Skip to main content

คนในแอเชีย โดยเฉพาะแอเชียตะวันออก เช่น คนญี่ปุ่น คนเกาหลีหรือคนจีน มักจะประเมิณว่า โค้ชที่ใช้ความรุนแรงกับลูกศิษย์เป็นโค้ชที่มีความทุมเทในการทำงาน การใช้ความรุนแรงในการฝึกซ้อมอาจจะได้ผลบ้าง และพวกที่ได้ผลนั้นก็สร้างค่านิยมที่ไม่ถูกต้องที่ว่า "ในการฝึกซ้อมการเล่นกีฬา เราต้องใช้ความรุนแรง" หรือ "การใช้ความรุนแรงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับสร้างวินัยให้กับนักกีฬา" ถ้าเราสังเกตวงการกีฬาในแอเชีวตะวันออก แนวคิดเช่นนี้ยังเรื้อรังอยู่ในสมองของคนในวงการ ไม่ว่าจะเป็นพวกโค้ช คนในสมาคมกีฬา นักข่าว ฯลฯ

คำถามที่นี่คือ

๑. เราจำเป็นต้องใช้ความรุนแรงเพื่อสร้างวินัยหรือไม่ 
๒. เราจำเป็นต้องใช้ความรุนแรงเพื่อสร้างนักกีฬาระดับโลก

๑. ในการสร้างวินัย สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ การควบคุมพฤติกรรมของตัวเอง ให้เราทำสิ่งที่ต้องทำ และหลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำไม่ได้ เมื่อเราทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือหลีกเลี่ยงบางสิ่งบางอย่าง เพราะกลัวว่าจะได้รับบทลงโทษทางร่างกาย คนนั้นก็ทำตัวเหมือนกับคนที่มีวินัย แต่จริงๆ แล้ว ในจิตใจของคนเหล่านี้ไม่ได้มีวินัย แต่เต็มไปด้วยความกลัวที่จะได้รับบทลงโทษ ดังนั้น คนเหล่านี้จะปฏิบัติตัวเหมือนกับคนที่มีวินัยเฉพาะเมื่อมีความเป็นไปได้ว่าจะได้รับการลงโทษจากผู้อื่น แต่ในเมื่อเขารู้ว่าไม่มีใครจะลงโทษเค้า ในกรณีเช่นนั้นไม่มีการรับรองใดๆ ว่า เขายังมี "วินัย" อีกต่อไปหรือไม่

การสร้างวินัยโดยใช้ความรุนแรง โดยเฉพาะการลงโทษทางร่างกายอันรุนแรง หรือ "เกินเหตุ" อาจจะสามารถสร้างพฤติกรรมบางอย่าง แต่มันไม่สามารถ "ปลูกฝัง" วินัยอันแท้จริงซึ่งต้องมาจากการใช้เหตุผล โดยที่คนนั้นเข้าใจว่า "ทำไมฉันต้องทำแบบนี้" และ "ทำไมฉันทำแบบนี้ไม่ได้" ไม่ใช่สร้างคนที่ทำหรือไม่ทำบางสิ่งบางอย่างเพราะกลัวการลงโทษทางร่างกาย

๒. การสอนกีฬาโดยใช้ความรุนแรงอาจจะสร้างนักกีฬาระดับโลกได้ แต่ในขณะเดียวกัน นักกีฬาหลายๆ คนก็มาจากสิ่งแวดล้อมอันปราศจากการใช้ความรุนแรง ลองสังเกตดูสโมสรหรือทีมชาติฟุตบอลระดับติดอันดับ ผมไม่เคยได้ยินว่า โค้ชชื่อดังได้เชื่อเสียงจากการใช้ความรุนแรง แต่คนเหล่านี้สร้างชื่อเสียงจากมืออาชีพของตน

ดังนั้น เกี่ยวกับเรื่องนี้ เราก็ไม่จำเป็นต้องคิดมาก โค้ชมืออาชีพสามารถสร้างนักกีฬาได้โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยการใช้ความรุนแรงหรือการลงโทษทางร่างกาย การกระทำเช่นนั้นถือว่า สิ่งไม่จำเป็นในการสร้างนักกีฬา ในตรงกันข้าม โค้ชที่ต้องอาศัยการใช้ความรุนแรงก็ถือว่า ฝีมือของเค้ายังไม่ถึง อย่าให้การฝักซ้อมกีฬาเป็นโอกาสสำหรับการละเมิดสิทธิ

เกี่ยวกับประเด็นนี้ ผมเห็นด้วยกับคุณใบตองแห้งที่เขียนไว้ในบทความในลิงค์ต่อไปนี้

"ทำไมเป็นกันไปได้ถึงเพียงนั้น หรือเห็นเหรียญทองเหรียญเงินสำคัญกว่าสิทธิที่จะร้องขอความเป็นธรรมเมื่อ ถูกละเมิด เมื่อถูกทำร้ายร่างกาย

พูดอย่างนี้ไม่ได้พิพากษาว่าโค้ชเช ผิด น้องก้อยถูก ฟังความแล้วค่อนไปทางที่เชื่อว่าน้องก้อยหย่อนยานไม่มีวินัยจนพ่ายแพ้ แต่มันคนละเรื่องกัน การลงโทษนักกีฬามีตั้งมากมายหลายวิธี ที่ไม่ต้องทำร้ายร่างกาย"

http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRRd05UWTVPREEyTmc9PQ%253D%253D&sectionid

ภาพจากเพจ Voices of Siam

 

บล็อกของ Shintaro Hara

Shintaro Hara
เดี๋ยวนี้ผมเริ่มได้รับเชิญเป็นวิทยากรในงานเสวนาสาธารณะหรือการประชุมวิชาการ ผมก็ยินดีที่จะรับงานเหล่านี้เป็นหนึ่งในหน้าที่ของนักวิชาการ (แม้ว่าผมไม่ได้ทำงานในมหาวิทยาลัยก็ตาม) ยกเว้นในบางกร
Shintaro Hara
เมื่อวันที่ 21 ที่ผ่านมา มีการปล่อยข่าวจากสำนักข่าว Benar News
Shintaro Hara
เมื่อผมพาครอบครัวไปเที่ยวชายหาดในจังหวัดชายแดนใต้ ไม่ว่าจะเป็นหาดตะโละกะโปร์ หาดปะนาเระ หาดวาสุกรีในจังหวัดปัตตานี หรือ หาดนราทัศน์ในจังหวัดนราธิวาส  ฯลฯ ในวันหยุด เกือบทุกครั้งผมก็อดรู้สึกเสียใจไม่ได้กับสภาพของชายหาดที่เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของคนในพื้นที่ซึ่งเต็มไปด้วยขยะ ในช่วงเทศกาล เช
Shintaro Hara
ลัทธิทรงพลังมากที่สุดในสังคมไทย ณ ปัจจุบันนี้คือ ลัทธิ “พวกกูทำอะไรไม่ผิด” ลัทธิอันนี้มีธรรมชาติชองมนุษย์เป็นที่มาและพื้นฐาน ตัวอย่างเช่น บรรดาพ่อแม่มักจะประสบปัญหาในเมื่อลูกกระทำผิด และพยายามจะบอกกับคนอื่นว่า “ลูกของฉันไม่ได้ทำผิด” ถึงแม้ว่าบางกรณีมีหลักฐานมากมายที่แสดงให้เห็นว่า ลูกของเขาทำผิดจ
Shintaro Hara
แม้ว่าการ์ตูนญี่ปุ่นเป็นที่นิยมในประเทศหลาย ๆ ประเทศ และ “โดเรม่อน” ถือว่าเป็นหนึ่งในเรื่องที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในภูมิภาคเอเชียก็ตาม การ์ตูนเรื่องนี้ไม่ได้รับความสนใจจากชาวอเมริกัน เนื่องจากเรื่องมีไม่มีตัวละคนที่เป็นฮีโร่ที่มีบุคลิกภาพที่น่าชื่นชม กล้าที่จะเผชิญหน้ากับปัญหาอันยิ่งใหญ่ และสา
Shintaro Hara
การบังคับให้เด็กนักเรียนใส่ชุดทหารในโรงเรียนอนุบาลแห่งหนึ่ง โดยอ้างว่าเป็นการสร้างวินัยนั้น ก่อให้เกิดปฏิกิริยาต่าง ๆ จากสังคม โดยมีทั้งคนที่ชื่นชมการบังคับดังกล่าวและคนที่กล่าวคำวิจารณ์ด้วย ปฏิกิริยาเหล่านี้ชี้ให้เห็นว่า ในสังคมไทยมีความเข้าใจที่แตกต่างกันเกี่ยวกับความหมายของคำว่า “วินัย”
Shintaro Hara
วันที่ ญี่ปุ่น กลายเป็น ยุ่น
Shintaro Hara
กระบวนการสันติภาพ ณ เกาะมินดาเนา ประเทศฟิลิปปินส์ ประสบอุปสรรคครั้งยิ่งใหญ่ หลังจากรัฐสภาแห่งประเทศฟิลิปปินส์ไม่ให้ผ่านร่างกฎหมายพื้นฐานบังซาโมโร (Bangsamoro Basic La
Shintaro Hara
เมื่อวันที่ 9 สิงหาคมที่ผ่านมา เด็กอายุ 13 ปีถูกยิงที่บ้านที่อยู่ใน อ. ยะหา จ. ยะลาและเสียชีวิตคาที่ เหตุการณ์ครั้งนี้ได้ส่งผลกระทบต่อความรู้สึกของคนในพื้นที่ เพราะเหยื่อเป็นพลเมือง และเหตุการณ์เกิดขึ้นในสถานที่พลเมือง (บ้านของเหยื่อ) และเหยือก็ยังเป็นเด็ก
Shintaro Hara
ข้อเสนอจากราชบัณฑิตยสถานเกี่ยวกับชื่อเรียกของชาวมุสลิมจากประเทศพม่าที่รู้จักกันในนามว่า “โรฮิงญา” ให้เรียกเป็น “โรฮินจา” นั้น ได้รับความสนใ
Shintaro Hara
ช่วงนี้เป็นช่วงสอบสำหรับมหาวิทยาลัยที่ผมทำงานอยู่ พฤติกรรมของนักศึกษาในห้องสอบอยู่ในระดับที่ไม่น่าพอใจอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการส่งเสียงดังโดยนักศึกษาที่ส่งข้อสอบก่อนหมดเวลาแต่รอพรรคพวกอยู่นอกห้องสอบ การที่เปิดตัวข้อสอบก่อนเวลาสอบ (ถึงแม้ว่าคณะกรรมการคุมสอบห้ามแล้วก็ตาม) การที่ไม่วางปากกาทั้งๆ ที่ห
Shintaro Hara
เมื่อคนไทยพูดถึงเรื่องปฏิรูป ฝ่ายที่เป็นเป้าหมายของการโจมตีตลอดคือนักการเมืองที่ทุจริต ผมไม่ปฏิเสธว่านักการเมืองหลายคน (ส่วนตัว ผมเชื่อว่าเกือบทุกคน) ไม่ว่าจะมาจากพรรคไหนหรือฝ่ายไหน สีเสื้ออะไรก็ตาม ติดเรื่องทุจริตทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นการรับสินบน การใช้อิทธิพลทางการเมืองเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัว การ