Skip to main content


สมยศ พฤกษาเกษมสุข
13  พฤศจิกายน  2556

 

 

เป็นที่น่ายินดีสำหรับพรรคประชาธิปัตย์ที่ประสบผลสำเร็จในการนำมวลชนออกมาชุมนุมต่อต้านนิรโทษกรรมเหมาเข่ง จนกลายเป็นกระแสคลื่นมหาชนอันยิ่งใหญ่ จนพรรคเพื่อไทยต้องถอนร่าง พรบ.นิรโทษกรรมเหมาเข่งทั้งหมดออกจากสภาผู้แทนราษฎรพร้อมกับยืนยันว่าจะไม่มีการดำเนินการในเรื่องนี้อีกต่อไป
มีเหตุผลหลายแง่มุมที่คนไทยต่อต้านการนิรโทษกรรมเหมาเข่ง อาทิเช่น หนึ่ง...ทำให้ผู้สั่งฆ่าคนเสื่อแดง 99 ศพ และแกนนำเสื้อเหลืองกับเสื้อแดงหลุดพ้นจากการถูกดำเนินคดี  สอง...เป็นการนิรโทษกรรมในคดีทุจริตคอรัปชั่นให้กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร   สาม...พรรคเพื่อไทยอ้างว่าต้องนิรโทษกรรมให้กับทุกฝ่าย เลือกปฏิบัติไม่ได้แต่ในความเป็นจริงได้ยกเว้นคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ หรือมาตรา 112 ซึ่งมีโทษน้อยกว่าคดีฆ่าคนตาย 99 ศพ หรือการทำลายทรัพย์สิน เป็นการเลือกปฏิบัติขัดกับหลักความเสมอภาคอย่างชัดเจน

แต่เหตุผลหลักประการเดียวที่พรรคประชาธิปัตย์นำมาใช้เป็นประเด็นปลุกระดมมวลชนก็คือการล้างผิดในคดีทุจริตของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นการตีตราและผลิตซ้ำความคิดในสังคมไทยให้เชื่อกันว่า คนโกงคือ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เท่านั้น

พรรคเพื่อไทยโต้แย้งว่าคดีทุจริตของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เกิดจากคณะรัฐประหาร ย่อไม่เป็นธรรมและไม่ใช่กระบวนการยุติธรรมตามปกติ จึงเป็นเพียงเครื่องมือทางการเมือง ดำเนินคดีแบบสุกเอา เผากิน ตามกระแสการเมือง

ความตื่นตัวของประชาชนต่อต้านการทุจริตเป็นเรื่องน่ายินดียิ่ง การออกมารวมตัวกันของคนชั้นกลางในย่านธุรกิจสีลม คัดค้านนิรโทษกรรมเหมาเข่ง เป็นการแสดงออกของการมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย เพียงแต่กระแสคลื่นมหาชนครั้งนี้ถูกชักนำด้วยความจริงบางด้านเท่านั้น และถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือโค่นล้มรัฐบาลอีกด้วย

การชุมนุมเป่านกหวีดที่ถนนสีลม และการประท้วงขยายวงกว้าง แม้แต่กลุ่มผู้พิพากษายังแสดงจุดยืนคัดค้านการนิรโทษกรรมเหมาเข่งไปกับเขาด้วย ปรากฏการณ์นี้เป็นเรื่องน่าทึ่ง และแปลกประหลาดเป็นอย่างยิ่ง กล่าวคือเมื่อทหารก่อการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 เป็นการทำลายประชาธิปไตย ทำลายนิติรัฐยับเยิน แต่กลุ่มคนเหล่านี้กลับแสดงความยินดีสนับสนุนการรัฐประหาร ถึงแม้ว่าการรัฐประหารมีโทษถึงประหารชีวิต แต่กระบวนการยุติธรรมทั้งหลายต่างยอรับ ไม่โผล่หัวออกมาเป่านกหวีด หรือชุมนุมประท้วง  ครั้นเมื่อมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ 2550 ผู้ยกร่างซึ่งมาจากคณะรัฐประหาร ทำการนิรโทษกรรมให้กับคณะรัฐประหาร โดยบรรจุไว้ในมาตรา 309 รัฐธรรมนูญ 2550 น่าแปลกใจหรือไม่ ?  การลบล้างความผิดให้กับคณะรัฐประหาร ไม่มีคุณหมอ  นักธุรกิจ  หรือคณาจารย์มหาวิทยาลับ ออกมาเป่านกหวีด ไม่มีใครหน้าไหนออกมาต่อสู้แบบเทหมดหน้าตักไม่ชนะไม่เลิก

หลังรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 มีการเอางบประมาณแผ่นดินจำนวน 1,600 ล้านบาทนำมาแจกจ่ายให้กับทหารผู้ก่อการรัฐประหาร แต่ทว่าพฤติกรรมแบบนี้ไม่ถูกคัดค้าน หรือถูกต่อต้านใด ๆ เลยจากพรรคประชาธิปัตย์  ส่วนอธิการบดีผู้ทรงเกียรติทั้งหลายกลังนิ่งเฉย ปล่อยให้รัฐบาลทหารปู้ยี้ ปู้ยำงบประมาณรัฐตามใจชอบ

ในความเป็นจริงการรัฐประหารเป็นการปล้นบ้านกินเมือง มันเลวร้ายสาริยำยิ่งกว่าการทุจริตคอรัปชั่นทุกรูปแบบเสียอีก แต่ทำไมพวกดอกเตอร์มหาวิทยาลับกลับพากันสงบปากสงบคำ ยิ่งไปกว่านี้บางคนยังเข้าไปรับตำแหน่ง รับประทานเงินเดือนจากคณะรัฐประหารอีกด้วย แม้แต่ผู้พิพากษาอันทรงเกียรติบางท่านยังไปสมรู้ร่วมคิดวางแผนปล้อนบ้านกินเมืองกับเขาด้วยซ้ำไป

เรากำลังต่อต้านการทุจริตคอรัปชั่นของนักการเมืองคนหนึ่ง เพื่อจะได้ร่วมกันปล้นบ้านกินเมืองกันอย่างโปร่งใส นี่นะหรือคือการดำรงไว้ซึ่งหลักธรรมาภิบาลที่ถูกต้อง ?

แต่ทั้งนี้มองในด้านพรรคเพื่อไทยอาจกล่าวได้ว่าเป็นความผิดพลาดที่ได้เป็นรัฐบาลแล้ว ไม่ทำการลบล้างผลพวงการรัฐประหาร ไม่ทำความจริงของการรัฐประหาร และการเข่นฆ่าคนเสื้อแดงให้ปรากฏ ไม่ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมให้ดีขึ้น ไม่แก้ไขมาตรา 112 ให้เป็นประชาธิปไตย ฯลฯ  การปรองดองแบบหลับหูหลับตากับพวกอำมาตย์ได้ย้อนกลับมาทำลายพรรคเพื่อไทยในที่สุด

อย่างไรก็ตาม ความตื่นตัวของประชาชนไม่ว่าจะเป็นพวกเสื้อเหลือง หรือเสื้อแดง แม้ว่าเป็นความพิลึกพิลั่นของการเมืองแบบเลือกข้าง แต่เป็นพัฒนาการที่ดีมากยิ่งขึ้นในระยะยาว เพราะนี่เป็นประชาธิปไตยทางตรง ย่อมดีกว่าการเป็นไพร่ฟ้าหน้าใสที่เฉื่อยชาทางการเมือง

และแล้วการชุมนุมคัดค้าน พ.ร.บ.นิรโทษกรรมได้แปรเปลี่ยนเป็นการโค่นล้มรัฐบาลยิ่งลักษณ์  การต่อต้านนิรโทษกรรมเหมาเข่งเป็นกระดานหกไปสู่การโค่นล้มรัฐบาลยิ่งลักษณ์ เป็นเกมการเมืองของวงจรอุบาทว์อึกครั้งโดยยังไม่รู้ว่าภายหลังการโค่นล้มรัฐบาลไปแล้วคนไทยจะได้อะไรกันบ้าง ? นอกจากความฉิบหายที่รออยู่เบื้องหน้า

 


 

บล็อกของ สมยศ พฤกษาเกษมสุข

สมยศ พฤกษาเกษมสุข
สมยศ  พฤกษาเกษมสุข  
สมยศ พฤกษาเกษมสุข
สมยศ พฤกษาเกษมสุข  
สมยศ พฤกษาเกษมสุข
สมยศ  พฤกษาเกษมสุข แปลบทความในThe  Economist  เรื่องของ ลักษมี  ซีกัล  (ร้อยเอกลักษมี) หมอ และนักต่อสู้เพื่อเอกราชของชาวอินเดีย ที่ได้ มรณกรรมเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม  (อายุ  97  ปี) 
สมยศ พฤกษาเกษมสุข
  "บรรดาคนเป็น  ที่มีชีวิตอยู่ได้แต่อาศัยเหตุการณ์ดังกล่าวสร้างชื่อเสียงให้กับตนเอง ไต่เต้าสู่ตำแหน่ง ยศถาบรรดาศักดิ์  ในที่สุดพวกเขาเป็นได้แค่ลิ่วล้อสถุลของระบบการเมืองแบบเก่าเท่านั้น"
สมยศ พฤกษาเกษมสุข
บทกวีที่หลุดรอดจากลูกกรงแดนตารางถึงเหยื่อมาตรา112ผู้จากไป
สมยศ พฤกษาเกษมสุข
บี.เจ.ลี (B.J.LEE) ถอดความภาษาไทยโดย สมยศ พฤกษาเกษมสุข แปลจากนิตยสาร Newsweek 6 สิงหาคม, 2012   
สมยศ พฤกษาเกษมสุข
สมยศ พฤกษาเกษมสุข    
สมยศ พฤกษาเกษมสุข
เมื่อแกนนำคนเสื้อแดง บรรณาธิการนิตยสาร Red Powerและนักโทษการเมือง ม.112 มองทิศทางเศรษฐกิจประเทศไทยผ่านลูกกรงของเรือนจำพิเศษกรุงเทพ
สมยศ พฤกษาเกษมสุข
สมยศ พฤกษาเกษมสุข เล่าถึงชีวิตในเรือนจำของเพื่อนร่วมชะตากรรม สุชาติ นาคบางไซ  แกนนำ นปช.รุ่น 2 นักโทษการเมืองคดี ม.112 กำลังรออิสรภาพที่ดูเหมือนว่ามันกำลังใกล้ที่จะมาถึง