Skip to main content

ณ ประเทศญี่ปุ่นในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง  มีคำศัพท์คำที่ใช้กันทั่วไปเพื่อด่าคนอื่น ซึ่งก็คือ “ฮีโคคูมิน” ซึ่งหมายถึง “คนที่ไม่ใช่ประชาชนของประเทศ” เมื่อคนใดคนหนึ่งวิจารณ์รัฐบาลที่กำลังนำประเทศไปสู่สงคราม คนนั้นจะถูกเรียกว่าเป็น ฮีโคคูมิน ทั้งๆ ที่คนนั้นอาจจะมองเห็นวินาศกรรมที่จะเกิดขึ้นจากภัยสงคราม ฉะนั้นนำเสนอวิธีการแก้ไขปัญหาโดยใช้สันติวิธี ในสมัยนั้น บรรยากาศทั่วไปของประเทศญี่ปุ่นก็อยู่ในสภาพเผด็จการเบ็ดเสร็จ (totalitarianism) ใครที่คิดต่างกันในทุกเรื่องจะถูกโจมตี ถูกคุกคาม ถูกควบคุมตัว หรือแม้แต่ถูกฆ่า

ณ ปัจจุบันนี้ ไม่มีใครที่ใช้คำนี้เพื่อด่าคนอื่น หลังจากประเทศญี่ปุ่นปกครองโดยสหรัฐอเมริกา และนำระบอบประชาธิปไตยจากประเทศดังกล่าว ซึ่งผมถือว่า พัฒนาการที่น่ายินดี

ในการต่อสู้เพื่อผลประโยชน์ที่กำลับเกิดขึ้นในประเ้ทศไทย ฝ่ายชาตินิยมที่นำโดย กปปส. มักจะใช้วาทกรรมเกี่ยวกับเรื่อง “รักชาติ” หรือ “คนดี” โดยคนที่คิดต่างจากตัวเองถูกมองว่าเป็นคนที่ “ไม่รักชาติ” หรือ “คนที่ไม่ดี” หรือแม้แต่ “ขี้ข้าทักษิณ”

ผมไม่เคยคิดว่า คนที่ไม่เห็นด้วยกับ กปปส. เป็นคนที่ไม่รักชาติ จริงๆ แล้วพวกเขาก็รักชาติของตัวเองเช่นเดียวกัน ไม่แพ้กับสมาชิก กปปส. หรือบรรดา “มวลมหาประชาชน”

ในทัศนคติของชาวต่างประเทศ แรงงานต่างด้าว (รวมถึงผมเอง) หรือสื่อต่างประเทศ การต่อสู้ทางการเมืองที่กำลังเกิดขึ้น (แม้ว่า มีการประกาศว่าเป็น “ครั้งสุดท้าย” ไม่ต่ำกว่า 11 ครั้งแล้วก็ตาม) นั้น ไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องจริยธรรมหรือคุณธรรม และแน่นอนว่าไม่ใช่การแข่งขันความดี แต่เป็นการต่อสู้เพื่อผลประโยชน์ทางการเมืองล้วน

ฝ่าย กปปส. รักโครงสร้างอำนาจแบบดั้งเดิม และพยายามจะ “ปฏิรูป” ประเทศไทยโดยใช้กลไกโครงสร้างอำนาจดังกล่าว เพื่อให้คนที่สนับสนุนหรือสอดคล้องกับแนวความคิดของตนเป็นผู้ปกครองของประเทศ ซึ่งในระบบนี้การเลือกตั้งแทบจะไม่มีความสำคัญ แต่ไม่สามารถโครงสร้างที่มีเสียงของประชาชนเป็นตัวกำหนดของนโยบายระดับประเทศ ดังนั้น ผู้ที่ยึดถือระบอบประชาธิปไตยซึ่งมีการเลือกตั้งเป็นช่องทางเพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมนั้นถูกมองว่าเป็นคนที่ “ไม่รักชาติ” หรือไม่ใช่ “คนดี”

จากสายตาของคนต่างประเทศ ในการต่อสู้ทางการเมืองครั้งนี้ ไม่มีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งที่ “ดีกว่า” ฝ่ายอื่นๆ แต่คนต่างชาติส่วนใหญ่ (ไม่ร่วมถึงคนแบบผู้สนับสนุน กปปส. พันธุ์แท้เหมือนคุณ Michael Yon) มองว่า ระบอบประชาธิปไตยซึ่งมีการเลือกตั้งเพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายนั้น “ดีกว่า” ระบอบที่ถูกนำเสนอโดยกลุ่ม กปปส. เท่านั้น ไม่ได้หมายความว่า บรรดาคนต่างชาติมองว่า นายทักษิณหรือน.ส. ยิ่งลักษณ์ ดีกว่านายสุเทพ

การใช้วาทกรรมเชิงจริยธรรมแบบปัจจุบันนั้น บ่งบอกถึงแนวคิดแบบเผด็จการเบ็ดเสร็จของฝ่ายที่นำวาทกรรมดังกล่าว เพราะการใช้วาทกรรมเชิงจริยธรรมเพื่อโจมตีฝ่ายที่คิดต่างกันนั้นเป็นวิธีการที่นำมาใช้โดยระบอบเผด็จการทุกระบอบในประวัติศาสตร์

หรือ กปปส. อยากนำไปประเทศไทยเข้าสู่ระบอบเผด็จการเบ็ดเสร็จโดยกำจัดคนที่คิดต่างกันเป็นคนที่ไม่รักชาติและคนไม่ดี? 

บล็อกของ Shintaro Hara

Shintaro Hara
เดี๋ยวนี้ผมเริ่มได้รับเชิญเป็นวิทยากรในงานเสวนาสาธารณะหรือการประชุมวิชาการ ผมก็ยินดีที่จะรับงานเหล่านี้เป็นหนึ่งในหน้าที่ของนักวิชาการ (แม้ว่าผมไม่ได้ทำงานในมหาวิทยาลัยก็ตาม) ยกเว้นในบางกร
Shintaro Hara
เมื่อวันที่ 21 ที่ผ่านมา มีการปล่อยข่าวจากสำนักข่าว Benar News
Shintaro Hara
เมื่อผมพาครอบครัวไปเที่ยวชายหาดในจังหวัดชายแดนใต้ ไม่ว่าจะเป็นหาดตะโละกะโปร์ หาดปะนาเระ หาดวาสุกรีในจังหวัดปัตตานี หรือ หาดนราทัศน์ในจังหวัดนราธิวาส  ฯลฯ ในวันหยุด เกือบทุกครั้งผมก็อดรู้สึกเสียใจไม่ได้กับสภาพของชายหาดที่เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของคนในพื้นที่ซึ่งเต็มไปด้วยขยะ ในช่วงเทศกาล เช
Shintaro Hara
ลัทธิทรงพลังมากที่สุดในสังคมไทย ณ ปัจจุบันนี้คือ ลัทธิ “พวกกูทำอะไรไม่ผิด” ลัทธิอันนี้มีธรรมชาติชองมนุษย์เป็นที่มาและพื้นฐาน ตัวอย่างเช่น บรรดาพ่อแม่มักจะประสบปัญหาในเมื่อลูกกระทำผิด และพยายามจะบอกกับคนอื่นว่า “ลูกของฉันไม่ได้ทำผิด” ถึงแม้ว่าบางกรณีมีหลักฐานมากมายที่แสดงให้เห็นว่า ลูกของเขาทำผิดจ
Shintaro Hara
แม้ว่าการ์ตูนญี่ปุ่นเป็นที่นิยมในประเทศหลาย ๆ ประเทศ และ “โดเรม่อน” ถือว่าเป็นหนึ่งในเรื่องที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในภูมิภาคเอเชียก็ตาม การ์ตูนเรื่องนี้ไม่ได้รับความสนใจจากชาวอเมริกัน เนื่องจากเรื่องมีไม่มีตัวละคนที่เป็นฮีโร่ที่มีบุคลิกภาพที่น่าชื่นชม กล้าที่จะเผชิญหน้ากับปัญหาอันยิ่งใหญ่ และสา
Shintaro Hara
การบังคับให้เด็กนักเรียนใส่ชุดทหารในโรงเรียนอนุบาลแห่งหนึ่ง โดยอ้างว่าเป็นการสร้างวินัยนั้น ก่อให้เกิดปฏิกิริยาต่าง ๆ จากสังคม โดยมีทั้งคนที่ชื่นชมการบังคับดังกล่าวและคนที่กล่าวคำวิจารณ์ด้วย ปฏิกิริยาเหล่านี้ชี้ให้เห็นว่า ในสังคมไทยมีความเข้าใจที่แตกต่างกันเกี่ยวกับความหมายของคำว่า “วินัย”
Shintaro Hara
วันที่ ญี่ปุ่น กลายเป็น ยุ่น
Shintaro Hara
กระบวนการสันติภาพ ณ เกาะมินดาเนา ประเทศฟิลิปปินส์ ประสบอุปสรรคครั้งยิ่งใหญ่ หลังจากรัฐสภาแห่งประเทศฟิลิปปินส์ไม่ให้ผ่านร่างกฎหมายพื้นฐานบังซาโมโร (Bangsamoro Basic La
Shintaro Hara
เมื่อวันที่ 9 สิงหาคมที่ผ่านมา เด็กอายุ 13 ปีถูกยิงที่บ้านที่อยู่ใน อ. ยะหา จ. ยะลาและเสียชีวิตคาที่ เหตุการณ์ครั้งนี้ได้ส่งผลกระทบต่อความรู้สึกของคนในพื้นที่ เพราะเหยื่อเป็นพลเมือง และเหตุการณ์เกิดขึ้นในสถานที่พลเมือง (บ้านของเหยื่อ) และเหยือก็ยังเป็นเด็ก
Shintaro Hara
ข้อเสนอจากราชบัณฑิตยสถานเกี่ยวกับชื่อเรียกของชาวมุสลิมจากประเทศพม่าที่รู้จักกันในนามว่า “โรฮิงญา” ให้เรียกเป็น “โรฮินจา” นั้น ได้รับความสนใ
Shintaro Hara
ช่วงนี้เป็นช่วงสอบสำหรับมหาวิทยาลัยที่ผมทำงานอยู่ พฤติกรรมของนักศึกษาในห้องสอบอยู่ในระดับที่ไม่น่าพอใจอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการส่งเสียงดังโดยนักศึกษาที่ส่งข้อสอบก่อนหมดเวลาแต่รอพรรคพวกอยู่นอกห้องสอบ การที่เปิดตัวข้อสอบก่อนเวลาสอบ (ถึงแม้ว่าคณะกรรมการคุมสอบห้ามแล้วก็ตาม) การที่ไม่วางปากกาทั้งๆ ที่ห
Shintaro Hara
เมื่อคนไทยพูดถึงเรื่องปฏิรูป ฝ่ายที่เป็นเป้าหมายของการโจมตีตลอดคือนักการเมืองที่ทุจริต ผมไม่ปฏิเสธว่านักการเมืองหลายคน (ส่วนตัว ผมเชื่อว่าเกือบทุกคน) ไม่ว่าจะมาจากพรรคไหนหรือฝ่ายไหน สีเสื้ออะไรก็ตาม ติดเรื่องทุจริตทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นการรับสินบน การใช้อิทธิพลทางการเมืองเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัว การ