Skip to main content

บน ฟ้า มี เมฆ ลอย บน ดอย มี เมฆ บัง
มี สาว งาม ชื่อ ดัง อยู่ หลัง แดน ดง ป่า
 
 
เนื้อเพลงมิดะค่ะ สองบรรทัด....เพราะเหลือเกิน และเข้าไปอยู่ในหัวใจใครต่อใครได้ไม่ยาก บนฟ้ามีเมฆลอยบนดอยมีเมฆบัง ฟังเพียงแค่นี้ก็จินตนาการได้กว้างไกล หัวใจก็ลอยไปถึงไหน ๆ แล้ว
 
ฉันรู้จักเพลงนี้ก่อนที่จะรู้จักดอยสูงที่มีชนเผ่าจริง ๆ เสียอีก เช่นเดียวกับรู้จักคำเมือง รู้ว่าล้านนามีภาษาของตัวเอง หลังจากรู้จักอุ๊ยคำ

จนเมื่อได้มีโอกาส มารู้จักศิลปินคนเขียนเพลงและร้องเพลงมิดะ ก็มีโอกาสได้ฟังมากขึ้น แค่ขึ้นอินโทรเพลงด้วยเสียงเม้าธ์ออแกนและเสียงฮัม ฮือ ฮือ  ฮือ ฮือ ฮือ.........บนฟ้ามีเมฆลอยบนดอยมีเมฆบัง ก็ต้องหยุดฟังแม้ว่าจะฟังบ่อยแค่ไหน ไม่ว่ากำลังช่วยแม่ครัวจัดจานใส่อาหาร หรือช่วยพนักงานเสิร์ฟเก็บจาน หรือนั่งคุยอยู่กับใครสักคนก็ตาม
 
ทำไมฉันถึงได้ฟังเพลงนี้บ่อย เพราะว่าเมื่อมาอยู่เมืองเหนือ เชียงใหม่ ฉันใช้ชีวิตร่วมบ้านกับนักดนตรีเล่นกีตาร์และร้องยังชีพ และฉันเดินทางไปกับเขาด้วยเสมอ ร้านที่เขาเล่นก็คือร้านคนรักของศิลปิน นักร้อง ที่เขียนเพลงและร้องเพลงมิดะ “จรัล มโนเพ็ชร” ฉันอยู่ว่าง ๆ ทำตัวให้เป็นประโยชน์ ด้วยการเป็นผู้ช่วยคนครัวบ้าง ผู้ช่วยพนักงานเสิร์ฟบ้าง นอกจากการมาพักผ่อนมาเที่ยวมาฟังเพลง
 
ฉันคุ้นกับเพลงมิดะมาก แต่ไม่เคยมีสักครั้งที่จะมีคำถามว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องจริงหรือไม่จริง อาจจะเป็นเพราะความงามของภาษา ความไพเราะ และความอ่อนโยนที่อยู่ในบทเพลง จนมันเข้าไปอยู่ในหัวใจคนฟัง ไม่ได้คิดถึงว่าจริงหรือไม่จริง จนเมื่อมีข่าวว่าพี่น้องชาวอาข่าออกมาเรียกร้อง และบอกแก่สังคมว่า มันไม่ใช่เรื่องจริงและทำให้ชนเผ่าอาข่าเสียหายโดยเฉพาะภาพของผู้หญิง ต้องให้หยุดร้องหรือเรียกว่าแบนเพลงนี้ “ไม่มีทั้งมิดะและลานสาวกอด”
 
เรื่องราวเข้มข้นขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะในปีที่ 10 การจากไปของจรัล มโนเพ็ชร ในปีนี้ เรื่องนี้ได้รับการพูดถึง ไปจนถึงมีการเปิดเวทีเสวนาทางวิชาการ สืบค้นกันทีเดียวว่ามีมิดะหรือไม่
 
และในโอกาสครบรอบสิบปีจรัล มโนเพ็ชร ในวันที่ 3 กันยายนนี้ มีหนังสือ สิบปีการจากไปของจรัล แน่นอนต้องมีปรากฏการณ์มิดะอยู่ในหนังสือเล่มนี้ เพราะมิดะเป็นปรากฏการณ์หนึ่งหลังการจากไปของจรัลที่เข้มข้นมาก คุณอันยา โพธิวัฒน์ ในฐานะคู่ชีวิตคุณจรัล เป็นผู้เขียนจัดทำร่วมกับเพื่อน ๆ
 
 

 
เมื่อมีปรากฏการณ์มิดะร้อนแรง ชาวอาข่ารู้สึกว่า ส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์ของเขาอย่างมากมาย ฉันจึงกลับมานั่งฟังเพลงนี้อีกครั้งอย่างตั้งใจ และบังเอิญเพื่อน ๆ คนเขียนหนังสือ คนทำงานศิลปะที่ไปมาหาสู่กันอยู่เสมอ ๆ มาที่บ้านจึงชวนฟังด้วยกัน
 
ไม่มีใครปฏิเสธว่าเพลงนี้เพราะ เข้าใจได้ว่าคนเขียนเพลงจับเอาเรื่องราวหรือเรื่องเล่า มาสร้างกับจินตนาการได้อย่างกลมกลืนงดงาม
 
 
เพื่อนคนเขียนสารคดีคนหนึ่งบอกว่า หลักฐานการมีอยู่จริงคือหนังสือสารคดี เขียนเมื่อปี 2493 ของนักเขียนสารคดีที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก ถือว่าเป็นขั้นครูของนักเขียนสารคดีรุ่นหลัง ๆ   และสารคดีคือการนำเสนอเรื่องจริง ไม่ใช่เรื่องแต่งเหมือนนิยายหรือเรื่องสั้น ดังนั้น หากจะกล่าวว่า นักเขียนสารคดียกเมฆหรือไม่รู้จริงเอามาเขียนก็รู้สึกว่าไม่อาจกล่าวได้ในฐานะคนทำสารคดีรุ่นหลังเพราะการเขียนสารคดีสักชิ้นหนึ่ง เราต้องไปถึงที่ถึงถิ่น ต้องเห็นกับตา ต้องเข้าไปอยู่ในเหตุการณ์นั้น ๆ จริง ๆ เรียกว่าต้องทุ่มเทกับงานอย่างยากและลำบาก  โดยเฉพาะนักเขียนสารคดีมืออาชีพ และอย่างคุณ “บุญช่วย ศรีสวัสดิ์” ที่เขียนหนังสือ “30 ชาติในเชียงราย” และอื่น ๆ อีกหลายเล่มที่เกี่ยวกับชาติพันธุ์ และท่านเสียชีวิตไปนานแล้ว



 

ใช่ ฉันเห็นจริงด้วย สำหรับคนเขียนสารคดี แต่สำหรับคนเขียนเพลง นักแต่งเพลงนั้น เขาไม่ใช่นักเขียนสารคดี เทียบได้กับคนเขียนเรื่องสั้น คือเอาเรื่องเล่า เอาตำนานมาสร้างจินตนาการแต่งเสริมได้
 
มีนักแปลคนหนึ่งเสนออย่างเป็นกลาง ๆ ว่า ชาวอาข่าลุกขึ้นมาบอกกับผู้คนว่า มันไม่จริง ไม่ใช่เรื่องของอาข่าก็สมควรแล้วและเป็นเรื่องที่ทำได้ หรือจะบอกกล่าว เรื่องราวชนเผ่าของเราเป็นอย่างไร ส่วนเพลงที่เขาร้องอยู่ก็ไม่ต้องไปแบนหรอก เขาก็ร้องของเขาไป เราก็บอกของเราไป และนักร้องอาข่าก็มีเพลงของตัวเองออกมาแล้ว
 
ส่วนเรื่องที่ว่า ผู้คนจากพื้นราบไปทำไม่ดีกับคนอาข่าและกล่าวอ้างว่า ทำตามเพลงนั่นไม่น่าจะใช่เพราะเพลงของเขาไม่มีอะไรจาบจ้วง หรือบอกว่า ใครก็ไปกอดสาวอาข่าได้ดังใจ  ลานสาวกอดในบทเพลง ฟังดูเหมือนเป็นที่พิเศษสำหรับกลุ่มคนที่เป็นเจ้าของถิ่นเท่านั้น
 
   ..งาม เหลือกำรำพัน
 เป็นหมันและเป็น หม้าย
ความ สวย งาม คือ ภัย
                    
ใครคนหนึ่งร้องท่อนนี้ขึ้นมา และบอกว่า งามเหลือกำรำพัน เป็นหมันและเป็นหม้าย ความสวยงามคือภัย  ฉันคิดว่าที่ไหน ๆ ก็เหมือนกัน ความสวยคือภัยโดยเฉพาะหญิงหม้าย นี่เป็นเรื่องสากลมาก
 
หน้าที่ของมิดะในบทเพลงของจรัลก็คือ
บอก สอน หื้อ ละอ่อน นั้น มี ความ ฮู้ กาม วิ-ธี
คือทำหน้าที่สอนเพศศึกษาให้กับเด็กหนุ่มและต้องเป็นหนุ่มที่จะไปออกเรือนมีครอบครัวเพื่อครอบครัวที่เป็นสุข เพื่อการสืบทอดเผ่าพันธุ์ก็เป็นได้
 
สำหรับฉันคิดว่า มิดะในบทเพลงมีจริงหรือไม่ และเพลงนี้ควรแบนหรือไม่นั่นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง  แต่ปรากฏการณ์มิดะในบทเพลงของจรัล มโนเพ็ชร ทำให้ฉันรู้สึกว่า การสร้างงานศิลปะ ในแขนงต่าง ๆ ของศิลปิน มันสร้างแรงกระเทือนได้จริง และอาจจะเป็นผลดีเป็นกำลังใจให้ศิลปินมุ่งมั่นที่จะสร้างงานอย่างจริงจังขึ้น
 
และนี่เป็นปรากฏการณ์ที่บอกว่า ไม่ว่างานเพลงดนตรี งานเขียน สารคดี และอื่น ๆ สามารถสร้างแรงผลักหรือส่งผลต่อสังคมได้จริง ๆ จนถึงขั้นเปลี่ยนแปลงทางสังคมได้ หากว่างานที่สร้างยิ่งใหญ่พอหรือเรียกว่าจริงพอไม่ใช่งานลวง ๆ  
                       
อย่างกรณีเพลง มิดะ ถือว่าเป็นเพลงที่ส่งผลสะเทือนจริง ๆ.
 
เพิ่มเติม เชิญร่วมงานค่ะ

วันเสาร์ที่ 3 กันยายน 2554
เป็นวันรำลึกครบรอบ 10 ปี การจากไปชั่วนิรันดร์ของจรัล มโนเพ็ชร ผู้ร่วมก่อตั้ง "ร้านสายหมอกกับดอกไม้" มาตั้งแต่ปี 2541 .... ขอเชิญทุกท่านที่ยังรักและคิดถึงศิลปินผู้ล่วงลับ ร่วมรำลึกถึงจรัล มโนเพ็ชร และปีนี้เป็นปีพิเศษ ในวันนี้ยังมีการรำลึกถึง แซม กัลยาณี เพื่อนผู้จากโลกนี้ไปเมื่อปีที่แล้ว ในวันที่ 3 กันยายน เช่นเดียวกัน  

1 ปี แซม และ 10 ปี จรัล จึงหลอมรวมดวงใจผองเพื่อนไว้ในวันเดียวกัน สถานที่เดียวกัน " สายหมอกกับดอกไม้ "  
 
ได้โปรดนำดอกไม้สดมาจากบ้านของท่าน ดอกหญ้า ดอกพุดซ้อน ดอกกุหลาบ หรือดอกมะเขือ ดอกไม้อะไรก็ได้ทั้งนั้น ตามแต่ใจ... เพื่อมอบให้จรัล มโนเพ็ชร และแซม กัลยาณี ...  
ทั่วบริเวณร้านสายหมอกกับดอกไม้ ทั้งภายในและสวนน้อยๆ ตกแต่งด้วยอารมณ์ความรู้สึก บนความเชื่อว่า ทุกหนแห่งเรายังมีเพื่อนทั้งสอง อยู่กับเราด้วยเสมอ.... Everywhere There's Friends....  
มีดนตรี มีกวี มีภาพเขียน แด่เพื่อนๆ ทุกๆ คน ในคืนนี้.... 
 
16.30 น. ลงทะเบียน
17.00 น. พิธีกรนำเข้าสู่รายการ
ตัวแทนท่านนายกสมาคมกวีผู้ล่วงลับ กล่าวเปิดงาน รำลึกถึงผู้จากไปทั้งสอง
จรัล มโนเพ็ชร และ แซม กัลยาณี   พร้อมทั้ง ประวัติ ชีวิตและผลงานของแซม กัลยาณี  ฉายภาพยนตร์สารคดีที่แซมฝากไว้กับโลกของเรา 
17.30 น. พูดคุยกันสบายๆ เรื่อง กรณีเพลงมิดะ กับ จรัล มโนเพ็ชร
ใครกันเล่าฆ่าความจริง? ร่วมพูดคุยกับ ดร.เพ็ญ ภัคตะ และ ดร.อุดร วงษ์ทับทิม
18.30 น. เปิดตัวหนังสือเรื่อง " ภารกิจปิดฝังมิดะ" ซึ่งจัดพิมพ์ขึ้นเพื่อรำลึก 10 ปี  การจากไปของ จรัล มโนเพ็ชร
 
ผู้ลงทะเบียนในงาน - รับหนังสือ "ภารกิจปิดฝังมิดะ" ฟรี 20 ท่าน จากการจับฉลาก
19.00 น. เป็นต้นไป อุ่นกลิ่นไอ ผองเพื่อนนานาชาติพันธุ์ รวมใจรำลึกนึกถึงผู้จากไปทั้งสองเพื่อให้หายคิดถึงเพื่อนกันบ้าง สักเล็กน้อยก็ยังดี 
ดวงดาวเผยโฉมหน้า นักดนตรีฝีมือเทพ เริ่มบรรเลงบทเพลง "รักและคิดถึง" เพื่อนทั้งสองผู้ล่วงลับลาจากไกลชั่วนิรันดร์.... 
17.00 น. - 20.30 น. มีอาหารพื้นเมือง ยกครัวโบราณมาจากบ้านป้าตา ฟรีเจ้า...   
ประตูงานปิดเวลา  22.00 น. เจ้า ( “ห้ามเข้า” แล้ว แต่ “ ออก ” ได้ )   
 
มีหนังสือพิเศษเกี่ยวเนื่องกรณีดัง " ภารกิจปิดฝังมิดะ "
หนังสือเล่มละ 175 บาท ค่าจัดส่งเล่มละ 5 บาท
 
อนุโมทนาร่วมกันร่วมสร้างฝัน....แด่...จรัล มโนเพ็ชร     
 

 

 
 

 

บล็อกของ แพร จารุ

แพร จารุ
นี้ไม่ใช่เรื่องสั้นหรือเรื่องแต่งแต่เป็นเรื่องจริง และนี้เป็นเรื่องน่าเศร้า ไม่ใช่เรื่องตลกแต่ถ้าคุณจะหัวเราะก็มีสิทธิที่จะทำได้ เพราะฉันก็หัวเราะไปแล้ว  เรื่องจริงที่จะเล่าให้ฟัง ...เรื่องมันเป็นอย่างนี้ค่ะ  ที่เชียงใหม่ ยามค่ำคืน มีหญิงสาวคนหนึ่งขับรถโฟล์คสีบานเย็น อยู่บนถนนสายหางดงเชียงใหม่ ในขณะขับรถไปนั้น น้ำมันหมด เพราะที่วัดระดับน้ำมันเสีย เธอรีบโทรศัพท์ไปหาน้องสาว บอกเส้นทางที่ตัวเองอยู่ แต่โทรศัพท์แบต หมดก่อนที่จะทันคุยกันรู้เรื่อง
แพร จารุ
"สงสารท่านผู้นำ" นาน ๆ ฉันถึงจะได้ยินคำพูดแบบนี้ ฉันจึงหยุดมองเธอคนพูด และเห็นว่าในมือของเธอถือหนังสือพิมพ์การเมืองรายสัปดาห์ที่หน้าปกมีรูปท่านผู้นำของเธอ "ทำไมถึงสงสาร" ฉันเสี่ยงถาม "ก็เขาไม่ได้กลับบ้าน"ฉันพยักหน้ารับคำแบบสงวนท่าที่ ไม่ผลีผลามแสดงความคิดเห็น แต่ก็รู้สึกประทับใจในเหตุผล เพราะไม่ว่าจะเป็นใครที่ไม่ได้กลับบ้านน่าสงสารทั้งนั้น ฉันเองก็เป็นหนึ่งคนที่ไม่ได้กลับบ้านในช่วงปีใหม่ คนไม่ได้กลับบ้านน่าสงสารจริงๆ ไม่ใช่เรื่องซับซ้อนอะไรมาก
แพร จารุ
เมื่อฉันดูข่าวสารบ้านเมืองในปัจจุบันนี้ ทำให้นึกถึงเหตุการณ์เมื่อวัยเยาว์ และอยากจะเล่าเอาไว้ เพราะพฤติกรรมของผู้ใหญ่ส่งผลต่อเด็กจริง ๆ ค่ะ ใครบางคนอาจจะไม่ทันคิดว่า การแสดงพฤติกรรมบางอย่างของผู้ใหญ่ เป็นได้มากกว่าการสอนเด็ก ๆ พฤติกรรมของผู้ใหญ่บางอย่างอาจส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของเด็กในอนาคตได้
แพร จารุ
ไนท์ซาฟารีที่อยู่ของสัตว์กลางคืน ฉันไม่เคยไปที่นั่นสักครั้งเดียว แม้ว่าจะมีงานเปิดอย่างยิ่งใหญ่ ใครต่อใครก็เดินทางไปที่นั่น และฉันถูกถามบ่อยๆ ว่า “ไปไนท์ซาฟารีมาหรือยัง” “ทำไมไม่ไป” ฉันได้แต่ยิ้มๆ ไม่ได้ตอบอะไร นอกจากว่า คนถามมีเวลาจริง ๆ ฉันก็จะอธิบายให้เขาฟังว่า ที่ไม่ไปเพราะไม่เห็นด้วยกับการสร้างไนท์ซาฟารีตั้งแต่ต้นและเห็นด้วยกับกลุ่มคัดค้านมาโดยตลอด ไปประชุมสัมมนากับเขาเสมอ
แพร จารุ
ธันวาคมเป็นเดือนที่มีญาติพี่น้องผองเพื่อนเดินทางมาเที่ยวบ้าน ดังนั้นเราจะไม่ไปไหนคือตั้งรับอยู่ที่บ้าน พวกเขามักจะมาพักหนึ่งคืนแล้วไปเที่ยวกันต่อ บางกลุ่มก็วกกลับมาอีกครั้งก่อนเดินทางกลับ พวกเขาจะค้างกันอย่างมากก็สองคืน  เรามีบ้านหลังเล็กมากๆ แต่มีบ้านพ่อหลังใหญ่ บ้านที่พ่อสามีทิ้งไว้เป็นสมบัติส่วนกลาง แรกเราคิดว่าจะให้เพื่อนๆ ไปพักชั้นบนของบ้านหลังนั้น แต่เอาเข้าจริงสองปีที่ผ่านมา ไม่มีใครไปพักหลังนั้นเลย
แพร จารุ
คราวนี้เสียงจากคนเชียงใหม่จริง ๆ ค่ะ เธอเขียนมาถึงดิฉัน พร้อมกับจดหมายสั้น ๆ ว่า ขอร่วมเขียนแถลงการณ์คัดค้าน การสร้างประตูระบายน้ำกั้นแม่น้ำปิงด้วยค่ะ เธอแนะนำตัวมาสั้นๆ ว่าเป็นคนเชียงใหม่โดยกำเนิด บ้านอยู่ข้างสถานีรถไฟ ข้ามสะพานนวรัตน์ เห็นฝายพญาคำมาตั้งแต่เล็ก ต้องขอโทษด้วยที่ทำจดหมายของเธอตกค้างอยู่นานนับเดือน กว่าจะได้เอามาลงให้ เชิญอ่านได้เลยค่ะ
แพร จารุ
 ฤดูฝนที่ผ่านมา ชาวบ้านตีนผาบ้านในหุบเขา ได้ปลูกต้นไม้บนดอย ครั้งนี้เป็นการปลูกเพื่อเป็นแนวกั้นระหว่างพื้นที่ทำกินกับเขตอุทยาน  เป็นการการทำแนวรั้วต้นไม้ในเช้าวันที่มีการปลูกต้นไม้สำหรับเป็นแนวเขตรั้ว ชาวบ้านตีนผาพร้อมเพรียงและจริงจัง ตั้งแต่เช้า กินข้าวแล้วเตรียมพร้อม มารวมตัวกันอยู่ที่หน้าโบสถ์ เพื่อขนกล้าไม้ไปปลูก มีทั้งผู้ใหญ่และเยาวชนและเด็กเล็ก ๆ ในหมู่บ้าน  ผู้ช่วยหัวหน้าอุทยานและเจ้าหน้าที่มากันพร้อม ผู้ใหญ่บ้าน นายวรเดช กล่าวว่า"การทำแนวรั้วเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมพื้นฟูรักษาป่านั่นแหละ"
แพร จารุ
 วันนี้ ฉันพบดอกไม้บนดอยสูงมากมาย ดอกไม้เล็ก ๆ เหมือนดาว กระจายอยู่ทั่วหุบเขา หลากสีสดใส ทั้งเหลือง ส้ม และสีม่วง หลายครั้งที่ผ่านทางมา เรามาด้วยความเร็วมาก จุดหมายอยู่ที่หลังดอย หมู่บ้านเล็ก ๆ หมู่บ้านหนึ่ง ความเร็วความรีบเร่งทำให้เราไม่ได้เห็นอะไรมากนักระหว่างทาง  ความหมายไม่ได้อยู่ที่ปลายทางแต่อยู่ที่ระหว่างทางที่ได้พบเจอ การได้ชื่นชมกับบรรยากาศระหว่างทาง นั่นเอง การเดินทางมาครั้งนี้เรามากับทีมช่างภาพสองคนและผู้ติดตามเป็นหญิงสาวน่ารักอีกหนึ่งคน มีเจ้าหน้าที่มูลนิธิฯเป็นชายหนุ่มสองคน
แพร จารุ
  วิถีชีวิตกับไม้ไผ่คู่กัน เมื่อลุงมาบอกว่า วิถีชีวิตปกาเก่อญอกับไม้ไผ่นั่นคู่กัน วันนี้คนรุ่นพะตี(ลุง) จึงต้องสอนให้ลูกหลานรู้จักจักสาน เพราะว่าเด็ก ๆ รุ่นใหม่ ไม่ค่อยรู้เรื่องจักสานแล้ว พะตีมาบอกว่า ถ้าไม่ได้สอนไว้หมดรุ่นพะตีแล้วก็จะหมดรุ่นไปเลย ทั้งที่วิถีปกาเก่อญอกับไม้ไผ่นั่นคู่กัน ฟังพะตีว่า ลูกหลานปกาเก่อญอไม่รู้จักการใช้ไม่ไผ่ ฉันคิดถึงลุงที่บ้านแกว่าลูกชาวเลทำปลากินไม่เป็น ไม่ใช่หาปลามากิน แต่ทำปลากินไม่เป็นนั่นคือเขาหามาให้แล้ว แต่ไม่รู้ว่าจะทำกินอย่างไร ขูดเกล็ดปลาออกจากตัวปลาไม่เป็น ดึงขี้ปลาออกไม่เป็น เป็นต้น ที่เป็นเช่นนี้เพราะอะไร…
แพร จารุ
อยู่อย่างมีสิทธิและศักดิ์ศรี“สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งคือ ชุมชนจะต้องเข้มแข็ง พึ่งตนเองได้ ลดการพึ่งพาภายนอก ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง และอยู่อย่างมีสิทธิและศักดิ์ศรี”แต่นั่นแหละ คำพูดเพราะๆ เช่นนี้จะเป็นจริงไปได้อย่างไร ในปัจจุบันนี้ หมู่บ้านเล็กๆ ในชุมชนหลายแห่งไม่สามารถพึ่งตนเองได้ การดำเนินชีวิตขึ้นอยู่กับปัจจัยภายนอก เช่น ขึ้นอยู่กับราคาผลผลิตที่ถูกกำหนดโดยตลาดทุนจากพืชเศรษฐกิจ 
แพร จารุ
พื้นที่ป่าในประเทศไทย เป็นพื้นที่ที่มีคนอาศัยอยู่ก่อนแล้ว โดยเฉพาะชุมชนชาวเขาทั้งหลายที่อาศัยก่อน ต่อมาพื้นที่ป่าก็ถูกประกาศเป็นพื้นที่ในเขตอุทยานแห่งชาติ หลายแห่งที่พยายามเอาคนออกจากป่า ตัวอย่างการย้ายคนออกจากพื้นที่เดิมมีอยู่หลายแห่ง ซึ่งส่งผลกระทบต่อชีวิตผู้คนที่ถูกย้ายและสังคมโดยรวมเป็นอย่างมาก เพราะทำให้เกิดปัญหาการย้ายถิ่นจากชนบทสู่เมือง การอพยพแรงงาน และปัญหาอื่นๆ ติดตามมาอีกมากมาย ทางออกหนึ่งก็คือการสนับสนุนให้คนที่อยู่ในป่าได้อยู่ในพื้นที่เดิมและดูแลป่าด้วยดังนั้น การทำความเข้าใจ ให้คนอยู่กับป่าได้และดูแลป่า น่าจะเป็นทางเลือกที่ดี มีคำถามว่า…
แพร จารุ
ฉันเพิ่งกลับมาจากหมู่บ้านหลังดอยค่ะ ไม่มีสัญญาณโทรศัพท์ ไม่ได้คุยกับใครนอกพื้นที่ แต่ทันทีที่ลงมาจากดอย เปิดเมลพบว่ามีรูป ฯพณฯ ท่าน "สมชาย วงศ์สวัสดิ์ " ที่มีหน้าเปื้อนสีเลือดส่งเข้ามา ใต้ภาพเขียนว่า “คนบ้านเดียวกันกับคุณ-งานหน้าไม่ล่ะ” ฉันลบภาพทิ้งทันที และรีบไปที่ก๊อกน้ำล้างหน้า แต่ความรู้สึกสลดหดหู่ไม่ได้จางหาย มันหดหู่จริง ๆ “คนบ้านเดียวกัน” กับ “เสื้อสีเดียวกัน” นอกจากแยกเสื้อแดงเสื้อเหลืองแล้ว ยังแยกคนลูกบ้านไหนกันด้วย