Skip to main content

ในคำปราศรัยโดยหัวหน้าคณะกรรมการรักษาความสงบแห่งชาติเมื่อวันที่ 6 มิถุนายนที่ผ่านมา ท่าน ผบ.ทบ. กล่าวว่า “We have to make our country stronger and ready to move toward a fully functioning democratic Kingdom” สิ่งที่ทำให้ผมยิ่งงงก็คือการใช้คำว่า a fully functioning democratic Kingdom

คำว่า democratic ซึ่งหมารยถึง อันเป็นประชาธิปไตย หรือ เกี่ยวกับประชาธิปไตย และมันต้องเป็นรูปแบบที่ทำงานได้อย่างเต็มรูปแบบ (fully functioning) แต่สิ่งที่เกิดขึ้นมาก่อนหน้านี้ไม่มีสิ่งใดๆ ที่สอดคล้องกับประชาธิปไตย

ในเมื่อประเทศกำลังจะมีการเลือกตั้ง มีฝ่ายที่ไม่ปฏิบัติหน้าที่เพื่อดำเนินการเลือกตั้งอย่่างเต็มที (เช่น กกต.) นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มคนที่ใช้ความรุนแรงเพื่อไม่ให้นักการเมืองลงสมัครหรือใช้สิทธิการเลือกตั้ง คนเหล่านี้ไม่เคยได้รับบทลงโทษใดๆ

หลังจากมีการเลือกตั้ง ซึ่งมีประชาชนกว่า 15 ล้านคนไปลงคะแนนเสียง (และในขณะเดียวกันยังมีหลายคนที่ต้องการที่จะลงคะแนนเสียง แต่ไม่สามารถใช้สิทธิ์ได้ เพราะมีการรบกวนหรือเป็นห่วงเรื่องความปลอดภัย) ก็ผลการเลือกตั้งถูกตัดสินเป็นโมฆะโดยศาลรัฐธรรมนูญ

ต่อไป รัฐบาลที่ผ่านการเลือกตั้งก็ถูกไล่ออกโดยศาลดังกล่าวอีกครั้ง เนื่องจากมีการย้ายข้าราชการชั้นสูงคนหนึ่ง (เลขาฯ สมช.)

และในสุดท้าย รัฐบาลที่ได้รับเลือโดยการเลือกตั้งก็พบกับจุดจบโดยรัฐประหารอีกครั้ง

กระบวนการ (process) ที่ได้เกิดขึ้นมาจนถึงบัดนี้บ่งชี้ว่า การมีส่วนร่วมของประชาชนทั่วไปในการเมืองระดับประเทศสยิ่งแคบลงจนถึงถูกปฏิเสธในรูปแบบรัฐประหาร นอกจากนั้นในปัจจุบัน การแสดงออกความเห็นของประชาชนก็ยังถูกจำกัดด้วย อีกนัยหนึ่ง กล่าวได้ว่าความเป็นประชาธิปไตยในสังคมถูกริดรอนอย่างเป็นขั้นตนจนถึงขั้นสุดท้าย (ณ ปัจจุบัน)

สิ่งที่น่าสังเกตุคือ แม้ว่าสถานการณ์เป็นเช่นนี้ ฝ่ายคสช. ยังใช้คำว่า ประชาธิปไตย แต่ความหมายของคำนี้ในบริบทของคำปราศัยนั้นไม่ชัดเจน

ในระบอบประชาธิปไตยตัวแทน (representative democracy) การเลือกตั้งมีความสำคัญมาก ถึงแม้ว่า การเลือกตั้งกับประชาธิปไตยไม่ใช่สิ่งเดียวกัน แต่ในโลกปัจจุบันนี้ ยังไม่มีระบอบใดๆ ที่สามารถรักษาความเป็นประชาธิปไตยได้ ในเมื่อไม่มีการเลือกตั้ง

การเลือกตั้งนั้นมีความสำคัญเพราะมันเป็นโอกาสสำหรับประชาชนทั่วไปเพื่อแสดงออกความต้องการของตนโดยเลือกตัวแทนที่ถูกใจที่สุด ไม่ว่าจะเป็นรายบุคคลหรือเป็นพรรคการเมือง และบรรดานักการเมืองที่ได้รับเลือกจะสะท้อนความต้องการของประชาชน (หรือ พลเมือง) โดยกำหนดนโยบายที่สอดคล้องกับความต้องการดังกล่าว

ในเมื่อฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับการเลือกตั้งพูดถึงการเลือกตั้ง ประเด็นที่ถูกนำมาใช้คือการซื้อเสียงขายเสียง แน่นอนว่าการซื้อเสียงขายเสียงเป็นการกระทำอันตกต่ำที่สุด เพราะมันเป็นเท่กับการขายอนาคตของชาติ (ซึ่งกระทำโดยพรรคการเมืองทุกพรรค และนักการเมืองเกือบทั้งหมด) แต่การเลือกตั้งอันสมบูรณ์ไม่ใช่แค่การเลือกตั้งอันปราศจากการซื้อเสียงขายเสียงอย่างเดียว

ระบอบประชาธิปไตยเป็นระบอบที่ทำให้ทุกฝ่ายสามารถแสดงความเห็นโดยไม่จำเป็นต้องใช้ความรุนแรงในการแสดงออก ด้วยเหตุนี้เอง การปิดโอกาสแสดงความเห็นหรือการจำกัดการมีส่วนร่วมของประชาชน (พลเมือง) ไม่อาจนำไปสู่ประชาธิปไตยอันสมบูรณ์

ประชาชนต้องการระบอบประชาธิปไตยหรือไม่นั้นเรื่องการเมือง ดังนั้นการแก้ไขปัญหานี้ก็ต้องมาจากการเมือง ไม่ใช่การใช้ความรุนแรงหรือการยุดอำนาจ

สังคมไทย โดยเฉพาะฝ่ายที่ยึดอำนาจ ณ บัดนี้ ควรเข้าใจว่า ความสมบูรณ์ของประชาธิปไตย ขึ้นอยู่กับการยอมรับส่วนร่วมของคนส่วนใหญ่ในการกำหนดนโยบาย ไม่ใช่การ "ปฏิรูป" อันเป็นประโยชน์ต่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งโดยเฉพาะ

บล็อกของ Shintaro Hara

Shintaro Hara
เดี๋ยวนี้ผมเริ่มได้รับเชิญเป็นวิทยากรในงานเสวนาสาธารณะหรือการประชุมวิชาการ ผมก็ยินดีที่จะรับงานเหล่านี้เป็นหนึ่งในหน้าที่ของนักวิชาการ (แม้ว่าผมไม่ได้ทำงานในมหาวิทยาลัยก็ตาม) ยกเว้นในบางกร
Shintaro Hara
เมื่อวันที่ 21 ที่ผ่านมา มีการปล่อยข่าวจากสำนักข่าว Benar News
Shintaro Hara
เมื่อผมพาครอบครัวไปเที่ยวชายหาดในจังหวัดชายแดนใต้ ไม่ว่าจะเป็นหาดตะโละกะโปร์ หาดปะนาเระ หาดวาสุกรีในจังหวัดปัตตานี หรือ หาดนราทัศน์ในจังหวัดนราธิวาส  ฯลฯ ในวันหยุด เกือบทุกครั้งผมก็อดรู้สึกเสียใจไม่ได้กับสภาพของชายหาดที่เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของคนในพื้นที่ซึ่งเต็มไปด้วยขยะ ในช่วงเทศกาล เช
Shintaro Hara
ลัทธิทรงพลังมากที่สุดในสังคมไทย ณ ปัจจุบันนี้คือ ลัทธิ “พวกกูทำอะไรไม่ผิด” ลัทธิอันนี้มีธรรมชาติชองมนุษย์เป็นที่มาและพื้นฐาน ตัวอย่างเช่น บรรดาพ่อแม่มักจะประสบปัญหาในเมื่อลูกกระทำผิด และพยายามจะบอกกับคนอื่นว่า “ลูกของฉันไม่ได้ทำผิด” ถึงแม้ว่าบางกรณีมีหลักฐานมากมายที่แสดงให้เห็นว่า ลูกของเขาทำผิดจ
Shintaro Hara
แม้ว่าการ์ตูนญี่ปุ่นเป็นที่นิยมในประเทศหลาย ๆ ประเทศ และ “โดเรม่อน” ถือว่าเป็นหนึ่งในเรื่องที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในภูมิภาคเอเชียก็ตาม การ์ตูนเรื่องนี้ไม่ได้รับความสนใจจากชาวอเมริกัน เนื่องจากเรื่องมีไม่มีตัวละคนที่เป็นฮีโร่ที่มีบุคลิกภาพที่น่าชื่นชม กล้าที่จะเผชิญหน้ากับปัญหาอันยิ่งใหญ่ และสา
Shintaro Hara
การบังคับให้เด็กนักเรียนใส่ชุดทหารในโรงเรียนอนุบาลแห่งหนึ่ง โดยอ้างว่าเป็นการสร้างวินัยนั้น ก่อให้เกิดปฏิกิริยาต่าง ๆ จากสังคม โดยมีทั้งคนที่ชื่นชมการบังคับดังกล่าวและคนที่กล่าวคำวิจารณ์ด้วย ปฏิกิริยาเหล่านี้ชี้ให้เห็นว่า ในสังคมไทยมีความเข้าใจที่แตกต่างกันเกี่ยวกับความหมายของคำว่า “วินัย”
Shintaro Hara
วันที่ ญี่ปุ่น กลายเป็น ยุ่น
Shintaro Hara
กระบวนการสันติภาพ ณ เกาะมินดาเนา ประเทศฟิลิปปินส์ ประสบอุปสรรคครั้งยิ่งใหญ่ หลังจากรัฐสภาแห่งประเทศฟิลิปปินส์ไม่ให้ผ่านร่างกฎหมายพื้นฐานบังซาโมโร (Bangsamoro Basic La
Shintaro Hara
เมื่อวันที่ 9 สิงหาคมที่ผ่านมา เด็กอายุ 13 ปีถูกยิงที่บ้านที่อยู่ใน อ. ยะหา จ. ยะลาและเสียชีวิตคาที่ เหตุการณ์ครั้งนี้ได้ส่งผลกระทบต่อความรู้สึกของคนในพื้นที่ เพราะเหยื่อเป็นพลเมือง และเหตุการณ์เกิดขึ้นในสถานที่พลเมือง (บ้านของเหยื่อ) และเหยือก็ยังเป็นเด็ก
Shintaro Hara
ข้อเสนอจากราชบัณฑิตยสถานเกี่ยวกับชื่อเรียกของชาวมุสลิมจากประเทศพม่าที่รู้จักกันในนามว่า “โรฮิงญา” ให้เรียกเป็น “โรฮินจา” นั้น ได้รับความสนใ
Shintaro Hara
ช่วงนี้เป็นช่วงสอบสำหรับมหาวิทยาลัยที่ผมทำงานอยู่ พฤติกรรมของนักศึกษาในห้องสอบอยู่ในระดับที่ไม่น่าพอใจอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการส่งเสียงดังโดยนักศึกษาที่ส่งข้อสอบก่อนหมดเวลาแต่รอพรรคพวกอยู่นอกห้องสอบ การที่เปิดตัวข้อสอบก่อนเวลาสอบ (ถึงแม้ว่าคณะกรรมการคุมสอบห้ามแล้วก็ตาม) การที่ไม่วางปากกาทั้งๆ ที่ห
Shintaro Hara
เมื่อคนไทยพูดถึงเรื่องปฏิรูป ฝ่ายที่เป็นเป้าหมายของการโจมตีตลอดคือนักการเมืองที่ทุจริต ผมไม่ปฏิเสธว่านักการเมืองหลายคน (ส่วนตัว ผมเชื่อว่าเกือบทุกคน) ไม่ว่าจะมาจากพรรคไหนหรือฝ่ายไหน สีเสื้ออะไรก็ตาม ติดเรื่องทุจริตทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นการรับสินบน การใช้อิทธิพลทางการเมืองเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัว การ