Skip to main content


ป่าสนวัดจันทร์

 

หลังจากที่เขียนเรื่องป่าสนวัดจันทร์ถูกโฆษณาว่าเป็นผืนป่าสนแห่งเดียวที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และมีชนเผ่าใช้วิถีชีวิตแบบเดิม ๆ


ได้รับจดหมายจาก ชุดขาว ชาวเหนือ ว่า ที่นั่นทั้งอำเภอเป็นผืนดินที่ชนเผ่าปกาเกอญอ ลีซู และม้ง อยู่อาศัย นเรื่องป่าสนวัดจันทร์ ันทร์ เป็นพื้นที่ป่าสงวนทั้งหมด ซึ่งชาวบ้านไม่มีโฉนดที่ดิน ชาวปกาเกอญอกลุ่มหนึ่ง ในนามของสมาคมปกาเกอญอก็เตรียมวัดเขตที่ดินที่ทำกินของพวกเขา และพยายามทำโฉนดชุมชนไว้เพื่อไม่ให้ที่ดินถูกเปลี่ยนมือ

เพราะเมื่อที่ดินถูกเปลี่ยนมือโดยกลุ่มทุน พวกเขาอาจจะไม่มีที่ทำกิน บางคนกลายมาเป็นคนขายแรงงานให้กับรีสอร์ท สถานบันเทิง รวมทั้งย้ายลงมาจากดอยเข้ามาอยู่ในชุมชนแออัดตามเมืองใหญ่

และบางส่วนอาจจะบุกรุกที่แห่งใหม่ และผืนป่าก็ถูกทำลาย เจ้าหน้าที่ก็จับกุมกันไป 


ดังนั้นสมาคมปกาเกอญอ โดยคนปกาเกอญอนั่นแหละ ทำเรื่องการทำโฉนดชุมชน เพื่อพวกเขาจะได้อยู่อาศัยไปจนชั่วลูกหลาน และหากมีการท่องเที่ยวหรือมีนักท่องเที่ยวเข้ามาก็ยังสามารถเป็นเจ้าของบ้านได้ เพราะที่ดินจะไม่ถูกซื้อขายเปลี่ยนมือไปจากคนต่างถิ่น อย่างนี้เป็นต้น


 

เมื่อวานนี้ ฉันได้รับจดหมายอีกฉบับหนึ่งที่น่าสนใจ อันสืบเนื่องมาจากป่าสนวัดจันทร์ก็คือ จดหมายที่เขียนว่า จากเชียงคานสู่ป่าสนวัดจันทร์

ในจดหมายนั้นเขาบอกว่า ไม่นานป่าสนวัดจันทร์ก็จะเป็นเช่นเชียงคานที่มีกลุ่มทุนเข้ามาลงทุนมากมายจนทำให้เจ้าของบ้านแทบไม่มีที่อยู่ในบ้านตัวเอง และบอกว่าที่น่าห่วงใบที่สุดก็คือ การมาเปิดเซเว่นที่เชียงคานและพวกเขากำลังต่อต้านกันอยู่ แรกดิฉันก็มาองผ่าน ๆ ว่า แต่เมื่ออ่านโดยละเอียดก็เห็นว่าน่าสนใจจึงเอามาลงให้อ่านกันค่ะ ว่าการมีเซเว่นมันเป็นอย่างไร


ฉันคิดว่าเซเว่นเข้ามาในชีวิตผู้คนจนกลายเป็นความเคยชินหนึ่ง เพราะครั้งหนึ่ง ไปเชียงคาน มีน้องคนหนึ่งซึ่งพักที่เดียวกัน เราคุยกันถูกคอ สักประมาณสองทุ่ม เธอพูดขึ้นว่า
ยังไม่ได้จ่ายค่าน้ำค่าไฟเลย ... เซเว่นไม่มี เออ เมืองนี้ไม่มีเซเว่น

ฉันถามเธอว่า ไม่จ่ายตอนนี้จะมีปัญหาไหม เธอบอกไม่มีหรอก แต่คิดขึ้นได้ก็อยากทำเลย ฉันบอกเธอว่า ถ้ารอได้ก็ไม่มีปัญหาอะไรไปจ่ายที่กรุงเทพฯก็ได้

เอาละ ลองมาอ่านจดหมายฉบับนี้ดูนะคะว่า ทำไมเขาถึงไม่อยากมีเซเว่นและมันส่งผลอะไรกับบ้านเมืองเขา  (จดหมายยาวจึงตัดตอนมาบางส่วน)
 


ริมฝั่งโขงเชียงคาน

 
ร้านค้าสะดวกซื้อนามเซเว่น-อีเลเว่น กำลังจะมาเปิดสาขาที่เชียงคาน


พวกเราต้องร่วมมือร่วมใจกันทำทุกวิถีทาง เพื่อต่อต้าน ขับไล่ไม่ให้นายทุนใหญ่เข้ามาแสวงหาผลประโยชน์ ฉกชิงเงินทองที่ควรจะหมุนเวียนสร้างเศรษฐกิจชุมชนให้เข้มแข็ง ภายใต้แนวทางในพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของพวกเรา


ทำไม  พวกเราไม่ต้องการเซเว่นอีเลเว่น...?  เพราะเชียงคาน  มีวิถีชีวิตแบบชาวบ้าน ที่สงบและอบอุ่น ใช้ชีวิตอย่างเรียบง่ายกันมาเป็นเวลานาน เป็นเมืองเชียงคานที่น่ารัก มีเสน่ห์ ในแบบของเชียงคานเอง ที่มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วประเทศ ใครๆ ก็อยากมาเชียงคาน มาสัมผัสชีวิตไทเชียงคานที่เปี่ยมล้นไปด้วยความงดงาม..  ในวิถีแบบชาวบ้านๆ อันหาได้ยากยิ่งแล้วในเมืองไทยในยุคนี้

แต่..  ร้านสะดวกซื้อแบบเซเว่นอีเลเว่น คือสัญลักษณ์แห่งความเป็นเมืองใหญ่ สนองตอบความต้องการของชีวิตคนเมือง ที่รีบเร่งร้อนรน ต้องการความสะดวกสบาย ใช้ชีวิตแบบกินอยู่หลับนอนไม่เป็นเวล่ำเวลา หิวเมื่อไหร่ ต้องการอะไร ก็ต้องได้ในทันที
!

เซเว่นเกิดขึ้นมา..  เสน่ห์เชียงคาน  วัฒนธรรมอันดีงาม  ก็จะถูกกัดเซาะ ทำลายความงามไปทีละนิดๆ   เด็กๆ บ้านเราก็จะฟุ้งเฟ้อ อยากได้อะไรนิด อยากซื้ออะไรหน่อย ก็จะคอยไปแต่ เซเว่นอยากได้เครื่องเขียน อยากได้ยาสีฟัน ทิชชู่ มาม่า ปลากระป๋อง ฯลฯ หิวขึ้นมาคราใด ก็จะวิ่งเข้าเซเว่น  ที่เต็มไปด้วยอาหารขยะที่ไม่จำเป็นกับชีวิต


ซาลาเปาโกฮ่วน ซาลาเปาปุยฝ้ายโกตี๋ ก็จะถูกแทนที่ด้วย ซาลาเปาเซเว่น ไอติมน้าเติบ ก็จะถูกเบียดตกถนนด้วยสเลอปี้  ผัดกะเพราน้านี ก็จะถูกเมิน คนหันไปกินอาหารกล่อง


ถ้าเรายอมให้พวกมันเข้ามากอบโกยจากบ้านเรา  มีหนึ่งก็ต้องมีสอง และ สามสี่ห้าจะตามมาอย่างรวดเร็ว...


แล้วทีนี้...  ร้านค้าชุมชนของไทบ้านเรา จะอยู่กันอย่างไร ? วิถีชีวิตที่เรียบง่ายงดงามจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร ?  ใครบ้างจะตอบได้


ด้วยจิตคารวะ
ไทเชียงคาน

 


เรือนไม้เชียงคาน

 

บล็อกของ แพร จารุ

แพร จารุ
มีคำกล่าวว่า "อาหารอายุสั้น คนกินอายุยืน อาหารอายุยืน คนกินอายุสั้น" แรกที่ฟังก็รู้สึกรำคาญคนพูดนิด ๆ เพราะเรากำลังกินอาหารอายุยืนแต่เราไม่อยากอายุสั้น สงสัยใช่ไหมคะว่าอาหารแบบไหนที่อายุยืน อาหารที่ปรุงแต่งมาเรียบร้อยแล้ว แช่ตู้ไว้ได้นานๆ นั่นคืออาหารอายุยืน กินกันได้นานๆ แช่ไว้ในตู้เย็น อาหารพวกนี้คนกินอายุสั้น แต่อาหารอายุสั้นก็พวกเห็ด ผักบุ้ง พวกเหล่านี้เป็นอาหารอายุสั้นอยู่ได้ไม่นาน แต่คนกินอายุยืน แต่เดี๋ยวนี้มีมะเขือเทศอายุยืนด้วยนะคะ เป็นพวกตัดต่อพันธุกรรมแบบให้ผิวแข็งไม่บอบช้ำในระหว่างขนส่ง
แพร จารุ
  1   เป็นนักเขียนมีความสุขไหม   วันหนึ่งฉันต้องตอบคำถามนี้ “เป็นนักเขียนมีความสุขไหม” ผู้ที่ถามคำถามนี้เป็นเด็กนักเรียนตัวเล็กๆ ชั้นประถมปีที่ 5 ฉันรู้สึกดีใจที่มีเด็กถามเรื่องความสุขมากกว่าเรื่องรายได้
แพร จารุ
ฉันห่างกรุงเทพฯ มานานจริงๆ นานจนไปไหนไม่ถูก ก่อนฟ้าสางรถทัวร์จอดตรงหัวมุมถนน ฉันเดินตรงเข้าไปทางถนนข้าวสารตามพื้นถนนแฉะ หาที่นั่งรอหลานมารับแต่ก็หาไม่ได้ พื้นแฉะ ๆ ผู้คนกำลังล้างพื้นกันอยู่ จึงตัดสินใจ เดินออกจากถนนข้าวสารมุ่งตรงไปทางกองฉลากกินแบ่งรัฐบาล มีคนจรนอนห่มผ้าเก่า ๆ อยู่มากมาย ตามทางเดิน  
แพร จารุ
มีเพื่อนอย่างน้อยสองคนตกหล่นไปจากชีวิต ทั้งที่ก่อนหน้านั้นเราเขียนจดหมายคุยกันอยู่เสมอ ๆ ต่อมาฉันเลิกตอบจดหมายเพื่อนทั้งสองคน 
แพร จารุ
2 กันยายน 2552 นั่งกินมะขามหวานเพลิน ๆ มะขามก็เปรี้ยวขมขึ้นมาทันที เพื่อนโทรมาบอกว่า เธอไปที่โรงพยาบาลนครพิงค์ ได้ยินเสียงตามสายที่ รพ.ขอบริจาคเงินช่วยเหลือเด็กชาวเขาที่แม่มาคลอดตายที่โรงพยาบาล “แม่มาคลอดตายที่โรงพยาบาล แสดงว่าเธอตายระหว่างคลอด” เพื่อนตอบว่าใช่ “เด็กยังอยู่รอดปลอดภัย” “ใช่”    
แพร จารุ
"อะไรเอ่ยมันโผล่ขึ้นมาจากดิน" คำถามเล่น ๆ ของเด็ก ๆ สมัยก่อนเราจะตอบว่า ขอม เพราะเคยเรียนเรื่องพระร่วง  ตอนขอมดำดิน แต่ เดี๋ยวนี้ถ้าไปตอบว่า "ขอม" เด็กไม่เข้าใจ
แพร จารุ
1 วันก่อนไปท่ากาน (ท่ากานเป็นหมู่บ้านหนึ่ง ในอำเภอสันป่าตอง เชียงใหม่ ) พบเด็ก หญิงสองคน เอาก้านกล้วยมาแกว่งไปมากระโดดเล่นกัน ดูน่ารักดี เป็นการเล่นแบบหาของใกล้ตัวมาเล่นกัน
แพร จารุ
10 กันยายน 2552 น้องคนหนึ่งโทรศัพท์มาบอกว่า “มีเรื่องตลกเศร้ามาเล่าให้ฟัง” ฉันหัวเราะ ไม่อยากฟังเธอเล่าอะไรเลยเพราะกำลังเจ็บหูอย่างแรง กำลังจะไปหาหมอ แต่เธอรีบบอกก่อนว่า “พี่ยังไม่รู้ใช่ไหม ลุงหมื่นแกฝายพญาคำ กับพ่อหลวงสมบูรณ์ ผู้ช่วยแกฝาย เขาเซ็นยินยอมให้กรมชลประทานสร้างประตูระบายน้ำแล้ว”
แพร จารุ
   บก.สุชาติ สวัสดิ์ศรี เทียบเชิญฉันเขียนเรื่องสั้น ช่อการะเกด ฉบับเทียบเชิญนักเขียนเก่าที่เคยเขียนช่อการะเกด
แพร จารุ
เธอนิ่งเงียบหลังจากกินอาหารเสร็จ "เศร้าทำไม" ฉันถามเธอ "กำลังดูกระถางต้นไม้อยู่" เธอตอบไม่ตรงกับคำถาม ฉันมองไปที่กระถางต้นไม้ มีอะไรตายอยู่ในนั้นที่ทำให้เธอเศร้า หรือว่าเศร้าที่ต้องมากินอาหารใต้ที่เมืองเหนือทั้งที่เธอเพิ่งเดินทางมาจากสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
แพร จารุ
 ผู้ชายคนหนึ่ง เลี้ยงปลวกเพื่อเอาปลวกไปเลี้ยงปลาดุก เขาบอกว่า เขาเฝ้ามองปลวกตัวอ้วน ๆ ที่ค่อยเติบโตขึ้น และเอาปลวกไปให้ปลาดุกกิน เขาอธิบายตัวเองว่าเป็นวิถีแห่งสัตว์โลก วิธีการใช้ชีวิตให้อยู่รอดฉันแค่สะดุดใจตรงที่เลี้ยงดูเขาไว้ก่อนแล้วค่อยจัดการ ฉันคิดว่า ถ้ามันกินกันเองตามวิถีชีวิตไม่เป็นไรฉันคิดถึงถ้อยคำหนึ่ง จำไม่ได้แล้วว่า ใครพูด "เขารัก...เหมือนคนเลี้ยงหมูรักหมูที่เลี้ยงไว้" นั่นหมายถึงรักและดูแลอย่างดีเพื่อเอาไว้ฆ่าและขาย
แพร จารุ
1  ฉันเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับความตายครั้งแรกเมื่อพ่อตายจากไป ในวันที่แม่ พี่ ๆและ ญาติ ๆ ต่างช่วยกันจัดงานให้พ่อ ผู้หญิงเตรียมอาหาร ปอกหอมกระเทียม เด็ดก้านพริกขี้หนู หั่นตะไคร้ ผู้ชายเตรียมไม้ฟืนเพื่อทำอาหาร หุงข้าว ต้มแกง ต้องหุงข้าวด้วยกระทะใบใหญ่  ต้องทำอาหารจำนวนมากในเวลาหลายวัน เรามีญาติเยอะ มีเพื่อนบ้าน และคนรู้จักมากมาย เพราะเราไม่ได้มีพ่อที่ดีต่อลูกเท่านั้นแต่มีพ่อที่ดีต่อผู้อื่นด้วย