตีมา(นายมา คุณฐิตินันท์) และผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านยืนยง ลำเนาพงศ์ไพรงาม (พะตี หมายถึงลุง)

 

"ต้องเลือกไม้ไผ่ที่ไม่แก่เกินไป" พะตีมาบอก

เด็กๆ เยาวชนที่กำลังจะจบม.3 ไปจนถึงเด็กหญิงวัยเจ็ดแปดขวบก็มาเรียน บางคนพาน้องเล็กมาด้วย เพราะพ่อแม่ไปเกี่ยวข้าวหมด เธอปล่อยน้องให้คลานเล่นบนลานหญ้าอย่างสบาย


เหลาไม้ไผ่เสร็จแล้วย้ายที่เรียนจากป่าไปเรียนข้างโปสถ์ เพราะมีลานกว้างนั่งสบาย

 

สถาพร ชวลิตธรรมรุ่ง หรือดอน เด็กหนุ่มคนหนึ่งมาเรียนจักสานในวันนี้ เล่าว่าเขาออกจากหมู่บ้านไปเรียนที่วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีเชียงใหม่ วิทยาลัยอยู่ที่อำเภอสันป่าตอง เดือนสองเดือนถึงจะกลับบ้านครั้งหนึ่ง

"เป็นครั้งแรกที่ฝึกจักสานครับ แต่ต่อไปผมคิดว่าจะกลับบ้านบ่อยขึ้น"

 

วีระศักดิ์ ลำเนาพงศ์ไพรงาม เยาวชนในหมู่บ้านตีผา เป็นอีกหนึ่งหนุ่มที่กำลังจะจบม.3 บอกว่า "อยากฝึกครับ เพราะไม่เคยทำเลยเหมือนกัน "

วีระศักดิ์บอกว่า เขาทำงานกับพ่อช่วยพ่อทำสวน ทำปุ๋ยหมัก และทำงานบ้าน แต่ยังไม่เคยฝึกทำจักสาน วันนี้เป็นวันแรก

 

วันนี้พะตีมาเหมือนเป็นครูใหญ่ ฝึกสอนแล้วเดินดูงานของเด็ก ๆ ด้วย

"อย่างนี้ไม่ได้ เอาเส้นนี้ไว้ข้างบน ส่วนเส้นนี้ต้องลงข้างล่าง" พะตีมาบอกพลอย เด็กสาวที่มีความตั้งใจเป็นอย่างยิ่งที่จะทำให้ได้ เธอสวมถุงมือกันไม้ไผ่บาดมาด้วย

"อย่างนี้ใช่ไหม" พลอยถาม

 

พลอยกับเมย์ เป็นเพื่อนกัน เธอทั้งสองมาด้วยกัน ต่างมุ่งมั่นมากที่จะต้องทำให้ได้

"ต้องทำไปเรื่อย ๆ แล้วจะทำได้ละเอียดขึ้นเอง ชีวิตปกาเก่อญอกับไม้ไผ่เป็นของคู่กัน" พะตีมาย่ำว่าชีวิตปกาเก่อญอกับไม้ไผ่คู่กัน

 

เด็กหญิงวัยแปดขวบสองคนเรียกให้พะตีช่วยสอนต่อ ตอนนี้เธอเริ่มตั้งก้นตะกร้าได้แล้ว เธอทั้งสองพยายามรวบไม้ไผ่ขึ้นมาเป็นรูปทรงของตะกร้าเพื่อที่จะสานต่อไปเหมือนกับที่พี่ๆ ทำ แต่มือเล็กๆ เอาไม่อยู่ ไม้ไผ่ดีดกลับ ก่อนที่จะโดนไม้ไผ่ดีดหน้า เธอรีบผละมือออกแล้วถอยหนีทัน ต่างหัวเราะเริงร่า พลอยพี่ที่โตกว่าเข้ามาช่วยรวบปลายไม้ไผ่ พร้อมกับสอนให้สานต่อ ต้องค่อยๆ สานขึ้นไปเรื่อยๆ อย่างใจเย็น

 

"ผิดนิดเดียวก็ไม่ถูกแล้ว" พะตีมาว่า

"ทำอย่างไรดีผมทำตอกไผ่หัก" เด็กชายคนหนึ่งถามพะตีอย่างตกใจ

"ไม่ต้องกลัว ต่อใหม่ได้ เอาอันใหม่เสียบทับเข้าไปเลย เสียบทับเข้าไปตรงเส้นที่หักนั่นแหละแล้วสานต่อไป" พะตีว่า

 

เด็กหญิงคู่แฝดสองคนดาวกับเดือน เธอเพิ่งเรียนชั้น ป.3 มาฝึกสานตะกร้าด้วย คนหนึ่งเริ่มเบื่อลุกขึ้นเดินไปเที่ยวเล่นเก็บเสาวรส และลูกไม้ป่ามากินกับเพื่อน ๆ แต่แฝดอีกคนยังคงพยายามทำต่อไปโดยมีป้าสอนให้เธอ


แม่บ้านคนหนึ่งเตรียมไปหาหน่อไม้แต่มาหยุดดูเด็ก ๆ สานตะกร้ากันก่อน แฝดนั่งกินลูกไม้ป่าก็เปลี่ยนใจไปหาหน่อไม้ดีกว่า


ไผ่เกี่ยวข้องกับชีวิตจริง ๆ เหมือนที่พะตีมาว่า แม่บ้านกำลังไปหาหน่อไม้ไผ่มาทำกิน หน่ออ่อน ๆ ลวกจิ้มน้ำพริก ในเกือบทุกมื้อที่ฉันมาที่นี่ หน่อไม้อยู่ในวงอาหาร บางมื้อก็แกงหน่อไม้ใส่ไก่ ข้าวเบอะ (ข้าวต้มและ ๆ ใส่หน่อไม้ รวมกับผักกาด มีเนื้อหมูหรือเนื้อไก่ลงไปต้มด้วย

 

ฝนตกลงมาก่อนที่เด็กๆ จะทำตะกร้าเสร็จ พวกเขารีบลากงานของตัวเองหลบเข้าชายคาโบสถ์และสานต่อไป

 

เด็กหญิงสองคนเลิกสานตะกร้าแล้วกำลังนั่งเล่นน้ำฝน ตารีบอุ้มหลานวิ่งกลับบ้าน

 

สถาพร สานสุมใส่ไก่ได้แล้ว สุ่มเล็กๆ ขังไก่ได้หนึ่งตัว ที่นี่นอกจากเลี้ยงไก่แบบปล่อยแล้ว เขาจะสานสุ่มสำหรับขังไก่เอาไว้ ทำปากสุมให้ไก่โผล่หน้าออกมาจิกข้าวเปลือกกิน


สมสุข สานเปอะใส่หลัง ซึ่งใช้ในชีวิตประจำวัน ยามเมื่อไปไร่ ทุกคนจะมีเปอะใส่หลังไปด้วย สมสุขทำเสร็จแล้วโยนเล่นให้เพื่อน ๆ ดู

 

"ยิ่งทำยิ่งง่ายขึ้น ยิ่งทำยิ่งงามขึ้น" พะตีมาพูด ให้กำลังใจเด็กๆ แล้วเดินไปดูคนอื่นต่อไป

จริงของพะติยิ่งทำยิ่งง่าย ยิ่งทำยิ่งงาม ไม่ว่าจะทำอะไรก็เอามาใช้ได้หมด



นี่คือเป๊อะที่สานด้วยไม้ไผ่ใช้ในชีวิตประจำวัน


"อันนี้ค่อยสวยหน่อย" พะตีมาหยิบตะกร้าใบหนึ่งมาพิจารณา


พะตีมาบอกฉันว่า เมื่อก่อนสานไปขาย เดี๋ยวนี้สานแค่พอใช้กันในบ้าน บางบ้านก็ไม่ทำ ไปซื้อพลาสติกมาใช้ ไม้ไผ่สานได้หลายอย่าง ทำกระด้งก็ได้ ทำข้องใส่ปลา กระบุงใส่ข้าว ลวดลายมีเยอะ ถ้าสานได้แล้วไม่ต้องซื้อ ทำทุกอย่างใช้เองได้ เมื่อก่อนใช้ไม้ไผ่ทั้งนั้น ไม่มีกะละมัง ถุงพลาสติก

 

 

 

 

บล็อกของ แพร จารุ

แพร จารุ
นี้ไม่ใช่เรื่องสั้นหรือเรื่องแต่งแต่เป็นเรื่องจริง และนี้เป็นเรื่องน่าเศร้า ไม่ใช่เรื่องตลกแต่ถ้าคุณจะหัวเราะก็มีสิทธิที่จะทำได้ เพราะฉันก็หัวเราะไปแล้ว  เรื่องจริงที่จะเล่าให้ฟัง ...เรื่องมันเป็นอย่างนี้ค่ะ  ที่เชียงใหม่ ยามค่ำคืน มีหญิงสาวคนหนึ่งขับรถโฟล์คสีบานเย็น อยู่บนถนนสายหางดงเชียงใหม่ ในขณะขับรถไปนั้น น้ำมันหมด เพราะที่วัดระดับน้ำมันเสีย เธอรีบโทรศัพท์ไปหาน้องสาว บอกเส้นทางที่ตัวเองอยู่ แต่โทรศัพท์แบต หมดก่อนที่จะทันคุยกันรู้เรื่อง
แพร จารุ
"สงสารท่านผู้นำ" นาน ๆ ฉันถึงจะได้ยินคำพูดแบบนี้ ฉันจึงหยุดมองเธอคนพูด และเห็นว่าในมือของเธอถือหนังสือพิมพ์การเมืองรายสัปดาห์ที่หน้าปกมีรูปท่านผู้นำของเธอ "ทำไมถึงสงสาร" ฉันเสี่ยงถาม "ก็เขาไม่ได้กลับบ้าน"ฉันพยักหน้ารับคำแบบสงวนท่าที่ ไม่ผลีผลามแสดงความคิดเห็น แต่ก็รู้สึกประทับใจในเหตุผล เพราะไม่ว่าจะเป็นใครที่ไม่ได้กลับบ้านน่าสงสารทั้งนั้น ฉันเองก็เป็นหนึ่งคนที่ไม่ได้กลับบ้านในช่วงปีใหม่ คนไม่ได้กลับบ้านน่าสงสารจริงๆ ไม่ใช่เรื่องซับซ้อนอะไรมาก
แพร จารุ
เมื่อฉันดูข่าวสารบ้านเมืองในปัจจุบันนี้ ทำให้นึกถึงเหตุการณ์เมื่อวัยเยาว์ และอยากจะเล่าเอาไว้ เพราะพฤติกรรมของผู้ใหญ่ส่งผลต่อเด็กจริง ๆ ค่ะ ใครบางคนอาจจะไม่ทันคิดว่า การแสดงพฤติกรรมบางอย่างของผู้ใหญ่ เป็นได้มากกว่าการสอนเด็ก ๆ พฤติกรรมของผู้ใหญ่บางอย่างอาจส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของเด็กในอนาคตได้
แพร จารุ
ไนท์ซาฟารีที่อยู่ของสัตว์กลางคืน ฉันไม่เคยไปที่นั่นสักครั้งเดียว แม้ว่าจะมีงานเปิดอย่างยิ่งใหญ่ ใครต่อใครก็เดินทางไปที่นั่น และฉันถูกถามบ่อยๆ ว่า “ไปไนท์ซาฟารีมาหรือยัง” “ทำไมไม่ไป” ฉันได้แต่ยิ้มๆ ไม่ได้ตอบอะไร นอกจากว่า คนถามมีเวลาจริง ๆ ฉันก็จะอธิบายให้เขาฟังว่า ที่ไม่ไปเพราะไม่เห็นด้วยกับการสร้างไนท์ซาฟารีตั้งแต่ต้นและเห็นด้วยกับกลุ่มคัดค้านมาโดยตลอด ไปประชุมสัมมนากับเขาเสมอ
แพร จารุ
ธันวาคมเป็นเดือนที่มีญาติพี่น้องผองเพื่อนเดินทางมาเที่ยวบ้าน ดังนั้นเราจะไม่ไปไหนคือตั้งรับอยู่ที่บ้าน พวกเขามักจะมาพักหนึ่งคืนแล้วไปเที่ยวกันต่อ บางกลุ่มก็วกกลับมาอีกครั้งก่อนเดินทางกลับ พวกเขาจะค้างกันอย่างมากก็สองคืน  เรามีบ้านหลังเล็กมากๆ แต่มีบ้านพ่อหลังใหญ่ บ้านที่พ่อสามีทิ้งไว้เป็นสมบัติส่วนกลาง แรกเราคิดว่าจะให้เพื่อนๆ ไปพักชั้นบนของบ้านหลังนั้น แต่เอาเข้าจริงสองปีที่ผ่านมา ไม่มีใครไปพักหลังนั้นเลย
แพร จารุ
คราวนี้เสียงจากคนเชียงใหม่จริง ๆ ค่ะ เธอเขียนมาถึงดิฉัน พร้อมกับจดหมายสั้น ๆ ว่า ขอร่วมเขียนแถลงการณ์คัดค้าน การสร้างประตูระบายน้ำกั้นแม่น้ำปิงด้วยค่ะ เธอแนะนำตัวมาสั้นๆ ว่าเป็นคนเชียงใหม่โดยกำเนิด บ้านอยู่ข้างสถานีรถไฟ ข้ามสะพานนวรัตน์ เห็นฝายพญาคำมาตั้งแต่เล็ก ต้องขอโทษด้วยที่ทำจดหมายของเธอตกค้างอยู่นานนับเดือน กว่าจะได้เอามาลงให้ เชิญอ่านได้เลยค่ะ
แพร จารุ
 ฤดูฝนที่ผ่านมา ชาวบ้านตีนผาบ้านในหุบเขา ได้ปลูกต้นไม้บนดอย ครั้งนี้เป็นการปลูกเพื่อเป็นแนวกั้นระหว่างพื้นที่ทำกินกับเขตอุทยาน  เป็นการการทำแนวรั้วต้นไม้ในเช้าวันที่มีการปลูกต้นไม้สำหรับเป็นแนวเขตรั้ว ชาวบ้านตีนผาพร้อมเพรียงและจริงจัง ตั้งแต่เช้า กินข้าวแล้วเตรียมพร้อม มารวมตัวกันอยู่ที่หน้าโบสถ์ เพื่อขนกล้าไม้ไปปลูก มีทั้งผู้ใหญ่และเยาวชนและเด็กเล็ก ๆ ในหมู่บ้าน  ผู้ช่วยหัวหน้าอุทยานและเจ้าหน้าที่มากันพร้อม ผู้ใหญ่บ้าน นายวรเดช กล่าวว่า"การทำแนวรั้วเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมพื้นฟูรักษาป่านั่นแหละ"
แพร จารุ
 วันนี้ ฉันพบดอกไม้บนดอยสูงมากมาย ดอกไม้เล็ก ๆ เหมือนดาว กระจายอยู่ทั่วหุบเขา หลากสีสดใส ทั้งเหลือง ส้ม และสีม่วง หลายครั้งที่ผ่านทางมา เรามาด้วยความเร็วมาก จุดหมายอยู่ที่หลังดอย หมู่บ้านเล็ก ๆ หมู่บ้านหนึ่ง ความเร็วความรีบเร่งทำให้เราไม่ได้เห็นอะไรมากนักระหว่างทาง  ความหมายไม่ได้อยู่ที่ปลายทางแต่อยู่ที่ระหว่างทางที่ได้พบเจอ การได้ชื่นชมกับบรรยากาศระหว่างทาง นั่นเอง การเดินทางมาครั้งนี้เรามากับทีมช่างภาพสองคนและผู้ติดตามเป็นหญิงสาวน่ารักอีกหนึ่งคน มีเจ้าหน้าที่มูลนิธิฯเป็นชายหนุ่มสองคน
แพร จารุ
  วิถีชีวิตกับไม้ไผ่คู่กัน เมื่อลุงมาบอกว่า วิถีชีวิตปกาเก่อญอกับไม้ไผ่นั่นคู่กัน วันนี้คนรุ่นพะตี(ลุง) จึงต้องสอนให้ลูกหลานรู้จักจักสาน เพราะว่าเด็ก ๆ รุ่นใหม่ ไม่ค่อยรู้เรื่องจักสานแล้ว พะตีมาบอกว่า ถ้าไม่ได้สอนไว้หมดรุ่นพะตีแล้วก็จะหมดรุ่นไปเลย ทั้งที่วิถีปกาเก่อญอกับไม้ไผ่นั่นคู่กัน ฟังพะตีว่า ลูกหลานปกาเก่อญอไม่รู้จักการใช้ไม่ไผ่ ฉันคิดถึงลุงที่บ้านแกว่าลูกชาวเลทำปลากินไม่เป็น ไม่ใช่หาปลามากิน แต่ทำปลากินไม่เป็นนั่นคือเขาหามาให้แล้ว แต่ไม่รู้ว่าจะทำกินอย่างไร ขูดเกล็ดปลาออกจากตัวปลาไม่เป็น ดึงขี้ปลาออกไม่เป็น เป็นต้น ที่เป็นเช่นนี้เพราะอะไร…
แพร จารุ
อยู่อย่างมีสิทธิและศักดิ์ศรี“สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งคือ ชุมชนจะต้องเข้มแข็ง พึ่งตนเองได้ ลดการพึ่งพาภายนอก ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง และอยู่อย่างมีสิทธิและศักดิ์ศรี”แต่นั่นแหละ คำพูดเพราะๆ เช่นนี้จะเป็นจริงไปได้อย่างไร ในปัจจุบันนี้ หมู่บ้านเล็กๆ ในชุมชนหลายแห่งไม่สามารถพึ่งตนเองได้ การดำเนินชีวิตขึ้นอยู่กับปัจจัยภายนอก เช่น ขึ้นอยู่กับราคาผลผลิตที่ถูกกำหนดโดยตลาดทุนจากพืชเศรษฐกิจ 
แพร จารุ
พื้นที่ป่าในประเทศไทย เป็นพื้นที่ที่มีคนอาศัยอยู่ก่อนแล้ว โดยเฉพาะชุมชนชาวเขาทั้งหลายที่อาศัยก่อน ต่อมาพื้นที่ป่าก็ถูกประกาศเป็นพื้นที่ในเขตอุทยานแห่งชาติ หลายแห่งที่พยายามเอาคนออกจากป่า ตัวอย่างการย้ายคนออกจากพื้นที่เดิมมีอยู่หลายแห่ง ซึ่งส่งผลกระทบต่อชีวิตผู้คนที่ถูกย้ายและสังคมโดยรวมเป็นอย่างมาก เพราะทำให้เกิดปัญหาการย้ายถิ่นจากชนบทสู่เมือง การอพยพแรงงาน และปัญหาอื่นๆ ติดตามมาอีกมากมาย ทางออกหนึ่งก็คือการสนับสนุนให้คนที่อยู่ในป่าได้อยู่ในพื้นที่เดิมและดูแลป่าด้วยดังนั้น การทำความเข้าใจ ให้คนอยู่กับป่าได้และดูแลป่า น่าจะเป็นทางเลือกที่ดี มีคำถามว่า…
แพร จารุ
ฉันเพิ่งกลับมาจากหมู่บ้านหลังดอยค่ะ ไม่มีสัญญาณโทรศัพท์ ไม่ได้คุยกับใครนอกพื้นที่ แต่ทันทีที่ลงมาจากดอย เปิดเมลพบว่ามีรูป ฯพณฯ ท่าน "สมชาย วงศ์สวัสดิ์ " ที่มีหน้าเปื้อนสีเลือดส่งเข้ามา ใต้ภาพเขียนว่า “คนบ้านเดียวกันกับคุณ-งานหน้าไม่ล่ะ” ฉันลบภาพทิ้งทันที และรีบไปที่ก๊อกน้ำล้างหน้า แต่ความรู้สึกสลดหดหู่ไม่ได้จางหาย มันหดหู่จริง ๆ “คนบ้านเดียวกัน” กับ “เสื้อสีเดียวกัน” นอกจากแยกเสื้อแดงเสื้อเหลืองแล้ว ยังแยกคนลูกบ้านไหนกันด้วย