Skip to main content


คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) โดยมีนายสุเทพ  เทือกสุบรรณ  เป็นแกนนำ ประกาศออกมาว่า “เมื่อระบอบทักษิณหมดอำนาจก็จะกลับคืนสู่ประชาชน ตามบทบัญญัติมาตรา 3 จากนั้นประชาชนจะได้เลือกตัวแทนจากสาขาอาชีพมาเป็นสภาประชาชนที่กำหนดนโยบาย ทำหน้าที่สภานิติบัญญัติ เพื่อการเปลี่ยนแปลงตรากฎหมายเลือกตั้ง ตรากฎหมายต้านทุจริต  สภาประชาชนเป็นผู้เลือกคนดีที่ไม่ใช่คนของพรรคการเมืองเป็นนายกฯ และ ครม. ชั่วคราวตามบทบัญญัติมาตรา 7”

นายสุเทพยังกล่าวอีกว่า สำหรับคนที่จะมาเป็นสภาประชาชนต้องไม่มีนักการเมือง และเมื่อร่างกติกาแล้วห้ามลงเลือกตั้งไม่ต่ำกว่า 5 ปี สภาประชาชนมีทั้งหมด 400 คน โดย กปปส. เป็นผู้แต่งตั้ง 100 คน อีก 300 คน มาจากการคัดเลือกจากลุ่มวิชาชีพต่าง ๆ

แนวคิดสภาประชาชนในประเทศไทยมีมานานแล้วเมื่อ 20 ปี  ก่อนวันที่ 31  พฤษภาคม  2532 นายประเสริฐ  ทรัพย์สุนทร เลขาธิการสภาปฏิวัติแห่งชาติ ได้มีคำสั่งเรื่องการโอนอำนาจจากรัฐสภามาสู่สภาปฏิวัติแห่งชาติ โดยให้รัฐบาลชาติชาย  ชุณหะวัณ และสภาผู้แทนราษฎรหยุดการปฏิบัติหน้าที่ทันที  แนวคิดนี้นักศึกษารามคำแหงคนหนึ่งชื่อ ธนาวุฒิ  คลิ้งเชื้อ ชาวนครศรีธรรมราช ซึ่งยึดมั่นอุดมการณ์ที่ว่า “โค่นล้มเผด็จการรัฐสภา สถาปนารัฐสภาของประชาชน” ถึงกับเผาตัวเองตายที่หน้ามหาวิทยาลัยรามคำแห่ง เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2533

ทฤษฎีมาร์กซิสของนายคาร์ล มาร์กซ์ วิจารณ์ระบบเศรษฐกิจทุนนิยมว่าเป็นการแสวงหากำไรจากการกดขี่ ขูดรีดกรรมกร ชาวนา จนมั่งคั่งจากการแข่งขันเสรีสู่การผูกขาด ทำให้มีอิทธิพลทางการเมืองมาก ทั้งในรูปแบบสนับสนุนนักการเมือง หรือจัดตั้งพรรคการเมือง ตัวแทนชนชั้นนายทุน เข้าไปเป็นสมาชิกรัฐสภา จัดตั้งรัฐบาลซึ่งเป็นตัวแทนพวกชนชั้นนายทุน ออกกฎหมายมากดขี่ขูดรีดกรรมการ ชาวนา ซึ่งเป็นชนชั้นกรรมาชีพไม่มีโอกาสเลยที่จะเข้าไปทำหน้าที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ ส่วนการเลือกตั้งนั้นเป็นเพียงรูปแบบหนึ่งในระบบประชาธิปไตย ที่เอื้อประโยชน์ให้กับผู้มีความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ

ในหนังสือรัฐกับการปฏิวัติของเลนิน เห็นว่า รัฐเกิดขึ้นท่ามกลางการต่อสู้ทางชนชั้น รัฐทุนนิยมไม่ได้หมายถึงรัฐบาลเท่านั้น แต่หมายถึงโครงสร้างทางสังคมทั้งหมด ให้การทำลายการกดขี่ขูดรีด และการเอารัดเอาเปรียบ ให้หมดไปจะต้องทำการปฏิวัติสังคม โค่นล้มระบบทุนนิยม แล้วสถาปนารัฐสังคมนิยมเข้าไปแทนที่เป็นการสร้างสังคมใหม่ที่งดงาม ประชาชนกินดีอยู่ดี มีสิทธิเสรีภาพและความเสมอภาคเท่าเทียม

แนวความคิดสภาประชาชนที่มาจากสาขาอาชีพต่าง ๆ จึงเป็นองค์กรสำคัญในเบื้องต้นที่จะมีตัวแทนชนชั้นกรรมาชีพ เพื่อจัดตั้งรัฐเผด็จการชนชั้นกรรมารชีพเข้ามากวาดล้างพวกทุนนิยมให้หมดไป สังคมจึงมีความยุติธรรม ความเสมอภาคเท่าเทียมกันอันเป็นขั้นตอนหนึ่งของสังคมคอมมิวนิสต์ที่ปราศจากชนชั้นในที่สุด

แนวคิดสภาประชาชนเป็นตัวแทนจากสาขาอาชีพต่าง ๆ มีข้อดีในแง่ที่เป็นตัวแทนผลประโยชน์ในด้านวิชาชีพต่าง ๆ อาทิเช่น ในด้านกรรมกร หรือในด้านเกษตรกร เพราะสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้งไม่มีตัวแทนของประชาชนสาขาอาชีพต่าง ๆ ได้เลย แต่ปัญหาสำคัญของสภาประชาชนสาขาอาชีพต่าง ๆ ตามที่นายสุเทพ และคณะกำลังเรียกร้องอยู่นั้นยังไม่มีแบบแผนชัดเจน เช่น จะมีกระบวนการได้มาซึ่งตัวแทนสาขาอาชีพต่าง ๆ ในสภาประชาชนได้อย่างไร ? จะใช้การเลือกตั้งแบบไหน ? จะให้มีตัวแทนสาขาอาชีพในสัดส่วนเท่าใด เช่น มีตัวแทนกรรมกรกี่คน ?  ตัวแทนนายทุนกี่คน ?  ตัวแทนชาวนากี่คน ? ฯลฯ

ความยุ่งยากเหล่านี้ยังเต็มไปด้วยความยุ่งเหยิงในความเป็นจริง กล่าวคือ จะจัดวางตัวแทนกลุ่มทุนผูกขาดกับทุนขนาดกลาง และเล็กอย่างไร ในหมู่เกษตรกรจะจัดวางให้ชาวนา ชาวไร่ หรือชาวสวนยางกันในสัดส่วนเท่าใด หรือในหมู่กรรมกรจะให้มีตัวแทนพนักงานรัฐวิสาหกิจกี่คน พนักงานคอปกขาว และคอปกน้ำเงินกี่คน แล้วคนงานรับเหมาช่วง หรือคนงานชั่วคราว หรือคนงานต่างด้าวกี่คน เพราะแต่ละกลุ่มมีผลประโยชน์แตกต่างกันมาก

ดังนั้นหากปรารถนาให้สามารถสะท้อนผลประโยชน์ทางชนชั้นของประชาชนสาขาอาชีพต่าง ๆ และมีประชาธิปไตยโดยสมบูรณ์นั้น คณะ กปปส. ควรที่จะคิดค้นและสร้างรูปแบบใหม่ขึ้นอีกมากมาย รวมทั้งการยกเลิก พรบ.เลือกตั้ง และการสรรหาคณะกรรมการเลือกตังจึ้นมาใหม่ทั้งหมด เพื่อให้ได้สภาประชาชนที่แท้จริง ไม่ใช่การประท้วงกันแบบส่งเดช โดยยังไม่มีแบบแผนรูปธรรมที่ชัดเจน

ตัวอย่างของการมีส่วนร่วมของตัวแทนสาขาอาชีพเพื่อกำหนดนโยบายรัฐ ปรากฏให้เห็นเป็นรูปธรรม  ในกระบวนการแรงงานสัมพันธ์ที่เรียกว่า “ไตรภาคี” อันประกอบไปด้วยตัวแทนแรงงาน  นายจ้าง  และรัฐบาล ดังตัวอย่างเช่น  คณะกรรมการค่าจ้าง  คณะกรรมการประกันสังคม  ผู้พิพากษาสมทบในศาลแรงงาน ฯ แต่ในความเป็นจริง แม้จัดให้มีการเลือกตั้งตัวแทนฝ่ายแรงงานก็ปรากฏว่าไม่ได้มีตัวแทนฝ่ายแรงงานที่แม้จริงเลย เพราะการเลือกตั้งจากพวกสหภาพแรงงานเต็มไปด้วยการทุจริตคอรัปชั่นกันมโหฬาร รวมทั้งอิทธิพลฝ่ายนายจ้างนั้นสามารถกำหนดเสียงของกรรมกรในสถานประกอบการได้เป็นอย่างดี  ด้วยเหตุนี้หากสภาประชาชนจัดตั้งขึ้นมาจริง ๆ ก็จะได้ตัวแทนสาขาอาชีพจอมปลอมเป็นเสียงส่วนใหญ่ในสภาประชาชน

แต่ถ้าหากใช้วิธีการแต่งตั้งกันขึ้นมาอีกไม่ว่าจะโดยคณะบุคคลใดก็ตามก็เชื่อได้เลยว่า คนดีของสภาประชาชนตามแบบฉบับของสุเทพ เทือกสุบรรณ จะเหมือนกับสภานิติบัญญัติแห่งชาติที่พวกเผด็จการทหาร เคยแต่งตั้งกันเข้ามาในปี 2534 หรือในปี 2549 ซึ่งพวกสมาชิกสภานิติบัญญัติเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นข้าทาสบริวารเผด็จการทั้งสิ้น ไม่มีฝ่ายค้าน หลับหูหลับตาออกกฎหมายต่าง ๆ ตามใบสั่งของเผด็จการเท่านั้น  สภาประชาชนแบบนี้เลวร้ายระยำสุนัขยิ่งกว่าสภาผู้แทนที่มาจากการเลือกตั้งเสียอีก

เฉพาะแกนนำอย่างนายสุเทพ  เทือกสุบรรณ  ซึ่งเป็นนักการเมืองมากว่า 35 ปี เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีมาหลายครั้ง เคยมีเสียงข้างมากในรัฐสภามาก่อน แต่นายสุเทพ  เทือกสุบรรณ ก็ไม่เคยพูดถึงสภาประชาชนมาก่อน  ไม่ได้มีความตั้งใจแต่ประการใดที่จะทำการปฏิรูปการเมืองให้ดีขึ้น  ในทางตรงกันข้ามหากพรรคประชาธิปัตย์ขึ้นมาบริหารประเทศเมื่อใด ประเทศไทยก็บรรลัยเมื่อนั้น  อย่างเช่น  ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำอย่างรุนแรงในปี 2540 ก็เป็นผลมาจากนโยบายเสรีทางการเงิน หรือ BIBF โดยรัฐบาลนายชวน  หลีกภัย  หรือการนำที่ดิน สปก.4-01 มาแจกให้พรรคพวกก็เกิดขึ้นในสมัยที่นายสุเทพ  เทือกสุบรรณ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรงเกษตรฯ  กระทั่งล่าสุดเกิดความรุนแรงถึงกับเข่นฆ่ากันตายไปกว่า 100 ศพ ในปี 2553  ก็เกิดขึ้นขณะที่นายสุเทพ  เทือกสุบรรณ เป็นผู้อำนวยการศูนย์แก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.)

พรรคการเมืองแบบนี้อยู่มา 60 ปี ยังไม่เคยมีหลักฐานว่าได้ทำประโยชน์อะไรให้กับประเทศชาติเป็นชิ้นเป็นอัน ไม่เคยปรากฏว่าจะปฏิรูป หรือปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น  แม้แต่จะปฏิรูปพรรคการเมืองของตนเองแท้ ๆ ยังทำไม่ได้ ดังนั้นข้อเสนอเรื่องสภาประชาชนและการปฏิรูปจึงเป็นเพียงข้ออ้างเพื่อปูทางไปสูการแย่งชิงอำนาจ บนซากปลักหักพังและความฉิบหายสำหรับคนไทยทุกคนในปี 2557

 

บล็อกของ สมยศ พฤกษาเกษมสุข

สมยศ พฤกษาเกษมสุข
สมยศ  พฤกษาเกษมสุข  
สมยศ พฤกษาเกษมสุข
สมยศ พฤกษาเกษมสุข  
สมยศ พฤกษาเกษมสุข
สมยศ  พฤกษาเกษมสุข แปลบทความในThe  Economist  เรื่องของ ลักษมี  ซีกัล  (ร้อยเอกลักษมี) หมอ และนักต่อสู้เพื่อเอกราชของชาวอินเดีย ที่ได้ มรณกรรมเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม  (อายุ  97  ปี) 
สมยศ พฤกษาเกษมสุข
  "บรรดาคนเป็น  ที่มีชีวิตอยู่ได้แต่อาศัยเหตุการณ์ดังกล่าวสร้างชื่อเสียงให้กับตนเอง ไต่เต้าสู่ตำแหน่ง ยศถาบรรดาศักดิ์  ในที่สุดพวกเขาเป็นได้แค่ลิ่วล้อสถุลของระบบการเมืองแบบเก่าเท่านั้น"
สมยศ พฤกษาเกษมสุข
บทกวีที่หลุดรอดจากลูกกรงแดนตารางถึงเหยื่อมาตรา112ผู้จากไป
สมยศ พฤกษาเกษมสุข
บี.เจ.ลี (B.J.LEE) ถอดความภาษาไทยโดย สมยศ พฤกษาเกษมสุข แปลจากนิตยสาร Newsweek 6 สิงหาคม, 2012   
สมยศ พฤกษาเกษมสุข
สมยศ พฤกษาเกษมสุข    
สมยศ พฤกษาเกษมสุข
เมื่อแกนนำคนเสื้อแดง บรรณาธิการนิตยสาร Red Powerและนักโทษการเมือง ม.112 มองทิศทางเศรษฐกิจประเทศไทยผ่านลูกกรงของเรือนจำพิเศษกรุงเทพ
สมยศ พฤกษาเกษมสุข
สมยศ พฤกษาเกษมสุข เล่าถึงชีวิตในเรือนจำของเพื่อนร่วมชะตากรรม สุชาติ นาคบางไซ  แกนนำ นปช.รุ่น 2 นักโทษการเมืองคดี ม.112 กำลังรออิสรภาพที่ดูเหมือนว่ามันกำลังใกล้ที่จะมาถึง