Skip to main content

เดี๋ยวนี้ผมเริ่มได้รับเชิญเป็นวิทยากรในงานเสวนาสาธารณะหรือการประชุมวิชาการ ผมก็ยินดีที่จะรับงานเหล่านี้เป็นหนึ่งในหน้าที่ของนักวิชาการ (แม้ว่าผมไม่ได้ทำงานในมหาวิทยาลัยก็ตาม) ยกเว้นในบางกรณี เช่น ผมไม่ว่างในวันที่จะจัดงาน หรือฝ่ายผู้จัดมาขอให้ผมพูดเรื่องที่ผมไม่มีความรู้ใด

ในการที่จะเป็นวิทยากร มีเรื่องหนึ่งที่มีความอ่อนไหวสูงก็คือ เรื่องค่าวิทยากร โดยส่วนตัวผมไม่สนใจว่า ฝ่ายผู้จัดจะให้เท่าไรและไม่เคยต่อรองราคาด้วย ถ้าผมได้ค่าวิทยากรเท่ากับ “ค่าน้ำมัน (ที่นับวันก็ยิ่งสูงขึ้น)+ค่าแรงขั้นต่ำ” ก็ถือว่าดีมากแล้ว หรือในเมื่อผู้จัดไม่มีงบประมาณสำหรับค่าวิทยากร ผมก็ยังยินดีที่จะไปช่วยตราบใดที่งานที่จัดนั้นจะเป็นสาธารณประโยชน์

ผมเริ่มสังเกตว่า ในงานหลาย ๆ งาน ฝ่ายผู้จัดให้ค่าวิยากร (ในซอง) และให้ผมเซ็นชื่อในใบสำคัญรับเงินที่ยังไม่ได้เขียนอะไรเลย งานที่ให้ผมเซ็นชื่อในใบสำคัญรับเงินที่ระบุจำนวนเงินแล้วเป็นส่วนน้อย คนที่เคยจัดงานเสวนาก็คงจะทราบว่าใบสำคัญรับเงินที่มีลายมือของผู้รับเงินแต่ยังไม่ได้ระบุจำนวนเงินนั้นจะหมายถึงอะไร สิ่งที่มักจะเกิดขึ้นก็คือ เขียนจำนวนเงินมากกว่าจำนวนที่ให้กับวิทยากรจริง (เช่น ผมได้รับ 1500 แต่ในใบเขียนว่า 3000) และใช้จำนวนที่ห่างกันนั้นสำหรับเป้าหมายอื่น ๆ ไม่ได้หมายความว่าฝ่ายผู้จัดงานทุกรายกระทำเช่นนี้ แต่การที่ลงชื่อในใบสำคัญรับเงินเปล่าก็เท่ากับให้โอกาสที่จะทำอะไรบางอย่างที่ขัดกับหลักจริยธรรม ผู้จัดงานส่วนใหญ่ก็ได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากแหล่งทุนภายนอกที่มีระบบตรวจสอบ แต่เซ็นชื่อในใบสำคัญรับเงินเปล่านั้นก็ไม่ต่างจากเปิดช่องโหว่ ซึ่งอาจนำไปสู่การทุจริตก็ได้

งานที่ผมได้เข้าร่วมเป็นวิทยากรเกือบทุกงานมี “หลักการและเหตุผล” ที่อ้างถึงสาธารณประโยชน์ แต่ผมก็เชื่อว่า สาธารณประโยชน์อันแท้จริงมิอาจเกิดขึ้นในขณะที่องค์กร สถาบัน เครือข่าย ฯลฯ ที่จัดงานเสวนาสาธารณะขาดความโปร่งใสทางการเงิน ด้วยเหตุนี้ ผมขอปฏิเสธลงชื่อในเอกสารใด ๆ ที่อาจนำไปสู่ความไม่โปรงใส่ทุกประการครับ ผมชอบทำงานฟรีมากกว่าได้รับเงินที่ไม่มีโปร่งใส เพราะเงินแบบนั้นไม่น่าจะเป็นฮาลาล

บล็อกของ Shintaro Hara

Shintaro Hara
มหาวิทยาลัยเคอีโอ วิทยาเขตฟูจีซาวะ (慶応大学湘南藤沢キャンパス) ซึ่งเป็นที่เรียนของผมสำหรับระดับปริญญาตรี ตั้งอยู่ในจังหวัดคานางาวะ (神奈川県) ส่วนบ้านผมอยู่ในโตเกียว ดังนั้น ผมต้องใช้เวลาการเดินทางประมาณสองชั่วมองครึ่งสำหรับขาไปอย่างเดียว เพราะฉะนั้น วันใดที่มีคาบเรียน ผมก็ต้องใช้เวลาเกือบห้าชั่วโมงสำหรับการเดิน
Shintaro Hara
ณ ปัจจุบันนี้ สังคมไทยกับสังคมญี่ปุ่นก็ตกอยู
Shintaro Hara
ตั้งแต่มีหนังสือพิมพ์ ชาวอังกฤษแสดงความเห็นกันว่า ภาษาอังกฤษอยู่ในภาวะ “วิกฤต” โดยอ้างว่า ผู้ใช้ภาษาอังกฤษมีการออกเสียงไม่ถูกต้อง หรือมีการสะกดผิดมากมาย แนวคิดแบบนี้มีอยู่ในเกือบทุกภาษา ผู้ใช้ของภาษาใดภาษาหนึ่ง โดยเฉพาะบรรดาเจ้าของภาษาที่หวังดีกับภาษาของตน เป็นห่วงกับ “คุณภาพการใช้ภาษา” ในสังคม ซ
Shintaro Hara
Shintaro Hara
คนในแอเชีย โดยเฉพาะแอเชียตะวันออก เช่น คนญี่ปุ่น คนเกาหลีหรือคนจีน มักจะประเมิณว่า โค้ชที่ใช้ความรุนแรงกับลูก
Shintaro Hara
ตามพจนานุกรม Cambridge Advanced Learner's Dictionary & Thesaurus (http://dictionary.cambridge.org/dictionary/british/potential_2) ให้คำจำกัดความต่อคำว่า potential (คำนาม) ดังต่อไปนี้: someone's or something's ability to develop , achieve , or succeed ความสามารถของคนใดคนหนึ่งหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่
Shintaro Hara
สมาคมผู้ปกครองและครู ภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า PTA (พี.ที.เอ.) ซึ่งเป็นคำย่อของทัพศัพท์ Parents and Teachers Association สมาคมนี้มีอยู่ในทุกโรงเรียน โดยทั่วไป อาจกล่าวได้ว่าบรรดาผู้ปกครองก็ให้ความรวมมือต่อฝ่ายโรงเรียนโดยสมัครเป็นสมาชิกของ PTA วิสัยทัศน์การจัดตั้งสมาคมดังกล่าวคือเพื่อให้เป็นเวทีการเรียน
Shintaro Hara
หลังจาก นาย ซูซีโล บัมบัง ยูโดโยโน (Susilo Bambang Yudhoyono) ได้ครองตำแหน่งประธรานาธิบดีเป็นเวลาสองสมัย ในสุดท้าย เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคมนี้ จะมีการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดีคนใหม่สำหรับประเทศอินโดนีเซีย
Shintaro Hara
ผมเองก็ไม่ทราบครับ ว่า ทำไมคนญี่ปุ่นเข้าคิวทุกครั้ง และแทบจะไม่มีใครกล้าแซงคิว มันเป็นหัวข้อที่น่าสนใจสำหรังงานวิ
Shintaro Hara
ในคำปราศรัยโดยหัวหน้าคณะกรรมการรักษาความสงบแห่งชาติเมื่อวันที่ 6 มิถุนายนที่ผ่านมา ท่าน ผบ.ทบ.