Skip to main content

เรื่องที่ผมจะเอามาเล่าสู่กันฟังเป็นความเดือดร้อนแสนสาหัสของน้องสองคนซึ่งได้รับผลกระทบจากการประกาศภาวะฉุกเฉิน เคอร์ฟิว ในช่วงที่มีการปราบปรามและสลายการชุมนุม   ซึ่งมันเกี่ยวพันกับชีวิตคนธรรมดาอย่างเราๆท่านๆมากขึ้น เพราะสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2548 เป็นต้นมามีการชุมนุมทางการเมืองถี่ยิบอย่างที่เราทราบกันดี และตั้งแต่ประเทศไทยมีกฎหมายความมั่นคง 3 ฉบับ คือ กฎอัยการศึก พรก.สถานการณ์ฉุกเฉินฯ พรบ.ความมั่นคง   รัฐบาลก็มักประกาศใช้กฎหมายเหล่านี้เพื่อควบคุมและสลายการชุมนุมในหลายพื้นที่เป็นเวลานานๆ จนเกิดผลกระทบกับคนทั่วไปที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการต่อสู้ทางการเมืองมากขึ้นเรื่อยๆ จึงขอนำมาวิเคราะห์เผื่อว่าเกิดปัญหากับท่านจะได้รู้แนวทางแก้ไข เนื่องจากไม่ง่ายเลยที่จะหลุดพ้นออกจากปัญหาเมื่อต้องมาเผชิญกับคดีความมั่นคง

เหตุการณ์แรกเกิดจาก น้าสะใภ้ของนักศึกษาได้เขียนเช็คเงินสดไว้ล้วงหน้าให้แก่ลูกค้าและลูกน้องอีกจำนวน 4-6 คนตามธรรมดาของการประกอบธุรกิจ   โดยตัวน้าของเขาเป็นคนเชียงใหม่มีกิจการส่วนใหญ่อยู่ที่นี่แต่ก็มีลูกค้าและเจ้าหนี้อยู่ที่กรุงเทพ รวมถึงลูกน้องส่วนหนึ่งที่ส่งไปเฝ้ากิจการและขนส่งสินค้าที่กรุงเทพฯ   การเขียนเช็คเหล่านี้ก็เป็นธุรกรรมธรรมดาที่นาสะใภ้มักจะทำอยู่แล้วทุกเดือนตามประสาคนทำธุรกิจ โดยไม่ทราบว่าจะเกิดเหตุการณ์ชุมนุมของกลุ่มเสื้อแดงขึ้นในเดือนมีนาคมปี 2553  และไม่ทราบว่ากลุ่มลูกค้าเหล่านั้นจะนำเช็คเงินสดไปขึ้นธนาคารเป็นช่วงเวลาพร้อมๆกัน แต่ก็เดาได้ว่าเป็นช่วงก่อนหยุดยาวเทศกาลสงกรานต์ลูกค้าคงอยากจะนำเงินออกมาเพื่อไปใช้จ่ายหรือแจกจ่ายลูกน้องก่อนจะไปพักผ่อนเหมือนกับคนทั่วไปที่มักจะปิดร้านยาวๆเพื่อให้ทุกคนกลับบ้านหรือไปเที่ยวต่างจังหวัด จึงทำให้ยอดรวมของจำนวนเงินที่เกิดจาการทำธุรกรรมผ่านในช่วงนั้นเกินยอดจำกัด 2,000,000 บาท    

น้าสะใภ้ของนักศึกษาจึงถูกรัฐสั่งอายัดเงินทั้งหมดในทุกธนาคารของน้าสะใภ้ไม่ให้สามารถทำธุรกรรมใดๆได้   จนกว่ายอดเงินที่เกิดการถ่ายเทในวันนั้นจะได้รับการตรวจสอบสอบจากทาง สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.)  แล้วว่าไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการช่วยเหลือผู้ชุมนุม จนกระทั่ง ณ ขณะที่เข้ามาปรึกษาก็เป็นเวลากว่าสองปีแล้วทางรัฐบาลก็ยังตรวจสอบไม่เสร็จ ทำให้ธุรกิจของน้าสะใภ้ต้องปิดกิจการลงไปโดยไม่รู้ว่าจะแก้ไขยังไงเนื่องจากได้พยายามชี้แจงอย่างถึงที่สุดแล้วแต่ก็ไม่ได้รับความช่วยเหลือหรือแก้ไขให้เลย   เพราะน้าสะใภ้ก็ได้หาหลักฐานบิลชำระเงินในการทำธุรกิจกับลูกค้าเหล่านั้น รวมถึงเอาสำเนาการส่งแฟ็กซ์ที่ใช้ทำธุรกิจมารับรองความบริสุทธิ์ และไปขึ้นศาลเพื่อแจ้งความบริสุทธิ์ใจต่อศาลตามการนัดหมายของศาลทุกครั้ง แต่เรื่องก็ยังไม่สิ้นสุด กลายเป็นกิจการของน้าสะใภ้ต้องจบลงแทน โดยไม่มีใครเข้ามาช่วยเหลือหรือชดเชยความเสียหายให้เลย

อีกกรณีเป็นกลุ่มน้องๆ ที่พ่อแม่ร้องห่มร้องไห้เข้ามาขอความช่วยเหลือ เนื่องจากน้องๆ โดนรวบจับในวันที่มีการประกาศเคอร์ฟิวตามกฎอัยการศึกในช่วงที่มีการสลายชุมนุมคนเสื้อแดงในเดือนพฤษภาคมปี 2553   สาเหตุที่น้องๆกลุ่มนี้โดนจับกุมก็เพราะพวกน้องๆได้รวมกลุ่มกันประมาณสิบคนมีมอเตอร์ไซค์ห้าคันขับขี่ออกไปรวมกลุ่มกันเป็นประจำเหมือนที่ทำช่วงมาตลอดในทุกช่วงสุดสัปดาห์   แต่คราวนี้ไปเจอด่านของเจ้าหน้าที่ทหารดักไว้ไม่ให้ผ่าน และบอกว่าไม่รู้หรือไงว่านี่เป็นช่วงอัยการศึกห้าออกจากบ้านเวลากลางคืน แถมยังมากันเป็นกลุ่มใหญ่อีก จะไปก่อกวนหรือชุมนุมที่ไหนหรือเปล่า   เจ้าหน้าที่จึงควบคุมตัวและส่งไปควบคุมตัวที่สถานีตำรวจเพื่อรอสั่งฟ้องและส่งขึ้นศาล พ่อแม่ของน้องๆในตอนแรกที่ทราบเรื่องก็นึกว่าเป็นการตรวจจับแก๊งค์ซิ่งมอเตอร์ไซค์ของตำรวจที่เคยเห็นข่าวก็จะไปขอประกันตัว   แต่ทางเจ้าหน้าที่บอกว่าไม่ใช่คดีซิ่งมอเตอร์ไซค์ก่อกวนซึ่งเป็นความผิดอาญาทั่วไป แต่กรณีนี้เป็นการฝ่าฝืนกฎอัยการศึก เป็นความผิดฐานภัยต่อความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรจะต้องถูกควบคุมตัวและไปขอประกันตัวในวันรุ่งขึ้นที่จะมีการนำเรื่องไปฟ้องศาล   ซึ่งเรื่องนี้เมื่อไปถึงอัยการน้องๆทั้งกลุ่มก็ถูกสั่งฟ้องและไปขึ้นศาลอาญาทันทีในวันรุ่งขึ้น  

พ่อแม่ก็พากันไปขอประกันตัวลูกแต่ศาลได้ใช้ดุลยพินิจไม่ให้ประกันตัวเนื่องจากทางเจ้าหน้าที่ของรัฐคัดค้านโดยให้เหตุผลว่าเป็นช่วงประกาศกฎอัยการศึกมีแนวโน้มว่าวัยรุ่นกลุ่มนี้จะออกไปสร้างความไม่สงบจึงขอให้ควบคุมตัวไว้ก่อน   ซึ่งเยาวชนกลุ่มนี้ก็ถูกควบคุมตัวไว้ตลอดช่วงปราศอัยการศึก   จนพ่อแม่เข้ามาร้องให้ทางเราช่วยประสานไปยังองค์กรสิทธิมนุษยชนทั้งหลาย รวมทั้งองค์กรที่ช่วยเหลือด้านสิทธิเด็ก และองค์กรระหว่างประเทศ   รวมถึงทนายความที่กลาเข้ามาช่วยทำคดีให้ซึ่งมีน้อยเหลือเกิน  เรื่องนี้เยาวชนกลุ่มนี้ถูกตัดสินว่ามีความผิดฐานฝ่าฝืนกฎอัยการศึกและถูกจำคุกอยู่ถึง 6 เดือนกว่าจะได้ออกมา   แม้จะมีความพยายามขององค์กรทั้งไทยและระหว่างประเทศแต่ก็ไม่ได้ทำให้สถานการณ์ดีขึ้นเลย แม้เป็นที่ชัดเจนอยู่แล้วว่าเด็กเหล่านี้เป็นเพียงวัยรุ่นที่ออกไปเที่ยวเตร่ แต่ดูเหมือนกลไกทั้งหลายของรัฐจะไม่สนใจ เพียงแต่บังคับใช้กฎหมายไปตามลายลักษณ์อักษรโดยไม่คำนึงถึงเจตนารมณ์ของกฎหมายในการป้องกันการก่อการร้ายดังที่อ้างไว้   แต่ที่อันตรายกว่า คือ เมื่อรัฐต้องเลือกระหว่างจับกุมลงโทษไว้ก่อนด้วยเหตุของความมั่นคงแห่งรัฐ กับ การประกันสิทธิเสรีภาพของบุคคล   รัฐกลับเลือกที่จะลงทัณฑ์กับบุคคลไว้ก่อนโดยมิไดพิจารณาถึงราละเอียดของข้อเท็จจริงเพื่อป้องกันการลงโทษผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ทางการเมือง

วิเคราะห์ปัญหา

1.      รัฐมีอำนาจในการอายัดเงินในบัญชีของเรา หรือตรวจสอบสถานะทางการเงินและธุรกรรมผ่านธนาคารของเราได้หรือไม่ในสถานการณ์ฉุกเฉิน

2.      ใครเป็นผู้มีหน้าที่ในการนำสืบวาเงินนั้นเกี่ยวข้องกับกับการก่อการร้าย ก่อความไม่สงบ หรือหาหลักฐานมายืนยันว่าเงินนั้นไม่เกี่ยวข้องกับการกระทำผิดกฎหมาย

3.      หากถูกจับ ถูกควบคุมตัว จะดำเนินการอย่างไรได้บ้างในช่วงที่การประกาศสถานการณ์พิเศษเหล่านั้น

4.      ใครเป็นผู้มีอำนาจในการประกาศ “สถานการณ์ฉุกเฉิน” “สถานการณ์ความไม่สงบ” “ภาวะอัยการศึก” ให้ใช้กฎหมายความมั่นคง จะมีการห้ามหรือตรวจสอบถ่วงดุลก่อนประกาศได้ไหม

5.      หากเราได้รับผลกระทบจากการประกาศภาวะฉุกเฉินทั้งหลายจะทำอย่างไรได้บ้าง

6.      เราจะขอให้มีการปรับปรุงหรือยกเลิกกฎหมายความมั่นคงเหล่านี้ไม่ให้มาละเมิดสิทธิของเราได้หรือไม่

การนำกฎหมายมาแก้ไข

1.      รัฐมีอำนาจในการอายัดเงินในบัญชี หรือตรวจสอบสถานะทางการเงินและธุรกรรมผ่านธนาคารของผู้ที่ต้องสงสัยว่าจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับการก่อความไม่งบต่างๆในสถานการณ์ฉุกเฉิน เนื่องจากชุดกฎหมายความมั่นคงเหล่านี้ให้อำนาจไว้

2.      กฎหมายความมั่นคงทั้งสามรวมถึงกฎหมายต่อต้านการฟอกเงินฯ ได้กำหนดให้ผู้ที่ถูกกล่าวหาเป็นผู้มีหน้าที่ในการนำสืบวาเงินนั้นเกี่ยวข้องกับกับการก่อการร้าย ก่อความไม่สงบ หรือหาหลักฐานมายืนยันว่าเงินนั้นไม่เกี่ยวข้องกับการกระทำผิดกฎหมาย

3.      หากประชาชนถูกจับ ถูกควบคุมตัว ในช่วงที่การประกาศสถานการณ์พิเศษเหล่านั้น สามารถขอใช้สิทธิในกระบวนการยุติธรรมทั้งหลายได้ เช่น การมีทนาย การไม่ถูกปรักปรำโดยคำให้การของตนเอง การร้องให้มีการดำเนินคดีโดยปราศจากอคติ และไม่ถูกปฏิบัติเสมือนเป็นนักโทษจนกว่าจะมีคำพิพากษาถึงที่สุด   นั่นหมายความว่ามีสิทธิขอให้ศาลปล่อยตัวชั่วคราวเพื่อเตรียมตัวต่อสู้คดีด้วย   หากกลไกภายในรัฐไม่อาจอำนวยความยุติธรรมได้อีกต่อไปอาจร้องทุกข์ผ่านกลไกระหว่างประเทศต่อไป

4.      รัฐบาลโดยเฉพาะตัวนายกรัฐมนตรีที่ดำรงตำแหน่งอยู่ในขณะนั้น ไม่ว่าจะมาจากการเลือกตั้ง การรัฐประหาร ก็เป็นผู้มีอำนาจในการประกาศ “สถานการณ์ฉุกเฉิน” “สถานการณ์ความไม่สงบ” “ภาวะอัยการศึก” ให้ใช้กฎหมายความมั่นคง ซึ่งไม่มีกลไกห้ามหรือตรวจสอบถ่วงดุลก่อนประกาศแต่อย่างใด เมื่อประกาศแล้วอำนาจในการสั่งการเจ้าพนักงานจะไปรวมอยู่ที่หัวหน้าศูนย์อำนวยการ เช่น ศอ.ฉ. ศอ.รส. ศอ.อ. เป็นต้น

5.      หากเราได้รับผลกระทบจากการประกาศภาวะฉุกเฉินทั้งหลายจะสามารถฟ้องต่อศาลยุติธรรมเพื่อให้ลงโทษเจ้าหน้าที่และชดเชยค่าเสียหายได้แต่เราต้องพิสูจน์ให้ได้ว่าการกระทำของรัฐเป็นการใช้อำนาจโดยทุจริต มีอคติ และไม่ชอบด้วยกฎหมาย    ส่วนการฟ้องมิให้มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินทั้งหลายต้องฟ้องในศาลปกครองเพื่อยกเลิกรายละเอียดของคำสั่งเป็นบางข้อที่ฝ่าฝืนต่อรัฐธรรมนูญ  

6.      เราจะขอให้มีการปรับปรุงหรือยกเลิกกฎหมายความมั่นคงเหล่านี้ไม่ให้มาละเมิดสิทธิของเราได้โดยการฟ้องในศาลรัฐธรรมนูญและศาลปกครองเพื่อยกเลิกกฎหมายทั้งฉบับ หรือบางมาตรที่ฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญ

ช่องทางเรียกร้องสิทธิ

1.      การใช้อำนาจรัฐมีอำนาจในการอายัดเงินในบัญชี ต้องร้องเรียนต่อ ปปง. หรือ ปปช. หากพบว่ามีลักษณะทุจริต เช่น กลั่นแกล้งโดยปราศจากเหตุน่าเชื่อถือ หรือเรียกรับสินบน

2.      หากประชาชนถูกจับ ถูกควบคุมตัว ในช่วงที่การประกาศสถานการณ์พิเศษเหล่านั้น สามารถขอใช้สิทธิในกระบวนการยุติธรรมทั้งหลายกับเจ้าหน้าที่ปกครองที่จับกุม ตำรวจ อัยการ และศาลอาญาหากใช้กลไกภายในหมดแล้วหรือเป็นที่แน่ชัดว่าจะถูกปฏิเสธการอำนวยความยุติธรรม ก็ให้ร้องเรียนผ่านกลไกระหว่างประเทศ เช่น กระบวนการ 1503, 1235 ของสหประชาชาติ

3.      ผลกระทบจากการประกาศภาวะฉุกเฉิน ผู้เสียหายสามารถฟ้องต่อศาลยุติธรรมเพื่อให้ลงโทษเจ้าหน้าที่และชดเชยค่าเสียหายได้

4.      การฟ้องมิให้มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินทั้งหลายต้องฟ้องในศาลปกครองเพื่อยกเลิกรายละเอียดของคำสั่งเป็นบางข้อที่ฝ่าฝืนต่อรัฐธรรมนูญ  

5.      ประชาชนขอให้มีการปรับปรุงหรือยกเลิกกฎหมายความมั่นคงเหล่านี้ได้ผ่านกระบนการนิติบัญญัติ คือ ให้พรรคการเมืองรับเรื่องไปผลักดันให้ออกกฎหมายยกเลิกชุดกฎหมายความมั่นคงเหล่านั้น

6.      หาไม่แล้วประชาชนต้องฟ้องในศาลรัฐธรรมนูญและศาลปกครองเพื่อยกเลิกกฎหมายทั้งฉบับ หรือบางมาตรที่ฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญ

 

สรุปแนวทางแก้ไข

ใช้หลักความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงทางอาญา ซึ่งต้องใช้หลักสิทธิในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาและวิธีพิจารณาความอาญาซึ่งต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องสงสัยเป็นผู้บริสุทธิ์ จนกว่าจะมีคำพิพากษาของศาล  ซึ่งกรณีนี้มีการใช้กฎหมายพิเศษที่มีลักษณะละเมิดสิทธิดังกล่าว และสร้างภาระในการพิสูจน์ให้กับประชาชน จึงต้องมีการฟ้องเพิกถอนการออกคำสั่งอายัดบัญชีของ ปปง. ในศาลยุติธรรมตาม พรบ.การฟอกเงินฯ   แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างเนื่องจาก พรบ.ความมั่นคง พรก.ฉุกเฉินฯ ตัดสิทธิของประชาชนในการฟ้องศาลปกครองให้ตรวจสอบการใช้อำนาจตามกฎหมายทั้งสอง   จึงต้องมีการผลักดันให้มีการแก้ไข หรือยกเลิกกฎหมายทั้งสองฉบับ เพื่อป้องกันการละเมิดสิทธิของประชาชนอีกต่อไป   หากใช้กลไกภายในหมดแล้วหรือมีการปฏิเสธความยุติธรรมก็ร้องไปยังองค์การระหว่างประเทศได้ เช่น กระบวนการ 1235, 1503

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
การนำ คำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 205/2549 มาตราเป็นพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร  โดยแฝงนัยยะของการสร้าง “รัฐทหาร” ด้วยการขยับขยายขอบเขตอำนาจแก่เจ้าหน้าที่ กอ. รมน.
ทศพล ทรรศนพรรณ
หลังสิ้นสุดยุคสมัยสงครามเย็น หนึ่งในมรดกตกทอดจากยุคนั้น ได้แก่ หน่วยงานความมั่นคงของรัฐไทยที่มีอำนาจหน้าที่อย่างเข้มข้นในการเฝ้าระวัง สอดส่อง ควบคุมการสื่อสารและการกระทำต่าง ๆ ของประชาชนที่ผู้มีอำนาจเห็นว่าเป็นภัยต่อความมั่นคง และส่งผลเสียต่อการยืนหยัดสู้เพื่ออุดมการณ์ทางการเมืองช่วงนั้น อาทิ กอง
ทศพล ทรรศนพรรณ
คนไร้บ้านจัดเป็นกลุ่มที่เสี่ยงที่จะถูกละเมิดสิทธิและด้อยโอกาสในการเข้าถึงบริการสาธารณะ สวัสดิการ และหลักประกันด้านต่าง ๆ ด้วยเหตุที่เป็นกลุ่มซึ่งต้องปะทะโดยตรงกับการพัฒนาเมืองอย่างไม่ยั่งยืนทั้งที่สาเหตุของการออกมาอยู่ในพื้นที่สาธารณะนั้นเกี่ยวข้องกับความเหลื่อมล้ำทางสังคมอันเป็นผลลัพธ์ของนโยบายส
ทศพล ทรรศนพรรณ
คนไร้บ้านตกอยู่ในสถานะของกลุ่มเสี่ยงที่อาจต้องเผชิญจากการเหยียดหยามศักดิ์ความเป็นมนุษย์โดยตรงจากการละเมิด และยังอาจไม่ได้รับการดูและแก้ไขปัญหาเมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์ยุ่งยากต่าง ๆ เพราะถูกจัดให้อยู่ในสถานะต่ำต้อยเสี่ยงต่อการเลือกประติบัติจากรัฐ จนไปถึงการเพิกเฉย ละเลย ไม่ใส่จะแก้ปัญหาให้คนไร้บ้
ทศพล ทรรศนพรรณ
คนไร้บ้านเป็นเสียงที่ไม่ถูกนับ การใช้พลังในลักษณะกลุ่มก้อนทางการเมืองเพื่อเรียกร้องประโยชน์จากผู้มีอำนาจให้จัดสรรทรัพยากรให้จึงเป็นเรื่องยาก ด้วยสาเหตุหลัก 2 ประการ คือ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของคนไร้บ้านจำเป็นต้องยืนอยู่บนฐานของกฎหมายที่ประกันสิทธิของบุคคลโดยมิคำนึงถึงความแตกต่างหลากหลายทางสถานภาพใด ๆ แม้คนไร้บ้านจะเป็นปัจเจกชน หรือกลุ่มคนที่มีปริมาณน้อยเพียงไร รัฐก็มีพันธกรณีในการเคารพ ปกป้อง และส่งเสริมสิทธิให้กลุ่มเสี่ยงนี้โดยเหตุแห่งความเป็นสิทธิมนุษยชนที่ร
ทศพล ทรรศนพรรณ
หากต้องกำหนดยุทธศาสตร์ของประเทศไทยในการเข้าร่วมตลาดดิจิทัลที่มีเข้มข้นของกิจกรรมข้ามพรมแดนตลอดเวลา เพื่อแก้ไขปัญหาศักยภาพของรัฐในการบังคับใช้กฎหมายขยายไปเหนือหลักเขตอำนาจศาลเหนือดินแดนของตนแบบเก่า เมื่อต้องกำกับกิจกรรมของบรรษัทข้ามชาติที่อยู่ในการบังคับของกฎหมายรัฐอื่นซึ่งมีบรรทัดฐานในหลายประเด็น
ทศพล ทรรศนพรรณ
การวิเคราะห์กฎหมายไทยที่เกี่ยวข้องกับลักษณะความสัมพันธ์ของนิติบุคคลเจ้าของแพลตฟอร์มที่มักเป็นบรรษัทข้ามชาติกับรัฐ จะกระทำใน 3 ประเด็นหลัก คือ ใครเป็นเจ้าของข้อมูล ใครมีสิทธิใช้ประโยชน์จากข้อมูลมากน้อยอย่างไร หรือแบ่งปันกันอย่างไร อันเป็นการเตรียมความพร้อมของกฎหมายในการรองรับปรากฏการณ์การใช้ข้อมูล
ทศพล ทรรศนพรรณ
บทความนี้จะทำการรวบรวมข้อเสนอทางกฎหมายในระดับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับลักษณะความสัมพันธ์ของนิติบุคคลเจ้าของแพลตฟอร์มที่มักเป็นบรรษัทข้ามชาติ กับรัฐและองค์การระหว่างประเทศ อันเป็นการเตรียมความพร้อมของกฎหมายในการรองรับปรากฏการณ์การใช้ข้อมูลจากแพลตฟอร์มดิจิทัล ว่าสามารถบริหารจัดการให
ทศพล ทรรศนพรรณ
บทความนี้จะทำการทบทวนข้อกฎหมายทั้งในระดับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับลักษณะความสัมพันธ์ของนิติบุคคลเจ้าของแพลตฟอร์มที่มักเป็นบรรษัทข้ามชาติ เรื่อยมาจนถึงสำรวจความพร้อมของกฎหมายในการรองรับปรากฏการณ์การใช้ข้อมูลจากแพลตฟอร์มดิจิทัล ว่าสามารถบริหารจัดการให้เกิดการแบ่งปันข้อมูลดิจิทัลระหว
ทศพล ทรรศนพรรณ
ประเด็นพื้นฐานที่รัฐต้องคิด คือ จะส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมทางเทคโนโลยีเพื่อสะสมความมั่งคั่งได้อย่างไร แล้วจึงจะไปสู่แนวทางในการแบ่งปันความมั่งคั่งให้กับบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการผลิตข้อมูลขึ้นมาในแพลตฟอร์ม
ทศพล ทรรศนพรรณ
Kean Birch นำเสนอปัญหาของข้อมูลส่วนบุคคลในฐานะสินค้าของตลาดนวัตกรรมเทคโนโลยีจำนวน 5 ประเด็น คือ1.ข้อมูลส่วนบุคคลเป็นทรัพย์สินส่วนตัวของแพลตฟอร์มในฐานะเจ้าของข้อมูลทึ่ถูกรวบรวมโดยนวัตกรรม,