Skip to main content
แพรจารุ
 
 
 
 
ภาคใต้กำลังผจญกับปัญหาหมอกควัน เพราะประเทศเพื่อนบ้านเกิดไฟไหม้ป่า นี่แสดงให้เห็นว่า ปัญหาหมอกควันมีอยู่ทั่วไป ไม่ใช่แค่เมืองเชียงใหม่ ดังนั้นนอกจากเราจะพยายามกำจัดหมอกควันแล้วเราคงต้องคิดถึงการอยู่ร่วมกับหมอกควันด้วย ที่กล่าวเช่นนี้ไมได้หมายความว่า เราจะเฉยเมยและไม่คิดจะแก้ไขหรือทำอะไรให้ดีขึ้นนะ
 
ปัญหาหมอกควันมีอยู่ทั่วไปประเทศมหาอำนาจก็ต้องเผชิญกับปัญหานี้ และมีการใช้สารเคมีมาจัดการแล้วแต่ก็เอาไม่อยู่ ตอนนี้หันกลับมาใช้วิธีเดิม ๆ คือการ"ชิงเผา" หรือใช้วิธีเอาไฟจัดการกับไฟถือเป็นวิธีดั้งเดิมที่ถูกใช้มานาน
 
มาถึงเมืองไทยที่เชียงใหม่ หลังจากมีหมอกควันหนัก ๆ มาสองปี การแก้ปัญหามุ่งไปที่"วิธีไม่เผาไม่จุด" และการชิงเผา ทั้งสองวิธี  วิธีไม่เผาไม่จุดถูกใจผู้คนมาก และเป็นการรณรงค์ของรัฐด้วยมีงบประมาณติดป้ายทั้งเมือง (หมดไปเท่าไหร่ไม่รู้) ส่วนวิธีการชิงเผาไม่ค่อยได้รับการขานรับเพราะวิธีนี้ยุ่งยากและต้องเรียนรู้  เพราะจะต้องมีคำว่า เผาอย่างถูกวิธี และเหมาะสมกับวันเวลาและดินฟ้าอากาศ  และต้องรู้ว่าพื้นที่ไหนเผาได้ พื้นที่ไหนไม่ควรเผา
 
ในเมืองเชียงใหม่นั้นยังแบ่งออกเป็น ทำโดยคนของรัฐ หมายถึงว่า หน่วยดับไฟป่า และชาวบ้านซึ่งเขาต้องดูแลป่าคือดูแลบ้านตัวเองโดยมีเงินสนับสนุนจากรัฐอยู่บ้าง เช่นค่ากับข้าว (ข้าวเอาไปเองเพราะชาวบ้านชาวเขาปลูกข้าวอยู่แล้ว)
 
ต้นเดือนมิถุนายน 2555 หลังจากผ่านช่วงหมอกควันไปแล้วเข้าสู่หน้าฝน  มีน้อง ๆ ที่ทำงาน มูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน(ภาคเหนือ) และคณะทำงานเชียงใหม่จัดการตัวเอง ชวนขึ้นดอยเดินป่าไปดูชาวดอยจัดการไฟป่าเพื่อเตรียมการในปีต่อไป
 
เราไปที่หมู่บ้านในเขตป่า อยู่ในอำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ หมู่บ้านนี้อยู่ในอุทยานออบหลวง ถูกประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อ 2534  หน้าแล้งช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน ไปจนถึง พฤษภาคม จะเกิดไฟป่าเสมอ  จนเจ้าหน้าที่อุทยานหรือเจ้าหน้าที่ดับไฟทำงานไม่ไหว
 
เมื่อเป็นเช่นนี้ชาวบ้านก็ต้องเข้ามามีบทบาทมากขึ้น หากพื้นที่ไหนเจ้าหน้าที่ของรัฐกับชาวบ้านเข้ากันได้ดีการทำงานก็ดีขึ้นนี่ก็แป็นเรื่องธรรมดา
 
ไปหยุดที่บ้านขุนแตะ บ้านห้วยขนุน บ้านห้วยส้มป่อย บ้านห้วยมะนาว ซึ่งอยู่ในตำบลดอยแก้วอำเภอจอมทอง สามหมูบ้านที่เราไป มีผู้ใหญ่บ้านหรือในพื้นถิ่นเรียกว่าพ่อหลวงมาพูดคุย และมี สท.หมู่บ้านขุนแตะอีกหนึ่งคน
 
พื้นที่ตรงนี้เรียกว่าเขตป่าดิบ จึงใช้วิธีทำแนวกันไฟเพื่อไม่ไห้ไฟไหม้ป่า ตั้งหน่วยลาดตะเวณคอยดับไฟถ้ามีไฟลามเข้ามา และมีพิธีสาปแช่งคนทำไฟไหม้ป่าด้วย
 
มีเสียงบ่นอย่างเหนื่อยอ่อน เพราะนอกจากทำงานอย่างเหนื่อยหนักแล้ว ยังถูกกล่าวหาว่าชาวเขาเผาป่าทั้งๆที่จริงแล้วพวกเขาดูแลป่า
 
ในเขตป่าดิบพื้นที่สี่หมู่บ้านที่เราไปดูมานี้ใช้วิธีจัดการด้วยตัวเอง คือการทำแนวกันไฟ และจัดทีมลาดตะเวณของลูกบ้าน แต่พื้นล่างลงไปที่เป็นป่าเต็ง-รัง พวกเขาใช้วิธีชิงเผา เราไปดูพื้นที่ที่ใช้วิธีชิงเผากันต่อไป
 
 
พ่อหลวงบ้านแม่เตี๊ยะ ตำบลสบเตี๊ยะ ใช้วิธีชิงเผาในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ พ่อหลวงอธิบายว่า พวกเขามีวิธีการเผาอย่างเป็นระบบ  มีความชำนาญ มีทีมชาวบ้านช่วยกัน เผาก่อนที่จะเข้าสู่ฤดูร้อน
 
                 “ถ้าไม่เผาใครจะมาช่วยดับเวลาไฟติดขึ้นมา” พ่อหลวงถามอย่างจริงจัง

งานนี้มีนักวิชาการ นักวิจัยร่วมเดินทางไปด้วย อาจารย์จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ดร.วัชรพงษ์ ธัชยพงษ์ ได้เข้าไปทำงานวิจัยในพื้นที่ และเห็นด้วยกับการจัดการโดยวิธีนี้ ในเขตพื้นที่ป่าเต็งรัง เพราะในเขตพื้นที่นี้มีการย่อยสลายช้ากว่าป่าดิบ ซึ่งถ้าไม่เผานาน ๆ จะไม่สามารถรับคามร้อนจากเชื้อเพลิงที่ทับถมกันหลายปีไม่ไหว  และการชิงเผายังช่วยในการเติบโตของต้นไม้บางอย่างและช่วยป้องกันจุลินทรีย์ในดินที่อาจถูกทำลายไปหมดสิ้นหากไฟป่าเข้ามาเนื่องจากไฟป่าลุกไหม้นานกว่าวิธีการชิงเผา
 
การชิงเผาสามารถป้องกันไฟป่าได้อย่างดี  แต่ต้องไม่เผาพร้อมกัน และเผาอย่างเป็นระบบ และรู้จักช่วงเวลาด้วย  เพื่อลดความเข้มข้นของมลภาวะในอากาศ ”
 
ไฟและควันมาจากไหน  แน่นอนว่าไม่ใช่มาจากการเผาหรือไฟไหม้ป่าเท่านั้น จากสาเหตุอื่น เช่นโรงงานอุตสาหกรรม และการท่องเที่ยวด้วย การจราจรที่แน่นหนาอยู่บนถนน อีกทั้งเชียงใหม่เป็นเมืองแอ่งกระทะ ที่มีคนมาอยู่กันมากเกินที่เมืองจะรับได้ ควันจึงอบอวลอยู่ในแอ่งยาวนาน
 
แล้วหมอกควันในหน้าร้อนจะหายไปง่าย ๆ ไหม? เจ้าหน้าที่มูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน(ภาคเหนือ) คนหนึ่งบอกว่า "มันไม่หายไปง่าย ๆ  แต่เราสามารถทำให้มันลดลงได้ เช่นลดค่าความเข้มข้นของมันลง  หากหมู่บ้านในเขตชนบทของเชียงใหม่พันห้าร้อยหมู่บ้านได้จัดการตัวเอง ด้วยการสร้างแผนอย่างเป็นรูปธรรมในทุกหมู่บ้าน มีความรู้ ความเข้าใจ  มีข้อมูล  มีแผน และมีกลไกจัดการ คือต้องมาจากชาวบ้านวางแผนจากข้างล่างสู่ข้างบน ซึ่งมันก็คือการกระจายอำนาจนั่นเอง
 
นี่จึงเป็นประเด็นที่น่าสนใจ เพราะนโยบายที่มาจากส่วนกลาง อาจจะไม่มีความสอดคล้อง และการวิเคราะห์ปัญหาไม่ควรมองไปที่ปัญหาหนึ่งปัญหาใด แต่ต้องดูรอบด้านว่าสาเหตุของปัญหามาจากอะไรบ้าง และที่สำคัญก็คือควรมีความจริงใจในการแก้ปัญหาจริง ๆ ด้วย

 ----------------------------------  

บล็อกของ แพร จารุ

แพร จารุ
“จึงขอตั้งจิตมั่นว่าจะพูดแต่ความจริงด้วยถ้อยคำที่ก่อให้เกิดความมั่นใจ ความเบิกบาน และความหวัง โดยไม่กระพือข่าวที่ตัวเองไม่รู้แน่ชัด รวมทั้งไม่วิพากษ์วิจารณ์ หรือกล่าวโทษในสิ่งที่ตัวเองไม่แน่ใจ” ฉันชอบถ้อยคำนี้มาก เป็นถ้อยคำ ที่เพื่อนนำมาฝากหลังจากที่เธอกลับมาจากภาวนา เรื่องมันเป็นอย่างนี้ค่ะ... เพื่อนของฉันกลับมาจาก “ภาวนา” แบบหมู่บ้านพลัม เธอว่าดีงามมาก ใช้กับชีวิตได้ เธอพูดถึง ข้ออบรมสติ 5 ประการ แต่เธอเน้นข้อฝึกอบรม ข้อที่ 4 เธอเขียนส่งมาให้ฉันอ่าน ฉันคิดว่าเธอคงอยากให้ฉันตระหนักรู้ หรือไม่เธอก็บอกอ้อม ๆ ว่า ฉันเป็นคนที่ควรจะปฏิบัติเพราะฉันมีปัญหาในข้อนี้…
แพร จารุ
ระหว่างการพูดคุยกับเพื่อน เพื่อนนักเขียนของฉัน ไปอยู่ไกลถึงลอนดอน ช่วงที่ผ่านมาเธอกลับบ้านเพื่อมาส่งแม่เดินทางไกล เพราะครั้งนี้แม่ไปแล้วจะไม่กลับมาอีกเลย และไม่รู้ว่าเส้นทางสายยาวไกลของแม่อยู่ที่ไหน แต่สำหรับเธอ เชื่อว่า จะไปพบกันที่พระเจ้า เราไม่ได้พบหน้ากันมานาน ได้แต่คุยโทรศัพท์กัน ช่วงแรกเพื่อนนักเขียนของฉันนั่งทำงานเขียน นั่งวาดภาพ และปลูกต้นไม้อยู่ในเรือนกระจกอยู่ที่บ้าน ต่อมาเธอไม่เลือกที่จะนั่งเขียนหนังสืออยู่ที่บ้านแล้ว เธอไปทำงานที่พักคนชรา ทำงานอยู่กับคนแก่ ไม่ใช่เรื่องโรแมนติกแต่เป็นเรื่องจริงของชีวิต เธอมีการงานที่มีความเศร้า ความตายของคนแก่ที่นั่นอยู่เสมอ
แพร จารุ
ยามเช้าได้อ่านงานของดอกสตาร์ เธอเขียนจั่วหัวว่า เชียงใหม่แพ้ซ้ำซาก Chiangmai lost her beauties. ข้อเขียนของเธอบอกว่า ผังเมืองฉบับใหม่ซึ่งตอนนี้อยู่ในช่วง ๙๐ วัน ที่คนได้รับความเดือดร้อนจากผังเมืองฉบับนี้จะยื่นคำร้องเพื่อคัดค้าน ถ้ารัฐบาลไม่รับฟังและผังเมืองฉบับนี้ผ่าน โฉมหน้าเมืองเชียงใหม่คงจะอัปลักษณ์สุด ๆ รอวันตายลูกเดียว มีเรื่องฝายทั้งสามแห่งคือ ฝายพญาคำ ฝายหนองผึ้งและฝ่ายท่าศาลาอีก ของเก่าแก่ภูมิปัญญาของบรรพบุรุษสร้างไว้ให้ลูกหลานชาวล้านนาได้ประโยชน์กลับจะรื้อทิ้งโดยเห็นแก่ประโยชน์เล็กน้อยที่เทียบไม่ได้เลยกับความสูญเสียที่จะเกิดขึ้นกับบ้านเมืองกับลูกหลานในอนาคต“…
แพร จารุ
พ่อหมื่นแก่ฝายคนสุดท้าย นัดพบที่หน้าฝายพญาคำ ในวันเสาร์ที่ 13 กันยายน เวลา 10.00 น. ร่วมทำพิธีสืบชะตาอีกครั้ง ชาวบ้านยอมให้มีการสร้างประตูระบายน้ำแล้ว แต่มีข้อแม้ว่า ห้ามทุบห้ามรื้อฝายโบราณทั้งสามฝาย หรือทดลองใช้ประตูระบายน้ำก่อนสองปี ว่าสามารถทดน้ำเข้าเหมืองเพื่อส่งเลี้ยงไร่นาได้หรือไม่ คือให้ลองดูว่าประตูน้ำทำหน้าที่แทนฝายหินทิ้งเก่าแก่ได้ดีแค่ไหน การจัดการน้ำด้วยระบบเหมืองฝายจะถูกเปลี่ยนมือ จากการจัดการโดยชาวบ้านในระบบแก่ฝายมาเป็นจัดการโดยรัฐชลประทาน ชาวบ้านผู้ใช้น้ำคิดอย่างไรถึงยินยอมทั้งที่ยื้อกันมานาน ถ้านับตั้งแต่ช่วงแรกที่จะมีการรื้อก็เกือบสิบปีแล้ว
แพร จารุ
ฉันได้เดินทางมายังหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ตั้งใจจะมาเที่ยวตามป่าเขาแค่อยากเปลี่ยนบรรยากาศ   รัฐบาล โดยนายอำเภอ และอุทยานแห่งชาติ จัดให้มีงานบวชป่า และส่งมอบอาวุธปืน มีหนังสือจากหน่วยงานของรัฐมาถึงผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านในเย็นวันหนึ่ง มีเสียงพูดกันเบา จับใจความได้ว่า พวกเขากังวล เพราะพวกเขาไม่มีปืนจะไปมอบ ฉันฟังอย่างไม่เข้าใจ ไม่รู้พวกเขาว่าจะกังวลทำไม ไม่มีก็ไม่ต้องมอบ บอกไปว่าเราไม่มีก็จบ ก็ไม่มีจะเอามาจากไหน
แพร จารุ
 “ไม่นานคนก็ตายกันหมดโลกแน่ ๆ”หญิงสาววัยเพิ่งผ่านเลขสามพูดขึ้นก่อนล้มตัวลงนอน “พี่เชื่อไหม ไม่นานผู้คนจะตายหมดโลก” เธอพูดอีกครั้ง “อะไรทำให้เธอคิดเช่นนั้น” ฉันถามออกไปด้วยความขลาดกลัว มานอนกลางป่ากลางเขาแล้วพูดถึง เรื่องความตาย  ไม่อยากจะฟังคำตอบจากเธอ รีบเตรียมถุงนอน พร้อมที่จะล้มตัวลงนอนใกล้ ๆ เธอ คืนนี้เราเลือกที่จะไม่นอนในบ้านสบาย ๆ แต่เลือกที่จะมานอนกันในป่าเปลี่ยนบรรยากาศ   เธออธิบายต่อว่า เมื่อกลางวันได้ยินข่าวแผ่นดินไหวที่เชียงราย 3.5 ริกเตอร์  เมื่อแผ่นดินไหวที่เชียงรายได้ ก็ไหวที่เชียงใหม่ได้ หรือที่อื่น ๆ ได้ และมันคงจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ “อือ...ก็น่าจะจริง…
แพร จารุ
 เธอได้ยินไหม  คนบ้านฉันเขาตัดไม้กันอยู่ เสียงดังกรูด ๆ ๆ แล้วไม่นานก็ได้ยินเสียงไม่ล้ม ฉันฟังจนแยกออกแล้วว่า เสียงที่ล้มลงมาต้นเล็กต้นใหญ่ขนาดไหน ฉันบอกเพื่อนไปเช่นนั้น ด้วยเราพูดกันอย่างไม่เห็นหน้าจึงไม่รู้ว่า เพื่อนทำหน้าตาอย่างไร เธอคงคาดไม่ถึงว่าได้ยินเสียงตอบเช่นนี้ เธอคงผิดหวังมากทีเดียวเพื่อนโทร.มาบอกให้ฉันช่วยเขียนเรื่องการปลูกต้นไม้ เป็นโครงการหนึ่งของมูลนิธิที่เธอทำงานอยู่ ชื่อว่า โครงการป่าเมือง หรือการปลูกต้นไม้ในเมืองนั่นเอง
แพร จารุ
ขอคั่นรายการหน้าโฆษณาหน่อยนะคะ บอกจริง ๆ ว่า ช่วงนี้รู้สึกโหวงเหวงอย่างบอกไม่ถูก คุณผู้อ่านรู้จักคำว่า โหวงเหวงไหม มันเป็นอาการซึม ๆ เศร้า ๆ และรู้สึกเบา ๆ ในหัวใจ  เมื่อทบทวนดูอาการแล้ว พบว่าน่าจะมาจากสภาพสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว ซึ่งน่าจะเป็นอาการผิดปกติจากข่าว ช่วงนี้มีข่าวมีคนตายเป็นหมื่นเป็นแสน และยังหายสาบสูญไปอีกเท่าไหร่ไม่รู้ อีกทั้งยังบาดเจ็บรอคอยอยู่อีกมาก
แพร จารุ
“พี่มันน่ากลัวจริง ๆ ไม่เคยเห็นมาก่อนเลย ไม้พี่ไม้ ไม้เป็นหมื่น ๆ” เธอส่งเสียงมาเหมือนถูกผีหลอกกลางวัน“อยู่แดนสนธยาที่ไหน” ฉันถามกลับไปเพื่อให้ตัวเองตั้งสติหากมีเรื่องร้าย “ไม่ใช่ต้นไม้แต่เป็นไม้เป็นหมื่น ๆ ท่อนพี่ ไม่เคยเห็นมาก่อนเลย มันเยอะจริง เดี๋ยวจะถ่ายรูปส่งไปให้ดู บางต้นมีผ้าเหลืองผ้าแดงผูกโคนต้นด้วย” “ที่ไหน” “กิ่วคอหมาพี่ เขากำลังสร้างเขื่อนกิ่วคอหมา พี่รู้เรื่องนี้ไหม พูดแล้วขนลุกพี่ รอเดี๋ยว ๆ นะพี่นะจะส่งรูปไปให้ดู”“จ๊ะ แล้วเธอไปทำไม”“ขับรถผ่านมานะพี่  กลับมาจากลำปาง”เธอพูดหลายครั้งว่าเธอไม่เคยเห็นไม้เยอะขนาดนี้มาก่อนจริง ๆ และสงสัยว่าทำไมเขายังตัดไม้กันขนาดนี้…
แพร จารุ
เขาว่ากันว่า  เชียงใหม่เป็นเมืองแห่งธรรมชาติงดงาม เมืองวัฒนธรรมประเพณีเก่าแก่ จอดดูสักหน่อยซิเขาเล่ากันต่อว่า ช่วงสิบปีที่ผ่านมา เชียงใหม่เติบโตด้านการท่องเที่ยวสูงสุด ปีหนึ่งๆ มีคนมาเที่ยวเชียงใหม่มากมาย เชียงใหม่กลายเป็นเมืองที่ต้องรับภาระหาเงินทอง เมกกะโปรเจคขนาดใหญ่จึงเกิดขึ้นที่เมืองเชียงใหม่ว้าว! แล้วคนเชียงใหม่ คิดอย่างไรกับเมืองเชียงใหม่ หากไปถามคำถามนี้ ร้อยทั้งร้อยคนเชียงใหม่ต่างวิตกกังวล คนเชียงใหม่บอกว่า เมืองน่าอยู่นั้นคือเมื่อก่อน เมื่อก่อนซึ่งไม่นานเท่าไหร่ แต่เดี๋ยวนี้ คนเชียงใหม่ลำบากกับรถติดในเมือง คนเชียงใหม่กลัวน้ำท่วมเหมือนปี 2548 ฤดูร้อน…
แพร จารุ
เมื่อไม่นานมานี้ ฉันไปร่วมงาน เปิดตัวหนังสืออาหารบ้านฉัน ที่บ้านแม่เหียะใน หัวหน้าอุทยานดอยสุเทพ มาเปิดงาน ฉันฟังเสียงของท่านไม่ค่อยได้ยิน เพราะว่ายืนไกลและที่บ้านแม่เหียะใน ไม่มีไฟฟ้าใช้ ต้องใช้เครื่องปั่นไฟ เสียงเครื่องปั่นไฟดังมาก จึงไปถามชาวบ้านที่ตั้งใจไปฟังใกล้ ๆ ว่าท่านพูดอะไร แน่นอนชาวบ้านที่อยู่ในพื้นที่อุทยานเขาต้องตั้งใจฟังทุกอย่างที่เจ้าหน้าที่อุทยานพูด เพราะว่าชีวิตขึ้นอยู่กับอุทยานอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้  หรือเรียกว่าอยู่ภายใต้กฎหมายอุทยาน “ท่านพูดว่า ท่านเข้าใจว่าที่ทำหนังสือเล่มนี้ทำขึ้นมาเพราะต้องการที่อยู่ที่กิน” หญิงสาวคนหนึ่งบอกว่าท่านพูดเช่นนั้น และเธอรู้สึกดีใจมาก“…
แพร จารุ
ป้าของฉันเป็นผู้หญิงธรรมดามาก ไม่เป็นที่รู้จักของใคร  ฉันคิดว่าคนที่ป้ารู้จักมีแต่หลาน ๆ กับคนข้างบ้านเท่านั้น และคนที่รู้จักป้าก็เช่นกัน ป้าเป็นผู้หญิงธรรมดาจริง ๆ แต่ฉันอยากเขียนถึงป้า เพราะน่าจะมีแต่ฉันที่จะเขียนถึงป้า และฉันก็น่าจะเป็นหลานคนเดียวที่ไม่เคยได้ทำอะไรให้ป้าเลยนอกจากเขียนถึงป้า ใจหายเหมือนกันเมื่อคิดว่า นี่คือสิ่งแรกที่ฉันจะทำให้ป้า ป้าฉันไม่มีอะไรพิเศษเลยนอกจากเป็นคนดี มีจิตใจที่ดีงาม ตั้งแต่ฉันรู้จักเป็นป้าหลานมา ฉันไม่เคยเห็นป้าทำอะไรไม่ดีเลย ไม่ใช่แกเป็นป้าที่ดีของพวกหลาน ๆ แกเท่านั้น แต่เป็นเพื่อนบ้านที่ดีของเพื่อนบ้าน ชีวิตป้ามีความสุขมาก ฉันคิดว่าป้ามีความสุขทุกวัน…