Skip to main content

20080215 ภาพพระพุทธรูป

20080215 ภาพศาลา

ข่าวการสั่งห้ามชาวบ้านที่หลวงพระบางทำกิจการให้ชาวต่างประเทศหรือนักท่องเที่ยวเช่าจักรยานและจักรยานยนต์ ได้ส่งผลลบมาสู่การท่องเที่ยวอีกครั้งหนึ่ง หนังสือพิมพ์บางฉบับในไทยได้ลงข่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้ด้วย เนื่องจากกลัวว่าอาจทำให้ความน่าสนใจ น่าเชื่อถือที่จะมาเยือนหลวงพระบาง เมืองมรดกโลกลดลงไป

การสั่งห้ามไม่ให้ชาวบ้านทำเช่นนั้น เป็นเพราะอะไร หลายคนเข้าใจว่า จากการหยุดไม่ให้ชาวบ้านทำ แต่มอบให้บริษัทเป็นคนทำ อาจทำให้ชาวบ้านสูญเสียรายได้ แล้วกลายเป็นการส่งเสริมนายทุนเพียงฝ่ายเดียว ชื่งไม่เป็นธรรมกับชาวบ้าน

20080215 ภาพคนใส่บาตร

20080215 ภาพพระสงฆ์

ผู้นำเที่ยวท่านหนึ่งบอกผมว่า “การห้ามชาวบ้านทำ เพราะไม่มีประกันความปลอดภัย เมื่อนักท่องเที่ยวไปใช้การบริการ ที่ผ่านมามีอุบัติเหตุเกิดขึ้นหลายครั้ง เพราะนักท่องเที่ยวขี่จักรยานหรือจักรยานยนต์ โดยไม่รู้หรือไม่ได้สนใจการจราจร ไม่สนใจทางขื้น หรือทางล่อง จึงเกิดอุบัติเหตุ ซึ่งเมื่อเกิดอุบัติเหตุขื้นมาก็สร้างความเสียหายทั้งกับนักท่องเที่ยว ข้าวของเสียหาย บ้านเมืองก็ไม่มีระบบระเบียบ และหากนักท่องเที่ยวเกิดตายขื้นมา ใครจะเป็นผู้รับผิดชอบเรื่องนี้? ใครจะเป็นคนจ่ายค่าหัว? ชาวบ้านธรรมดาจะมีเงินขนาดนั้นไหมล่ะ?”

ชาวบ้านท่านหนึ่งกล่าวให้ผมฟังว่า “การให้บริการการเช่าจักรยาน หรือจักรยานยนต์ ไม่เกียวข้องกับเรื่องวัฒนธรรม เรื่องนี้เป็นเรื่องวัตถุนิยมเท่านั้นเอง หรือถ้าเป็นก็เป็นวัฒนธรรมแบบใหม่แล้ว การจัดการเพื่อความเป็นระเบียบก็ควรจัดการ ในเวลาเดียวกันก็ให้มีหลักประกันให้กับชาวบ้าน เพื่อการดำเนินการที่ถูกต้อง”

การมาเที่ยวหลวงพระบางของนักท่องเที่ยว ไม่ได้หมายความว่า นักท่องเที่ยวต้องการเห็นความทันสมัยของเมืองหลวงพระบาง แต่เป็นความต้องการอยากเห็นสีสันทางวัฒนธรรมของคนหลวงพระบาง  ผู้นำเที่ยวท่านหนึ่งกล่าวว่า “ชาวต่างประเทศเข้ามาหลวงพระบางเพื่อการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ฉะนั้นชาวหลวงพระบางต้องเข้าใจในเรื่องการบริการด้านนี้ให้ดี การทำบุญตักบาตร ต้องทำตามประเพณีที่เคยทำมา แต่บางครั้งชาวบ้านก็ทำเกินความเป็นจริงที่มี เช่น การนำเอาเครื่องต่างๆ ไปขายให้นักท่องเที่ยว จนทำให้นักท่องเที่ยวไม่พอใจ การทำเช่นนี้เหมือนกับว่า เรามองเห็นแต่ไอ้เรื่องเงินๆ ทองๆ แต่ไม่ได้มองตรงที่วัฒนธรรมที่เราเคยทำกันมา”

20080215 ภาพคนใส่บาตร

ชาวบ้านท่านหนึ่งกล่าวว่า “บ้านเรือนที่อยู่ในเมืองหลวงพระบางจำนวนมากถูกชาวต่างประเทศเช่า ซึ่งส่งผลทำให้ไม่มีใครมาใส่บาตรกันเลย แล้วทีนี้ประเพณีของคนหลวงพระบางก็จะหายไป เรื่องการเช่าจักรยาน หรือจักรยานยนต์เป็นเพียงเสี้ยวหนึ่งของการดำเนินทางธุรกิจเท่านั้น สิ่งที่สำคัญที่สุดคือวัฒนธรรมดั้งเดิมของคนหลวงพระบาง”

หมายเหตุ: ภาพจาก
http://www.terragalleria.com/asia/laos/luang-prabang-monasteries/luang-prabang-monasteries.html

บล็อกของ แสงพูไช อินทะวีคำ

แสงพูไช อินทะวีคำ
  น้องกล่าวว่าสะพานข้ามของโยงใจรัก เชื่อมสัมพันธ์แน่นหนักสองฝั่งของ แต่อ้ายว่าสะพานขัวนั้นมันเชื่อมโยง สองฝั่งของของน้องพี่คู่เคียงกัน
แสงพูไช อินทะวีคำ
 
แสงพูไช อินทะวีคำ
      สุขลุลาภได้.....................ชัยประเสริฐยอถืง เลิงๆเบยบานสุข...............ทุกข์อย่าเวินมาต้อง ความหมองเหยหายเสี้ยง....เหลือเพียงความซ้อยชื่น หมื่นปีสุข์อยู่สร้าง..............ปางฟ้าสหง่างาม....ท่านเอ๋ย  
แสงพูไช อินทะวีคำ
  คนสมัยนี้ ช่างแปลกดี เปลี่ยนแปลงไป ลบทิ้งได้ ความดีงาม ที่มีอยู่ ความดีแท้ เขาสร้างสรรค์ ครารุ่นปู่ ไม่เหลืออยู่ คนรุ่นนี้ ลบทิ้งไป  
แสงพูไช อินทะวีคำ
   
แสงพูไช อินทะวีคำ
เดือนสว่างพรางแพรวแล้วแก้วตา คราตามองยังไม่ชัดดูมืดมัว ไม่ใช่ว่ากลัวผีคืนเดือนดับเป็นสลัว เพราะตามัวหรือมั้ยรู้จริงดูขรึม
แสงพูไช อินทะวีคำ
  แสงพูไชย อินทะวีคำ เขียนสุมาตร ภูลายยาว แปล  จำปีพยายามปั่นจักรยานเก่าๆ คู่ชีพของตนไปตามถนนเรื่อยๆ ทั้งวันตามคำแนะนำของป้าจำเริญ ที่หลายคนขนานนามให้แก่ว่า ‘คุณป้าแสนรู้' เพราะคนจะขายบ้านอยู่ตรงไหน ถนนใด ซอยใด คุ้มใดในขอบเขตเมืองเวียงจัน ไม่เป็นอันหลุดรอดสายตาป้าไปได้ จำปีทั้งปั่นทั้งยกมือขึ้นเอาชายเสื้อเช็ดเหงื่อที่ไหลลงมาราวกับน้ำจากรางริน เพราะความร้อนของอากาศเมืองเวียงจันในช่วงเดือน ๕ ของปี ๒๐๐๓
แสงพูไช อินทะวีคำ
เขียน: แสงพูไชย อินทะวีคำ แปล: สุมาตร ภูลายยาว แม้จะบิดเร่งคันเร่งเท่าไหร่ รถจักรยานยนต์ยังวิ่งช้าเหมือนเต่าคลาน  ที่เป็นอย่างนี้คงเพราะความเร่งรีบอย่างไปถึงไปรษณีย์ให้เร็ว เพราะชั่วโมงทำงานใกล้มาถึง มือบิดคันเร่งพอๆ กับหัวใจที่ร้อนรนกลัวไม่ทันเวลา  สายตาจึงต้องเพ่งมองไปตามถนนเพื่อหลบรถคันแล้วคันเล่าก่อนจะเลี้ยวซ้ายเข้าไปสู่ไปรษณีย์กลาง
แสงพูไช อินทะวีคำ
พระอาทิตย์ยามใกล้ค่ำสาดแสงอ่อนๆ ลอดผ่านปลายไม้ตามถนนล้านช้าง บนถนนรถยังคงแน่นขนัดวิ่งสวนกันไปมา ข้าพเจ้าประคับประคองร่างกาย ค่อยๆ ก้าวเดินไปข้างหน้าอย่าช้าๆ สายตามองสองส่องหาเศษขยะ  ปากก็กลืนน้ำลายลงคอ  สมองก็เริ่มคิดว่า ในบรรดาถังขยะเหล่านั้นจะมีสิ่งใดที่พอทำให้ข้าพเจ้ามีชีวิตรอดต่อไปอีกหนึ่งวัน
แสงพูไช อินทะวีคำ
ที่ร้านกาแฟเล็กๆ แห่งหนึ่ง บนริมถนนล้านช้าง เช้าเช้าอย่างนี้เป็นเวลาที่ผู้คนกำลังเดินเข้าเดินออกเพื่อที่จะมาลิ้มรสกาแฟปากช่องที่ขึ้นชื่อที่สุด ชายหนุ่มชื่อต่ายเดินไปในร้านกาแฟ แกมองซ้ายมองขวา ก่อนที่จะนั่งลง อีกไม่ถืงสามนาที ก็มีหญิงสาวอายุประมาณยี่สิบกว่านิดๆ เดินเข้ามานั่งลงม้านั่งด้านตรงกันข้าม เสียงสนทนาแว่วๆ เข้าหู "นึกว่าพี่จะไม่มา""ไม่มาได้ไง?""ขอบคุณค่ะ""ไม่เป็นไร ไหนๆ ก็ไหนๆ แล้ว""ไอ้เรื่องไหนๆ ที่พี่ว่ามีความหมายว่าอย่างไร?""ไม่มีอะไรหรอก คิดมากไป...""ถามจริงๆเถอะ...พี่ชอบหนูจริงหรือเปล่าคะ?""เรื่องนี้เราคุยกันรู้เรื่องแล้วไม่ไช่หรือ? ทำไมต้องคุยอีก""ก็กลัวพี่ไม่รักหนูจริงนี่นา"
แสงพูไช อินทะวีคำ
สมสีเป็นลูกสาวหัวแก้วหัวแหวนของพ่อเผย ชาวบ้านต่างกล่าวขานกันว่า เป็นผู้หญิงที่สวยเพียบพร้อมด้วยสมบัติบารมี ตรงตามตำราโบราณ รูปร่างสมส่วน ผิวขาวเหมือนไข่ปอก เข้ากับภาษิตที่ว่า ‘ตีนมือสวยลงน้ำหมานปลา ตีนมือหว้าลงนาหมานข้าว ไผได้เอาฮ่วมซ้อนคำไร้แม่นบ่มี’ เรื่องนี้เป็นที่รู้จักกันดีของชาวบ้านห้วยจิก วันนี้จ่อยกลับจากไปสู่ขวัญบ้านใต้ มองเห็นพ่อเผยกำลังนั่งเหลาตอกอยู่เพียงลำพัง จึงร้องทักอย่างคนคุ้นเคย “พ่อเผยเอ้ย! ข้อยขอเป็นลูกเขยได้บ่” จ่อยทั้งร้องทักทั้งส่งเสียงหัวเราะแหะๆ “บักจ่อย! มึงกล้าแต่ฮ้องใส่กูนี้แล้ว ถ้ามึงกล้าเว้ากับอี่สี แล้วมันตกลงแต่งงานกับมึง กูจะบ่ขัดทั้งสิยกให้มึงโลด”…
แสงพูไช อินทะวีคำ
พอเข้าบ้านปุ๊บ เสียงแปลกประหลาดก็วิ่งเข้าสู่รูหูทันที เสียงแบบนี้ข้าพเจ้าไม่คุ้นหูเอาเสียเลย และมันก็ไม่เคยเกิดขึ้นกับภรรยาสุดที่รักของข้าพเจ้าสักครั้ง เธอนั่งร้องไห้น้ำตาไหลพราก น้ำมูกย้อยเหมือนได้รับความระทมขมขื่นอันหาที่สิ้นสุดไม่ได้ ข้าพเจ้าสืบเท้าเข้าไปหาเธอ เพื่อถามไถ่เรื่องราวต่างๆ แต่ข้าพเจ้าต้องหยุดชะงักอยู่กับที่ เมื่อเธอชี้หน้าทำตาขวางเหมือนจะบดขยี้ข้าพเจ้าให้แหลกคามือ คำพูดที่หลุดออกมาจากปากของเธอไม่ต่างอะไรกับน้ำที่ไหลออกมาจากรางรินรับน้ำฝน ข้าพเจ้าฟังจนเกือบไม่ทัน เธอพูดว่า ''เจ้ามันบ้า! บ้าแท้ๆ! เจ้าบ่มีเวียกบ่? เดี๋ยวนี่คำเว้าของชาวบ้านแล่นเข้าหูข้อยจนล้นออกมาแล้ว…