Skip to main content

ณ ประเทศญี่ปุ่นในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง  มีคำศัพท์คำที่ใช้กันทั่วไปเพื่อด่าคนอื่น ซึ่งก็คือ “ฮีโคคูมิน” ซึ่งหมายถึง “คนที่ไม่ใช่ประชาชนของประเทศ” เมื่อคนใดคนหนึ่งวิจารณ์รัฐบาลที่กำลังนำประเทศไปสู่สงคราม คนนั้นจะถูกเรียกว่าเป็น ฮีโคคูมิน ทั้งๆ ที่คนนั้นอาจจะมองเห็นวินาศกรรมที่จะเกิดขึ้นจากภัยสงคราม ฉะนั้นนำเสนอวิธีการแก้ไขปัญหาโดยใช้สันติวิธี ในสมัยนั้น บรรยากาศทั่วไปของประเทศญี่ปุ่นก็อยู่ในสภาพเผด็จการเบ็ดเสร็จ (totalitarianism) ใครที่คิดต่างกันในทุกเรื่องจะถูกโจมตี ถูกคุกคาม ถูกควบคุมตัว หรือแม้แต่ถูกฆ่า

ณ ปัจจุบันนี้ ไม่มีใครที่ใช้คำนี้เพื่อด่าคนอื่น หลังจากประเทศญี่ปุ่นปกครองโดยสหรัฐอเมริกา และนำระบอบประชาธิปไตยจากประเทศดังกล่าว ซึ่งผมถือว่า พัฒนาการที่น่ายินดี

ในการต่อสู้เพื่อผลประโยชน์ที่กำลับเกิดขึ้นในประเ้ทศไทย ฝ่ายชาตินิยมที่นำโดย กปปส. มักจะใช้วาทกรรมเกี่ยวกับเรื่อง “รักชาติ” หรือ “คนดี” โดยคนที่คิดต่างจากตัวเองถูกมองว่าเป็นคนที่ “ไม่รักชาติ” หรือ “คนที่ไม่ดี” หรือแม้แต่ “ขี้ข้าทักษิณ”

ผมไม่เคยคิดว่า คนที่ไม่เห็นด้วยกับ กปปส. เป็นคนที่ไม่รักชาติ จริงๆ แล้วพวกเขาก็รักชาติของตัวเองเช่นเดียวกัน ไม่แพ้กับสมาชิก กปปส. หรือบรรดา “มวลมหาประชาชน”

ในทัศนคติของชาวต่างประเทศ แรงงานต่างด้าว (รวมถึงผมเอง) หรือสื่อต่างประเทศ การต่อสู้ทางการเมืองที่กำลังเกิดขึ้น (แม้ว่า มีการประกาศว่าเป็น “ครั้งสุดท้าย” ไม่ต่ำกว่า 11 ครั้งแล้วก็ตาม) นั้น ไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องจริยธรรมหรือคุณธรรม และแน่นอนว่าไม่ใช่การแข่งขันความดี แต่เป็นการต่อสู้เพื่อผลประโยชน์ทางการเมืองล้วน

ฝ่าย กปปส. รักโครงสร้างอำนาจแบบดั้งเดิม และพยายามจะ “ปฏิรูป” ประเทศไทยโดยใช้กลไกโครงสร้างอำนาจดังกล่าว เพื่อให้คนที่สนับสนุนหรือสอดคล้องกับแนวความคิดของตนเป็นผู้ปกครองของประเทศ ซึ่งในระบบนี้การเลือกตั้งแทบจะไม่มีความสำคัญ แต่ไม่สามารถโครงสร้างที่มีเสียงของประชาชนเป็นตัวกำหนดของนโยบายระดับประเทศ ดังนั้น ผู้ที่ยึดถือระบอบประชาธิปไตยซึ่งมีการเลือกตั้งเป็นช่องทางเพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมนั้นถูกมองว่าเป็นคนที่ “ไม่รักชาติ” หรือไม่ใช่ “คนดี”

จากสายตาของคนต่างประเทศ ในการต่อสู้ทางการเมืองครั้งนี้ ไม่มีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งที่ “ดีกว่า” ฝ่ายอื่นๆ แต่คนต่างชาติส่วนใหญ่ (ไม่ร่วมถึงคนแบบผู้สนับสนุน กปปส. พันธุ์แท้เหมือนคุณ Michael Yon) มองว่า ระบอบประชาธิปไตยซึ่งมีการเลือกตั้งเพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายนั้น “ดีกว่า” ระบอบที่ถูกนำเสนอโดยกลุ่ม กปปส. เท่านั้น ไม่ได้หมายความว่า บรรดาคนต่างชาติมองว่า นายทักษิณหรือน.ส. ยิ่งลักษณ์ ดีกว่านายสุเทพ

การใช้วาทกรรมเชิงจริยธรรมแบบปัจจุบันนั้น บ่งบอกถึงแนวคิดแบบเผด็จการเบ็ดเสร็จของฝ่ายที่นำวาทกรรมดังกล่าว เพราะการใช้วาทกรรมเชิงจริยธรรมเพื่อโจมตีฝ่ายที่คิดต่างกันนั้นเป็นวิธีการที่นำมาใช้โดยระบอบเผด็จการทุกระบอบในประวัติศาสตร์

หรือ กปปส. อยากนำไปประเทศไทยเข้าสู่ระบอบเผด็จการเบ็ดเสร็จโดยกำจัดคนที่คิดต่างกันเป็นคนที่ไม่รักชาติและคนไม่ดี? 

บล็อกของ Shintaro Hara

Shintaro Hara
1. เป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้นมาเมื่อร้อยกว่าปีที่แล้วในเมื่อประเทศสยามยังอยู่ภายใต้ระบอบสมบูรณสิทธิราช ความเหมาะสมของกฎหมายฉบับนี้ในยุคนี้ภายใต้ระบอบประชาธิปไตยเป็นประเด็นที่ควรมีการถกเถียงกัน
Shintaro Hara
ณ ประเทศญี่ปุ่นในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง  มีคำศัพท์คำที่ใช้กันทั่วไปเพื่อด่าคนอื่น ซึ่งก็คือ “ฮีโคคูมิน” ซึ่งหมายถึง “คนที่ไม่ใช่ประชาชนของประเทศ” เมื่อคนใดคนหนึ่งวิจารณ์รัฐบาลที่กำลังนำประเทศไปสู่สงคราม คนนั้นจะถูกเรียกว่าเป็น ฮีโคคูมิน ทั้งๆ ที่คนนั้นอาจจะมองเห็นวินาศกรรมที่จะเกิดขึ้นจากภ
Shintaro Hara
ไม่มีภูมิภาคใดในประเทศไทยที่มีประสบการณ์ (แต่ไม่เคยชิน) เกี่ยวกับพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (พ.ร.ก
Shintaro Hara
ประเทศญี่ปุ่นมีผลการเรียนของเด็กนักเรียน/นักศึกษาที่อยู่ในระดับที่ค่อนข้างดี แต่มันไม่ได้หมายความว่า ผลการเรียนนั้นเกิดขึ้นจากระบบการศึกษาที่ดี เพราะ “ผลการเรียน” กับ “ระบบการศึกษา” เป็นคนละประเด็นกัน ถึงแม้ว่าระบบการศึกษาที่ดีจะสามารถสร้างผลการเรียนที่ดีก็ตาม จริงๆ
Shintaro Hara
มีหลายคนเคยถามผู้เขียนว่า ถ้าพวกกำนัน/