Skip to main content
20_05_01

ขอคั่นรายการหน้าโฆษณาหน่อยนะคะ บอกจริง ๆ ว่า ช่วงนี้รู้สึกโหวงเหวงอย่างบอกไม่ถูก คุณผู้อ่านรู้จักคำว่า โหวงเหวงไหม มันเป็นอาการซึม ๆ เศร้า ๆ และรู้สึกเบา ๆ ในหัวใจ

 

เมื่อทบทวนดูอาการแล้ว พบว่าน่าจะมาจากสภาพสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว ซึ่งน่าจะเป็นอาการผิดปกติจากข่าว ช่วงนี้มีข่าวมีคนตายเป็นหมื่นเป็นแสน และยังหายสาบสูญไปอีกเท่าไหร่ไม่รู้ อีกทั้งยังบาดเจ็บรอคอยอยู่อีกมาก

เหตุร้ายหนัก ๆ สองแห่ง แผ่นดินไหวที่เมืองจีน และเกิดไซโคลนนาร์กีสที่พม่า

 

คนตายเป็นคนหายเป็นแสน ฉันนึกภาพไม่ออกเลย แค่เราเห็นคนตายเพียงคนหรือสองคนก็รู้สึกเศร้าเหลือเกิน

 

เป็นหมื่นเป็นแสน เป็นคนนะ ไม่ใช่ผักไม่ใช่ปลากะตักตัวเล็ก ๆ นะคะ โดยเฉพาะในพม่านั้นตัวเลขการเสียชีวิตยังไม่หยุด เพราะมีผู้เจ็บป่วยอยู่อีกจำนวนมาก รวมทั้งผู้ที่ไร้ทีอยู่อาศัย และคนอดอยากที่ไม่มีอะไรกิน อีกทั้งรัฐบาลของเขาก็อยากช่วยเหลือตัวเองอยากจัดการกับปัญหาด้วยตัวเองไม่ค่อยจะยอมรับการช่วยเหลือ ยังคงอยากปิดประเทศ เพื่อความมั่นคง

 

เอ้อ...อะไรมันจะสำคัญเท่าชีวิตของเพื่อนมนุษย์

 

ฉันรู้จักน้อง ๆ ชาวพม่าสี่ห้าคน ที่เคยเช่าบ้านอยู่ใกล้ ๆ กันแถวแม่ริม จึงโทร.ไปถามว่า ญาติพี่น้องเป็นอย่างไร พวกเขาขอบอกขอบใจที่พี่ยังไม่ลืม

ฉันบอกพวกเขาว่า พี่ก็ทำได้แค่นี้แหละน้อง เธอว่า แค่นี้ก็ขอบคุณมากแล้วพี่

ฉันบอกเธอว่า แล้วเราจะพบกันเพราะ มีการจัดงานที่เชียงใหม่ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพม่า ที่หอประชุมเล็ก มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถนนนิมมานเหมินทร์ ในวันที่ 20 พฤษภาคม 2551 เวลา 15.00 - 22.00 . เธอคงไปที่นั่น เธอตอบว่าไปแน่นอนและหวังว่าจะได้พบกัน

ในโอกาสนี้ ฉันจึงเขียนมาเพื่อบอกกล่าวท่านผู้อ่าน ว่า "ไปพบกัน" งานนี้ไม่ได้จัดขึ้นเพื่อหาทุนทรัพย์เพื่อการส่งไปช่วยเหลือเท่านั้น แต่เป็นงานเรียกขวัญและกำลังใจ เป็นงานบอกกล่าวของหัวใจที่มองผ่านการเมืองภายในและภายนอกประเทศ

 

ไปพบกันนะคะ ในวันที่ 20 งานดนตรีและเวทีสาธารณะเพื่อความช่วยเหลือพื่อนผู้ประสบภัยในพม่า วันอังคารที่ 20 พฤษภาคม 2551 เวลา 15.00 - 22.00 . หอประชุมเล็ก มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถนนนิมมานเหมินทร์

งานนี้จัดขึ้นเพื่อ ระดมทุนช่วยเหลือผู้ประสบภัยพายุไซโคลนนาร์กิสในพม่าให้กับองค์ท้องถิ่นที่ทำงานในพื้นที่ประสบภัยประเทศพม่า สร้างความเข้าใจและตระหนักร่วมกันถึงสถานการณ์ทางการละเมิดสิทธิมนุษยชนและสถานการณ์ในพื้นที่ผลกระทบจากพายุไซโคลนนาร์กิ

ให้กำลังใจให้กับพี่น้องจากประเทศพม่าที่อยู่ในประเทศไทย ตลอดจนพี่น้ององค์กรที่ทำงานในประเด็นประเทศพม่า

เริ่ม 15.30 - 17.30 เวทีสาธารณะ "การละเมิดสิทธิมนุษยชนถึงไซโคลนนากิสในพม่า"
ผู้เข้าร่วมเสวนา : วิน มิน นักวิชาการชาวพม่า พลากร วงศ์กองแก้ว สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) พูดถึงทิศทางความช่วยเหลือระยะสั้นระยะยาว : บทเรียนจากสึนามิ) บทเรียนคนทำงานเครือข่ายอาสาสมัครไทย และ อ.ชยันต์ วรรธนะภูติ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วิเคราะห์สถานการณ์
18.00 - 22.00 น. มีการประมูลภาพวาดของ อาจารย์เทพศิริ สุขโสภา และ อาจารย์ธีรยุทธ บุญมี Miss and Mr. Questions ให้ข้อมูลสถานการณ์โดยน้องๆ เยาวชน จากพม่า ตามด้วย บทเพลงเพื่อเพื่อนพม่า จากพี่น้องพม่าและไทย ได้แก่ สุนทรีย์ เวชานนท์, บุ๊ค คีตวัฒนะ, สุวิชานนท์, สุดสะแนน, Yenni และ ตุ๊ก Brasserie, ดนตรีจากเยาวชนจากพม่า

แสงดาว ศรัทธามั่น ไพฑูรย์ พรหมวิจิตร อ่านบทกวี นอกจากนี้ยังมี ซุ้มระดมทุนและของที่ระลึก ได้แก่ ภาพถ่ายจาก ศรันย์ บุญประเสริฐ, ธีรภาพ โลหิตกุล, จีรนันท์ พิตรปรีชา, ตุ๊กตาหมี จากโน้ส อุดม แต้พานิช และอื่นๆ อีกมากมาย ชิมอาหารพม่า และกาแฟสดจากร้านหลวงพระบาง

  • เพื่อนร่วมจัดมีมากมาย เช่น กลุ่มภาคประชาสังคมในจังหวัดเชียงใหม่

  • Regional Center for Sustainable Development (RCSD) คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

  • เพื่อนพี่น้ององค์กรที่ทำงานประเด็นประเทศพม่าในจังหวัดเชียงใหม่

  • เพื่อนพี่น้องศิลปินชาวไทยและพม่าในจังหวัดเชียงใหม่ ฯลฯ

ถ้าถามว่า เราจะสามารถช่วยเหลืออะไรได้ ช่วยได้ดังนี้ค่ะ

1.ไปร่วมงานที่งานมีกล่องบริจาค

2.ซื่อของที่นำมาขายในงาน

3.หากท่านมาไม่ได้ สามารถบริจาคเงินโดยผ่านองค์กรร่วมจัด หรือโทร.สอบถามได้ที่

4 ไปให้กำลังใจและส่งความปรารถนาดีสวดมนต์ให้กับทุกชีวิตที่ประสบภัย

คุณเอ๋ 086-9091238 apassorns@hotmail.com

บล็อกของ แพร จารุ

แพร จารุ
มีคำกล่าวว่า "อาหารอายุสั้น คนกินอายุยืน อาหารอายุยืน คนกินอายุสั้น" แรกที่ฟังก็รู้สึกรำคาญคนพูดนิด ๆ เพราะเรากำลังกินอาหารอายุยืนแต่เราไม่อยากอายุสั้น สงสัยใช่ไหมคะว่าอาหารแบบไหนที่อายุยืน อาหารที่ปรุงแต่งมาเรียบร้อยแล้ว แช่ตู้ไว้ได้นานๆ นั่นคืออาหารอายุยืน กินกันได้นานๆ แช่ไว้ในตู้เย็น อาหารพวกนี้คนกินอายุสั้น แต่อาหารอายุสั้นก็พวกเห็ด ผักบุ้ง พวกเหล่านี้เป็นอาหารอายุสั้นอยู่ได้ไม่นาน แต่คนกินอายุยืน แต่เดี๋ยวนี้มีมะเขือเทศอายุยืนด้วยนะคะ เป็นพวกตัดต่อพันธุกรรมแบบให้ผิวแข็งไม่บอบช้ำในระหว่างขนส่ง
แพร จารุ
  1   เป็นนักเขียนมีความสุขไหม   วันหนึ่งฉันต้องตอบคำถามนี้ “เป็นนักเขียนมีความสุขไหม” ผู้ที่ถามคำถามนี้เป็นเด็กนักเรียนตัวเล็กๆ ชั้นประถมปีที่ 5 ฉันรู้สึกดีใจที่มีเด็กถามเรื่องความสุขมากกว่าเรื่องรายได้
แพร จารุ
ฉันห่างกรุงเทพฯ มานานจริงๆ นานจนไปไหนไม่ถูก ก่อนฟ้าสางรถทัวร์จอดตรงหัวมุมถนน ฉันเดินตรงเข้าไปทางถนนข้าวสารตามพื้นถนนแฉะ หาที่นั่งรอหลานมารับแต่ก็หาไม่ได้ พื้นแฉะ ๆ ผู้คนกำลังล้างพื้นกันอยู่ จึงตัดสินใจ เดินออกจากถนนข้าวสารมุ่งตรงไปทางกองฉลากกินแบ่งรัฐบาล มีคนจรนอนห่มผ้าเก่า ๆ อยู่มากมาย ตามทางเดิน  
แพร จารุ
มีเพื่อนอย่างน้อยสองคนตกหล่นไปจากชีวิต ทั้งที่ก่อนหน้านั้นเราเขียนจดหมายคุยกันอยู่เสมอ ๆ ต่อมาฉันเลิกตอบจดหมายเพื่อนทั้งสองคน 
แพร จารุ
2 กันยายน 2552 นั่งกินมะขามหวานเพลิน ๆ มะขามก็เปรี้ยวขมขึ้นมาทันที เพื่อนโทรมาบอกว่า เธอไปที่โรงพยาบาลนครพิงค์ ได้ยินเสียงตามสายที่ รพ.ขอบริจาคเงินช่วยเหลือเด็กชาวเขาที่แม่มาคลอดตายที่โรงพยาบาล “แม่มาคลอดตายที่โรงพยาบาล แสดงว่าเธอตายระหว่างคลอด” เพื่อนตอบว่าใช่ “เด็กยังอยู่รอดปลอดภัย” “ใช่”    
แพร จารุ
"อะไรเอ่ยมันโผล่ขึ้นมาจากดิน" คำถามเล่น ๆ ของเด็ก ๆ สมัยก่อนเราจะตอบว่า ขอม เพราะเคยเรียนเรื่องพระร่วง  ตอนขอมดำดิน แต่ เดี๋ยวนี้ถ้าไปตอบว่า "ขอม" เด็กไม่เข้าใจ
แพร จารุ
1 วันก่อนไปท่ากาน (ท่ากานเป็นหมู่บ้านหนึ่ง ในอำเภอสันป่าตอง เชียงใหม่ ) พบเด็ก หญิงสองคน เอาก้านกล้วยมาแกว่งไปมากระโดดเล่นกัน ดูน่ารักดี เป็นการเล่นแบบหาของใกล้ตัวมาเล่นกัน
แพร จารุ
10 กันยายน 2552 น้องคนหนึ่งโทรศัพท์มาบอกว่า “มีเรื่องตลกเศร้ามาเล่าให้ฟัง” ฉันหัวเราะ ไม่อยากฟังเธอเล่าอะไรเลยเพราะกำลังเจ็บหูอย่างแรง กำลังจะไปหาหมอ แต่เธอรีบบอกก่อนว่า “พี่ยังไม่รู้ใช่ไหม ลุงหมื่นแกฝายพญาคำ กับพ่อหลวงสมบูรณ์ ผู้ช่วยแกฝาย เขาเซ็นยินยอมให้กรมชลประทานสร้างประตูระบายน้ำแล้ว”
แพร จารุ
   บก.สุชาติ สวัสดิ์ศรี เทียบเชิญฉันเขียนเรื่องสั้น ช่อการะเกด ฉบับเทียบเชิญนักเขียนเก่าที่เคยเขียนช่อการะเกด
แพร จารุ
เธอนิ่งเงียบหลังจากกินอาหารเสร็จ "เศร้าทำไม" ฉันถามเธอ "กำลังดูกระถางต้นไม้อยู่" เธอตอบไม่ตรงกับคำถาม ฉันมองไปที่กระถางต้นไม้ มีอะไรตายอยู่ในนั้นที่ทำให้เธอเศร้า หรือว่าเศร้าที่ต้องมากินอาหารใต้ที่เมืองเหนือทั้งที่เธอเพิ่งเดินทางมาจากสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
แพร จารุ
 ผู้ชายคนหนึ่ง เลี้ยงปลวกเพื่อเอาปลวกไปเลี้ยงปลาดุก เขาบอกว่า เขาเฝ้ามองปลวกตัวอ้วน ๆ ที่ค่อยเติบโตขึ้น และเอาปลวกไปให้ปลาดุกกิน เขาอธิบายตัวเองว่าเป็นวิถีแห่งสัตว์โลก วิธีการใช้ชีวิตให้อยู่รอดฉันแค่สะดุดใจตรงที่เลี้ยงดูเขาไว้ก่อนแล้วค่อยจัดการ ฉันคิดว่า ถ้ามันกินกันเองตามวิถีชีวิตไม่เป็นไรฉันคิดถึงถ้อยคำหนึ่ง จำไม่ได้แล้วว่า ใครพูด "เขารัก...เหมือนคนเลี้ยงหมูรักหมูที่เลี้ยงไว้" นั่นหมายถึงรักและดูแลอย่างดีเพื่อเอาไว้ฆ่าและขาย
แพร จารุ
1  ฉันเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับความตายครั้งแรกเมื่อพ่อตายจากไป ในวันที่แม่ พี่ ๆและ ญาติ ๆ ต่างช่วยกันจัดงานให้พ่อ ผู้หญิงเตรียมอาหาร ปอกหอมกระเทียม เด็ดก้านพริกขี้หนู หั่นตะไคร้ ผู้ชายเตรียมไม้ฟืนเพื่อทำอาหาร หุงข้าว ต้มแกง ต้องหุงข้าวด้วยกระทะใบใหญ่  ต้องทำอาหารจำนวนมากในเวลาหลายวัน เรามีญาติเยอะ มีเพื่อนบ้าน และคนรู้จักมากมาย เพราะเราไม่ได้มีพ่อที่ดีต่อลูกเท่านั้นแต่มีพ่อที่ดีต่อผู้อื่นด้วย