มีหลายอย่างที่สะท้อนออกมาให้เราได้เห็นและคิด เมื่อมองเห็นภาพโดยรวมที่ว่า- -
ทำไมนักเขียนถึงกำเนิดขึ้นในระยะที่ประเทศชาติทำการปฏิวัติชาติประชาธิปไตย?
นักเขียนปฏิวัติมีจุดยืนของตัวเองอย่างไร เพื่อเขียนบทประพันธ์ของตน?
นักประพันธ์ปฏิวัติมองเห็นข้อบกพร่องอะไรบ้างของระบบล่าอาณานิคมแบบเก่าและใหม่?
พวกเขาใช้หลักการประพันธ์อย่างไรเพื่อให้คนอ่านได้มองเห็นความสมจริงของเรื่อง?
นักประพันธ์ปฏิวัติมีความต้องการให้เข้าใจการปฏิวัติอย่างไรและเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งต่อระบบจักรววตินิยม?
คำถามเหล่านี้ตั้งขึ้นเพื่อการหาคำตอบว่า นักประพันธ์มีจุดยืนของตนอย่างไรเพื่อการเขียน!
นักประพันธ์ปฏิวัติลาวกำเนิดขึ้นเกือบพร้อมๆ กับการปฏิวัติลาว เป็นสื่อแบบหนึ่งในการรับใช้ให้แก่การโฆษณา แนวทางก็คือระบอบการเมืองของการปฏิวัติลาวตั้งแต่แรกเริ่ม พร้อมๆ กับการโฆษณาด้านต่างๆเพื่อรับใช้การปฏิวัติลาวในช่วงนั้นๆ
จริงๆ แล้ว เราก็เข้าใจกันแล้วว่า ‘วรรณกรรม วรรณคดีไม่มีชนชั้น วรรณกรรม วรรณคดีมีความเป็นเสรีในตัวของมันอยู่แล้ว’ แต่วรรณคดีจะถูกชนชั้นนำมาใช้เพื่อเป็นเครื่องมือของตน เพราะฉะนั้น จึงไม่แปลกอะไรที่การปฏิวัติชาติประชาธิปไตยประชาชนลาวในระยะนั้นได้นำเอาวรรณคดีมารับใช้ในแนวทางก็คือนโยบายของตน โดยมีวัตถุประสงค์ต่อต้านกับระบอบการเมืองเก่า หรือชนชั้นปกครองเก่า
นักประพันธ์ปฏิวัติในระยะนั้น ได้มีความพยายามเลือกเอากาละโอกาสที่ดีงามเช่นนั้น โจมตีฝ่ายตรงกันข้ามกับการปฏิวัติ โดยเริ่มจากจุดเล็กๆ ของกำลังศัตรู นักประพันธ์ก็สามารถยกขึ้นมาเพื่อเขียนโจมตีอย่างเห็นภาพได้ชัดเจนว่า ‘ในระบอบสังคมเก่านั้น บรรดาเจ้าใหญ่นายโต ไม่ว่าจะเป็นช่วงไหนเวลาใด ต่างก็เอาเปรียบผู้คนทั่วไป ข่มขู่ขู่เข็ญประชาชน หรือ แม้แต่การมีเมียน้อยของเจ้านายในระบอบเก่าก็ยกขื้นมาพูดกันในเรื่อง โดยมีนายเหนือหัวคือ อเมริกา เป็นผู้อุปถัมภ์ เมื่ออ่านบทเรื่องแล้วก็เข้าใจว่า นักประพันธ์ปฏิวัติมีความเข้าใจว่า มีเพียงการปฏิวัติเท่านั้นที่จะชักนำความศิวิไลซ์มาสู่พี่น้องชาติพันธุ์ลาวทั้งประเทศ’
ในบทวรรณคดีปฏิวัติลาวที่ได้เสนอไปแล้ว มีบางเรื่องก็ประกอบสิ่งที่เหลือเชื่อ คืออาจเกินความเป็นจริงบ้าง แต่ที่สำคัญก็คือ นักประพันธ์ สามารถสะท้อนมุมเล็กๆ ที่บางครั้งหรือหลายครั้งคนทั่วไปมองไม่เห็น นำมาเขียนขึ้นให้น่าอ่าน น่าสนใจ
เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้ว เราๆ จึงสามารถมองเห็นว่า การนำเอาวรรณคดีมารับใช้ให้กับการปฏิวัติลาว จึงมีควาหมายสำคัญยิ่งนัก ข่าวการรบกันของกำลังปฏิวัติและกำลังฝ่ายตรงกันข้าม จึงเป็นไปว่ากำลังปฏิวัติได้รับชัยชนะเกือบทุกครั้ง มีบางเรื่องก็เกินจริงอย่าง “ข้าวห่อใบตองจับศัตรู” เพราะมันไม่น่าจะเป็นไปได้ที่ใครจะไม่รู้จักข้าวห่อใบตอง? แต่อีกทางหนึ่งก็ไม่เกินไป เพราะว่าเวลาประชิดเอาปานนั้นคงไม่มีใครคิดว่า อีกฝ่ายหนึ่งจะเสี่ยงตายถึงขั้นใช้ข้าวห่อใบตองทำอย่างนั้น เพราะฉะนั้นเรื่องนี้ 50-50 ทั้งเป็นไปได้และเป็นไปไม่ได้
นักประพันธ์ปฏิวัติ ไม่ว่าจะเป็นในห้วงเวลาใดต่างก็มีความพยายามสูงมาก ในการสร้างภาพให้ผู้คนเข้าใจว่า การปฏิวัติประชาชน เพื่อประชาชน เพื่อให้หลุดพ้นจากการกดขี่ข่มขู่ของต่างชาติ
นั่นคือความคิดส่วนหนึ่งของนักประพันธ์ปฏิวัติ !
หมายเหตุ : บทความชิ้นนี้ลงตีพิมพ์ครั้งแรกที่ หนังสือพิมพ์เวียงจันท์ใหม่ วันที่ 5/3/2005