วรรณคดีปฏิวัติที่กล่าวถึงมากที่สุดก็คงจะเป็นปรปักษ์สองด้าน คือ การปฏิวัติและระบบการปกครองเก่า
การสะท้อนให้เราได้เห็นความอยุติธรรม นักประพันธ์ปฏิวัติสะท้อนให้เห็นภาพในระบบการปกครองเก่าได้ชัดเจน ว่า ระบบการปกครองเก่า เวลาใดก็เป็นปรปักษ์อย่างที่สุดต่อกับการปฏิวัติ ความอยุติธรรมส่วนมากก็คงเกิดขื้น บนแผ่นดินที่นอนอยู่ใต้แห่งการควบคุมของระบบการปกครองของระบบเก่าที่เวลาใดก็เป็นศัตรูสุดขีดต่อการปฏิวัติลาว ในบทประพันธ์สะท้อนให้เห็นมากที่สุดก็คงเป็น หนุ่มสาวพร้อมเพรียงกันหลบหนีจากแผ่นดินเกิดของเขา ไปหาการปฏิวัติ
วรรณคดีปฏิวัติที่พบเห็นส่วนมาก นักประพันธ์ชอบใช้ในรูปของการบันทึกเป็นส่วนใหญ่ ทั้งเป็นการบันทึกเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ หรืออาจเป็นการบันทึกซีกเสี้ยวหนึ่งในทางประวัติศาสตร์ด้วยการเติมรสชาติของงานศิลป์เข้าไป ทำให้งานมีความบรรจงและงดงามขื้นเต็มอีกขั้น
แต่สิ่งเติมเต็มลงไปนั้น ก็คงจะหนีไม่พ้นในเรื่องของความจ็บปวดจากสงครามที่ไม่มีใครปรารถนา ความหมดหวัง สิ้นหวังและไร้มนุษยธรรมของระบบการปกครองเก่า เป็นการบันทืกเสียงร้องไห้ครวญครางเรียกหาความช่วยเหลือ ความหวังในวันใหม่และการฟื้นชีพของผู้คนที่ได้มีโอกาสพบกับแสงสว่างของการปฏิวัติ
อย่างที่เราเข้าใจแล้วว่า การบันทึกใดก็ตามที หากเป็นการบันทึกที่ละเอียดรอบคอบดีและบันทึกอย่างเป็นระบบของมันได้ดีแล้ว ก็จะทำให้บทนั้นๆ กลายเป็นบทวรรณคดีที่ดีได้เช่นกัน แม้ว่านักประพันธ์จะไม่ได้ให้ความสำคัญ มากนักกับการประพันธ์ก็ตามที
บทวรรณคดีปฏิวัติที่เราได้พบเจอนั้นก็มีการประพันธ์ที่ดี มีรสชาติแห่งวรรณกรรม ซึ่งผู้แต่งก็มีความพยายามสูงเพื่อสร้างสรรค์งานออกมาให้น่าอ่าน รับใช้สังคมและได้รับความนิยมมากอันได้แก่ ‘กองพันที่สอง’ ของ ‘ส.บุบผานุวง’ ‘พะยุชีวิต’ ของ ‘ดาวเหนือ’ ทั้งสองท่านพูดได้ว่า เป็นตัวแบบที่ดีในวงการประพันธ์วรรณคดีปฏิวัติเท่าที่เคยเจอมา
อย่างไรก็ตาม โดยส่วนตัวแล้ว ข้าพเจ้าก็ยังคงเข้าใจว่า วรรณคดีปฏิวัติเป็นการริเริ่มก้าวสู่ถนนแห่งวรรณกรรมในระยะนี้ เป็นการให้โอกาสใหม่เพื่อคนรุ่นหนุ่มสาวได้มีความสนใจในเส้นทางวรรณกรรมมากขึ้น เป็นการสร้างสรรค์วรรณคดีในระยะใหม่ด้วย ไปพร้อมๆกับการต่อสู้ปลดปล่อยชาติออกจากการเป็นทาสรับใช้ ให้แก่สังคมเก่าและต่างชาติ ฉะนั้น การที่จะก้าวไปข้างหน้าอย่างภาคภูมิใจที่สุดในการสร้างสรรค์ วรรณกรรมของชาติให้สูงเด่นขื้นเรื่อยๆ นั้น ต้องได้เข้าใจให้มากขึ้นด้วยการเรียนรู้ให้มากขึ้นเช่นกัน เพราะเราๆไม่มีความสามารถที่จะยึดติดอยู่กับสิ่งเก่าๆเพื่อเป็นต้นแบบโดยไม่มีการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ขึ้นมาไม่ได้ เพราะว่าในตัวของวรรณกรรมปฏิวัติก็มีความต้องการเสริมแต่งในสิ่งใหม่ๆให้สูงเด่นขื้นไปอีกอย่างมาก โดยเน้นรูปแบบการประพันธ์เมื่อพูดอย่างนั้นก็อาจมีคำถามขึ้นมาว่า ทำอย่างไรถึงจะพูดได้ว่าเป็นการประพันธ์? ผมขออนุญาตเสนอบางอย่าง ดังนี้
“มือเธอสั่นนิดๆ ในขณะที่เธอโขย่งตัวขึ้นบิดลูกบวบอ่อนๆ บนขอบรั้วบ้าน” นี่คือประโยคเล็กๆ ที่นำเสนอพอให้มองเห็นภาพของการเคลื่อนไหวของตัวละครเท่านั้น
เพราะในบทประพันธ์หลายๆ บท ยังคงสับสนทำให้เรายังมองไม่เห็นภาพที่ชัดเจนเท่าไรนัก