ข้อสังเกตเกี่ยวกับการเลือกตั้งประธานาธิบดีของประเทศอินโดนีเซีย

หลังจาก นาย ซูซีโล บัมบัง ยูโดโยโน (Susilo Bambang Yudhoyono) ได้ครองตำแหน่งประธรานาธิบดีเป็นเวลาสองสมัย ในสุดท้าย เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคมนี้ จะมีการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดีคนใหม่สำหรับประเทศอินโดนีเซีย

ประเทศนี้เคยอยู่ภายใต้การปกครองแบบเผด็จการทหารเบ็ดเสร็จมาที่นำโดย นาย ซูฮาร์โต (Suharto) เป็นช่วงเวลากว่าสามทศวรรษ ซึ่งเป็นหนึ่งในระบอบเผด็จการที่มั่นคงที่สุดในแอเชียก็ว่าได้ โดยระบอบเผด็จการได้คุมครองอำนาจทางการเมือง ทางการทหาร ทางเศรษฐกิจ การศึกษา และเกือบทุกด้าน หนังสือหลายๆ เล่มถูกห้าม รายงานข่าวก็ต้องผ่านการตรวจ (เซ็นเซอร์) ของรัฐบาล แม้ว่าในช่วงนี้การละเมิดสิทธิมนุษย์เกิดขึ้นมากมาย แต่สื่อมวลชนก็ไม่สามารถทำรายงานได้

ผมเคยไปประเทศอินโดนีเซียในสมัยซูฮาร์โต ในช่วงนั้น ไม่มีเสรีภาพในการแสดงความเห็นใดๆ โดยเฉพาะ ณ ที่สาธารณะ เมื่อผมชวนเพื่อนผมที่เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยคุยเรื่องการเมืองที่ร้านน้ำชาแห่งหนึ่งในเมือง มาลัง (Malang) ซึ่งเป็นเมืองแห่งการศึกษาอันเล็กๆ (และน่าอยู่) เพื่อนผมก็ขอร้องอย่าพูดเรื่องการเมืองอย่างเด็ดขาด เขาบอกว่า เดี๋ยวเราจะคุยเรื่องนี้ที่บ้านของเขา ผมรู้สึกแปลกใจมาก เพราะมันแตกต่างไปจากวัฒนธรรมในประเทศมาเลเซียที่ชอบคุยเรื่องการเมืองที่ร้านน้ำชา แต่เพื่อนผมก็ให้คำอธิบายว่า อาจจะมีสายลับของรัฐบาลอยู่ในร้านนั้น ผมจึงเข้าใจสถานการณ์

ความยากลำบากในสมัยนั้นไม่ใช่แค่เรื่องการเมืองอย่างเดียว แต่ในช่วงนั้นประเทศนี้เต็มไปด้วยการคอรัปชัน เมื่อผมเข้าถึงสนามบิน เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองขอสินบน เพราะผมเขียนหมายเลขเที่ยวบินผิด เจ้าหน้าที่คนนั้นบอกว่า นี่คือข้อผิดพลาดที่ยิ่งใหญ่ ผมพยายามจะป้องกันตัวเอง จนถึงในสุดท้ายไม่ต้องจ่ายสินบน เมื่อออกจากสนามบิน ผมก็ถูกล้มรอบด้วยคนที่มา "ช่วย" เช่น ช่วยยกของ ช่วยหารแท็กซี่ให้ ช่วยพาไปถึงที่แลกเงิน ฯลฯ ในเมืองก็มีขอทานหลายๆ คน และขอทานเด็กจำนวนไม่น้อย ดังนั้น ผมรู้สึกว่า ประเทศนี้ยังอยู่ในยุคมืดจริงๆ นี่คือสถานการณ์ในปี ค.ศ. 1995 (พ.ศ. 2538)

หลังจากนั้นไม่กี่ปี ระบอบเผด็จการของนายซูฮาร์โตก็ถูกพลังประชาชนล้ม ในเหตุการณ์ที่เรียกว่า เรโฟร์มาซี (Reformasi แปลว่า ปฏิรูป) บรรยากาศทางการเมืองก็เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง เช่นทุกคนมีสิทธิเพื่อแสดงความเห็นอย่างเสรี และไม่มีหนังสือที่ถูกห้าม สือสามารถรายงานการกระทำผิดหรือการใช้อำนาจผิดของรัฐอย่างเสรี อาจกล่าวได้ว่า ประเทศอินโดนีเซียก็เริ่มการเดินทางไปสู่ประชาธิปไตย ช่วงเวลานี้ยังถือว่าเป็นระยะเวลาแห่งการเปลี่ยนผ่าน

เมื่อมีการเลือกตั้งประธานาธิบดีโดยตรง (ก่อนหน้านั้นได้รับการแต่งตั้งจากรัฐสภา) คนที่ได้รับเลือกไม่ใช่นักการเมืองมืออาชีพ ดังเช่น นางเมกาวาตี ซูการ์โนปุตรี (Megawati Sukarnoputri ซึ่งมีชื่อเต็ม Diah Permata Megawati Setiawati Sukarnoputri) แต่นายซูซีโล ซึ่งเป็นอดีตนายพล (มียศเป็น พล.อ.) แต่การที่ได้รับอดีตนายพลเป็นประธานาธิบดี ไม่ได้หมายความว่า ประเทศนี้ย้อนยุคกลับมาสู่สมัยเผด็จการ เพราะนายซูซีโล ได้รับเลือกผ่านการเลือกตั้งอันยุติธรรม อีกนัยหนึ่ง ท่านเป็นประธานาธิบดีตามเสียงของประชาชนอันแท้จริง นายซูซีโลก็ได้พิสูจน์ฝีมือของตนในฐานะเป็นนักการเมือง และสร้างผลงานต่างๆ รวมถึงการลดการคอรัปชันในประเทศ

ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีที่จะมา มีคู่แข่งสองคน ได้แก่ นาย โจโก วีโดโด (Joko Widodo) หรือ รู้จักกันในนาม โจโกวี (Jokowi) ซึ่งเป็นอดีตผู้ว่าฯ กรุงจาการ์ตา กับ นาย ปราโบโว ซูบีอันโต (Prabowo Subianto) ซึ่งเป็นอดีตนายพล (ยศ พล.ท.) ถ้าหากว่า ไม่มีการปฏิรูป นาย ปราโบโวอาจจะเป็นทายาทของนายซูฮาร์โตก็ได้ เพราะท่านเคยแต่งงานกับลูกสาวของนายซูฮาร์โต นอกจากนี้ ผู้สมัครคนนี้เคยมีประวัติการละเมิดสิทธิมนุษย์ในสมัยยังเป็นนายทหาร

ณ ปัจจุบันนี้ ตามโพลต่างๆ ปรากฏว่า การสนับสนุนต่อผู้สมัคทั้งสองท่านยังสูสีกัน แต่ที่สำคัญ ในประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งมีประชาธิปไตยกลายเป็นคุณค่าที่ทุกคนยอมรับในสังคม นายทหารที่ต้องการอำนาจก็ต้องผ่านการเลือกตั้ง

เนื่องจากนโยบายของทั้งสองท่านค่อนข้างแตกต่างกัน โดยมีนายปราโบโวเน้นความเข้มแข็งของชาติ ส่วนนายโจโกวีให้ความสำคัญกับเสรีนิยม ผลการเลือกตั้งครั้งนี้จะส่งผลต่อเส้นทางการพัฒนาประเทศที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียนอย่างแน่นอน ขอให้ทุกท่านติดตามการเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งนี้อย่างใกล้ชิดนะครับ

บรรยายภาพ 
นายปราโบโว (เบอร์ 1 คนที่ 2 จากซ้าย) กับนาย โจโกวี (เบอร์ 2 คนที่ 3 จากซ้าย)

ที่มาของภาพ: 

http://pemilu.tempo.co/read/news/2014/06/03/269582240/Unik-Ada-Ketua-DPP-Gerindra-Pilih-Jokowi-JK

 

 

 

เรื่องค่าวิทยากร

เดี๋ยวนี้ผมเริ่มได้รับเชิญเป็นวิทยากรในงานเสวนาสาธารณะหรือการประชุมวิชาการ ผมก็ยินดีที่จะรับงานเหล่านี้เป็นหนึ่งในหน้าที่ของนักวิชาการ (แม้ว่าผมไม่ได้ทำงานในมหาวิทยาลัยก็ตาม) ยกเว้นในบางกร

“นิดเดียวไม่เป็นไร” – แนวคิดที่อยู่เบื้องหลังความล้มเหลวของหลักการประชาธิปไตย

เมื่อผมพาครอบครัวไปเที่ยวชายหาดในจังหวัดชายแดนใต้ ไม่ว่าจะเป็นหาดตะโละกะโปร์ หาดปะนาเระ หาดวาสุกรีในจังหวัดปัตตานี หรือ หาดนราทัศน์ในจังหวัดนราธิวาส  ฯลฯ ในวันหยุด เกือบทุกครั้งผมก็อดรู้สึกเสียใจไม่ได้กับสภาพของชายหาดที่เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของคนในพื้นที่ซึ่งเต็มไปด้วยขยะ ในช่วงเทศกาล เช่นช่ว

ลัทธิ “พวกกูทำอะไรไม่ผิด” - ที่มาของสองมาตรฐาน

ลัทธิทรงพลังมากที่สุดในสังคมไทย ณ ปัจจุบันนี้คือ ลัทธิ “พวกกูทำอะไรไม่ผิด” ลัทธิอันนี้มีธรรมชาติชองมนุษย์เป็นที่มาและพื้นฐาน ตัวอย่างเช่น บรรดาพ่อแม่มักจะประสบปัญหาในเมื่อลูกกระทำผิด และพยายามจะบอกกับคนอื่นว่า “ลูกของฉันไม่ได้ทำผิด” ถึงแม้ว่าบางกรณีมีหลักฐานมากมายที่แสดงให้เห็นว่า ลูกของเขาทำผิดจ

ความสัมพันธ์เชิงอำนาจในโลกแห่ง “โดเรม่อน”

แม้ว่าการ์ตูนญี่ปุ่นเป็นที่นิยมในประเทศหลาย ๆ ประเทศ และ “โดเรม่อน” ถือว่าเป็นหนึ่งในเรื่องที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในภูมิภาคเอเชียก็ตาม การ์ตูนเรื่องนี้ไม่ได้รับความสนใจจากชาวอเมริกัน เนื่องจากเรื่องมีไม่มีตัวละคนที่เป็นฮีโร่ที่มีบุคลิกภาพที่น่าชื่นชม กล้าที่จะเผชิญหน้ากับปัญหาอันยิ่งใหญ่ และสา