Skip to main content

เดี๋ยวนี้ผมเริ่มได้รับเชิญเป็นวิทยากรในงานเสวนาสาธารณะหรือการประชุมวิชาการ ผมก็ยินดีที่จะรับงานเหล่านี้เป็นหนึ่งในหน้าที่ของนักวิชาการ (แม้ว่าผมไม่ได้ทำงานในมหาวิทยาลัยก็ตาม) ยกเว้นในบางกรณี เช่น ผมไม่ว่างในวันที่จะจัดงาน หรือฝ่ายผู้จัดมาขอให้ผมพูดเรื่องที่ผมไม่มีความรู้ใด

ในการที่จะเป็นวิทยากร มีเรื่องหนึ่งที่มีความอ่อนไหวสูงก็คือ เรื่องค่าวิทยากร โดยส่วนตัวผมไม่สนใจว่า ฝ่ายผู้จัดจะให้เท่าไรและไม่เคยต่อรองราคาด้วย ถ้าผมได้ค่าวิทยากรเท่ากับ “ค่าน้ำมัน (ที่นับวันก็ยิ่งสูงขึ้น)+ค่าแรงขั้นต่ำ” ก็ถือว่าดีมากแล้ว หรือในเมื่อผู้จัดไม่มีงบประมาณสำหรับค่าวิทยากร ผมก็ยังยินดีที่จะไปช่วยตราบใดที่งานที่จัดนั้นจะเป็นสาธารณประโยชน์

ผมเริ่มสังเกตว่า ในงานหลาย ๆ งาน ฝ่ายผู้จัดให้ค่าวิยากร (ในซอง) และให้ผมเซ็นชื่อในใบสำคัญรับเงินที่ยังไม่ได้เขียนอะไรเลย งานที่ให้ผมเซ็นชื่อในใบสำคัญรับเงินที่ระบุจำนวนเงินแล้วเป็นส่วนน้อย คนที่เคยจัดงานเสวนาก็คงจะทราบว่าใบสำคัญรับเงินที่มีลายมือของผู้รับเงินแต่ยังไม่ได้ระบุจำนวนเงินนั้นจะหมายถึงอะไร สิ่งที่มักจะเกิดขึ้นก็คือ เขียนจำนวนเงินมากกว่าจำนวนที่ให้กับวิทยากรจริง (เช่น ผมได้รับ 1500 แต่ในใบเขียนว่า 3000) และใช้จำนวนที่ห่างกันนั้นสำหรับเป้าหมายอื่น ๆ ไม่ได้หมายความว่าฝ่ายผู้จัดงานทุกรายกระทำเช่นนี้ แต่การที่ลงชื่อในใบสำคัญรับเงินเปล่าก็เท่ากับให้โอกาสที่จะทำอะไรบางอย่างที่ขัดกับหลักจริยธรรม ผู้จัดงานส่วนใหญ่ก็ได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากแหล่งทุนภายนอกที่มีระบบตรวจสอบ แต่เซ็นชื่อในใบสำคัญรับเงินเปล่านั้นก็ไม่ต่างจากเปิดช่องโหว่ ซึ่งอาจนำไปสู่การทุจริตก็ได้

งานที่ผมได้เข้าร่วมเป็นวิทยากรเกือบทุกงานมี “หลักการและเหตุผล” ที่อ้างถึงสาธารณประโยชน์ แต่ผมก็เชื่อว่า สาธารณประโยชน์อันแท้จริงมิอาจเกิดขึ้นในขณะที่องค์กร สถาบัน เครือข่าย ฯลฯ ที่จัดงานเสวนาสาธารณะขาดความโปร่งใสทางการเงิน ด้วยเหตุนี้ ผมขอปฏิเสธลงชื่อในเอกสารใด ๆ ที่อาจนำไปสู่ความไม่โปรงใส่ทุกประการครับ ผมชอบทำงานฟรีมากกว่าได้รับเงินที่ไม่มีโปร่งใส เพราะเงินแบบนั้นไม่น่าจะเป็นฮาลาล

บล็อกของ Shintaro Hara

Shintaro Hara
1. เป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้นมาเมื่อร้อยกว่าปีที่แล้วในเมื่อประเทศสยามยังอยู่ภายใต้ระบอบสมบูรณสิทธิราช ความเหมาะสมของกฎหมายฉบับนี้ในยุคนี้ภายใต้ระบอบประชาธิปไตยเป็นประเด็นที่ควรมีการถกเถียงกัน
Shintaro Hara
ณ ประเทศญี่ปุ่นในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง  มีคำศัพท์คำที่ใช้กันทั่วไปเพื่อด่าคนอื่น ซึ่งก็คือ “ฮีโคคูมิน” ซึ่งหมายถึง “คนที่ไม่ใช่ประชาชนของประเทศ” เมื่อคนใดคนหนึ่งวิจารณ์รัฐบาลที่กำลังนำประเทศไปสู่สงคราม คนนั้นจะถูกเรียกว่าเป็น ฮีโคคูมิน ทั้งๆ ที่คนนั้นอาจจะมองเห็นวินาศกรรมที่จะเกิดขึ้นจากภ
Shintaro Hara
ไม่มีภูมิภาคใดในประเทศไทยที่มีประสบการณ์ (แต่ไม่เคยชิน) เกี่ยวกับพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (พ.ร.ก
Shintaro Hara
ประเทศญี่ปุ่นมีผลการเรียนของเด็กนักเรียน/นักศึกษาที่อยู่ในระดับที่ค่อนข้างดี แต่มันไม่ได้หมายความว่า ผลการเรียนนั้นเกิดขึ้นจากระบบการศึกษาที่ดี เพราะ “ผลการเรียน” กับ “ระบบการศึกษา” เป็นคนละประเด็นกัน ถึงแม้ว่าระบบการศึกษาที่ดีจะสามารถสร้างผลการเรียนที่ดีก็ตาม จริงๆ
Shintaro Hara
มีหลายคนเคยถามผู้เขียนว่า ถ้าพวกกำนัน/