Skip to main content

เป็นอีกครั้งที่ข้าพเจ้าไม่สามารถส่งบทความเข้ามาได้ตามกำหนด โดยคราวนี้ทิ้งระยะไปนานมาก จนทำให้ข้าพเจ้ารู้สึกผิดต่อผู้อ่านและผู้บริหาร blogazine เป็นอย่างยิ่ง ข้าพเจ้าต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย

\\/--break--\>

บทความวันนี้เกิดขึ้น จากประสบการณ์ตรงที่ข้าพเจ้าประสบ ซึ่งทำให้ข้าพเจ้าเห็นความแตกต่างทางสังคม ระหว่างประเทศสองประเทศ ในเรื่องของความร่ำรวยข้อมูล ซึ่งประกอบด้วย 3 ส่วนประกอบสำคัญ นั่นคือ ความอุดมทางข้อมูล ความยากง่ายในการเข้าถึงข้อมูล และมุมมองที่มีในการวางแผนโครงสร้างข้อมูลบนเว็บ


ประเทศแรกคือ หนึ่งในประเทศที่ได้รับการยอมรับ ว่าเป็นประเทศพัฒนาแล้ว และเป็นหนึ่งในประเทศชั้นนำทางด้านเศรษฐกิจโลก นั่นคือประเทศ อังกฤษ ส่วนอีกหนึ่งประเทศที่ข้าพเจ้าต้องการเปรียบเทียบ คือ ประเทศที่เป็นบ้านเกิดเมืองนอนของเราๆท่านๆ นั่นคือ ประเทศไทย โดยการเปรียบเทียบครั้งนี้ อ้างอิงจากการหาข้อมูลบนอินเตอร์เนต ผ่านเว็บไซท์ค้นหาข้อมูลเช่น google รวมถึงการเข้าค้นข้อมูลในและการติดต่อกับเว็บไซท์ต่างๆภายในประเทศทั้งสอง


เรื่องแรกที่อยากพูดถึงคือ เรื่องของความอุดมทางด้านข้อมูล ซึ่งเป็นสิ่งที่ข้าพเจ้าสัมผัสได้ถึงความแตกต่างที่ชัดเจนที่สุด


การได้มีโอกาสหาข้อมูลเพื่อการใช้ชีวิตในทั้งสองประเทศ ทำให้ข้าพเจ้าเข้าใจถึงสถานการณ์ความอุดมของข้อมูล ในเรื่องต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตในสังคมนั้น ซึ่งข้าพเจ้าพบว่า ในประเทศอังกฤษซึ่งเป็นประเทศชั้นนำของโลก มีความอุดมทางด้านข้อมูลเป็นอย่างมาก นั่นหมายถึง หากท่านสงสัยเกี่ยวกับอะไรก็ตามที ไม่ว่าจะเป็น ข้อมูลบริการของหน่วยงานของรัฐ ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าและบริการต่างๆของภาคเอกชน ข้อมูลข่าวสารทางสังคม การเมือง และเศรษฐกิจ และรวมถึงข้อมูลที่เป็นเสียงสะท้อนของประชาชนคนอื่นๆในเรื่องต่างๆ ท่านสามารถหาข้อมูลเหล่านี้ได้อย่างง่ายดาย


ซึ่งตรงนี้เองมีประโยชน์มหาศาลต่อประชาชน เพราะความอุดมทางด้านข้อมูล ทำให้ประชาชนสามารถทราบถึงข้อมูลที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต ซึ่งในที่สุดอำนวยให้ประชาชน สามารถทำการตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง ทันท่วงที และด้วยทางเลือกที่หลากหลายมากขึ้น


การตัดสินใจต่างๆในชีวิต เช่น การเลือกสถานศึกษาและสายอาชีพของลูกหลาน การเลือกอาชีพและการสมัครงาน การเลือกซื้อที่อยู่อาศัย รวมถึงการตัดสินใจลงทุนทางธุรกิจต่างๆ คือการตัดสินใจและการลงทุน ครั้งใหญ่ที่สำคัญมาก บางครั้งถึงมากที่สุดในชีวิตของใครหลายๆคน ซึ่งความอุดมทางด้านข้อมูล เป็นตัวแปรสำคัญที่มีผลต่อการตัดสินใจและการลงทุนเหล่านี้ เนื่องจากการตัดสินใจเหล่านี้ เป็นการตัดสินใจที่เปลี่ยนชีวิตของประชาชนคนหนึ่งเลยที่เดียว ดังนั้นการมีข้อมูลที่เพียบพร้อมกว่า ย่อมทำให้ประชาชนสามารถตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ มากกว่าการตัดสินใจโดยมีข้อมูลไม่เพียงพอ


ในทรรศนะของข้าพเจ้า สังคมที่มีความอุดมทางด้านข้อมูล ย่อมมีแนวโน้มที่จะมีการพัฒนาไปในทางที่ดีและรวดเร็วกว่า สังคที่ขาดซึ่งความอุดมทางด้านข้อมูล อย่างไรก็ดีความอุดมทางด้านข้อมูลนี้ ไม่สามารถถูกพลักดันให้เกิดขึ้น จากความพยายามของภาครัฐเพียงเท่านั้น หากแต่อยู่ที่การที่ทุกภาคส่วนตระหนักถึงความสำคัญของสภาวะนี้ และเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างสภาวะนี้ขึ้นมา


เรื่องที่สองที่ขอพูดถึง คือ ความยากง่ายในการเข้าถึงข้อมูล ซึ่งเป็นตัวแปรสำคัญที่ผลักดันให้ ข้อมูลที่มีอยู่ของประเทศนั้นไม่ว่าจะอุดมหรือไม่ สามารถถูกนำไปใช้ประโยชน์ เนื่องจากถึงแม้ว่าสังคมหรือประเทศหนึ่งจะมีความอุดมทางข้อมูลสูง หากประชาชนมีความยากในการเข้าถึงข้อมูล ก็จักทำให้ข้อมูลที่มีอยู่ ไม่เกิดประโยชน์ต่อประชาชนในวงกว้าง


อย่างไรก็ดีในปัจจุบัน อินเตอร์เนตได้กลายเป็นสื่อสำคัญ ที่ช่วยให้ประชาชนในประเทศต่างๆ สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายขึ้นและด้วยราคาที่ถูกลง และเมื่อมองจากมุมของความยากง่ายในการเข้าถึงข้อมูล โดยเฉพาะข้อมูลบนอินเตอร์เนต เป็นอีกครั้งหนึ่งที่ประเทศพัฒนาแล้วอย่างอังกฤษ เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายกว่า เมื่อเปรียบกับประเทศไทยของเรา ซึ่งทำให้ประชาชนของเค้า สามารถเข้าถึงข้อมูลที่มีความอุดมสูง และใช้ประโยชน์จากข้อมูลต่างๆนั้น ได้อย่างเต็มที่


ตามทรรศนะของข้าพเจ้า ความอุดมทางด้านข้อมูลกับความยากง่ายในการเข้าถึงข้อมูล มีความสอดคล้องและใกล้ชิดกันอย่างแยกไม่ออก คล้ายกับความสัมพันธ์ของไก่กับไข่ ในลักษณะที่ว่าไม่มีไก่ก็ไม่มีไข่ แต่ในขณะเดียวกัน ไม่มีไข่ก็ไม่มีไก่ นั่นคือ หากการเข้าถึงข้อมูลนั้นทำได้ยาก ก็จักทำให้ประชาชนในทุกภาคส่วน ผู้ซึ่งเป็นกลจักรสำคัญ ที่ทำให้ข้อมูลบนอินเตอร์เนตมีความอุดมสมบูรณ์ ไม่ทำหน้าที่ของตน ในการร่วมกันสร้างข้อมูลต่างๆ ซึ่งในที่สุดก็จักทำให้ความอุดมทางด้านข้อมูลไม่สามารถเกิดขึ้นได้


ในขณะเดียวกันหากไม่มีความอุดมทางด้านข้อมูลแล้ว ประชาชนก็ไม่คิดถึงและไม่ต้องการที่จะเข้าไปใช้ประโยชน์ข้อมูลเหล่านี้ ต่อให้การเข้าถึงข้อมูลจะมีความง่ายเพียงใด เนื่องจากประชาชนเข้าใจว่า พวกเค้าไม่สามารถหวังพึ่งพาแหล่งข้อมูลเหล่านี้ได้ ผลที่ตามมาก็คือ แหล่งข้อมูลบนอินเตอร์เนตจักไม่เป็นแหล่งข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมต่อไป และไม่ได้รับการสนับสนุนทั้งจากภาครัฐและเอกชน เพื่อดำเนินการให้การเข้าถึงข้อมูล มีความง่ายมากขึ้นและในราคาที่ย่อมเยาขึ้น


ดังนั้น หากประเทศใดต้องการได้ประโยชน์จากสภาวะความอุดมทางด้านข้อมูล โดยเฉพาะบนอินเตอร์เนต ปฏิเสธไม่ได้ว่าจักต้องมีการส่งเสริมให้ทุกภาคส่วน เพิ่มบทบาทในการร่วมกันสร้างข้อมูลบนอินเตอร์เนต ไปพร้อมกับการสนับสนุนให้ ทุกภาคส่วนสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างง่ายดายขึ้นและด้วยราคาถูกลง


ประการสุดท้ายที่อยากพูดถึงวันนี้ นั่นคือ เรื่องของ มุมมองที่มีในการวางแผนโครงสร้างข้อมูลบนเว็บ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่สะท้อนถึงความสามารถ ในเรื่องของการตีโจทย์การสร้างเว็บของแต่ละประเทศ


จากการที่ข้าพเจ้าได้มีโอกาส ท่องไปในเว็บต่างๆของทั้งประเทศอังกฤษ และประเทศไทย เพื่อหาข้อมูลที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตในทั้งสองประเทศ ข้าพเจ้ารับรู้ได้ว่า เว็บในประเทศอังกฤษ มีความเข้าใจในการจัดโครงสร้างข้อมูลบนเว็บ ที่มุ่งสนองตอบความต้องการของผู้ใช้งาน มากกว่าสนองตอบความต้องการของเจ้าของเว็บ ที่สร้างเว็บเพื่อการนำเสนอข้อมูลที่ตนเองต้องการ ตามรูปแบบตัวเองต้องการ ซึ่งการมีมุมมองที่ดีในการวางแผนโครงสร้างข้อมูลบนเว็บนี้เอง ที่ช่วยให้เว็บมีโครงสร้างข้อมูล ที่ง่ายต่อผู้ใช้แต่ละกลุ่ม และมีข้อมูลครบถ้วนตามที่ลูกค้าแต่ละกลุ่มต้องการ


หากเปรียบการวางเป้าหมายชีวิต คือวางเป้าหมายในการขับรถ ความร่ำรวยข้อมูลคงเปรียบเสมือนการมีแผนที่ที่มีคุณภาพ ที่ช่วยให้การขับรถเดินทางครั้งนี้ สามารถไปถึงยังเป้าหมาย ได้อย่างถูกต้องและใช้เวลาน้อยที่สุด และเมื่อเข้าใจว่า ความอุดมทางด้านข้อมูล ความยากง่ายในการเข้าถึงข้อมูล และมุมมองที่มีในการวางแผนโครงสร้างข้อมูลบนเว็บ คือสามส่วนประกอบสำคัญ ที่ทำให้เกิดความร่ำรวยข้อมูล


ความอุดมทางด้านข้อมูล คงเปรียบได้กับ การมีแผนที่ซึ่งถูกต้อง ครบถ้วน ครอบคลุม และสอดคล้องกับการเดินทางในครั้งนี้


ความยากง่ายในการเข้าถึงข้อมูล คงเปรียบได้กับ การที่เราสามารถหยิบแผนที่ที่ต้องการนี้ ขึ้นมาใช้ได้ในทุกครั้งที่

ต้องการได้หรือไม่


มุมมองที่มีในการวางแผนโครงสร้างข้อมูลบนเว็บ คงเปรียบได้กับ การที่แผนที่ที่เรามีนั้น ได้ถูกออกแบบมาให้เหมาะสมกับผู้ใช้อย่างเราหรือไม่ หรือถูกออกแบบมาให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจหรือไม่


ข้าพเจ้าหวังเป็นอย่างยิ่งว่า บทความนี้จักช่วยให้ท่าน มองเห็นในภาพกว้าง และรับรู้ถึงความสำคัญ ของการเป็นประเทศร่ำรวยข้อมูล และในบทความหน้า ข้าพเจ้าจะมาต่อยอดบทความในวันนี้ ด้วยการวิเคราะห์ความจำเป็น ที่เราจักต้องพัฒนาทั้ง 3 ส่วนประกอบสำคัญ อันได้แก่ ความอุดมทางด้านข้อมูล ความยากง่ายในการเข้าถึงข้อมูล และมุมมองที่มีในการวางแผนโครงสร้างข้อมูลบนเว็บ ไปพร้อมๆกัน เพื่อทำให้ทุกท่านเข้าใจประเด็นดังกล่าวนี้เป็นรูปธรรมมากขึ้น และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าทุกๆท่าน จักช่วยกันผลักดันให้ประเทศไทย เป็นประเทศที่ร่ำรวยข้อมูลมากขึ้นต่อไป

 

 

บล็อกของ SenseMaker

SenseMaker
ในบทความที่แล้ว ข้าพเจ้าได้ให้ทัศนะเกี่ยวกับคุณลักษณะสำคัญของอุปกรณ์ ICT ที่ถูกนำมาใช้เป็นกระดานโต้คลื่นแห่งข้อมูลข่าวสาร รวมถึงแนวความคิดในการเลือกกระดานโต้คลื่นฯ ที่เหมาะสมกับแต่ละปัจเจกบุคคล ในบทความนี้เรามาพิจารณาว่า...เมื่อเราได้กระดานโต้คลื่นฯที่เหมาะสมมาแล้ว เราจะใช้กระดานโต้คลื่นฯของเราอย่างไรให้คุ้มค่าต่อการลงทุน แล้วความรู้และความสามารถประเภทไหนและอะไรบ้างที่ถือได้ว่า เป็นทักษะที่จำเป็นในการโต้คลื่นแห่งข้อมูลข่าวสาร ในการวิเคราะห์นี้ “เวลา” และ “รายได้” สองสิ่งที่ทวีความสำคัญกับชีวิตมนุษย์มากขึ้นทุกที ยังคงเป็นสองตัวแปรหลัก ที่ข้าพเจ้าใช้ประกอบการพิจารณา…
SenseMaker
  หลังจากเขียนบทความ ในหัวข้อโลกยุคหลังอุตสาหกรรม กับสภาวะข้อมูลท่วมโลก เสร็จเมื่อสองอาทิตย์ก่อน ได้เกิดหนึ่งคำถามขึ้นกับข้าพเจ้า นั่นคือ หากมนุษย์ต้องดิ้นรน เพื่ออยู่รอดบนโลกใบนี้ ในยุคที่คลื่นแห่งข้อมูลข่าวสาร โถมกระหน่ำใส่ประชาคมโลกอย่างรุนแรง และได้ทำให้กระแสแห่งความเปลี่ยนแปลง เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และในทิศทางที่ยากจะคาดเดา มากขึ้นทุกที เราต้องทำอย่างไรบ้างในทัศนะของข้าพเจ้า ผู้ที่สามารถโต้คลื่นแห่งข้อมูลข่าวสาร พาตนเองขึ้นไปอยู่บนยอดคลื่น และเป็นผู้กำหนดทิศทางชีวิตของตนเอง คือ ผู้ที่สามารถอยู่รอด และนี่จึงเป็นที่มาของชื่อบทความในตอนนี้และตอนถัดไปข้าพเจ้าขอเริ่มต้นด้วย…
SenseMaker
หัวข้อวิพากษ์วันนี้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับวิสัยทัศน์ ในการประยุกต์ใช้ ICT ขององค์กรต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นองค์กรขนาดเล็กหรือใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นองค์กรภาครัฐหรือภาคเอกชน และไม่ว่าจะเป็นองค์กรแสวงหากำไรหรือไม่ โดยข้าพเจ้าเจาะจงไปที่ ทัศนะของผู้บริหารองค์กร ที่ต้องการนำ ICT เข้ามาเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ในลักษณะของการลดต้นทุนแรงงานคน กระชับขบวนการทำงาน และเพิ่มความถูกต้องแม่นยำ ให้กับขั้นตอนการดำเนินงานต่างๆ โดยเฉพาะกับทัศนะองค์กรที่ว่า “ประสิทธิภาพในการทำงานของ ICT สูงกว่ามนุษย์”หรือที่ว่า ”ICT สามารถทำงานทดแทนมนุษย์ได้” สาเหตุสำคัญที่ทำให้ ความคิดในลักษณะดังกล่าวแพร่หลาย สืบเนื่องมาจาก…
SenseMaker
“โลกยุคหลังอุตสาหกรรม (Post industrial Age)” คือชื่อเรียกขานโลกในยุคปัจจุบัน เนื่องด้วยสภาพสังคมและเศรษฐกิจ มีความแตกต่างไปจากยุคก่อนหน้าหรือ ยุคอุตสาหกรรม (Industrial Age) ซึ่งเป็นยุคที่โลกของเราถูกผลักดัน ด้วยการแข่งขันของแต่ละปัจเจกบุคคลหรือองค์กร ผ่านการพัฒนาความสามารถและเทคโนโลยีทางการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม เพื่อให้ได้มาซึ่งความได้เปรียบทางการแข่งขัน และเพื่อความมั่งคั่งในที่สุดอย่างไรก็ดี โลกยุคหลังอุตสาหกรรม แต่ละปัจเจกบุคคลหรือองค์กร ยังคงดิ้นรนต่อสู่ เพื่อให้ได้มาซึ่งความได้เปรียบทางการแข่งขัน และเพื่อความมั่งคั่งในบั้นปลายเช่นเดิม หากแต่ความสำเร็จดังกล่าว กลับถูกขับเคลื่อน…
SenseMaker
เมื่อพูดถึงเหตุและปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ บนโลกนี้ คงไม่มีใครปฏิเสธว่าเทคโนโลยีคือตัวการอันดับต้นๆ โดยในช่วงหนึ่งศตวรรษหลังสุด ICT ถือได้ว่าเป็นเทคโนโลยีที่เปลี่ยนวิถีชีวิตมนุษย์ในทุกสังคม และในวงกว้างไล่มาตั้งแต่การเกิดขึ้นของ ICT ยุคแรกๆ ซึ่งได้แก่โทรเลข ตามมาด้วยโทรศัพท์ มาจนถึง ICT ในยุคปัจจุบัน นั่นคือโทรศัพท์มือถือ และ อุปกรณ์ต่อเชื่อมอินเตอร์เนตต่างๆ ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบของคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ หรือคอมพิวเตอร์พกพาขนาดต่างๆความเปลี่ยนแปลงที่ปรากฏการณ์ชัดเจน คือ การที่ ICT ทำให้สังคมมนุษย์ มีรูปแบบการติดต่อสื่อสาร และรูปแบบการเข้าถึง ประมวลผล…
SenseMaker
หน้าเว็บไซท์ที่ได้รับความนิยมสูง ในช่วงระยะห้าปีที่ผ่านมา หากไม่นับรวมเว็บไซท์ขายของออนไลน์ ส่วนมากยังคงมีลักษณะคล้ายคลึงกับยุคก่อนหน้านี้ นั่นคือ เป็นเว็บไซท์ที่พยายามสร้างเครือข่ายสังคมออนไลน์ ผ่านการเปิดพื้นที่ให้ผู้ใช้ เข้ามาสร้างหัวข้อและบทสนทนาร่วมกัน สร้างกิจกรรมระหว่างกลุ่มผู้ใช้ และเป็นช่องทางให้ผู้ใช้ทำความรู้จักกันวัตถุประสงค์ของเว็บไซท์ดังกล่าว คือเพื่อเพิ่มจำนวนผู้ใช้ ที่มีความสนใจหรือความต้องการคล้ายๆกัน ซึ่งทำให้ในขณะที่ ผู้ใช้ได้รับประโยชน์ ในรูปแบบของการเข้าถึงข้อมูล ความรู้ และการมีคนรู้จักเพิ่มมากขึ้น ผู้จัดทำเว็บไซท์ก็ได้ประโยชน์ ผ่านการเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ทางอ้อม…
SenseMaker
ข่าวต่างๆทางด้าน ICT ที่เกิดขึ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศ ในปัจจุบัน ชี้ให้เห็นผลกระทบของ “การโลกาภิวัฒน์ (Globalisation)” ที่มีต่อมนุษย์ทุกคน เนื่องจากอิทธิพลของการมีโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีแบบเดียวทั่วโลก จะลดทอนความหลากหลายของวิถีชีวิตมนุษยชาติ ก่อให้เกิดตลาดขนาดใหญ่ ซึ่งเอื้อประโยชน์แก่กลุ่มทุนข้ามชาติ แต่ในขนะเดียวกัน ปัญหาลักษณะเดียวกัน จะเกิดขึ้นในหลายประเทศ เป็นวงกว้าง หากแต่จะเกิดผลกระทบแตกต่างกันไป ตามบริบทของสังคมนั้นข่าวแรกที่อยากนำเสนอ คือการเกิดขึ้นของ “ปฏิญญากรุงเทพ” ซึ่งถูกจัดทำขึ้นระหว่างการประชุมรัฐมนตรีกลุ่มความร่วมมือด้านเศรษฐกิจภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิค หรือ APEC (Asia-…
SenseMaker
แนวโน้มการพัฒนาเทคโนโลยีในช่วงสิบปีหลัง เป็นไปในลักษณะที่เรียกว่า “convergence” หมายถึงแต่ละเทคโนโลยี พยายามรวบรวมความสามารถของเทคโนโลยีอื่นๆ เข้าไว้ในตัวเอง ดังจะเห็นได้ชัดจากการเกิดขึ้นของกระแสของศัพท์คำว่า ICT ซึ่งสะท้อนถึง การที่เทคโนโลยีเพียงหนึ่งเดียว แต่สามารถให้บริการทางเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) และ เทคโนโลยีทางการสื่อสาร (Communication Technology) ไปพร้อมๆ กัน ซึ่งแนวโน้มดังกล่าวเกิดขึ้นทั้งในระดับ โครงข่ายสื่อสารและระดับสินค้าอุปโภคทางเทคโนโลยี
SenseMaker
วันนี้อยากชวนสนทนาถึงศัพท์คำว่า “การเข้าถึงเทคโนโลยี” ซึ่งในทัศนะส่วนตัวคือสภาวะที่บุคคล องค์กร หรือประเทศหนึ่งสามารถได้มาซึ่งความสามารถในการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีต่างๆ ที่จำเป็นต่อการดำรงอยู่และจำเป็นต่อการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดที่เกี่ยวข้องปัจจุบันแนวทางการพัฒนาของเศรษฐกิจโลก เป็นไปในลักษณะที่เทคโนโลยีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการการผลิต และเทคโนโลยีอื่นๆอีกมากมายเข้ามามีบทบาทมากขึ้นทุกวัน ดังนั้นจึงปฏิเสธไม่ได้ว่าการเข้าถึงเทคโนโลยีในทุกด้านที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจโลก…