Skip to main content

picture

มีหลายอย่างที่สะท้อนออกมาให้เราได้เห็นและคิด เมื่อมองเห็นภาพโดยรวมที่ว่า- -
ทำไมนักเขียนถึงกำเนิดขึ้นในระยะที่ประเทศชาติทำการปฏิวัติชาติประชาธิปไตย?

นักเขียนปฏิวัติมีจุดยืนของตัวเองอย่างไร เพื่อเขียนบทประพันธ์ของตน?
นักประพันธ์ปฏิวัติมองเห็นข้อบกพร่องอะไรบ้างของระบบล่าอาณานิคมแบบเก่าและใหม่?  
พวกเขาใช้หลักการประพันธ์อย่างไรเพื่อให้คนอ่านได้มองเห็นความสมจริงของเรื่อง?  
นักประพันธ์ปฏิวัติมีความต้องการให้เข้าใจการปฏิวัติอย่างไรและเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งต่อระบบจักรววตินิยม?

คำถามเหล่านี้ตั้งขึ้นเพื่อการหาคำตอบว่า นักประพันธ์มีจุดยืนของตนอย่างไรเพื่อการเขียน!

นักประพันธ์ปฏิวัติลาวกำเนิดขึ้นเกือบพร้อมๆ กับการปฏิวัติลาว เป็นสื่อแบบหนึ่งในการรับใช้ให้แก่การโฆษณา แนวทางก็คือระบอบการเมืองของการปฏิวัติลาวตั้งแต่แรกเริ่ม พร้อมๆ กับการโฆษณาด้านต่างๆเพื่อรับใช้การปฏิวัติลาวในช่วงนั้นๆ

จริงๆ แล้ว เราก็เข้าใจกันแล้วว่า ‘วรรณกรรม วรรณคดีไม่มีชนชั้น วรรณกรรม วรรณคดีมีความเป็นเสรีในตัวของมันอยู่แล้ว’ แต่วรรณคดีจะถูกชนชั้นนำมาใช้เพื่อเป็นเครื่องมือของตน เพราะฉะนั้น จึงไม่แปลกอะไรที่การปฏิวัติชาติประชาธิปไตยประชาชนลาวในระยะนั้นได้นำเอาวรรณคดีมารับใช้ในแนวทางก็คือนโยบายของตน โดยมีวัตถุประสงค์ต่อต้านกับระบอบการเมืองเก่า หรือชนชั้นปกครองเก่า

นักประพันธ์ปฏิวัติในระยะนั้น ได้มีความพยายามเลือกเอากาละโอกาสที่ดีงามเช่นนั้น โจมตีฝ่ายตรงกันข้ามกับการปฏิวัติ โดยเริ่มจากจุดเล็กๆ ของกำลังศัตรู นักประพันธ์ก็สามารถยกขึ้นมาเพื่อเขียนโจมตีอย่างเห็นภาพได้ชัดเจนว่า ‘ในระบอบสังคมเก่านั้น บรรดาเจ้าใหญ่นายโต ไม่ว่าจะเป็นช่วงไหนเวลาใด ต่างก็เอาเปรียบผู้คนทั่วไป ข่มขู่ขู่เข็ญประชาชน หรือ แม้แต่การมีเมียน้อยของเจ้านายในระบอบเก่าก็ยกขื้นมาพูดกันในเรื่อง โดยมีนายเหนือหัวคือ อเมริกา เป็นผู้อุปถัมภ์ เมื่ออ่านบทเรื่องแล้วก็เข้าใจว่า นักประพันธ์ปฏิวัติมีความเข้าใจว่า มีเพียงการปฏิวัติเท่านั้นที่จะชักนำความศิวิไลซ์มาสู่พี่น้องชาติพันธุ์ลาวทั้งประเทศ’

ในบทวรรณคดีปฏิวัติลาวที่ได้เสนอไปแล้ว มีบางเรื่องก็ประกอบสิ่งที่เหลือเชื่อ คืออาจเกินความเป็นจริงบ้าง แต่ที่สำคัญก็คือ นักประพันธ์ สามารถสะท้อนมุมเล็กๆ ที่บางครั้งหรือหลายครั้งคนทั่วไปมองไม่เห็น นำมาเขียนขึ้นให้น่าอ่าน น่าสนใจ

เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้ว เราๆ จึงสามารถมองเห็นว่า การนำเอาวรรณคดีมารับใช้ให้กับการปฏิวัติลาว จึงมีควาหมายสำคัญยิ่งนัก ข่าวการรบกันของกำลังปฏิวัติและกำลังฝ่ายตรงกันข้าม จึงเป็นไปว่ากำลังปฏิวัติได้รับชัยชนะเกือบทุกครั้ง มีบางเรื่องก็เกินจริงอย่าง “ข้าวห่อใบตองจับศัตรู”   เพราะมันไม่น่าจะเป็นไปได้ที่ใครจะไม่รู้จักข้าวห่อใบตอง? แต่อีกทางหนึ่งก็ไม่เกินไป เพราะว่าเวลาประชิดเอาปานนั้นคงไม่มีใครคิดว่า อีกฝ่ายหนึ่งจะเสี่ยงตายถึงขั้นใช้ข้าวห่อใบตองทำอย่างนั้น เพราะฉะนั้นเรื่องนี้  50-50 ทั้งเป็นไปได้และเป็นไปไม่ได้

นักประพันธ์ปฏิวัติ ไม่ว่าจะเป็นในห้วงเวลาใดต่างก็มีความพยายามสูงมาก ในการสร้างภาพให้ผู้คนเข้าใจว่า การปฏิวัติประชาชน เพื่อประชาชน เพื่อให้หลุดพ้นจากการกดขี่ข่มขู่ของต่างชาติ

นั่นคือความคิดส่วนหนึ่งของนักประพันธ์ปฏิวัติ !

หมายเหตุ : บทความชิ้นนี้ลงตีพิมพ์ครั้งแรกที่ หนังสือพิมพ์เวียงจันท์ใหม่ วันที่ 5/3/2005

บล็อกของ แสงพูไช อินทะวีคำ

แสงพูไช อินทะวีคำ
จริงๆแล้วผมพยายามถอดความจากกวีที่เป็นสำนวนภาษาลาวมาเป็นคำไทย.... แต่คงไม่ไพเราะเหมือนคำลาวที่ผมแต่งไว้เพราะการเขียนภาษาไทยไม่ดีพอ..... อย่างไรก็ตาม ผมมีความตั้งใจมากเพื่อการสื่อความเข้าใจทั้งสองด้านให้กลายเป็นพลังแห่งความรักของสองชาติลาวไทย  ผมมีความต้องการสูงสุดให้คนลาวและไทยมีความเข้าใจกันมากขื้น  ผมเข้าใจว่าในโลกใบนี้หากไม่มีคำว่า “ศัตรู” คงดีที่สุดพี่สัญญากับน้องว่าจะเปลี่ยนพี่จะเพียรแต่งแต้มแปลงเรือนผมผมไม่แดงเหมือนฝรั่งหลอกพี่ว่าแต่มาเจอเธอยิ่งกว่าเดีมผมก็แดงแทงใจน้องหูก็บ๋องมีต่างช่างเปลียนไปหูก็บ๋อง ผมก็แดงมันแทงใจก็นั้นไง…
แสงพูไช อินทะวีคำ
วันนี้ผมมีของฝากจากเมืองลาว มาให้พี่น้องได้อ่านกัน สิ่งที่ผมจะนำมาให้อ่านในประชาไทเป็นบทกลอนที่ผมแต่งขื้นเมื่อปี 2003 ระยะนั้นผมมองเห็นอะไรสักอย่างหนิ่งที่มันแฝงตัวอยู่กับสังคมลาว บางทีสิ่งที่พูดอาจไม่ใช่เป็นสิ่งที่เกีดขื้นในเมืองลาวเพียงอย่างเดียว......แต่มันอาจเป็นสิ่งที่เกีดขื้นในทั่วโลกก็เป็นได้ แต่ในที่นี้ผมขอใช้เป็นสำนวนภาษาลาว ด้านหนิ่งสมบูรณ์ด้วย  มูนมากเงินคำด้านหนิ่งต่ำเพียงดิน  คอบความจนไฮ้(ไร้)เปลียบเหมือนไฟลามไหม้  มะไลกันบ่ดับมอด   เป็นแล้วสองส้นเตาะต่อยดั้น  ครือพ้าบั่นขวานยามเมื่องกางต่อน้ำ  พัดขาดเป็นวังกางต่อฟังคำหวาน …
แสงพูไช อินทะวีคำ
ที่ ESCUDERO, ประเทศ Philippines“ไปทานข้าวกันเถอะ!”..............เธอเป็นคนค่อนข้างอ้วนท้วน  ยักไหล่เบาๆ...ปล่อยคำทักทายเหมือนกับเธอมีอำนาจสูงสุด ใช่จริงด้วยเพราะเวลานี้มันเลยเที่ยงไปแล้ว หลายคนท้องร้อง คอยให้ผู้รับผิดชอบงานสัมมนาบอกให้หยุดพักได้“วันนี้ไปรับประทานอาหารในสถานที่แปลกๆ กันนะ”....เธอร้องบอก ขณะที่ทุกคนเร่งเดินออกจากห้องประชุมมุ่งหน้าไปที่ร้านอาหาร......“เขาบอกว่าจะทานข้าวบนผิวน้ำ!”....หนุ่มฟิลิปปินส์คนหนึ่งเดินเข้ามาพูดกับผม“อ้าว! จะไปทานได้ไงล๋ะ?”“ผมก็ไม่รู้เหมือนกัน”ผมมองหน้าเขา แล้วหนุ่มคนนั้นก็มองหน้าผม ในที่สุดเราทั้งสองก็หัวเราะ เพราะไม่รู้จะพูดอะไรอีก…
แสงพูไช อินทะวีคำ
หยุดการพูดถึงวรรณคดีปฏิวัติไว้สักระยะหนึ่งก่อน แล้วค่อยพูดกันต่อไป...หันมาพูดเรื่องวัฒนธรรมให้อิ่มใจสักนิดหนึ่ง.........เพื่อนฝั่งเชียงของบอกผมว่า อยากอ่านงานเขียนเกี่ยวกับเรื่องวัฒนธรรมลาว ผมก็นึกจะเขียนตามนั้น แต่พอเอาเข้าจริงๆ มันไม่ใช่อย่างที่นึกเอาไว้ เพราะวัฒนธรรมชุมชนในบางแห่งเลือนหายไปอย่างมาก ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนก็คงเป็นพิธีกรรมขอน้ำฟ้าน้ำฝนของชุมชนในชนบท   เมื่อเป็นอย่างนี้แล้ว ผมก็คิดไปว่า เราจะพูดเรื่องนี้ให้ใครฟัง?  จะพูดให้ตัวเราเองฟังก็อายตัวเอง เพราะเหตุการณ์มันไม่ใช่เป็นไปอย่างเดิมแล้วผมขอพูดถึงการเปลี่ยนแปลงบางอย่างทางพิธีกรรมดีกว่า…
แสงพูไช อินทะวีคำ
วรรณคดีปฏิวัติที่กล่าวถึงมากที่สุดก็คงจะเป็นปรปักษ์สองด้าน คือ การปฏิวัติและระบบการปกครองเก่า การสะท้อนให้เราได้เห็นความอยุติธรรม นักประพันธ์ปฏิวัติสะท้อนให้เห็นภาพในระบบการปกครองเก่าได้ชัดเจน ว่า ระบบการปกครองเก่า เวลาใดก็เป็นปรปักษ์อย่างที่สุดต่อกับการปฏิวัติ ความอยุติธรรมส่วนมากก็คงเกิดขื้น บนแผ่นดินที่นอนอยู่ใต้แห่งการควบคุมของระบบการปกครองของระบบเก่าที่เวลาใดก็เป็นศัตรูสุดขีดต่อการปฏิวัติลาว ในบทประพันธ์สะท้อนให้เห็นมากที่สุดก็คงเป็น หนุ่มสาวพร้อมเพรียงกันหลบหนีจากแผ่นดินเกิดของเขา ไปหาการปฏิวัติวรรณคดีปฏิวัติที่พบเห็นส่วนมาก นักประพันธ์ชอบใช้ในรูปของการบันทึกเป็นส่วนใหญ่…
แสงพูไช อินทะวีคำ
มีหลายอย่างที่สะท้อนออกมาให้เราได้เห็นและคิด เมื่อมองเห็นภาพโดยรวมที่ว่า- -ทำไมนักเขียนถึงกำเนิดขึ้นในระยะที่ประเทศชาติทำการปฏิวัติชาติประชาธิปไตย? นักเขียนปฏิวัติมีจุดยืนของตัวเองอย่างไร เพื่อเขียนบทประพันธ์ของตน? นักประพันธ์ปฏิวัติมองเห็นข้อบกพร่องอะไรบ้างของระบบล่าอาณานิคมแบบเก่าและใหม่?  พวกเขาใช้หลักการประพันธ์อย่างไรเพื่อให้คนอ่านได้มองเห็นความสมจริงของเรื่อง?  นักประพันธ์ปฏิวัติมีความต้องการให้เข้าใจการปฏิวัติอย่างไรและเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งต่อระบบจักรววตินิยม? คำถามเหล่านี้ตั้งขึ้นเพื่อการหาคำตอบว่า นักประพันธ์มีจุดยืนของตนอย่างไรเพื่อการเขียน!…
แสงพูไช อินทะวีคำ
ในประเทศลาว หากเอ่ยถึงวรรณคดีปฏิวัติแล้ว หลายคนก็เข้าใจทันทีที่เอ่ยถึง ว่าเป็นบทวรรณคดีที่แต่งขึ้นในยุคที่ทำการปฏิวัติชาติประชาธิปไตย ซึ่งเป็นระยะที่ประเทศชาติลาวตกเป็นอาณานิคมของจักรพรรดิเก่าและใหม่  ระยะนี้วรรณคดีเกิดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์อยู่อย่างหนึ่ง คือ เป็นเครื่องมือรับใช้ให้แก่การปฏิวัติ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปลดปล่อยประเทศชาติและประชาชนออกจากการกดขี่ของจักรวรรดินิยม เพื่อให้ชาติและประชาชนมีเสรีภาพตามระบอบประชาธิปไตยประชาชนเมื่อเป็นเช่นนั้น วรรณคดีปฏิวัติระยะนี้จึงมีความสำคัญมากในการประกอบส่วนเข้าในการโฆษณาเผยแพร่ผลงาน และการชนะสงครามของการปฏิวัติ,…