Skip to main content

เมื่อกฎหมายเข้ามาใกล้ชีวิตคนธรรมดาอย่างเรามากขึ้น จึงเป็นการยากที่จะไม่สนใจอีกต่อไป   พอเกิดปัญหาขึ้นมากับตัวเอง ทางหนึ่งที่คนส่วนใหญ่พอจะทำได้ คือ ปรึกษากับคนใกล้ตัวที่ร่ำเรียนมาทางกฎหมาย เพราะจะให้ไปปรึกษากับทนาย หรือนักกฎหมายที่ไหนก็ยังไม่กล้า เพราะกลัวว่าจะต้องเสียค่าใช้จ่ายมากมาย ไหนความลับส่วนตัวจะแพร่งพรายออกไปให้คนอื่นล่วงรู้อีก พอไปค้นคว้าหาอ่านเองก็ไม่รู้เรื่อง

ดงกฎหมาย จึงขอเสนอบริการ "คลินิกกฎหมาย" เพื่อให้คำปรึกษากับปัญหาทางกฎหมายที่อาจเกิดขึ้นได้ในชีวิตประจำวันของทุกท่าน   คลินิกกฎหมายนี้จะมีผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายในสาขาต่างๆ เข้ามาวางแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นให้เจอทางออก   เพราะหลายเรื่องที่มาบอกกล่าวเล่ากัน แก้ได้ด้วยกฎหมายง่ายๆ แต่ในตอนทีเกิดเรื่อง เจ้าของปัญหาไม่รู้ว่าจะหันไปปรึกษาใคร   ซ้ำร้ายเวลาไปค้นคว้าหากฎหมายอ่านก็ไม่รู้จะเริ่มจากตรงไหน ไม่รู้ว่าปัญหาที่เกิดขึ้นมีปมสำคัญอะไร ใช้กฎหมายเรื่องไหนเข้ามาปรับใช้ และจะให้ไปหาใครใช้ช่องทางไหนก็ไม่อาจรู้ได้

ขอพี่น้องทุกท่านสบายใจได้ครับ ต่อไปจะมีเรื่องต่างๆมาเล่าสู่กันฟัง หากพลาดพลั้งเกิดปัญหาเหมือนกับที่เล่ามาจะได้แก้ปัญหาได้ทันท่วงที   เนื่องจากในช่วงแรกนี้ยังไม่มีใครส่งเรื่องเข้ามาปรึกษาโดยตรง   ก็คงต้องเอาเรื่องราวเก่าก่อนมาทยอยเล่าให้ฟังเป็นตอนๆ ในทุกคืนวันศุกร์นะครับ

นอกจากปัญหากฎหมายในชีวิตประจำวันแล้ว   เหตุบ้านการเมืองเรื่องสังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม ก็เกี่ยวข้องกับกฎหมายมากขึ้นเรื่อยๆ ดังปรากฏเป็นข่าวในหน้าเว็บไซต์และรายการข่าวโทรทัศน์วิทยุทั้งหลาย ว่าตั้งแต่การชุมนุมทางการเมือง เรื่องปากท้อง นักร้อง นักดนตรี ทีวี โทรทัศน์ อินเตอร์เน็ต ธุรกิจ ชีวิตคนดัง ไปจนกระทั่งเรื่องเพศ ก็มีเหตุให้ข้องแวะกับประเด็นกฎหมายอยู่ตลอดเวลา

ดงกฎหมาย เลยเปิดช่วงนินทากฎหมายชื่อว่า "โอ้ยยย...กฎหมายง่ายๆหน่อยได้ไหมนะ" ซึ่งจะเป็นการนำเอาปัญหาของคนทั้งสังคมมาลองชำแหละด้วยมุมมองทางกฎหมาย ด้วยภาษาที่ง่ายที่สุดสำหรับคนที่ไม่เคยเรียนมาทางนี้   เพื่อสร้างทางเลือกในการตีความกฎหมายปรับใช้ตอบปัญหาใหญ่ๆที่เกิดขึ้นในสังคม   เนื่องจากในอดีตนักกฎหมายได้ผูกขาดความรู้ เป็นผู้ทรงภูมิยึดครองอำนาจในการชี้เป็นชี้ตายให้กับสังคมมานาน เพราะอาศัยว่าคนทั่วไปไม่เข้าใจกฎหมาย จะเถียงก็สู้ไม่ได้ เพราะเจอนักกฎหมายปาชื่อ "หลักกฎหมาย" อะไรใส่มาก็ไม่รู้ว่าจะตอบโต้อย่างไร

ต่อไปนี้ญาติสนิทมิตรสหายทั้งหลาย จะได้ลองฝึกใช้กฎหมายกันไว้ เพื่อว่าวันหนึ่งเกิดเรื่องอะไรที่อยากเถียงสู้ จะได้รู้ว่าที่นักกฎหมายพูดมา มันคืออะไร เชื่อได้แค่ไหน ตีความตามอำเภอใจ ไม่ยึดหลักวิชาอย่างเคร่งครัดรึเปล่า   แต่ให้ผ่อนคลายได้ครับ เราจะเอาหลักกฎหมายมาอธิบายด้วยภาษาที่ง่าย และมีตัวอย่างประกอบความเข้าใจด้วยครับ  รับรองว่าทุกวันอังคารท่านจะได้พบกับความสำราญใจไปกับหลักกฎหมายง่ายๆได้เลยครับ

เอาล่ะครับ คงได้เวลาบุกป่าฝ่าดง เพื่อถากถางดงกฎหมายรกชักที่เต็มไปด้วยอักษรชวนมึนงงจนหลงทางกันมาหลายสิบปี ให้มีทางสว่างกระจ่างใจมนแล้วล่ะครับ

ช่วงแรกที่เปิดทำการ ก็ขอวานส่งปัญหาที่อยากสอบถาม และหลักกฎหมายที่อยากรู้ เข้ามาให้ทางเราดูเพื่อทยอยตอบไปเรื่อยๆนะครับ

ช่องทางติดต่อสื่อสาร คือ คอมเม้นต์ด้านล่างบทความนี้ หรือบทความต่อๆไปครับ

ขอตะโกนส่งท้ายเพื่อเรียกขวัญกำลังใจด้วยคำว่า   "ราษฎร์ พิชิต วาทกรรม!!!"     

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
ตลอดระยะเวลาแห่งความขัดแย้งทางการเมือง ได้มีกลุ่มต่างๆ เสนอทางออกของปัญหาด้วยการใช้กฎหมายมากมายหลายมาตรา   แต่มาตราหนึ่งซึ่งเป็นข้อถกเถียงมาก คือ การใช้รัฐธรรมนูญ ม.7 ตั้งแต่เมื่อคราวที่ยังใช้รัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 เรื่อยมาจนถึง ฉบับปี 2550   คนจำนวนไม่น้อยคงสงสัยมากว่า มาตรา 7
ทศพล ทรรศนพรรณ
เอาล่ะครับ พ่อแม่พี่น้อง เรื่องถัดไปนี่คงเป็นความสนใจของเพื่อนพ้องหลายๆพื้นที่นะครับ ผมได้รับแจ้งเข้ามาว่า  เจ้าพนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่หนึ่งมีการเพิกเฉย ละเลย ดูแลปัญหาความเดือดร้อนของคนในพื้นที่ แถมยังมีเรื่องราวกินสินบาทคาดสินบนทำให้ชาวบ้านจนปัญญาจะหาทางแก้ไขเข้าไปอีก&n
ทศพล ทรรศนพรรณ
พลังเหนือมนุษย์ ที่จะพูดถึงในครั้งนี้ประกอบไปด้วยสองส่วน คือ พลังธรรมชาติ และพลังลี้ลับ   ซึ่งกฎหมายก็ได้พูดถึงสองสิ่งนี้อยู่ไม่น้อยทีเดียว
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้เป็นสารพัดปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้ใช้แรงงานในยามที่เจอกับภาวะเศรษฐกิจตกสะเก็ด เราคงได้ยินเสียงผู้ประกอบการบ่นให้ฟังว่า ยอดสั่งซื้อตก กำไรหด ต้องลดกำลังการผลิตเพื่อให้บริษัทอยู่รอดกันใช่ไหมครับ  แต่ทราบไหมครับว่า ทุกครั้งที่บอกว่าขาดทุนและต้องลดต้นทุนหรือกำลังการผลิตนั้น มันหมายถึงการป
ทศพล ทรรศนพรรณ
             กฎหมายสมัยใหม่ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้ มีสิ่งที่ต้องเข้าใจร่วมกันว่า ได้ให้อำนาจเด็ดขาดแก่รัฐในการบีบบังคับประชาชนในรัฐ และลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืนกฎหมายโดยการใช้ความรุนแรงนับตั้งแต่ การประหารชีวิต การจำคุก การควบคุมตัว ริบทรัพย์ ในระบบกฎหมายอาญา  ไ
ทศพล ทรรศนพรรณ
ทุกท่านคงทราบกันแล้วนะครับว่าปัจจุบันกฎหมายไทยเกี่ยวกับเรื่องข่มขืนได้มีการปรับปรุงแก้ไขไปให้ทันกับสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นจริง เพราะมิใช่เพียง
ทศพล ทรรศนพรรณ
คงมีหลายคนสงสัยว่าทำไมนักกฎหมายมักย้ำเสมอว่าปัญหาทางกฎหมายต้องตอบในลักษณะ “หนึ่งคำถาม หนึ่งคำตอบ”    กล่าวคือ ในปัญหาเรื่องนั้นจะต้องมีคำชี้ขาดขององค์กรตุลาการหรือองค์กรวินิจฉัยชี้ขาดที่ชัดเจนแน่นอนเพียงหนึ่งเดียว   ห้ามมีคำตอบแตกต่างหลากหลาย   เช่น  
ทศพล ทรรศนพรรณ
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งกับผู้ใช้รถใช้ถนนทั้งในเมืองและต่างจังหวัด เนื่องจากในบางเส้นทางจะมีด่านตรวจของเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งเราก็ไม่แน่ใจว่าจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไรเมื่อถูกกักตัวหรือขอตัวค้นรถตอนถึงด่าน   ทั้งยังสงสัยกับพฤติกรรมของเจ้าหน้าที่ตรงด่านว่าใช่ตำรวจหรือไม่ มีอำนาจหน้าที่อะไ
ทศพล ทรรศนพรรณ
       หลายครั้งที่เราสงสัยกันว่าทำไมเรื่องที่เค้าเถียงกันแทบเป็นแทบตายไม่มีคำตอบที่ชัดเจนสักที ตำรวจก็บอกว่าต้องทำตามกฎหมายข้อนี้ นักกฎหมายก็อ้างว่าไม่ได้ต้องดูกฎหมายอีกฉบับด้วย แล้วพอไปออกรายการทีวีเถียงกันก็ยังไม่ค่อยจะรู้เรื่อง เพราะปัญหาเดียวกันไหงมีกฎหมายมาเกี่ยวข้องต้อง
ทศพล ทรรศนพรรณ
ปัจจุบันมีคนจำนวนมากเข้าไปทำงานตามร้านอาหารหรือสถานบริการต่างๆมากขึ้นกว่าแต่ก่อน ตามจำนวนร้านรวงที่ผุดขึ้นมาเป็นดอกเห็ด จุดไหนมีคนทำงานหรือเรียนหนังสือเยอะๆก็จะมีร้านตั้งมาดักไว้เต็มไปหมด ก็มีคนพูดไว้เยอะว่าร้านอาหารที่ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นแหล่งมั่วสุมของนักศึกษาหรือว่าคนทำงานในวัยหนุ่มสาว&
ทศพล ทรรศนพรรณ
ตอนนี้เราจะมาดูกันนะครับว่า ทำไมเมื่อเกิดความขัดแย้งขึ้นมาในสังคม เราจึงต้องใช้กฎหมายมายุติความขัดแย้ง   เหตุผลของเรื่องนี้ก็ต่อมาจากตอนที่แล้วซึ่งเราบอกว่า กฎหมาย คือ กติกา ที่สังคมกำหนดขึ้นมาร่วมกัน เพื่อชี้ว่าเมื่อเกิดเหตุการณ์ต่างๆขึ้น แล้วตกลงกันไม่ได้ จะ “ยุติ” ความขัดแย้งอย่างไรใ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องที่ผมจะเอามาเล่าสู่กันฟังเป็นความเดือดร้อนแสนสาหัสของน้องสองคนซึ่งได้รับผลกระทบจากการประกาศภาวะฉุกเฉิน เคอร์ฟิว ในช่วงที่มีการปราบปรามและสลายการชุมนุม   ซึ่งมันเกี่ยวพันกับชีวิตคนธรรมดาอย่างเราๆท่านๆมากขึ้น เพราะสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2