Skip to main content

เป็นอีกครั้งที่ข้าพเจ้าไม่สามารถส่งบทความเข้ามาได้ตามกำหนด โดยคราวนี้ทิ้งระยะไปนานมาก จนทำให้ข้าพเจ้ารู้สึกผิดต่อผู้อ่านและผู้บริหาร blogazine เป็นอย่างยิ่ง ข้าพเจ้าต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย

\\/--break--\>

บทความวันนี้เกิดขึ้น จากประสบการณ์ตรงที่ข้าพเจ้าประสบ ซึ่งทำให้ข้าพเจ้าเห็นความแตกต่างทางสังคม ระหว่างประเทศสองประเทศ ในเรื่องของความร่ำรวยข้อมูล ซึ่งประกอบด้วย 3 ส่วนประกอบสำคัญ นั่นคือ ความอุดมทางข้อมูล ความยากง่ายในการเข้าถึงข้อมูล และมุมมองที่มีในการวางแผนโครงสร้างข้อมูลบนเว็บ


ประเทศแรกคือ หนึ่งในประเทศที่ได้รับการยอมรับ ว่าเป็นประเทศพัฒนาแล้ว และเป็นหนึ่งในประเทศชั้นนำทางด้านเศรษฐกิจโลก นั่นคือประเทศ อังกฤษ ส่วนอีกหนึ่งประเทศที่ข้าพเจ้าต้องการเปรียบเทียบ คือ ประเทศที่เป็นบ้านเกิดเมืองนอนของเราๆท่านๆ นั่นคือ ประเทศไทย โดยการเปรียบเทียบครั้งนี้ อ้างอิงจากการหาข้อมูลบนอินเตอร์เนต ผ่านเว็บไซท์ค้นหาข้อมูลเช่น google รวมถึงการเข้าค้นข้อมูลในและการติดต่อกับเว็บไซท์ต่างๆภายในประเทศทั้งสอง


เรื่องแรกที่อยากพูดถึงคือ เรื่องของความอุดมทางด้านข้อมูล ซึ่งเป็นสิ่งที่ข้าพเจ้าสัมผัสได้ถึงความแตกต่างที่ชัดเจนที่สุด


การได้มีโอกาสหาข้อมูลเพื่อการใช้ชีวิตในทั้งสองประเทศ ทำให้ข้าพเจ้าเข้าใจถึงสถานการณ์ความอุดมของข้อมูล ในเรื่องต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตในสังคมนั้น ซึ่งข้าพเจ้าพบว่า ในประเทศอังกฤษซึ่งเป็นประเทศชั้นนำของโลก มีความอุดมทางด้านข้อมูลเป็นอย่างมาก นั่นหมายถึง หากท่านสงสัยเกี่ยวกับอะไรก็ตามที ไม่ว่าจะเป็น ข้อมูลบริการของหน่วยงานของรัฐ ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าและบริการต่างๆของภาคเอกชน ข้อมูลข่าวสารทางสังคม การเมือง และเศรษฐกิจ และรวมถึงข้อมูลที่เป็นเสียงสะท้อนของประชาชนคนอื่นๆในเรื่องต่างๆ ท่านสามารถหาข้อมูลเหล่านี้ได้อย่างง่ายดาย


ซึ่งตรงนี้เองมีประโยชน์มหาศาลต่อประชาชน เพราะความอุดมทางด้านข้อมูล ทำให้ประชาชนสามารถทราบถึงข้อมูลที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต ซึ่งในที่สุดอำนวยให้ประชาชน สามารถทำการตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง ทันท่วงที และด้วยทางเลือกที่หลากหลายมากขึ้น


การตัดสินใจต่างๆในชีวิต เช่น การเลือกสถานศึกษาและสายอาชีพของลูกหลาน การเลือกอาชีพและการสมัครงาน การเลือกซื้อที่อยู่อาศัย รวมถึงการตัดสินใจลงทุนทางธุรกิจต่างๆ คือการตัดสินใจและการลงทุน ครั้งใหญ่ที่สำคัญมาก บางครั้งถึงมากที่สุดในชีวิตของใครหลายๆคน ซึ่งความอุดมทางด้านข้อมูล เป็นตัวแปรสำคัญที่มีผลต่อการตัดสินใจและการลงทุนเหล่านี้ เนื่องจากการตัดสินใจเหล่านี้ เป็นการตัดสินใจที่เปลี่ยนชีวิตของประชาชนคนหนึ่งเลยที่เดียว ดังนั้นการมีข้อมูลที่เพียบพร้อมกว่า ย่อมทำให้ประชาชนสามารถตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ มากกว่าการตัดสินใจโดยมีข้อมูลไม่เพียงพอ


ในทรรศนะของข้าพเจ้า สังคมที่มีความอุดมทางด้านข้อมูล ย่อมมีแนวโน้มที่จะมีการพัฒนาไปในทางที่ดีและรวดเร็วกว่า สังคที่ขาดซึ่งความอุดมทางด้านข้อมูล อย่างไรก็ดีความอุดมทางด้านข้อมูลนี้ ไม่สามารถถูกพลักดันให้เกิดขึ้น จากความพยายามของภาครัฐเพียงเท่านั้น หากแต่อยู่ที่การที่ทุกภาคส่วนตระหนักถึงความสำคัญของสภาวะนี้ และเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างสภาวะนี้ขึ้นมา


เรื่องที่สองที่ขอพูดถึง คือ ความยากง่ายในการเข้าถึงข้อมูล ซึ่งเป็นตัวแปรสำคัญที่ผลักดันให้ ข้อมูลที่มีอยู่ของประเทศนั้นไม่ว่าจะอุดมหรือไม่ สามารถถูกนำไปใช้ประโยชน์ เนื่องจากถึงแม้ว่าสังคมหรือประเทศหนึ่งจะมีความอุดมทางข้อมูลสูง หากประชาชนมีความยากในการเข้าถึงข้อมูล ก็จักทำให้ข้อมูลที่มีอยู่ ไม่เกิดประโยชน์ต่อประชาชนในวงกว้าง


อย่างไรก็ดีในปัจจุบัน อินเตอร์เนตได้กลายเป็นสื่อสำคัญ ที่ช่วยให้ประชาชนในประเทศต่างๆ สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายขึ้นและด้วยราคาที่ถูกลง และเมื่อมองจากมุมของความยากง่ายในการเข้าถึงข้อมูล โดยเฉพาะข้อมูลบนอินเตอร์เนต เป็นอีกครั้งหนึ่งที่ประเทศพัฒนาแล้วอย่างอังกฤษ เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายกว่า เมื่อเปรียบกับประเทศไทยของเรา ซึ่งทำให้ประชาชนของเค้า สามารถเข้าถึงข้อมูลที่มีความอุดมสูง และใช้ประโยชน์จากข้อมูลต่างๆนั้น ได้อย่างเต็มที่


ตามทรรศนะของข้าพเจ้า ความอุดมทางด้านข้อมูลกับความยากง่ายในการเข้าถึงข้อมูล มีความสอดคล้องและใกล้ชิดกันอย่างแยกไม่ออก คล้ายกับความสัมพันธ์ของไก่กับไข่ ในลักษณะที่ว่าไม่มีไก่ก็ไม่มีไข่ แต่ในขณะเดียวกัน ไม่มีไข่ก็ไม่มีไก่ นั่นคือ หากการเข้าถึงข้อมูลนั้นทำได้ยาก ก็จักทำให้ประชาชนในทุกภาคส่วน ผู้ซึ่งเป็นกลจักรสำคัญ ที่ทำให้ข้อมูลบนอินเตอร์เนตมีความอุดมสมบูรณ์ ไม่ทำหน้าที่ของตน ในการร่วมกันสร้างข้อมูลต่างๆ ซึ่งในที่สุดก็จักทำให้ความอุดมทางด้านข้อมูลไม่สามารถเกิดขึ้นได้


ในขณะเดียวกันหากไม่มีความอุดมทางด้านข้อมูลแล้ว ประชาชนก็ไม่คิดถึงและไม่ต้องการที่จะเข้าไปใช้ประโยชน์ข้อมูลเหล่านี้ ต่อให้การเข้าถึงข้อมูลจะมีความง่ายเพียงใด เนื่องจากประชาชนเข้าใจว่า พวกเค้าไม่สามารถหวังพึ่งพาแหล่งข้อมูลเหล่านี้ได้ ผลที่ตามมาก็คือ แหล่งข้อมูลบนอินเตอร์เนตจักไม่เป็นแหล่งข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมต่อไป และไม่ได้รับการสนับสนุนทั้งจากภาครัฐและเอกชน เพื่อดำเนินการให้การเข้าถึงข้อมูล มีความง่ายมากขึ้นและในราคาที่ย่อมเยาขึ้น


ดังนั้น หากประเทศใดต้องการได้ประโยชน์จากสภาวะความอุดมทางด้านข้อมูล โดยเฉพาะบนอินเตอร์เนต ปฏิเสธไม่ได้ว่าจักต้องมีการส่งเสริมให้ทุกภาคส่วน เพิ่มบทบาทในการร่วมกันสร้างข้อมูลบนอินเตอร์เนต ไปพร้อมกับการสนับสนุนให้ ทุกภาคส่วนสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างง่ายดายขึ้นและด้วยราคาถูกลง


ประการสุดท้ายที่อยากพูดถึงวันนี้ นั่นคือ เรื่องของ มุมมองที่มีในการวางแผนโครงสร้างข้อมูลบนเว็บ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่สะท้อนถึงความสามารถ ในเรื่องของการตีโจทย์การสร้างเว็บของแต่ละประเทศ


จากการที่ข้าพเจ้าได้มีโอกาส ท่องไปในเว็บต่างๆของทั้งประเทศอังกฤษ และประเทศไทย เพื่อหาข้อมูลที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตในทั้งสองประเทศ ข้าพเจ้ารับรู้ได้ว่า เว็บในประเทศอังกฤษ มีความเข้าใจในการจัดโครงสร้างข้อมูลบนเว็บ ที่มุ่งสนองตอบความต้องการของผู้ใช้งาน มากกว่าสนองตอบความต้องการของเจ้าของเว็บ ที่สร้างเว็บเพื่อการนำเสนอข้อมูลที่ตนเองต้องการ ตามรูปแบบตัวเองต้องการ ซึ่งการมีมุมมองที่ดีในการวางแผนโครงสร้างข้อมูลบนเว็บนี้เอง ที่ช่วยให้เว็บมีโครงสร้างข้อมูล ที่ง่ายต่อผู้ใช้แต่ละกลุ่ม และมีข้อมูลครบถ้วนตามที่ลูกค้าแต่ละกลุ่มต้องการ


หากเปรียบการวางเป้าหมายชีวิต คือวางเป้าหมายในการขับรถ ความร่ำรวยข้อมูลคงเปรียบเสมือนการมีแผนที่ที่มีคุณภาพ ที่ช่วยให้การขับรถเดินทางครั้งนี้ สามารถไปถึงยังเป้าหมาย ได้อย่างถูกต้องและใช้เวลาน้อยที่สุด และเมื่อเข้าใจว่า ความอุดมทางด้านข้อมูล ความยากง่ายในการเข้าถึงข้อมูล และมุมมองที่มีในการวางแผนโครงสร้างข้อมูลบนเว็บ คือสามส่วนประกอบสำคัญ ที่ทำให้เกิดความร่ำรวยข้อมูล


ความอุดมทางด้านข้อมูล คงเปรียบได้กับ การมีแผนที่ซึ่งถูกต้อง ครบถ้วน ครอบคลุม และสอดคล้องกับการเดินทางในครั้งนี้


ความยากง่ายในการเข้าถึงข้อมูล คงเปรียบได้กับ การที่เราสามารถหยิบแผนที่ที่ต้องการนี้ ขึ้นมาใช้ได้ในทุกครั้งที่

ต้องการได้หรือไม่


มุมมองที่มีในการวางแผนโครงสร้างข้อมูลบนเว็บ คงเปรียบได้กับ การที่แผนที่ที่เรามีนั้น ได้ถูกออกแบบมาให้เหมาะสมกับผู้ใช้อย่างเราหรือไม่ หรือถูกออกแบบมาให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจหรือไม่


ข้าพเจ้าหวังเป็นอย่างยิ่งว่า บทความนี้จักช่วยให้ท่าน มองเห็นในภาพกว้าง และรับรู้ถึงความสำคัญ ของการเป็นประเทศร่ำรวยข้อมูล และในบทความหน้า ข้าพเจ้าจะมาต่อยอดบทความในวันนี้ ด้วยการวิเคราะห์ความจำเป็น ที่เราจักต้องพัฒนาทั้ง 3 ส่วนประกอบสำคัญ อันได้แก่ ความอุดมทางด้านข้อมูล ความยากง่ายในการเข้าถึงข้อมูล และมุมมองที่มีในการวางแผนโครงสร้างข้อมูลบนเว็บ ไปพร้อมๆกัน เพื่อทำให้ทุกท่านเข้าใจประเด็นดังกล่าวนี้เป็นรูปธรรมมากขึ้น และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าทุกๆท่าน จักช่วยกันผลักดันให้ประเทศไทย เป็นประเทศที่ร่ำรวยข้อมูลมากขึ้นต่อไป

 

 

บล็อกของ SenseMaker

SenseMaker
Digital Divide คือ คำในภาษาอังกฤษที่ใช้เรียกสภาวะ ที่ซึ่งความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ICT เป็นตัวการสำคัญ ที่ทำให้ช่องว่างและความแตกต่างในสังคมเกิดขึ้นและขยายตัวในขณะที่ปัจจุบัน ทั่วโลกกำลังให้ความสำคัญกับ ICT ในฐานะที่เป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์ต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจ โดยเห็นได้จากแนวนโยบายของรัฐบาลในหลายประเทศทั่วโลก ที่มุ่งสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ทาง ICT เพื่อให้บริการต่างๆของภาครัฐ ผ่านเครื่องมือที่เรียกว่า“รัฐบาลอิเลคทรอนิค” หรือ e-government ทั่วโลกก็กำลังเผชิญหน้ากับการขยายตัวของปัญหา ช่องว่างและความแตกต่างในสังคม ไปพร้อมกัน
SenseMaker
ปัจจุบันความก้าวหน้าทาง ICT อนุญาตให้ประชาชนทุกคน สามารถแสดงออกทางความคิดเห็น ได้อย่างกว้างขวาง ผ่านความหลากหลายของช่องทางการติดต่อสื่อสาร และความอุดมสมบูรณ์ของสื่อ ไม่เพียงเท่านั้น ICT ยังอนุญาตให้เราสามารถ จัดการกับข้อมูลและเนื้อหาของการแสดงออกทางความคิด เพื่อใช้สำหรับการเข้าถึงในวงกว้างโดยผู้คนอื่นต่อไปได้อีกด้วยด้วยความสามารถของ ICT ข้างต้น ทำให้ประชาชนเริ่มมองเห็น และตระหนักในศักยภาพ ของการนำICT มาใช้เพื่อสะท้อนสภาพปัญหาที่แต่ละบุคคลประสบ มองหาผู้ร่วมชะตากรรมเดียวกัน และมองหาผู้อื่นที่เต็มใจให้ความช่วยเหลือ เพื่อร่วมคิด แสดงความเห็น ให้คำปรึกษา และช่วยกันหาทางบรรเทาหรือแก้ไขปัญหานั้นๆ…
SenseMaker
ความเคลื่อนไหวล่าสุดของโครงการจัดทำ แผนแม่บททางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารฉบับที่ 2 ของประเทศไทย เพื่อประกาศใช้ระหว่าง พ.ศ. 2552 – 2556 ยังอยู่ในระหว่างการเร่งจัดทำร่าง เพื่อประกาศใช้ให้ทันการเริ่มต้นใช้งานในปีหน้าข้าพเจ้ามีโอกาสได้อ่านแผนแม่บทฉบับร่างดังกล่าว ซึ่งกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้เตรียมเพื่อใช้ประกอบการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ ระหว่างวันที่ 4-13 สิงหาคม ที่ผ่านมา ซึ่งข้าพเจ้าคิดว่าน่าจะเป็นฉบับล่าสุด ที่กระทรวงฯเปิดเผยและประชาสัมพันธ์ต่อสาธารณะ (ท่านผู้อ่านสามารถอ่านข้อมูลของโครงการจัดทำแผ่นแม่บทนี้ เพิ่มเติม รวมทั้ง download เอกสารประกอบต่างๆได้ที่ http…
SenseMaker
หากท่านผู้อ่านได้อ่านบทความก่อนๆ ไม่ว่าจะเป็นบทความเรื่อง “การเข้าถึงเทคโนโลยี ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ ความแตกต่างทางสังคม และสังคมในแนวขนาน” หรือเรื่อง “เว็บยุค2.0 สื่อพลเมือง และการท้าทายกระแสหลัก” และเรื่อง “ICT ตัวการแห่งการเปลี่ยนแปลง และผลลัพท์ทางสังคมที่ย้อนแย้ง” ข้าพเจ้าเชื่อว่าบทความเหล่านี้ จะทำให้ทุกท่านที่อ่านเริ่มตระหนัก ข้อเท็จจริงที่ว่า ICT เป็นตัวแปรต้นของความเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่ว่า สังคมของเราทุกวันนี้ มีความหลากหลายทางระบบความคิด ความเชื่อ และมีความแตกต่างทางด้านค่านิยมมากขึ้น ความเปลี่ยนแปลงทางสังคมข้างต้น แน่นอนว่าไม่ได้ถูกผลักดัน ด้วยความก้าวหน้าทางด้าน ICT…
SenseMaker
“คนไทยลืมง่าย” คือคำนิยามหนึ่งที่อธิบายลักษณะความคิดและนิสัยของคนไทย ได้เป็นอย่างดี คนไทยเรามักเลือกที่จะลืมและให้อภัย กับความผิดพลาดที่เกิดขึ้นทุกๆเรื่อง ไม่ว่าเรื่องนั้นจะสร้างความเดือดร้อนใหญ่หรือเล็กเพียงใดหลายคนแสดงความเห็นว่า สาเหตุสำคัญที่ทำให้คนไทยเรามีอุปนิสัยเช่นนี้ เนื่องจากคนไทยเราส่วนใหญ่ ได้รับอิทธิพลทางด้านความคิดจากพุทธศาสนา ซึ่งปลูกฝังให้คนเรารู้จักให้อภัยกันและกัน ทำให้คนในสังคมของเรา อยู่กันแบบถ้อยทีถ้อยอาศัยและเกื้อกูลกัน ซึ่งนี้คือสิ่งที่หลายคนเห็นว่า “การลืมง่าย” ก่อให้เกิดผลดีกับบ้านเมืองของเราอย่างไรก็ดีธรรมชาติของเหรียญย่อมต้องมีสองด้าน...…
SenseMaker
เป็นความตั้งใจของข้าพเจ้า ที่ปล่อยให้บทความที่แล้ว ยึดพื้นที่คอลัมน์ยาวกว่าปกติสักหน่อย เพื่อดึงความสนใจจากผู้อ่าน และอยากให้ทุกท่านตระหนักว่า แนวโน้มการ Outsourcing ขององค์กรต่างๆ กำลังส่งผลกระทบสำคัญ กับแนวทางการดำเนินชีวิตของทุกคน บทความวันนี้ ให้ความสนใจกับปัญหาความล้มเหลวของโครงการด้าน ICT ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญที่องค์กรต่างๆกำลังเผชิญหน้าอยู่ โดยมีจุดประสงค์เพื่อมุ่งค้นหาส่วนประกอบสำคัญ ซึ่งสามารถช่วยให้องค์กรประสบความสำเร็จ ในการดำเนินโครงการด้าน ICT
SenseMaker
ต้องขอโทษท่านผู้อ่าน ที่ติดตามคอลัมน์กรองกระแส ICT ที่บทความสำหรับอาทิตย์นี้ต้องล่าช้าสักหน่อย เนื่องจากข้าพเจ้าไม่ใคร่สบายเล็กน้อย ในช่วงวันเวลาที่จัดไว้สำหรับเขียนบทความในบทความที่แล้ว ข้าพเจ้าพยายามชี้ให้ทุกท่านเห็น ปรากฏการณ์ที่ว่า ICT เป็นตัวแปรต้นที่สำคัญ ซึ่งสร้างความเปลี่ยนแปลงมากมาย ให้กับองค์กรต่างๆ ทั้งในบริบทของผลกระทบจากภายนอกองค์กร ในรูปแบบของ การทำให้สภาพแวดล้อมในการแข่งขันเปลี่ยนแปลง และในบริบทของผลกระทบที่เกิดภายในองค์กร ในลักษณะของการทำให้ รูปแบบการทำงานและแนวการบริหารทรัพยากรองค์กร ต้องเปลี่ยนไปบทความในวันนี้…
SenseMaker
ICT ตัวแปรต้นแห่งการเปลี่ยนแปลงภายในองค์กร ที่ไม่ควรถูกมองข้าม ก่อนเข้าสู่บทความอาทิตย์นี้ ข้าพเจ้าขอประณามการกระทำ ของผู้ที่ทำให้บ้านเมืองวุ่นวาย อยู่ในขณะนี้ เนื่องจากข้าพเจ้าถือว่า ใครก็ตามที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งในบ้านเมือง ไม่มีความรักชาติอย่างจริงจัง และเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน มากกว่าประโยชน์ส่วนรวม หากทุกคน เล็งเห็นความสงบสุขและประโยชน์ ของประเทศเป็นสำคัญ จะต้องใช้วิธีประนีประนอม เพื่อหาหนทางแก้ปัญหา ความขัดแย้งทางความคิด ร่วมกัน มากกว่าการยึดเอาความคิดของตนเป็นใหญ่ มองความคิดของอีกฝ่ายว่าไม่ถูกต้อง และมุ่งล้มล้างฝ่ายตรงข้าม…
SenseMaker
หลังจากที่ได้ขีดๆเขียนๆบทความ ในด้านที่ข้าพเจ้าเชื่อว่าจะเป็นประโยชน์กับสังคมไทย และอยู่ในความสนใจของตัวเอง เป็นระยะเวลาประมาณ 3 เดือน ข้าพเจ้ารู้สึกว่า เป็นเวลาอันสมควร ที่ควรจะทำความเข้าใจ กับผู้ให้ความกรุณาแวะเวียนเข้ามาอ่าน ทั้งขาประจำและขาจร ซึ่งมีอยู่จำนวนหนึ่ง ถึงที่มาของคอลัมน์ “กรองกระแส ICT”จุดเริ่มต้นของคอลัมน์นี้ เกิดจากการที่ข้าพเจ้ามีความสนใจ และมีโอกาสศึกษาหาความรู้ทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ Information Technology (IT) และ ทางด้านระบบข้อมูลสารสนเทศ หรือ Information System (IS) ประกอบกับประสบการณ์ในการทำงาน ในอุตสหกรรมโทรคมนาคม จนถือได้ว่า ข้าพเจ้าโชคดีที่มีความคุ้นเคยกับ ICT…
SenseMaker
บทความในวันนี้ เป็นผลสืบเนื่องมาจาก การได้รับทราบสองข่าว ซึ่งในความเห็นของข้าพเจ้า เป็นข่าวที่ไม่ได้อยู่ในกระแสความสนใจ ของคนไทยทั่วไปแต่อย่างไร แต่เป็นข่าวที่ข้าพเจ้า อยากเรียกร้องให้ทุกคน หันมาตระหนักถึงความน่ากลัว ของการถูกคุกคามโดย "Identity thief"Identity thief คือ กลุ่มคนที่มุ่งขโมยข้อมูลส่วนบุคคล โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลที่ใช้แสดงตัวตน ของบุคคลต่างๆ โดยมีเป้าหมายเพื่อ ใช้ข้อมูลดังกล่าวปลอมแปลงตนเป็นบุคคลผู้นั้น เพื่อหาประโยชน์อื่นๆต่อไปข่าวแรกที่เกิดขึ้น เป็นเหตุการณ์ที่ผู้หญิงคนหนึ่ง ถูกวิ่งราวกระเป๋าสตางค์ ภายหลังจากเกิดเรื่อง ซึ่งข้าพเจ้าเจ้าจำได้ไม่แน่นอนว่านานเท่าไหร่…
SenseMaker
“คู่แข่งกำลังลงทุนในเทคโนโลยี... เราจะรอช้าอยู่ไม่ได้ ต้องรีบดำเนินการผลักดันโครงการแบบเดียวกัน ให้เกิดขึ้นในทันที เพื่อตามให้ทัน และไม่ให้เราสูญเสียโอกาสทางการแข่งขัน"“เทคโนโลยี... กำลังได้รับความนิยมในตลาดโลก สร้างประโยชน์มากมายให้กับ ประเทศนั้นประเทศนี้ หรือองค์กรนั้นองค์กรนี้ ดังนั้นเราจึงควรลงทุนในเทคโนโลยีดังกล่าว อย่างเร่งด่วน”เหตุผลในทำนองข้างต้น เป็นเหตุผลที่ข้าพเจ้าได้ยินอยู่เป็นประจำ จากผู้มีอำนาจตัดสินใจในระดับนโยบาย ขององค์กรระดับต่างๆในประเทศไทย เพื่อนำเทคโนโลยีอันทันสมัย เข้ามาใช้ประโยชน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีทางด้าน ICT
SenseMaker
เช้ามา...เปิดคอม เปิดเนต เช็คตารางนัด เช็คเมล ตอบเมล ล็อคอินเข้า MSN เอาไว้คุยกับเพื่อน หาข้อมูลจาก Google และ Wikipedia เข้าไปดูว่าเพื่อนๆทำอะไรกันบ้าง พร้อมกับอัพเดตของมูลตัวเองบน MySpace, Hi5 หรือ Facebook เข้าไปอ่านข่าว บทความ หรือกระทู้ จากแหล่งข้อมูลเฉพาะด้าน จาก Blog หรือสังคมออนไลน์ต่างๆ ที่สนใจ เข้าไปดูวิดีโอแปลกๆ หรืออัพโหลดวิดีโอฝีมือตนเองบน Youtube เข้าไปอัพเดตรูปตัวเองหรือหารูปสวยๆบน Flickr และโทรหาใครหลายคน ไม่ว่าอยู่มุมไหนของโลกผ่าน Skypeชีวิตที่ดำเนินไปข้างต้น คงมีส่วนคล้ายกับชีวิตใครหลายคนในปัจจุบัน ไม่มากก็น้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับกลุ่มคนที่มีอายุต่ำกว่า 30…