Skip to main content

เรื่องนี้เป็นสารพัดปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้ใช้แรงงานในยามที่เจอกับภาวะเศรษฐกิจตกสะเก็ด เราคงได้ยินเสียงผู้ประกอบการบ่นให้ฟังว่า ยอดสั่งซื้อตก กำไรหด ต้องลดกำลังการผลิตเพื่อให้บริษัทอยู่รอดกันใช่ไหมครับ  แต่ทราบไหมครับว่า ทุกครั้งที่บอกว่าขาดทุนและต้องลดต้นทุนหรือกำลังการผลิตนั้น มันหมายถึงการปรับลดจำนวนคนงานออกจากตำแหน่ง   ทั้งที่ตอนผลิตแล้วมีกำไรมากมายคนงานก็ไม่ได้อะไรเพิ่มขึ้นนอกจากค่าจ้างตามจำนวนชั่วโมงและชิ้นงานที่ผลิต   แต่เมื่อเกิดวิกฤตกับเป็นคนงานที่ต้องเสียสละทุกสิ่งไปเป็นกลุ่มแรก   ปัญหาเหล่านี้เกิดขึ้นทั่วโลกจนต้องมีการพยายามวางมาตรการรองรับคนทำงานไม่ให้ตกอยู่ในภาวะเสี่ยงที่จะต้องตกงานกะทันหันโดยไม่ทันตั้งตัว   ด้วยระบบการสร้างอำนาจต่อรองให้แรงงานรวมตัวกันตั้งสหภาพเพื่อศึกษาต้นทุนการผลิตและต่อรองให้เกิดความเป็นธรรมกับผู้ใช้แรงงานที่เป็นผู้สร้างผลผลิตบ้างเช่นกัน   แต่ในหลายครั้งการต่อรองของผู้ใช้แรงงานก็ต้องเผชิญกับกระบวนการต่อต้านและสลายอำนาจในการเจรจาด้วยอวิชชาหลายรูปแบบโดยเฉพาะมาตรการทางกฎหมายที่จะเห็นได้จากประสบการณ์ของพี่น้องผู้ใช้แรงงานกลุ่มนี้ครับ

“ในช่วงที่เศรษฐกิจทั่วโลกตกต่ำ มีโรงงานแห่งหนึ่งซึ่งเป็นสาขาของบรรษัทข้ามชาติขนาดใหญ่ที่เป็นเจ้าของแบรนด์ดังระดับโลกได้เริ่มทยอยปลดคนงานในประเทศต่างๆลง  โดยยังคงคนงานในประเทศไทยไว้เพราะเป็นแรงงานมีฝีมือพิเศษประณีตกว่าที่อื่นและยังมีค่าแรงถูกกว่าในประเทศที่มีคุณภาพใกล้เคียงกัน    จนมาถึงช่วงหนึ่งซึ่งบริษัทเริ่มปรับมาใช้วิธีลดชั่วโมงการทำงานของโรงงานสาขาหนึ่งจนพนักงานจำนวนหนึ่งมีรายได้ไม่พอค่าใช้จ่าย เนื่องจากไม่ได้ทำโอที และไม่มีโบนัสรางวัลในการสะสมชิ้นงานที่ทำได้มากอย่างเช่นแต่ก่อน   จนคนงานลาออกกันไปล็อตใหญ่ รวมถึงมีการเลิกจ้างพนักงานบางส่วนที่มีอายุมากด้วยโดยบอกว่าบริษัทมีปัญหาทางเศรษฐกิจ  แต่บริษัทกลับเพิ่มปริมาณงานให้กับคนงานที่อยู่ในโรงงานอีกสาขาหนึ่งเต็มกำลังการทำงาน คือ 12 ชั่วโมงต่อวัน แถมยังนำระบบโบนัสจำนวนชิ้นงานต่อหนึ่งชั่วโมงมาล่อให้คนงานทำอย่างเต็มกำลังจนถึงขนาดไม่ลุกไปดื่มน้ำหรือเข้าห้องน้ำกันเลยทีเดียว   และได้มีการสลับการเพิ่มลดชั่วโมงการทำงานไปมาระหว่างสาขาจนนำมาซึ่งการลาออกของคนงานในอีกสาขาหนึ่งเช่นกัน

หลังจากที่คนงานได้พบกับเจ้าหน้าที่ของกรมแรงงาน และมีเพื่อนผู้ใช้แรงงานจากที่อื่นมาแลกเปลี่ยนประสบการณ์และเสนอแนะวิถีทางในการสร้างความมั่นคงในชีวิตให้ จึงตัดสินใจว่าจะมีการรวมกลุ่มคนงานในโรงงานขึ้นเป็นสหภาพแรงงานประจำบริษัทแห่งนี้ เพื่อจะได้มีพื้นที่ในการพูดคุยสถานการณ์ต่างๆ และหาทางพัฒนาคุณภาพชีวิตของเพื่อนๆผู้ใช้แรงงานร่วมกันในบริษัท เพราะจากประสบการณ์การลดชั่วโมงที่ผ่านมาทำให้เห็นว่า บางทีการไม่ได้คุยกัน พบปะปรึกษาหารือ หรือแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน ก็ทำให้ไม่เข้าใจภาพรวมของสถานการณ์ทั้งหมด แค่เรื่องของคนงานบริษัทเดียวกันแต่ต่างสาขาก็ไม่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้น จนทำให้เกิดการลาออกด้วยวิธีการง่ายๆอย่างที่ว่ามาข้างต้น  จนบริษัทแห่งนี้มีสหภาพแรงงานขึ้นมาเป็นตัวแทนของลูกจ้างเพื่อพูดคุยปัญหาในการทำงานและสวัสดิการต่างๆที่พึงได้รับตามกฎหมาย และการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนงานให้มีขวัญกำลังใจในการทำงานมากขึ้น

ผ่านมาได้สักระยะหนึ่ง ทางบริษัทก็ได้ปรับตัวครั้งใหญ่โดยได้ปรับลดสวัสดิการของคนงานลง  และพยายามคัดคนงานที่ไม่จำเป็นออก อีกทั้งยังใช้มาตรการลดเงินเดือนของคนงานลงด้วย เมื่อมีมาตรการดังกล่าวออกมาจึงเป็นเหตุทำให้มีคนงานบางส่วนทยอยลาออกจากโรงงาน ซึ่งการลาออกของคนงานจะทำให้นายจ้างไม่ต้องจ่ายเงินค่าชดเชย เวลาผ่านไป 1 เดือนมีผู้ใช้แรงงานลาออกจากโรงงานเหลือคนงานแค่สามส่วนสี่จากจำนวนเดิม จึงเป็นเหตุทำให้คนงานที่เหลือจะต้องทำงานหนักมากขึ้น อีกทั้งยังไม่มีการเพิ่มเงินเดือนให้อีก ด้วยเหตุนี้จึงเป็นเหตุให้คนงานโรงงานที่ทำงานในโรงงานดังกล่าวเป็นเวลา 5 ปีทนไม่ไหวจึงต้องลาออกจากโรงงานเดิม ทั่งทีไม่มีงานใหม่มารองรับ แต่ตนเองก็ทนรับภาระงานที่หนักอึ้งต่อไปไม่ได้ โดยการลาออกดังกล่าวก็ไม่ได้รับเงินชดเชยใดๆ นอกจากเงินเดือนเดือนสุดท้าย

นอกจากนั้นทางพี่น้องผู้ใช้แรงงานที่เข้ามาปรึกษายังพบว่า คนงานที่ถูกคัดออกส่วนใหญ่เป็นสมาชิกในสหภาพแรงงาน โดยคนที่ทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่องจะโดนปรับออกแทบทั้งสิ้น   จึงได้เข้ามาปรึกษาว่าจะหาทางแก้ไขอย่างไรไม่ให้สหภาพแรงงานที่เป็นตัวแทนในการเจรจาต่อรองถูกทำลายลงไป เพราะในขณะนี้คนงานที่เหลือไม่มีที่พึ่งใดๆ มากนัก เพราะผู้นำสหภาพโดนไล่ออกไปเกือบหมดแล้ว   บางกรณีสมาชิกสหภาพไปร้องเรียนกับกรมแรงงาน ก็จะโดนข้อกล่าวหานินทาว่าร้ายต่างๆ รวมไปถึงเชื่อมโยงว่ากิจกรรมของสหภาพทำลายชื่อเสียงของบริษัท เช่น การเอาชื่อบริษัทไปเข้าร่วมการทำกิจกรรมแรงงานประจำปี หรือมีหัวหน้าสหภาพบางคนไปเคลื่อนไหวประเด็นทางสังคม เช่น หัวหน้าสหภาพแรงงานหญิงคนหนึ่งซึ่งไปเรียกร้องสิทธิในการทำแท้งอย่างปลอดภัยและเป็นการตัดสินใจอนาคตของแรงงานที่มีฐานะยากจนเลี้ยงลูกไม่ไหว ก็ถูกกล่าวหาว่าทำให้ชื่อเสียงบริษัทเสียหายที่ไปสนับสนุนการทำแท้ง เป็นต้น”

วิเคราะห์ปัญหา

1.             บริษัทสามารถเลิกจ้างลูกจ้างด้วยเหตุผลทางเศรษฐกิจหรือไม่

2.             หากบริษัทจะเลิกจ้างจะต้องมีการดำเนินการอย่างไรก่อน หรือชดเชยอย่างไรหลังเลิกจ้างบ้าง

3.             ในช่วงที่ผู้ใช้แรงงานว่างงานจะมีสิทธิแต่อย่างใดบ้าง

4.             แรงงานมีสิทธิรวมกลุ่มเป็นสหภาพและต่อรองกับบริษัทหรือไม่ การเปลี่ยนสภาพการจ้างงานโดยไม่ตกลงกับสหภาพก่อนจะมีผลบังคับทางกฎหมายหรือไม่

5.             บริษัทสามารถเลิกจ้างลูกจ้างที่มีตำแหน่งบริหารในสหภาพแรงงานทันทีหรือไม่

การนำกฎหมายมาแก้ไข

1.             บริษัทอาจเลิกจ้างลูกจ้างด้วยเหตุผลทางเศรษฐกิจตามสภาพความเป็นจริงทางธุรกิจ

2.             หากบริษัทจะเลิกจ้างจะต้องมีการแจ้งล่วงหน้าในลูกจ้างรู้ล่วงหน้าเพื่อเตรียมตัวก่อน และต้องจ่ายค่าชดเชยหลังเลิกจ้างตามสัดส่วนที่กฎหมายกำหนด โดยคำนวณตามระยะเวลาที่เคยทำงานมา

3.             ในช่วงที่ผู้ใช้แรงงานว่างงานจะมีสิทธิได้รับเงินจากกองทุนสวัสดิการสังคมที่เคยจ่ายสมทบไว้

4.             แรงงานในสถานประกอบการมีสิทธิรวมกลุ่มเป็นสหภาพและต่อรองกับบริษัทได้ การเปลี่ยนสภาพการจ้างงานจะต้องตกลงกับสหภาพก่อนจึงจะมีผลบังคับทางกฎหมาย

5.             บริษัทไม่อาจเลิกจ้างลูกจ้างที่มีตำแหน่งบริหารในสหภาพแรงงานตามอำเภอใจ นายจ้างต้องร้องขอต่อศาลแรงงานโดยให้ผลในการเลิกจ้างตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดเท่านั้น เช่น กรณีนี้ต้องพิสูจน์ได้ว่าลูกจ้างทำให้ผลประกอบการของบริษัทเสียหายจริงจากการกระทำของสมาชิกสหภาพ

ช่องทางเรียกร้องสิทธิ

1.             ลูกจ้างอาจเข้าเจรจากับนายจ้างได้ในเบื้องต้น

2.             ลูกจ้างอาจรวมตัวกันโดยให้สหภาพสถานประกอบการเป็นตัวแทนในการเจรจากับนายจ้าง

3.             ลูกจ้างอาจร้องเรียนต่อกระทรวงแรงงาน หรือสำนักงานแรงงานประจำจังหวัด

4.             การฟ้องร้องคดีทั้งหลายต้องดำเนินการในศาลแรงงานกลางหรือศาลแรงงานจังหวัด โดยศาลจะใช้ระบบไตรภาคีมีตัวแทนนายจ้าง ลูกจ้าง และผู้พิพากษาอาชีพ

สรุปแนวทางแก้ไข

ใช้หลักกฎหมาย สัญญาจ้างแรงงานและกฎหมายสวัสดิการสังคมของแรงงาน ซึ่งกรณีนี้แม้นายจ้างอาจเลิกจ้างด้วยเหตุผลทางเศรษฐกิจก็ต้องมีการแจ้งให้ทราบล่วงหน้า และจ่ายค่าชดเชยให้กับคนงาน   รวมถึงช่วงว่างงานก็สามารถได้รับเงินจากกองทุนสวัสดิการสังคมที่เคยจ่ายสมทบไว้   การปรับสภาพการจ้างต้องทำร่วมกันโดยนายจ้างเปลี่ยนเองฝ่ายเดียวไม่ได้   นอกจากนี้แรงงานยังมีสิทธิในการรวมกลุ่มกันตั้งสหภาพในสถานประกอบการได้โดยนายจ้างจะไล่สมาชิกสภาพระดับบริหารโดยพลการไม่ได้ต้องขออำนาจศาลแรงงานก่อน

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
คำถามที่สำคัญในเศรษฐกิจการเมืองยุคดิจิทัล ก็คือ บทบาทหน้าที่ของภาครัฐรัฐท่ามกลางการเติบโตของตลาดดิจิทัลที่ภาคเอกชนเป็นผู้ผลักดันและก่อร่างสร้างระบบมาตั้งแต่ต้น  ซึ่งสร้างผลกระทบต่อชีวิตผู้คนในรัฐให้เกิดขึ้นอย่างกว้างขวางและลึกซึ้ง   อย่างไรก็ดีความเจริญก้าวหน้าของตลาดย่อมเกิดบนพื้น
ทศพล ทรรศนพรรณ
แนวทางในการส่งเสริมสิทธิคนทำงานในยุคดิจิทัลประกอบไปด้วย 2 แนวทางหลัก คือ1. การระงับข้อพิพาทที่เกิดขึ้นภายในความสัมพันธ์ระหว่าง แพลตฟอร์ม กับ คนทำงาน2. การพัฒนารัฐให้รองรับสิทธิคนทำงานอย่างถ้วนหน้า
ทศพล ทรรศนพรรณ
เนื่องจากการทำงานของคนในแพลตฟอร์มดิจิทัลในช่วงก่อนหน้าสถานการณ์วิกฤตโรคระบาดนั้นยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นทำให้ปริมาณคนที่เข้ามาทำงานมีไม่มากนัก และเป็นช่วงทำการตลาดของเหล่าแพลตฟอร์มต่าง ๆ ในการดึงคนเข้ามาร่วมงานกับแพลตฟอร์มตนยังผลให้สิทธิประโยชน์เกิดขึ้นมากมายเป็นที่พึงพอใจของผู้เข้าร่วมทำงานกับแพลตฟ
ทศพล ทรรศนพรรณ
รัฐชาติในโลกปัจจุบันไม่เปิดโอกาสให้บุคคลเคลื่อนย้ายถิ่นฐาน ที่อยู่ แหล่งทำมาหากินได้อย่างอิสระ เสรีมาตั้งแต่การสถาปนารัฐสมัยใหม่ขึ้นในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วโลก   เช่นเดียวกับประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อย่าง ไทย พม่า ลาว หรือกัมพูชา   ก็ล้วนเกิดพรมแดนระหว่างรัฐในลักษณะที
ทศพล ทรรศนพรรณ
นับตั้งแต่เกิดปรากฏการณ์ “สีเสื้อ”   สื่อกลายเป็นประเด็นสำคัญที่เป็นตัวสะท้อนภาพของคนและสังคมเพื่อขับเน้นประเด็นเคลื่อนไหวทางสังคมให้ปรากฏเป็นขบวนการทางการเมืองที่มีผู้คนเข้าร่วมอย่างมากมายมหาศาล และมีกิจกรรมทางการเมืองหลากหลายรูปแบบ   ดังนั้นอำนาจในการสื่อสารและการมีส่วนร่วมใ
ทศพล ทรรศนพรรณ
สังคมไทยเผชิญหน้ากับความเปลี่ยนแปลง แตกแยก และปะทะกันอย่างรุนแรงทั้งในด้านความคิด และกำลังประหัตประหารกัน ระหว่างการปะทะกันนั้นระบบรัฐ ระบบยุติธรรม ระบบคุณค่าเกียรติยศ และวัฒนธรรมถูกท้าทายอย่างหนัก จนสูญเสียอำนาจในการบริหารจัดการรัฐ   ในวันนี้ความตึงเครียดจากการเผชิญหน้าอาจเบาบางลง พร้อ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เศรษฐกิจและการเมืองยุคดิจิทัล ใช้ข้อมูลของประชาชนและผู้บริโภคเป็นพื้นฐานในการทำความเข้าใจตลาดการเมืองและเศรษฐกิจ อย่างไรก็ดีเจ้าของข้อมูลทั้งหลายได้รับประกันสิทธิในความเป็นส่วนตัวและข้อมูลส่วนบุคคลจะถูกนำไปใช้ตามอำเภอใจไม่ได้ เว้นแต่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่กฎหมายยอมรับ หรือได้รับความยินยอมจากเจ
ทศพล ทรรศนพรรณ
หากรัฐไทยต้องการสร้างกรอบทางกฎหมายเพื่อส่งเสริมให้เกิดการใช้ประโยชน์จากข้อมูลพันธุกรรมมนุษย์ในช่วงเวลาที่ยังไม่มีการประกาศใช้ พระราชบัญญัติจริยธรรมวิจัยในมนุษย์ มาบังคับกับการวิจัยในพันธุกรรมมนุษย์ ซึ่งถือเป็นข้อมูลส่วนบุคคลอ่อนไหวจำต้องมีมาตรการประกันสิทธิเจ้าของข้อมูลพันธุกรรมให้สอดคล้องกับมาตร
ทศพล ทรรศนพรรณ
กองทัพเป็นรากเหง้าที่สำคัญของความขัดแย้งเนื่องจากทหารเข้ามามีบทบาทแทรกแซงทางการเมืองมานาน โดยการข่มขู่ว่าจะใช้กำลัง การใช้อิทธิพลกดดันนโยบายของรัฐบาล กดดันเพื่อเปลี่ยนรัฐมนตรี และการยึดอำนาจโดยปฏิวัติรัฐประหาร ซึ่งทหารมักอ้างว่ารัฐบาลไม่มีเสถียรภาพ ระบบการเมืองไม่เป็นประชาธิปไตยเท่าที่ควรมีการฉ้อ
ทศพล ทรรศนพรรณ
 ปัญหาทางเศรษฐกิจที่มีขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมเรียกร้องมาตลอด คือ การผูกขาด ซึ่งมีรากเหง้ามาจากการแสวงหาค่าเช่าทางเศรษฐกิจของกลุ่มผลประโยชน์ที่ทรงอำนาจ แล้วนำไปสู่ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจอันเป็นปรากฏการณ์ทางสังคมที่ขบวนการความเป็นธรรมทางสังคมเสนอให้แก้ไข   บทความนี้จะพยายามแสดงให
ทศพล ทรรศนพรรณ
การแสดงออกไม่ว่าจะในสื่อเก่าหรือสื่อใหม่ย่อมมีขอบเขตการใช้สิทธิเสรีภาพเพื่อป้องกันการละเมิดสิทธิของผู้อื่น ดังนั้นรัฐจึงได้ขีดเส้นไว้ไม่ให้ประชาชนใช้สิทธิเสรีภาพจนไปถึงขั้นละเมิดสิทธิของผู้อื่นเอาไว้ในกรอบกฎหมายหลายฉบับ บทความนี้จะพาชาวเน็ตไปสำรวจเส้นพรมแดนที่มิอาจล่วงล้ำให้เห็นพอสังเขป
ทศพล ทรรศนพรรณ
การช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติที่อดอยากหิวโหยที่นั้นดำเนินการได้โดยตรงด้วยมาตรการความช่วยเหลือด้านอาหารโดยตรง (Food Aid) ซึ่งมีทั้งมาตรการระหว่างประเทศ และมาตรการภายใน   ในบทความนี้จะนำเสนอมาตรการและกรณีศึกษาที่ใช้ในการช่วยเหลือด้านอาหารในสถานการณ์ฉุกเฉินเหล่านั้น แต่ความแตกต่างจากการสงเ