Skip to main content

คนในแอเชีย โดยเฉพาะแอเชียตะวันออก เช่น คนญี่ปุ่น คนเกาหลีหรือคนจีน มักจะประเมิณว่า โค้ชที่ใช้ความรุนแรงกับลูกศิษย์เป็นโค้ชที่มีความทุมเทในการทำงาน การใช้ความรุนแรงในการฝึกซ้อมอาจจะได้ผลบ้าง และพวกที่ได้ผลนั้นก็สร้างค่านิยมที่ไม่ถูกต้องที่ว่า "ในการฝึกซ้อมการเล่นกีฬา เราต้องใช้ความรุนแรง" หรือ "การใช้ความรุนแรงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับสร้างวินัยให้กับนักกีฬา" ถ้าเราสังเกตวงการกีฬาในแอเชีวตะวันออก แนวคิดเช่นนี้ยังเรื้อรังอยู่ในสมองของคนในวงการ ไม่ว่าจะเป็นพวกโค้ช คนในสมาคมกีฬา นักข่าว ฯลฯ

คำถามที่นี่คือ

๑. เราจำเป็นต้องใช้ความรุนแรงเพื่อสร้างวินัยหรือไม่ 
๒. เราจำเป็นต้องใช้ความรุนแรงเพื่อสร้างนักกีฬาระดับโลก

๑. ในการสร้างวินัย สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ การควบคุมพฤติกรรมของตัวเอง ให้เราทำสิ่งที่ต้องทำ และหลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำไม่ได้ เมื่อเราทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือหลีกเลี่ยงบางสิ่งบางอย่าง เพราะกลัวว่าจะได้รับบทลงโทษทางร่างกาย คนนั้นก็ทำตัวเหมือนกับคนที่มีวินัย แต่จริงๆ แล้ว ในจิตใจของคนเหล่านี้ไม่ได้มีวินัย แต่เต็มไปด้วยความกลัวที่จะได้รับบทลงโทษ ดังนั้น คนเหล่านี้จะปฏิบัติตัวเหมือนกับคนที่มีวินัยเฉพาะเมื่อมีความเป็นไปได้ว่าจะได้รับการลงโทษจากผู้อื่น แต่ในเมื่อเขารู้ว่าไม่มีใครจะลงโทษเค้า ในกรณีเช่นนั้นไม่มีการรับรองใดๆ ว่า เขายังมี "วินัย" อีกต่อไปหรือไม่

การสร้างวินัยโดยใช้ความรุนแรง โดยเฉพาะการลงโทษทางร่างกายอันรุนแรง หรือ "เกินเหตุ" อาจจะสามารถสร้างพฤติกรรมบางอย่าง แต่มันไม่สามารถ "ปลูกฝัง" วินัยอันแท้จริงซึ่งต้องมาจากการใช้เหตุผล โดยที่คนนั้นเข้าใจว่า "ทำไมฉันต้องทำแบบนี้" และ "ทำไมฉันทำแบบนี้ไม่ได้" ไม่ใช่สร้างคนที่ทำหรือไม่ทำบางสิ่งบางอย่างเพราะกลัวการลงโทษทางร่างกาย

๒. การสอนกีฬาโดยใช้ความรุนแรงอาจจะสร้างนักกีฬาระดับโลกได้ แต่ในขณะเดียวกัน นักกีฬาหลายๆ คนก็มาจากสิ่งแวดล้อมอันปราศจากการใช้ความรุนแรง ลองสังเกตดูสโมสรหรือทีมชาติฟุตบอลระดับติดอันดับ ผมไม่เคยได้ยินว่า โค้ชชื่อดังได้เชื่อเสียงจากการใช้ความรุนแรง แต่คนเหล่านี้สร้างชื่อเสียงจากมืออาชีพของตน

ดังนั้น เกี่ยวกับเรื่องนี้ เราก็ไม่จำเป็นต้องคิดมาก โค้ชมืออาชีพสามารถสร้างนักกีฬาได้โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยการใช้ความรุนแรงหรือการลงโทษทางร่างกาย การกระทำเช่นนั้นถือว่า สิ่งไม่จำเป็นในการสร้างนักกีฬา ในตรงกันข้าม โค้ชที่ต้องอาศัยการใช้ความรุนแรงก็ถือว่า ฝีมือของเค้ายังไม่ถึง อย่าให้การฝักซ้อมกีฬาเป็นโอกาสสำหรับการละเมิดสิทธิ

เกี่ยวกับประเด็นนี้ ผมเห็นด้วยกับคุณใบตองแห้งที่เขียนไว้ในบทความในลิงค์ต่อไปนี้

"ทำไมเป็นกันไปได้ถึงเพียงนั้น หรือเห็นเหรียญทองเหรียญเงินสำคัญกว่าสิทธิที่จะร้องขอความเป็นธรรมเมื่อ ถูกละเมิด เมื่อถูกทำร้ายร่างกาย

พูดอย่างนี้ไม่ได้พิพากษาว่าโค้ชเช ผิด น้องก้อยถูก ฟังความแล้วค่อนไปทางที่เชื่อว่าน้องก้อยหย่อนยานไม่มีวินัยจนพ่ายแพ้ แต่มันคนละเรื่องกัน การลงโทษนักกีฬามีตั้งมากมายหลายวิธี ที่ไม่ต้องทำร้ายร่างกาย"

http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRRd05UWTVPREEyTmc9PQ%253D%253D&sectionid

ภาพจากเพจ Voices of Siam

 

บล็อกของ Shintaro Hara

Shintaro Hara
1. เป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้นมาเมื่อร้อยกว่าปีที่แล้วในเมื่อประเทศสยามยังอยู่ภายใต้ระบอบสมบูรณสิทธิราช ความเหมาะสมของกฎหมายฉบับนี้ในยุคนี้ภายใต้ระบอบประชาธิปไตยเป็นประเด็นที่ควรมีการถกเถียงกัน
Shintaro Hara
ณ ประเทศญี่ปุ่นในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง  มีคำศัพท์คำที่ใช้กันทั่วไปเพื่อด่าคนอื่น ซึ่งก็คือ “ฮีโคคูมิน” ซึ่งหมายถึง “คนที่ไม่ใช่ประชาชนของประเทศ” เมื่อคนใดคนหนึ่งวิจารณ์รัฐบาลที่กำลังนำประเทศไปสู่สงคราม คนนั้นจะถูกเรียกว่าเป็น ฮีโคคูมิน ทั้งๆ ที่คนนั้นอาจจะมองเห็นวินาศกรรมที่จะเกิดขึ้นจากภ
Shintaro Hara
ไม่มีภูมิภาคใดในประเทศไทยที่มีประสบการณ์ (แต่ไม่เคยชิน) เกี่ยวกับพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (พ.ร.ก
Shintaro Hara
ประเทศญี่ปุ่นมีผลการเรียนของเด็กนักเรียน/นักศึกษาที่อยู่ในระดับที่ค่อนข้างดี แต่มันไม่ได้หมายความว่า ผลการเรียนนั้นเกิดขึ้นจากระบบการศึกษาที่ดี เพราะ “ผลการเรียน” กับ “ระบบการศึกษา” เป็นคนละประเด็นกัน ถึงแม้ว่าระบบการศึกษาที่ดีจะสามารถสร้างผลการเรียนที่ดีก็ตาม จริงๆ
Shintaro Hara
มีหลายคนเคยถามผู้เขียนว่า ถ้าพวกกำนัน/