ขณะที่เดินทางไปพัทยา ผมมองดูกระเป๋าเดินทางของตัวเองด้วยความกังวลใจอยู่ลึกๆ
“ขออย่าได้เป็นอะไรเลย ประเดี๋ยวจะขายขี้หน้าหมด”
“อ้ายกลัวกระเป๋าเดินทางแตกใช่มั้ย?” น้องคนหนึ่งถาม
“ก็....กลัวนะ....”
“แต่ดูแล้วน่าจะไม่เป็นไรนี่”
“ใช่.....”
ขณะที่อยู่ในแค้มป์ ผมรู้สึกว่าผมแก่กว่าทุกคนที่เข้าร่วม ทั้งๆ ที่ก็มีบางคนที่น่าจะแก่กว่าผมตั้งหลายปี แต่ทำไงได้ล่ะ เพราะมีคนเรียกผมว่า ป๋า ป๋าในที่นี้มีความหมายในทางภาษาอังกถษ papa ชึ่งแปลว่า พ่อ ใช่มั้ย? แต่ยังไงผมก็ดีใจนะ เพราะก็ยังมีคนที่สนใจมาคุยด้วย เลยคิดอยู่ในใจว่า
“โอเค.....ป๋าก็ป๋าเถอะ”
ภายในแค้มป์ ผมต้องทำตัวให้เหมือนยังเป็นหนุ่มๆ สาวๆ ที่เพิ่งยี่สิบปี เขาให้สิทธิแต่ละคนในการเลือกได้ตามใจว่าต้องการเรียนรู้อะไร ผมมองมาที่น้องๆ จากลาวด้วยกัน แล้วถามว่า
“ใครจะเลือกเอาอะไรกันบ้าง”
มีน้องสามคนเลือก Information Management ส่วนผมก็หันมาถามน้องคนหนึ่งที่อยู่ข้างๆ ว่า
“เราเลือกเรื่อง Advocacy มั้ย เพราะเราทำกันเรื่องนี้...”
“ค่ะ อ้าย...”
พอเวลาเรียนรู้กันจริงๆ ก็ได้รู้เรื่องการอัพโหลดรูป เสียง และวีดีโอขื้นเว็บไซต์ ซึ่งมีขั้นมีตอนอย่างดีตามระบบของมัน เวลานี้ถืงได้เข้าใจว่า โอ...เราโง่เอาปานนี้น้อ...เพราะเราคิดถึงแค่เพียงเรื่องที่เราเคยเห็นที่เอ็นจีโอในประเทศไทยเขาทำกันเพื่อผลักดันการต่อสู้บางอย่าง
ที่แคมป์ เราต้องพูดภาษาอังกถษ yes, no, ok ตามกันไป ผู้รับผิดชอบการฝิกหัดก็บอกว่าแกเป็นฝรั่ง เวลาพูดอังกฤษจะเร็วหน่อย เขาจึงแนะนำว่า
“I am Australia people, please stop me to slow down when speak very fast, Ok?”
ผมนึกในใจคนเดียวว่า “เวลาเราพูดภาษาลาว เราก็ควรจะบอกเพื่อนแบบนี้ด้วยใช่หรือเปล่า?”
นั่งเรียนไปก็คิดไปว่า เอ...คนไทย หรือลาวก็น่าจะสอนกันได้เรื่องพวกนี้ หรือต้องเป็นฝรั่งถึงจะสอนดีสอนเก่ง หรือว่าอย่างไรกันแน่นะ แล้วผมก็มักจะถอนหายใจแบบยาวๆ เมื่อถึงเวลาเลิกการฝืกอบรมในตอนบ่าย...
โปรดอย่าได้ถือสาหาความผมเลยนะครับ...เพราะผมก็พูดไปแบบบ้าๆ อย่างนี้แหละ