Skip to main content
แพรจารุ
 
 
 
 
ภาคใต้กำลังผจญกับปัญหาหมอกควัน เพราะประเทศเพื่อนบ้านเกิดไฟไหม้ป่า นี่แสดงให้เห็นว่า ปัญหาหมอกควันมีอยู่ทั่วไป ไม่ใช่แค่เมืองเชียงใหม่ ดังนั้นนอกจากเราจะพยายามกำจัดหมอกควันแล้วเราคงต้องคิดถึงการอยู่ร่วมกับหมอกควันด้วย ที่กล่าวเช่นนี้ไมได้หมายความว่า เราจะเฉยเมยและไม่คิดจะแก้ไขหรือทำอะไรให้ดีขึ้นนะ
 
ปัญหาหมอกควันมีอยู่ทั่วไปประเทศมหาอำนาจก็ต้องเผชิญกับปัญหานี้ และมีการใช้สารเคมีมาจัดการแล้วแต่ก็เอาไม่อยู่ ตอนนี้หันกลับมาใช้วิธีเดิม ๆ คือการ"ชิงเผา" หรือใช้วิธีเอาไฟจัดการกับไฟถือเป็นวิธีดั้งเดิมที่ถูกใช้มานาน
 
มาถึงเมืองไทยที่เชียงใหม่ หลังจากมีหมอกควันหนัก ๆ มาสองปี การแก้ปัญหามุ่งไปที่"วิธีไม่เผาไม่จุด" และการชิงเผา ทั้งสองวิธี  วิธีไม่เผาไม่จุดถูกใจผู้คนมาก และเป็นการรณรงค์ของรัฐด้วยมีงบประมาณติดป้ายทั้งเมือง (หมดไปเท่าไหร่ไม่รู้) ส่วนวิธีการชิงเผาไม่ค่อยได้รับการขานรับเพราะวิธีนี้ยุ่งยากและต้องเรียนรู้  เพราะจะต้องมีคำว่า เผาอย่างถูกวิธี และเหมาะสมกับวันเวลาและดินฟ้าอากาศ  และต้องรู้ว่าพื้นที่ไหนเผาได้ พื้นที่ไหนไม่ควรเผา
 
ในเมืองเชียงใหม่นั้นยังแบ่งออกเป็น ทำโดยคนของรัฐ หมายถึงว่า หน่วยดับไฟป่า และชาวบ้านซึ่งเขาต้องดูแลป่าคือดูแลบ้านตัวเองโดยมีเงินสนับสนุนจากรัฐอยู่บ้าง เช่นค่ากับข้าว (ข้าวเอาไปเองเพราะชาวบ้านชาวเขาปลูกข้าวอยู่แล้ว)
 
ต้นเดือนมิถุนายน 2555 หลังจากผ่านช่วงหมอกควันไปแล้วเข้าสู่หน้าฝน  มีน้อง ๆ ที่ทำงาน มูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน(ภาคเหนือ) และคณะทำงานเชียงใหม่จัดการตัวเอง ชวนขึ้นดอยเดินป่าไปดูชาวดอยจัดการไฟป่าเพื่อเตรียมการในปีต่อไป
 
เราไปที่หมู่บ้านในเขตป่า อยู่ในอำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ หมู่บ้านนี้อยู่ในอุทยานออบหลวง ถูกประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อ 2534  หน้าแล้งช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน ไปจนถึง พฤษภาคม จะเกิดไฟป่าเสมอ  จนเจ้าหน้าที่อุทยานหรือเจ้าหน้าที่ดับไฟทำงานไม่ไหว
 
เมื่อเป็นเช่นนี้ชาวบ้านก็ต้องเข้ามามีบทบาทมากขึ้น หากพื้นที่ไหนเจ้าหน้าที่ของรัฐกับชาวบ้านเข้ากันได้ดีการทำงานก็ดีขึ้นนี่ก็แป็นเรื่องธรรมดา
 
ไปหยุดที่บ้านขุนแตะ บ้านห้วยขนุน บ้านห้วยส้มป่อย บ้านห้วยมะนาว ซึ่งอยู่ในตำบลดอยแก้วอำเภอจอมทอง สามหมูบ้านที่เราไป มีผู้ใหญ่บ้านหรือในพื้นถิ่นเรียกว่าพ่อหลวงมาพูดคุย และมี สท.หมู่บ้านขุนแตะอีกหนึ่งคน
 
พื้นที่ตรงนี้เรียกว่าเขตป่าดิบ จึงใช้วิธีทำแนวกันไฟเพื่อไม่ไห้ไฟไหม้ป่า ตั้งหน่วยลาดตะเวณคอยดับไฟถ้ามีไฟลามเข้ามา และมีพิธีสาปแช่งคนทำไฟไหม้ป่าด้วย
 
มีเสียงบ่นอย่างเหนื่อยอ่อน เพราะนอกจากทำงานอย่างเหนื่อยหนักแล้ว ยังถูกกล่าวหาว่าชาวเขาเผาป่าทั้งๆที่จริงแล้วพวกเขาดูแลป่า
 
ในเขตป่าดิบพื้นที่สี่หมู่บ้านที่เราไปดูมานี้ใช้วิธีจัดการด้วยตัวเอง คือการทำแนวกันไฟ และจัดทีมลาดตะเวณของลูกบ้าน แต่พื้นล่างลงไปที่เป็นป่าเต็ง-รัง พวกเขาใช้วิธีชิงเผา เราไปดูพื้นที่ที่ใช้วิธีชิงเผากันต่อไป
 
 
พ่อหลวงบ้านแม่เตี๊ยะ ตำบลสบเตี๊ยะ ใช้วิธีชิงเผาในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ พ่อหลวงอธิบายว่า พวกเขามีวิธีการเผาอย่างเป็นระบบ  มีความชำนาญ มีทีมชาวบ้านช่วยกัน เผาก่อนที่จะเข้าสู่ฤดูร้อน
 
                 “ถ้าไม่เผาใครจะมาช่วยดับเวลาไฟติดขึ้นมา” พ่อหลวงถามอย่างจริงจัง

งานนี้มีนักวิชาการ นักวิจัยร่วมเดินทางไปด้วย อาจารย์จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ดร.วัชรพงษ์ ธัชยพงษ์ ได้เข้าไปทำงานวิจัยในพื้นที่ และเห็นด้วยกับการจัดการโดยวิธีนี้ ในเขตพื้นที่ป่าเต็งรัง เพราะในเขตพื้นที่นี้มีการย่อยสลายช้ากว่าป่าดิบ ซึ่งถ้าไม่เผานาน ๆ จะไม่สามารถรับคามร้อนจากเชื้อเพลิงที่ทับถมกันหลายปีไม่ไหว  และการชิงเผายังช่วยในการเติบโตของต้นไม้บางอย่างและช่วยป้องกันจุลินทรีย์ในดินที่อาจถูกทำลายไปหมดสิ้นหากไฟป่าเข้ามาเนื่องจากไฟป่าลุกไหม้นานกว่าวิธีการชิงเผา
 
การชิงเผาสามารถป้องกันไฟป่าได้อย่างดี  แต่ต้องไม่เผาพร้อมกัน และเผาอย่างเป็นระบบ และรู้จักช่วงเวลาด้วย  เพื่อลดความเข้มข้นของมลภาวะในอากาศ ”
 
ไฟและควันมาจากไหน  แน่นอนว่าไม่ใช่มาจากการเผาหรือไฟไหม้ป่าเท่านั้น จากสาเหตุอื่น เช่นโรงงานอุตสาหกรรม และการท่องเที่ยวด้วย การจราจรที่แน่นหนาอยู่บนถนน อีกทั้งเชียงใหม่เป็นเมืองแอ่งกระทะ ที่มีคนมาอยู่กันมากเกินที่เมืองจะรับได้ ควันจึงอบอวลอยู่ในแอ่งยาวนาน
 
แล้วหมอกควันในหน้าร้อนจะหายไปง่าย ๆ ไหม? เจ้าหน้าที่มูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน(ภาคเหนือ) คนหนึ่งบอกว่า "มันไม่หายไปง่าย ๆ  แต่เราสามารถทำให้มันลดลงได้ เช่นลดค่าความเข้มข้นของมันลง  หากหมู่บ้านในเขตชนบทของเชียงใหม่พันห้าร้อยหมู่บ้านได้จัดการตัวเอง ด้วยการสร้างแผนอย่างเป็นรูปธรรมในทุกหมู่บ้าน มีความรู้ ความเข้าใจ  มีข้อมูล  มีแผน และมีกลไกจัดการ คือต้องมาจากชาวบ้านวางแผนจากข้างล่างสู่ข้างบน ซึ่งมันก็คือการกระจายอำนาจนั่นเอง
 
นี่จึงเป็นประเด็นที่น่าสนใจ เพราะนโยบายที่มาจากส่วนกลาง อาจจะไม่มีความสอดคล้อง และการวิเคราะห์ปัญหาไม่ควรมองไปที่ปัญหาหนึ่งปัญหาใด แต่ต้องดูรอบด้านว่าสาเหตุของปัญหามาจากอะไรบ้าง และที่สำคัญก็คือควรมีความจริงใจในการแก้ปัญหาจริง ๆ ด้วย

 ----------------------------------  

บล็อกของ แพร จารุ

แพร จารุ
นี้ไม่ใช่เรื่องสั้นหรือเรื่องแต่งแต่เป็นเรื่องจริง และนี้เป็นเรื่องน่าเศร้า ไม่ใช่เรื่องตลกแต่ถ้าคุณจะหัวเราะก็มีสิทธิที่จะทำได้ เพราะฉันก็หัวเราะไปแล้ว  เรื่องจริงที่จะเล่าให้ฟัง ...เรื่องมันเป็นอย่างนี้ค่ะ  ที่เชียงใหม่ ยามค่ำคืน มีหญิงสาวคนหนึ่งขับรถโฟล์คสีบานเย็น อยู่บนถนนสายหางดงเชียงใหม่ ในขณะขับรถไปนั้น น้ำมันหมด เพราะที่วัดระดับน้ำมันเสีย เธอรีบโทรศัพท์ไปหาน้องสาว บอกเส้นทางที่ตัวเองอยู่ แต่โทรศัพท์แบต หมดก่อนที่จะทันคุยกันรู้เรื่อง
แพร จารุ
"สงสารท่านผู้นำ" นาน ๆ ฉันถึงจะได้ยินคำพูดแบบนี้ ฉันจึงหยุดมองเธอคนพูด และเห็นว่าในมือของเธอถือหนังสือพิมพ์การเมืองรายสัปดาห์ที่หน้าปกมีรูปท่านผู้นำของเธอ "ทำไมถึงสงสาร" ฉันเสี่ยงถาม "ก็เขาไม่ได้กลับบ้าน"ฉันพยักหน้ารับคำแบบสงวนท่าที่ ไม่ผลีผลามแสดงความคิดเห็น แต่ก็รู้สึกประทับใจในเหตุผล เพราะไม่ว่าจะเป็นใครที่ไม่ได้กลับบ้านน่าสงสารทั้งนั้น ฉันเองก็เป็นหนึ่งคนที่ไม่ได้กลับบ้านในช่วงปีใหม่ คนไม่ได้กลับบ้านน่าสงสารจริงๆ ไม่ใช่เรื่องซับซ้อนอะไรมาก
แพร จารุ
เมื่อฉันดูข่าวสารบ้านเมืองในปัจจุบันนี้ ทำให้นึกถึงเหตุการณ์เมื่อวัยเยาว์ และอยากจะเล่าเอาไว้ เพราะพฤติกรรมของผู้ใหญ่ส่งผลต่อเด็กจริง ๆ ค่ะ ใครบางคนอาจจะไม่ทันคิดว่า การแสดงพฤติกรรมบางอย่างของผู้ใหญ่ เป็นได้มากกว่าการสอนเด็ก ๆ พฤติกรรมของผู้ใหญ่บางอย่างอาจส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของเด็กในอนาคตได้
แพร จารุ
ไนท์ซาฟารีที่อยู่ของสัตว์กลางคืน ฉันไม่เคยไปที่นั่นสักครั้งเดียว แม้ว่าจะมีงานเปิดอย่างยิ่งใหญ่ ใครต่อใครก็เดินทางไปที่นั่น และฉันถูกถามบ่อยๆ ว่า “ไปไนท์ซาฟารีมาหรือยัง” “ทำไมไม่ไป” ฉันได้แต่ยิ้มๆ ไม่ได้ตอบอะไร นอกจากว่า คนถามมีเวลาจริง ๆ ฉันก็จะอธิบายให้เขาฟังว่า ที่ไม่ไปเพราะไม่เห็นด้วยกับการสร้างไนท์ซาฟารีตั้งแต่ต้นและเห็นด้วยกับกลุ่มคัดค้านมาโดยตลอด ไปประชุมสัมมนากับเขาเสมอ
แพร จารุ
ธันวาคมเป็นเดือนที่มีญาติพี่น้องผองเพื่อนเดินทางมาเที่ยวบ้าน ดังนั้นเราจะไม่ไปไหนคือตั้งรับอยู่ที่บ้าน พวกเขามักจะมาพักหนึ่งคืนแล้วไปเที่ยวกันต่อ บางกลุ่มก็วกกลับมาอีกครั้งก่อนเดินทางกลับ พวกเขาจะค้างกันอย่างมากก็สองคืน  เรามีบ้านหลังเล็กมากๆ แต่มีบ้านพ่อหลังใหญ่ บ้านที่พ่อสามีทิ้งไว้เป็นสมบัติส่วนกลาง แรกเราคิดว่าจะให้เพื่อนๆ ไปพักชั้นบนของบ้านหลังนั้น แต่เอาเข้าจริงสองปีที่ผ่านมา ไม่มีใครไปพักหลังนั้นเลย
แพร จารุ
คราวนี้เสียงจากคนเชียงใหม่จริง ๆ ค่ะ เธอเขียนมาถึงดิฉัน พร้อมกับจดหมายสั้น ๆ ว่า ขอร่วมเขียนแถลงการณ์คัดค้าน การสร้างประตูระบายน้ำกั้นแม่น้ำปิงด้วยค่ะ เธอแนะนำตัวมาสั้นๆ ว่าเป็นคนเชียงใหม่โดยกำเนิด บ้านอยู่ข้างสถานีรถไฟ ข้ามสะพานนวรัตน์ เห็นฝายพญาคำมาตั้งแต่เล็ก ต้องขอโทษด้วยที่ทำจดหมายของเธอตกค้างอยู่นานนับเดือน กว่าจะได้เอามาลงให้ เชิญอ่านได้เลยค่ะ
แพร จารุ
 ฤดูฝนที่ผ่านมา ชาวบ้านตีนผาบ้านในหุบเขา ได้ปลูกต้นไม้บนดอย ครั้งนี้เป็นการปลูกเพื่อเป็นแนวกั้นระหว่างพื้นที่ทำกินกับเขตอุทยาน  เป็นการการทำแนวรั้วต้นไม้ในเช้าวันที่มีการปลูกต้นไม้สำหรับเป็นแนวเขตรั้ว ชาวบ้านตีนผาพร้อมเพรียงและจริงจัง ตั้งแต่เช้า กินข้าวแล้วเตรียมพร้อม มารวมตัวกันอยู่ที่หน้าโบสถ์ เพื่อขนกล้าไม้ไปปลูก มีทั้งผู้ใหญ่และเยาวชนและเด็กเล็ก ๆ ในหมู่บ้าน  ผู้ช่วยหัวหน้าอุทยานและเจ้าหน้าที่มากันพร้อม ผู้ใหญ่บ้าน นายวรเดช กล่าวว่า"การทำแนวรั้วเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมพื้นฟูรักษาป่านั่นแหละ"
แพร จารุ
 วันนี้ ฉันพบดอกไม้บนดอยสูงมากมาย ดอกไม้เล็ก ๆ เหมือนดาว กระจายอยู่ทั่วหุบเขา หลากสีสดใส ทั้งเหลือง ส้ม และสีม่วง หลายครั้งที่ผ่านทางมา เรามาด้วยความเร็วมาก จุดหมายอยู่ที่หลังดอย หมู่บ้านเล็ก ๆ หมู่บ้านหนึ่ง ความเร็วความรีบเร่งทำให้เราไม่ได้เห็นอะไรมากนักระหว่างทาง  ความหมายไม่ได้อยู่ที่ปลายทางแต่อยู่ที่ระหว่างทางที่ได้พบเจอ การได้ชื่นชมกับบรรยากาศระหว่างทาง นั่นเอง การเดินทางมาครั้งนี้เรามากับทีมช่างภาพสองคนและผู้ติดตามเป็นหญิงสาวน่ารักอีกหนึ่งคน มีเจ้าหน้าที่มูลนิธิฯเป็นชายหนุ่มสองคน
แพร จารุ
  วิถีชีวิตกับไม้ไผ่คู่กัน เมื่อลุงมาบอกว่า วิถีชีวิตปกาเก่อญอกับไม้ไผ่นั่นคู่กัน วันนี้คนรุ่นพะตี(ลุง) จึงต้องสอนให้ลูกหลานรู้จักจักสาน เพราะว่าเด็ก ๆ รุ่นใหม่ ไม่ค่อยรู้เรื่องจักสานแล้ว พะตีมาบอกว่า ถ้าไม่ได้สอนไว้หมดรุ่นพะตีแล้วก็จะหมดรุ่นไปเลย ทั้งที่วิถีปกาเก่อญอกับไม้ไผ่นั่นคู่กัน ฟังพะตีว่า ลูกหลานปกาเก่อญอไม่รู้จักการใช้ไม่ไผ่ ฉันคิดถึงลุงที่บ้านแกว่าลูกชาวเลทำปลากินไม่เป็น ไม่ใช่หาปลามากิน แต่ทำปลากินไม่เป็นนั่นคือเขาหามาให้แล้ว แต่ไม่รู้ว่าจะทำกินอย่างไร ขูดเกล็ดปลาออกจากตัวปลาไม่เป็น ดึงขี้ปลาออกไม่เป็น เป็นต้น ที่เป็นเช่นนี้เพราะอะไร…
แพร จารุ
อยู่อย่างมีสิทธิและศักดิ์ศรี“สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งคือ ชุมชนจะต้องเข้มแข็ง พึ่งตนเองได้ ลดการพึ่งพาภายนอก ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง และอยู่อย่างมีสิทธิและศักดิ์ศรี”แต่นั่นแหละ คำพูดเพราะๆ เช่นนี้จะเป็นจริงไปได้อย่างไร ในปัจจุบันนี้ หมู่บ้านเล็กๆ ในชุมชนหลายแห่งไม่สามารถพึ่งตนเองได้ การดำเนินชีวิตขึ้นอยู่กับปัจจัยภายนอก เช่น ขึ้นอยู่กับราคาผลผลิตที่ถูกกำหนดโดยตลาดทุนจากพืชเศรษฐกิจ 
แพร จารุ
พื้นที่ป่าในประเทศไทย เป็นพื้นที่ที่มีคนอาศัยอยู่ก่อนแล้ว โดยเฉพาะชุมชนชาวเขาทั้งหลายที่อาศัยก่อน ต่อมาพื้นที่ป่าก็ถูกประกาศเป็นพื้นที่ในเขตอุทยานแห่งชาติ หลายแห่งที่พยายามเอาคนออกจากป่า ตัวอย่างการย้ายคนออกจากพื้นที่เดิมมีอยู่หลายแห่ง ซึ่งส่งผลกระทบต่อชีวิตผู้คนที่ถูกย้ายและสังคมโดยรวมเป็นอย่างมาก เพราะทำให้เกิดปัญหาการย้ายถิ่นจากชนบทสู่เมือง การอพยพแรงงาน และปัญหาอื่นๆ ติดตามมาอีกมากมาย ทางออกหนึ่งก็คือการสนับสนุนให้คนที่อยู่ในป่าได้อยู่ในพื้นที่เดิมและดูแลป่าด้วยดังนั้น การทำความเข้าใจ ให้คนอยู่กับป่าได้และดูแลป่า น่าจะเป็นทางเลือกที่ดี มีคำถามว่า…
แพร จารุ
ฉันเพิ่งกลับมาจากหมู่บ้านหลังดอยค่ะ ไม่มีสัญญาณโทรศัพท์ ไม่ได้คุยกับใครนอกพื้นที่ แต่ทันทีที่ลงมาจากดอย เปิดเมลพบว่ามีรูป ฯพณฯ ท่าน "สมชาย วงศ์สวัสดิ์ " ที่มีหน้าเปื้อนสีเลือดส่งเข้ามา ใต้ภาพเขียนว่า “คนบ้านเดียวกันกับคุณ-งานหน้าไม่ล่ะ” ฉันลบภาพทิ้งทันที และรีบไปที่ก๊อกน้ำล้างหน้า แต่ความรู้สึกสลดหดหู่ไม่ได้จางหาย มันหดหู่จริง ๆ “คนบ้านเดียวกัน” กับ “เสื้อสีเดียวกัน” นอกจากแยกเสื้อแดงเสื้อเหลืองแล้ว ยังแยกคนลูกบ้านไหนกันด้วย