Skip to main content

คำวิจารณ์ไม่ใช่คำด่า แต่ถ้อยคำที่อธิบายถึงจุดอ่อนและข้อบกพร่องของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นงานวิจัย งานเขียน รายงาน ข่าวสาร แนวคิด นโยบาย และอีกมากมาย เนื่องจากคำวิจารณ์ต้องกล่าวถึงจุดอ่อนและข้อบกพร่องของสิ่งที่ตัวเราเองคิดว่ามีความสมบูรณ์พอสมควร มักจะกระทบจิตใจของคนที่ได้รับคำวิจารณ์ และยังมีหลายๆ คนก็เสียอารมณ์หรือความรู้สึกทันทีที่ได้รับคำวิจารณ์ที่ตรงไปตรงมาและไม่รับฟังคำวิจารณ์ประเภทนี้ คนเหล่านี้แทบจะไม่มีโอกาสอีกต่อไปที่จะสามารถพัฒนาตัวเองได้ เนื่องจากพวกเขาก็เสมือนปิดช่องทางที่สำคัญที่อยู่เบื้องหลังของคำวิจารณ์ อีกนัยหนึ่ง คำวิจารณ์ก็เทียบเท่ากับประตูอันนำไปสู่เส้นทางการพัฒนาในอนาคต

ตามการสังเกตส่วนตัว ผมเห็นว่า คนเอเชียมีแนวโน้มที่จะแสดงปฏิกิริยาทางอารมณ์ต่อคำวิจารณ์มากกว่าชาวยุโรป ดังนั้นการให้คำวิจารณ์ก็ต้องใช้เทคนิคบางอย่างเพื่อป้องกันปฏิกิริยาแบบนี้ไม่ให้เกิดขึ้น เช่น แทนที่จะบอกว่า “ผมเห็นว่า งานวิจัยของคุณมีจุดอ่อนตั้งแต่การตั้งสมมุติฐาน ซึ่งเกิดจากการรวบรวมข้อมูลที่ขาดความน่าเชื่อถือ” แต่ต้องบอกว่า “โดยภาพร่วม ผมเห็นว่า งานวิจัยของคุณมีคุณภาพมากและเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง แต่ถ้าหากว่า คุณสามารถแก้ไขประเด็นนี้ก็น่าจะช่วยปรับปรุงคุณภาพของงานวิจัยชิ้นนี้มากขึ้น” แม้ว่าวิธีการที่สองที่ไม่พูดถึงจุดอ่อนของงานวิจัยโดยตรงนั้นจะไม่ทำให้ผู้วิจัยเสียความรู้สึกมากก็ตาม สิ่งที่มักจะเกิดขึ้นนั้นคือ ผู้วิจัย (ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับคำวิจารณ์) จะคิดว่า “งั้น ฉันไม่ต้องทำอะไรก็ได้”

ในตรงกันข้าม การนำเสนอคำวิจารณ์ที่จะได้ผลนั้นคือการวิจารณ์แบบตรงไปตรงมา เมื่อผมคุยเรื่องนี้กับนักวิชาการชาวอังกฤษท่านหนึ่ง เธอก็เห็นด้วยที่ว่า ในการวิจารณ์คนเอเชีย เธอต้องระมัดระวังมาก เพราะพวกเขาเสียอารมณ์ง่ายมากกับคำวิจารณ์ของเธอ แต่เมื่อเธอคุยกับนักวิชาการชาติเดียวกันหรือชาวยุโรปอื่นๆ ไม่จำเป็นต้องเป็นห่วงเรื่องแบบนี้ เพราะตราบใดที่คำวิจารณ์นั้นมีลักษณะสมเหตุสมผล แทบจะไม่มีใครที่จะเสียอารมณ์กับคำวิจารณ์นั้น แม้ว่าคำวิจารณ์นั้นมาจากคนที่มีอายุน้อยกว่า มีประสบการณ์น้อยกว่า มีความรู้น้อยกว่า หรือแม้แต่ตำแหน่งต่ำกว่าก็ตาม

ผมก็อดคิดไม่ได้ว่า ทำไมทำแบบนี้ได้ เธอก็อธิบายว่า ในการโต้วาทีกัน (discussion) ของพวกเขา สิ่งที่สำคัญคือทุกคนต้อง “วางความคิดของตนบนโต๊ะ” และแลกเปลี่ยนความคิดตามความคิดที่ได้วางบนโต๊ะเรียบร้อยแล้ว ในสังคมของเขา ไม่มีใครที่คิดว่า การโจมตีต่อความคิดนั้นเป็นการโจมตีต่อบุคลิกภาพของเจ้าของความคิด ดังนั้น ตราบใดที่เราใช้มารยาทและเหตุผล การโตวาทีก็จะดำเนินอย่างเรียบร้อย มินำซ้ำ เรายังสามารถไปกินน้ำชากับคนที่ให้คำวิจารณ์ที่ “แหลม” หรือ “แรง” ที่สุดได้ด้วย

ในตรงกันข้าม เธอก็อธิบายต่อว่า ในเมื่อทำงานกับคนเอเชีย (รวมถึงประเทศไทยซึ่งเป็นพื้นที่ที่เธอเก็บข้อมูลเพื่องานวิจัย) คนส่วนใหญ่ไม่พร้อมที่จะวางความเห็นของตนบนโต๊ะ แต่เสมือนกอดความเห็นส่วนตัวอย่างแน่นมาก ดังนั้น เมื่อเธอให้คำวิจารณ์ คนเหล่านี้ก็มักจะเข้าใจผิดว่า เธอโจมตีบุคลิกภาพของพวกเขา

โดยส่วนตัว ประสบการณ์ที่ประทับใจที่สุดครั้งหนึ่งคือ เมื่อผมมีข้อเถียงกับอาจารย์ที่ปรึกษาเมื่อผมกำลังเขียนวิทยานิพนสำหรับปริญญาโท อาจารย์ท่านเป็นหนึ่งในนักภาษาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในประเทศ และนับถือทฤษฎีของนักภาษาศาสตร์ชาวอเมริกันท่านหนึ่งชื่อ Chomsky ส่วนผมเองเห็นความเหมาะสมในทฤษฎีของนักภาษาศาสตร์ชาวฝรั่งเศสชื่อ De Saussure ซึ่งมีความขัดแย้งบางอย่าง (ซึ่งเป็นเรื่องที่ละเอียดมาก) เราเถียงกันเกือบสองชั่วโมงโดยสลับคำวิจารณ์ต่อทฤษฎีของแต่ละฝ่าย (อันเป็นประสบการณ์อันมีค่าเช่นกัน) แต่ไม่สามารเข้าถึงความเข้าใจร่วมกัน (เพราะภาษาเกิดจากสมองของเราซึ่งเป็นกระบวนการมองไม่เห็น) ผมเห็นเหตุผลในทฤษฎีของอาจารย์ และตลอดช่วงการโต้วาทีนั้น อาจารย์ที่ปรึกษา (ท่านชื่อ Prof. Dr. Nik Safiah Karim) ก็ไม่เคยปฏิเสธและไม่ได้บอกว่า ผมคิดไม่ถูกต้อง แต่ในสุดท้าย อาจารย์ก็บอกว่า “เราไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนทฤษฎีที่เรายึดถือกัน ฉันเห็นว่า คำอธิบายของคุณมีเหตุผล ฉันถือว่า นี่คือปัญหาของหลักการและจุดยืน แต่สิ่งที่คุณอยากนำเสนอในส่วนนี้มักจะขัดกับทฤษฎีที่ฉันยึดถือ ดังนั้น ในฐานะเป็นที่ปรึกษา เพื่อรับผิดชอบต่อวิทยานิพนของคุณ ฉันขอให้คุณตามทฤษฎีของฉัน เฉพาะสำหรับงานวิจัยชิ้นนี้ แต่ฉันก็ไม่ว่าอะไรถ้าคุณจะยึดถือทฤษฎีของคุณ” ซึ่งเป็นขอเสนอที่ยุติธรรมมาก ดังนั้นผมก็ยอมรับ และประสบการณ์นี้ทำให้ผมยิ่งนับถือจุดยืนของท่านที่ยึดถือหลักเสรีภาพในวิชาการ

สิ่งที่น่าเสียดายคือ ยังมีหลายๆ คนที่เชื่อว่า คำวิจารณ์ที่ดีคือคำวิจารณ์ที่น่าฟัง คำวิจารณ์ที่ไพเราะเสนาะหู หรือคำวิจารณ์ที่ทำให้เราดีใจหลังจากรับคำนั้น แต่จริงๆ แล้ว คนที่ออกคำวิจารณ์เช่นนี้แทบจะไม่มีเจตนาที่จะช่วยคนที่รับคำวิจารณ์ในความหมายอันแท้จริง (ยกเว้นรักษาสุขภาพทางจิตใจของเขา) แต่เนื่องจากเรารู้สึกดีกับคำวิจารณ์ประเภทนี้ (ซึ่งความจริงแล้วไม่ใช่คำวิจารณ์) เรามักจะคิดว่า “นี่คือคำวิจารณ์ที่มาจากความบริสุทธิ์ใจ” ยิ่งเรามีอายุมากขึ้น มีตำแหน่งสูง ประสบการณ์มากขึ้น และความรู้เพิ่มขึ้น เราก็มักจะคิดว่า “เราเก่งแล้ว” ดังนั้นใจเราก็ยิ่งยากที่จะรับ “คำวิจารณ์ที่มาจากความบริสุทธิ์ใจ” จริงๆ ซึ่งส่วนใหญ่มีรู้แบบเป็นความจริงที่เราไม่ค่อยอยากเผชิญหน้า คนที่บอกคำวิจารณ์ลักษณะนี้ก็เสมือนกระจกวิเศษในนิทานซินเดอเรลล่า           

โดยส่วนตัว ผมให้คำจำกัดความต่อ “คำวิจารณ์อันมาจากความบริสุทธิ์ใจ” ดังต่อไปนี้: เป็นคำวิจารณ์ที่บ่งบอกถึงจุดอ่อนและข้อบกพร่องของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ถ่ายทอดด้วยมารยาท ซึ่งคนวิจารณ์กล่าวมาโดยมีความหวังว่า คนที่ได้รับคำวิจารณ์จะนำมาใช้เพื่อการปรับปรุง” ดังนั้น คำวิจารณ์ประเภทนี้ส่วนใหญ่อาจจะทำให้เรารู้สึกเจ็บปวด

สรุปก็คือ ความสามารถที่จะวิจารณ์อย่างถูกต้องโดยใช้เหตุผลและมารยาทก็ถือว่าเป็นความสามารถที่สำคัญ แต่อีกความสามารถที่สำคัญเพื่อได้ประโยชน์จากคำวิจารณ์คือ  ความสามารถที่จะรับคำวิจารณ์อย่างเปิดใจกว้าง 

 

บล็อกของ Shintaro Hara

Shintaro Hara
เดี๋ยวนี้ผมเริ่มได้รับเชิญเป็นวิทยากรในงานเสวนาสาธารณะหรือการประชุมวิชาการ ผมก็ยินดีที่จะรับงานเหล่านี้เป็นหนึ่งในหน้าที่ของนักวิชาการ (แม้ว่าผมไม่ได้ทำงานในมหาวิทยาลัยก็ตาม) ยกเว้นในบางกร
Shintaro Hara
เมื่อวันที่ 21 ที่ผ่านมา มีการปล่อยข่าวจากสำนักข่าว Benar News
Shintaro Hara
เมื่อผมพาครอบครัวไปเที่ยวชายหาดในจังหวัดชายแดนใต้ ไม่ว่าจะเป็นหาดตะโละกะโปร์ หาดปะนาเระ หาดวาสุกรีในจังหวัดปัตตานี หรือ หาดนราทัศน์ในจังหวัดนราธิวาส  ฯลฯ ในวันหยุด เกือบทุกครั้งผมก็อดรู้สึกเสียใจไม่ได้กับสภาพของชายหาดที่เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของคนในพื้นที่ซึ่งเต็มไปด้วยขยะ ในช่วงเทศกาล เช
Shintaro Hara
ลัทธิทรงพลังมากที่สุดในสังคมไทย ณ ปัจจุบันนี้คือ ลัทธิ “พวกกูทำอะไรไม่ผิด” ลัทธิอันนี้มีธรรมชาติชองมนุษย์เป็นที่มาและพื้นฐาน ตัวอย่างเช่น บรรดาพ่อแม่มักจะประสบปัญหาในเมื่อลูกกระทำผิด และพยายามจะบอกกับคนอื่นว่า “ลูกของฉันไม่ได้ทำผิด” ถึงแม้ว่าบางกรณีมีหลักฐานมากมายที่แสดงให้เห็นว่า ลูกของเขาทำผิดจ
Shintaro Hara
แม้ว่าการ์ตูนญี่ปุ่นเป็นที่นิยมในประเทศหลาย ๆ ประเทศ และ “โดเรม่อน” ถือว่าเป็นหนึ่งในเรื่องที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในภูมิภาคเอเชียก็ตาม การ์ตูนเรื่องนี้ไม่ได้รับความสนใจจากชาวอเมริกัน เนื่องจากเรื่องมีไม่มีตัวละคนที่เป็นฮีโร่ที่มีบุคลิกภาพที่น่าชื่นชม กล้าที่จะเผชิญหน้ากับปัญหาอันยิ่งใหญ่ และสา
Shintaro Hara
การบังคับให้เด็กนักเรียนใส่ชุดทหารในโรงเรียนอนุบาลแห่งหนึ่ง โดยอ้างว่าเป็นการสร้างวินัยนั้น ก่อให้เกิดปฏิกิริยาต่าง ๆ จากสังคม โดยมีทั้งคนที่ชื่นชมการบังคับดังกล่าวและคนที่กล่าวคำวิจารณ์ด้วย ปฏิกิริยาเหล่านี้ชี้ให้เห็นว่า ในสังคมไทยมีความเข้าใจที่แตกต่างกันเกี่ยวกับความหมายของคำว่า “วินัย”
Shintaro Hara
วันที่ ญี่ปุ่น กลายเป็น ยุ่น
Shintaro Hara
กระบวนการสันติภาพ ณ เกาะมินดาเนา ประเทศฟิลิปปินส์ ประสบอุปสรรคครั้งยิ่งใหญ่ หลังจากรัฐสภาแห่งประเทศฟิลิปปินส์ไม่ให้ผ่านร่างกฎหมายพื้นฐานบังซาโมโร (Bangsamoro Basic La
Shintaro Hara
เมื่อวันที่ 9 สิงหาคมที่ผ่านมา เด็กอายุ 13 ปีถูกยิงที่บ้านที่อยู่ใน อ. ยะหา จ. ยะลาและเสียชีวิตคาที่ เหตุการณ์ครั้งนี้ได้ส่งผลกระทบต่อความรู้สึกของคนในพื้นที่ เพราะเหยื่อเป็นพลเมือง และเหตุการณ์เกิดขึ้นในสถานที่พลเมือง (บ้านของเหยื่อ) และเหยือก็ยังเป็นเด็ก
Shintaro Hara
ข้อเสนอจากราชบัณฑิตยสถานเกี่ยวกับชื่อเรียกของชาวมุสลิมจากประเทศพม่าที่รู้จักกันในนามว่า “โรฮิงญา” ให้เรียกเป็น “โรฮินจา” นั้น ได้รับความสนใ
Shintaro Hara
ช่วงนี้เป็นช่วงสอบสำหรับมหาวิทยาลัยที่ผมทำงานอยู่ พฤติกรรมของนักศึกษาในห้องสอบอยู่ในระดับที่ไม่น่าพอใจอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการส่งเสียงดังโดยนักศึกษาที่ส่งข้อสอบก่อนหมดเวลาแต่รอพรรคพวกอยู่นอกห้องสอบ การที่เปิดตัวข้อสอบก่อนเวลาสอบ (ถึงแม้ว่าคณะกรรมการคุมสอบห้ามแล้วก็ตาม) การที่ไม่วางปากกาทั้งๆ ที่ห
Shintaro Hara
เมื่อคนไทยพูดถึงเรื่องปฏิรูป ฝ่ายที่เป็นเป้าหมายของการโจมตีตลอดคือนักการเมืองที่ทุจริต ผมไม่ปฏิเสธว่านักการเมืองหลายคน (ส่วนตัว ผมเชื่อว่าเกือบทุกคน) ไม่ว่าจะมาจากพรรคไหนหรือฝ่ายไหน สีเสื้ออะไรก็ตาม ติดเรื่องทุจริตทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นการรับสินบน การใช้อิทธิพลทางการเมืองเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัว การ