Skip to main content
 
สมยศ  พฤกษาเกษมสุข
4  กุมภาพันธ์  2556
 
นิรโทษกรรม (Amnesty) เป็นการออกกฎหมายให้มีผลย้อนหลังที่เป็นคุณ มีผลให้การกระทำใด ๆ ที่มีกฎหมายบัญญัติเป็นความผิดให้ไม่เป็นความผิดและไม่มีโทษ ไม่ว่าจะมีอยู่ในระหว่างการพิจารณราคดี หรือคดีสิ้นสุดแล้ว หรืออยู่ในขั้นตอนใดก็ต้องยุติลง มักเป็นการลบล้างการกระทำความผิดทางอาญาที่บุคคลใดไก้กระทำมาแล้วดดยมีมูลเหตุมาจากความขัดแย้งทางการเมือง หรือเกิดจากแรงจูงใจทางการเมือง จึงไม่ใช่การกระทำผิดทางอาญาโดยทั่วไป
 
การนิรโทษกรรมมักเป็นเรื่องทางการเมือง ดังเช่น  รัชกาลที่ 7 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมตราพระราชกำหนดนิรโทษกรรมให้กับคณะราษฎร ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองสมบูรณาญาสิทธิราชมาเป็นประชาธิปไตย ต่อมาการออกกฎหมายนิรโทษกรรมเป็นไปได้ทั้งประราชกำหนดนิรโทษกรรม และด้วยการตราเป็นพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม รวมทั้งกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ ที่ผ่านมาฝ่ายทหารซึ่งยึดอำนาจการปกครองล้มล้างรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งมักจะทำการนิรโทษกรรมให้กับตนเองอยู่เสมอ รวมกกันแล้วมีการนิรโทษกรรมถึง 21 ครั้งด้วยกัน
 
การรัฐประหารเป็นการก่อกบฏ ทำลายประชาธิปไตย มีความผิดทางอาญาร้ายแรง แต่ทว่าคณะรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ใช้อำนาจเถื่อนนิรโทษกรรมให้ตนเอง บัญญัติไว้ในมาตรา 37 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับชั่วคราว พศ.2549  ซึ่งต่อมานำมาแปลงร่างบัญญัติไว้ในมาตรา 309 แห่งรัฐธรรมนูญ 2550 ทำให้คณะรัฐประหารพ้นจากการกระทำความผิดทั้งในอดีต และปัจจุบัน อนาคตกลายเป็นอำนาจแฝงครอบงำการเมืองจนถึงทุกวันนี้
 
การนิรโทษกรรมไม่ใช่เรื่องแปลกทางการเมือง รัฐบาลเผด็จการยึดอำนาจไว้ได้ก็ทำการนิรโทษกรรมให้ตนเอง เมื่อประชาชนผู้รักประชาธิปไตยต่อสู้กับการรัฐประหาร หรือคัดค้านอำนาจนอกระบบกลับถูกดำเนินคดีทางอาญาอย่างรุนแรง กระบวนการยุติธรรมเป็นเครื่องมืออำนาจเผด็จการในการลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชน เป็นเหตุให้ความขัดแย้งทางการเมืองบานปลายออกไป กลายเป็นความเกลียดชัง กระทบต่อเสถียรภาพของระบบการเมือง
 
ในยุคสมัยสงครามเย็นทศวรรษ 1960 – 1980 พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย จัดตั้งกองกำลังติดอาวุธเพื่อเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองของประเทศไทย เป็นเวลากว่า 30 ปีด้วยกัน จนผู้คนล้มตายกันจำนวนมาก ในที่สุดรัฐบาลได้ออกกฎหมายนิรโทษกรรมให้ทั้งหมด เพื่อให้กลับมาเป็นผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย แถมยังต้องมอบที่ดินและเงินทุนทำกินให้อีกด้วย ผลจากการนิรโทษกรรม อดีตนิสิตนักศึกษาที่จับอาวุธสู้กับรัฐบาลได้กลายมาเป็นนักการเมืองคุณภาพในทุกพรรคการเมืองในขณะนี้
 
รัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ฝ่ายตุลาการได้กระโดดเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของรัฐบาลเผด็จการ ทำหน้าที่ตัดสินพิพากษาเป็นไปตามความต้องการของรัฐเผด็จการในช่วงนั้น รวมทั้งยังเข้ารับตำแหน่งทางการเมืองอย่างเปิดเผย ทำให้หลักการถ่วงดุล – คานอำนาจ ระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติ – บริหาร – ตุลาการ เสียหาย ตุลาการบางส่วนยังเป็นผู้ร่างรัฐธรรมนูญ 2550 ให้ฝ่ายตุลาการแต่งตั้งวุฒิสภาจำนวนครึ่งหนึ่ง และองค์กรอิสระ จนทำให้สูญเสียความเป็นกลาง การพิพากษาคดีอันสืบเนื่องมาจากความขัดแย้งทางการเมือง จึงขาดความน่าเชื่อถือ และความเป็นกลางทางการเมือง
 
มีการใช้สถาบันกษัตริย์เป็นเครื่องมือทางการเมือง ทำลายล้างฝ่ายตรงข้ามและการลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชน โดยกระบวนการยุติธรรมมิอาจทำหน้าที่อำนวยความยุติธรรม นำมาสู่การเลือกปฏิบัติ และสองมาตรฐานอย่างเห็นได้ชัดนับตั้งแต่หลังการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 เป็นต้นมา ดังเช่น ความเห็นของ นายอุกฤษ  มงคลนาวิน ประธานคณะกรรมการอิสระว่าด้วยการส่งเสริมหลักนิติธรรมแห่งชาติ (คอ.นธ.) เห็นว่า แม้มีกฎหมายว่าด้วยการปล่อยตัวชั่วคราว แต่ในทางปฏิบัติไม่ได้รับการคุ้มครอง โดยเฉพาะในคดีการเมือง มักถูกกล่าวหาด้วยข้อหารุนแรงเกินกว่าความจริง ส่งผลต่อการใช้ดุลพินิจของศาลจึงเสนอให้ทบทวนแนวทางให้ยิดหลักความยุติธรรม ความเสมอภาค และสิทธิผู้ต้องหาในคดีอาญา
 
สอดคล้องกับความเห็นหลายหน่วยงาน ซึ่งไม่อาจเปลี่ยนแปลงแนวทางของศาลที่มีต่อคดีการเมือง โดยเฉพาะผู้ถูกกล่าวหาตามมาตรา 112 ประมวลกฎหมายอาญามักถูกละเมิดสิทธิในการประกันตัว หลายรายที่ยอมเลือกที่จะยอมรับสารภาพแบบถูกบีบบังคับ ย่อมไม่เป็นผลดีต่อภาพลักษณ์กระบวนการยุติธรรมของไทยเรา
 
ไม่ใช่เรื่องแปลกที่กลุ่มสมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการแต่งตั้ง และนักกการเมืองฝ่ายค้านส่วนหนึ่งจะคัดค้านการนิรโทษกรรมแบบหัวชนฝา เพราะพวกเขาได้ตำแหน่งการเมืองมาจากรัฐธรรมนูญที่มาจากการรัฐประหาร และเป็นส่วนหนึ่งที่ก่อให้เกิดวิกฤติการณ์การเมือง การคัดค้านของคนกลุ่มนี้จึงเป็นไปเพื่อรักาความเป็นเผด็จการ และความเป็นอภิสิทธิ์ชน
 
ข้อเสนอของคณะนิติราษฎร์ แนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการแห่งชาติ และอาจารย์อุกฤษ  มงคลนาวิน  เพื่อการตรากฎหมายนิรโทษกรรมนักโทษการเมือง จึงมึคุณค่า ความหมายที่รัฐบาลต้องนำมาพิจารณาเป็นวาระเร่งด่วนของชาติ ดำเนินการให้แล้วเสร็จโดยเร็วที่สุด เพื่อลดทอนความขัดแย้ง และสร้างความเป็นธรรมให้กับประชาชน
 
การที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์  ชินวัตร  ขาดความกล้าหาญทางการเมืองหวังแต่เพียงอยู่ในอำนาจต่อไป โดยเพิกเฉยต่อการนิรโทษกรรม เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงความล้าหลังทางการเมือง ย่อมทำให้ผู้รักประชาธิปไตยทั้งมวลสิ้นหวังต่อรัฐบาล ซึ่งหมายถึงจุดเริ่มต้นของบทอวสานของรัฐบาลยิ่งลักษณ์อย่างแน่นอน
 
 
 
สมยศ  พฤกษาเกษมสุข
4  กุมภาพันธ์  2556
 
 

บล็อกของ สมยศ พฤกษาเกษมสุข

สมยศ พฤกษาเกษมสุข
สมยศ  พฤกษาเกษมสุข  
สมยศ พฤกษาเกษมสุข
สมยศ พฤกษาเกษมสุข  
สมยศ พฤกษาเกษมสุข
สมยศ  พฤกษาเกษมสุข แปลบทความในThe  Economist  เรื่องของ ลักษมี  ซีกัล  (ร้อยเอกลักษมี) หมอ และนักต่อสู้เพื่อเอกราชของชาวอินเดีย ที่ได้ มรณกรรมเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม  (อายุ  97  ปี) 
สมยศ พฤกษาเกษมสุข
  "บรรดาคนเป็น  ที่มีชีวิตอยู่ได้แต่อาศัยเหตุการณ์ดังกล่าวสร้างชื่อเสียงให้กับตนเอง ไต่เต้าสู่ตำแหน่ง ยศถาบรรดาศักดิ์  ในที่สุดพวกเขาเป็นได้แค่ลิ่วล้อสถุลของระบบการเมืองแบบเก่าเท่านั้น"
สมยศ พฤกษาเกษมสุข
บทกวีที่หลุดรอดจากลูกกรงแดนตารางถึงเหยื่อมาตรา112ผู้จากไป
สมยศ พฤกษาเกษมสุข
บี.เจ.ลี (B.J.LEE) ถอดความภาษาไทยโดย สมยศ พฤกษาเกษมสุข แปลจากนิตยสาร Newsweek 6 สิงหาคม, 2012   
สมยศ พฤกษาเกษมสุข
สมยศ พฤกษาเกษมสุข    
สมยศ พฤกษาเกษมสุข
เมื่อแกนนำคนเสื้อแดง บรรณาธิการนิตยสาร Red Powerและนักโทษการเมือง ม.112 มองทิศทางเศรษฐกิจประเทศไทยผ่านลูกกรงของเรือนจำพิเศษกรุงเทพ
สมยศ พฤกษาเกษมสุข
สมยศ พฤกษาเกษมสุข เล่าถึงชีวิตในเรือนจำของเพื่อนร่วมชะตากรรม สุชาติ นาคบางไซ  แกนนำ นปช.รุ่น 2 นักโทษการเมืองคดี ม.112 กำลังรออิสรภาพที่ดูเหมือนว่ามันกำลังใกล้ที่จะมาถึง