Skip to main content

เรื่องนี้เป็นวิกฤตครั้งใหญ่ของน้องคนหนึ่ง ซึ่งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีตได้ทำให้ครอบครัวเค้าสูญเสียทุกอย่างไป   น้องได้ลำดับเรื่องราวให้ฟังว่า

 "เหตุการณ์เกิดขึ้นเมื่อยี่สิบปีก่อน  เมื่อครอบครัวข้าพเจ้าเปิดกิจการโรงแรมชื่อดังอยู่ที่เกาะแห่งหนึ่งทางภาคใต้   ในคืนเกิดเหตุพ่อข้าพเจ้าได้พูดคุยธุรกิจอยู่กับผู้ที่มาติดต่อในเวลาดึกพอสมควรเกี่ยวกับการซื้อขายหุ้นส่วนและการควบรวมกิจการโรงแรม   ส่วนข้าพเจ้าและแม่นอนพักแยกอยู่ภายในห้องพักด้านหลังโรงแรม    แต่มีเสียงหนึ่งทำให้เราสามคนตื่นมาดู นั้นคือเสียงปืนดังลั่นอยู่หลายนัด  แม่และข้าพเจ้าตกใจมากว่าเกิดอะไรขึ้น และเป็นห่วงด้วยว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับพ่อ  จึงรีบลุกขึ้นเพื่อจะออกไปดูว่าเกิดอะไรขึ้น   เพียงแค่เปิดประตูออกไปดูก็พบว่าพ่อมีเลือดอาบทั่วทั้งตัว  แม่รีบพาพ่อไปส่งโรงพยาบาล โชคดีที่พ่อรอดชีวิตมาได้ แพทย์สรุปอาการว่าพ่อถูกยิงเข้าร่างกายทั้งหมด 11 นัด

หลังจากวันนั้น แม่ได้พยายามดำเนินการทุกอย่างเพื่อหาผู้ให้ตำรวจจับตัวคนที่ยิงพ่อมาลงโทษ   โดยแม่ได้เข้าแจ้งความกับตำรวจอย่างรวดเร็วหลังเกิดเหตุการณ์ไม่นาน ตำรวจก็มาที่โรงแรมแล้วก็กลับไปโดยบอกว่า จะรวบรวมพยานหลักฐานแล้วจับตัวคนร้ายมาให้ได้ ไม่ต้องเป็นห่วงเจ้าหน้าที่จะทำสุดความสามารถ ให้ดูแลครอบครัวกันให้ดี ถ้ามีความคืบหน้าอะไรจะแจ้งให้ทราบทันที

กระบวนการก็เดินไปเรื่อยๆ ตำรวจจับตัวคนที่พอบอกว่ายิงมาไม่ได้ ตำรวจอ้างว่าไม่มีพยานบุคคลที่เห็นเหตุการณ์ถึงจับมาได้ก็ทำอะไรไม่ได้อยู่ดี ครอบครัวข้าพเจ้าประหลาดใจมากว่า ทั้งๆที่เหตุการณ์เกิดขึ้นในบ้านและพ่อข้าพเจ้าก็เป็นคนถูกยิงเอง ทำไมต้องมีพยานบุคคลอื่นมายืนยันเพิ่มเติมเอง ลำพังคำยืนยันจากพ่อไม่เพียงพอหรืออย่างไร   ในช่วงแรกๆก็เข้าใจได้เพราะพ่ออยู่ห้อง ICU อาการสาหัสมากยังไม่อาจลุกมาให้ปากคำและบอกว่าใครเป็นคนยิง   แต่หลังจากพ้นอาการโคม่าแล้ว พ่อก็ให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ทุกอย่างเพื่อสืบหาคนร้ายมาให้ได้  

แต่สุดท้ายตำรวจไม่อาจตามคนร้ายที่ระบุได้ โดยให้เหตุผลว่าคนร้ายกลุ่มที่บอกว่ามาคุยธุรกิจกับพ่อนั้นได้หายไปจากพื้นที่แล้ว การพยายามติดตามนอกพื้นที่ก็ประสานงานอยู่แต่ยังไม่พบตัว จะพยายามตามตัวให้ได้ก่อนถึงจะเริ่มดำเนินคดีทางกฎหมายได้   เวลาผ่านไปเรื่อยๆ ครอบครัวของข้าพเจ้าต้องอยู่ในความหวาดผวาเพราะไม่รู้ว่าคนร้ายจะย้อนกลับมาทำร้ายอีกหรือไม่ อีกทั้งยังรู้สึกหดหู่กันต่อไปเพราะเป็นคนที่รอการพิจารณาคดี แต่กระบวนการทางกฎหมายไม่อาจหาผู้กระทำผิด และดำเนินการลงโทษใครได้เลย   รวมถึงยังไม่สามารถสืบหาต้นตอของเรื่องว่าทำไมคนกลุ่มนี้ถึงต้องมายิงพ่อทั้งที่มาคุยธุรกิจกัน

ด้วยความกลัวจะเกิดเหตุการณ์ขึ้นซ้ำสองเพราะพ่อเริ่มระแคะระคายว่าจริงๆแล้วคนที่มาติดต่อธุรกิจอาจเป็นเพียงหน้าฉากของคนที่ต้องการฮุบกิจการของพ่อ คนที่พ่อสงสัยว่าอยากฆ่าพ่อเพื่อแย่งโรงแรมไปจริงๆน่าจะเป็น หุ้นส่วนคนอื่นๆซึ่งเป็นเพื่อนๆของพ่อที่อาศัยอยู่ในพื้นที่นั้น และมีเส้นสายกับคนมีสีหลายกลุ่มทำให้คดีไม่คืบหน้า   หากพ่อและครอบครัวยังอยู่ในเกานี้ต่อไปอาจจะถูกฆ่าล้างครอบครัวหรือจับใครไปข่มขู่เพิ่มเติมอีก ครอบครัวเราจึงประกาศขายกิจการในราคาที่แทบจะไม่เหลืออะไรให้เราไปทำกิจการโรงแรมอีกเลย

ก่อนที่จะย้ายออกจากเกาะ เดินทางไปเรื่อยๆ จนมาประกอบกิจการร้านอาหารเล็กๆที่เกาะเล็กๆอีกแห่งอื่น เพราะพ่อทำงานหนักไม่ได้จากอาการสั่นและแขนไม่มีแรงอันเกิดจากคมกระสุนที่ตัดเส้นประสาทและเอ็นบางจุด การใช้ชีวิตประจำวันก็ไม่เหมือนเดิม ต้องใช้เงินในการดูแลรักษาร่างกายต่อมาเรื่อยๆเป็นจำนวนไม่น้อยเลย จนวันหนึ่งพ่อได้เปิดหนังสือพิมพ์เจอข่าวรับสมัครงานที่ต่างจังหวัด ครอบครัวเราจึงตัดสินใจย้ายไปอยู่ต่างจังหวัดด้วยกันเพื่อหนี เพราะไม่สามารถทำอะไรได้มากนัก และต้องการความสงบสุขในชีวิตมากกว่ากังวลว่าใครจะมาทำร้ายอีก 

เมื่อจนถึงวันนี้ กฎหมายก็ยังไม่สามารถทำอะไรได้ไม่สามารถจับผู้กระทำผิดมาลงโทษได้ เวลาผ่านไปเกือบ 20 ปี ความทรงจำทีเจ็บปวดของครอบครัวก็ค่อยๆเลือนรางไป กฎหมายก็คงจะลืมคดีที่ครอบครัวของข้าพเจ้าต้องประสบไปแล้วเช่นกัน"

                วิธีแก้ไขของครอบครัวข้าพเจ้าในตอนนั้นก็ทำได้แค่ “หนี”   ความกลัวส่งผลให้ครอบครัวข้าพเจ้าต้องทิ้งทุกอย่างทีมี ทั้งกิจการที่สร้างเนื้อสร้างตัวกับครอบครัว เพื่อน ญาติพี่น้อง ทุกอย่าง ที่เราต้องจากมากะทันหันและปิดบังความเคลื่อนไหว จนคนอื่นไม่สามารถจะรู้ได้ว่าครอบครัวเราอยู่ที่ไหนเพื่อความปลอดภัยของชีวิต   ทั้งหมดของชีวิตที่ต้องพเนจรไม่มีหลักไม่มีฐาน ก็เพราะเหตุการณ์เปลี่ยนชีวิตครอบครัวเราต้องเจอ และไม่มีใครช่วยอะไรเราได้เลย

วิเคราะห์ปัญหา

1.        การยิงผู้อื่นจนได้รับบาดเจ็บสาหัสเป็นความผิดทางกฎหมายหรือไม่ จะต้องได้รับโทษมากน้อยเพียงไหน

2.        กระบวนการในการติดตามผู้กระทำมาดำเนินคดีมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง ใครต้องเป็นผู้ดำเนินการ และผู้เสียหายต้องทำอย่างไร

3.        ถ้าเจ้าหน้าที่รัฐไม่สั่งฟ้องคดี ผู้เสียหายสามารถฟ้องคดีได้เองหรือไม่

4.        หากคดีไม่คืบหน้าผู้เสียหายสามารถร้องเรียนให้หน่วยงานใดติดตามความคืบหน้าของคดีได้หรือไม่

5.        หากครอบครัวและผู้เสียหายรู้สึกอันตรายและเกรงว่าจะถูกทำร้าย สามารถเรียกหาการคุ้มครองจากรัฐได้หรือไม่

6.        ความเสียหายที่เกิดขึ้นจะเรียกร้องให้มีการเยียวยาได้หรือไม่ อย่างไรบ้าง

การนำกฎหมายมาแก้ไข

1.        การยิงผู้อื่นจนได้รับบาดเจ็บสาหัสเป็นความผิดทางอาญา หากดูจากบาดแผล 11 นัดจากอาวุธปืนจะถือเป็นความผิดฐานฆ่าผู้อื่น ไม่ใช่ทำร้ายร่างการ จะต้องได้รับโทษหนักถ้าพิสูจน์ว่ามีการวางแผนล่วงหน้า

2.        โดยทั่วไปกระบวนการในการติดตามผู้กระทำมาดำเนินคดีนั้นเริ่มขั้นตอนโดยผู้เสียหายไปแจ้งความกับเจ้าหน้าที่รัฐฝ่ายปกครอง แล้วเจ้าหน้าที่ของรัฐจะเป็นผู้ติดตามผู้กระทำผิดและสืบสวนสอบสวนเพื่อรวบรวมหลักฐานมาทำสำนวนฟ้องต่อไป

3.        ถ้าเจ้าหน้าที่รัฐ เช่น ตำรวจ และอัยการไม่สั่งฟ้องคดี ผู้เสียหายสามารถฟ้องคดีได้เองโดยจ้างทนายขึ้นมาโดยขอหลักฐานจากเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ หรือรวบรวมเอง เพื่อฟ้องต่อศาลได้โดยตรง

4.        หากคดีไม่คืบหน้าผู้เสียหายสามารถร้องเรียนให้กลไกต่างๆที่สร้างขึ้นมาเพื่อตรวจสอบการทำงานของเจ้าหน้าทีรัฐได้

5.        หากครอบครัวและผู้เสียหายรู้สึกอันตรายและเกรงว่าจะถูกทำร้าย ในกรณีนี้อาจแจ้งให้เจ้าหน้าที่รัฐทราบ หรือร้องขอโดยตรงไปยังกรมคุ้มครองพยาน และสามารถย้ายครอบครัวไปอยู่ในสถานที่ปลอดภัยและมีงานทำได้ด้วย

6.        ความเสียหายที่เกิดขึ้นจะเรียกร้องให้มีการเยียวยาได้ตั้งแต่การทำสำนวนฟ้องคดี โดยให้เสนอค่าเสียหายไปในสำนวนได้ เพื่อให้อัยการนำสืบและขอให้ศาลอาญาสั่งให้ชดเชยค่าสินไหมทดแทน   และยังสามารถเรียกค่าเยียวยาเบื้องต้นจากกองทุนยุติธรรม

ช่องทางเรียกร้องสิทธิ

1.             การฟ้องร้องดำเนินคดีทางอาญาเจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือฝ่ายปกครอง เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ปลัดอำเภอ  เพื่อดำเนินคดีอาญา

2.             คณะกรรมการประจำสถานทีตำรวจนั้น หรือคณะกรรมการระดับชาติได้   หรือแจ้งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน   โดยมาตรการขั้นเด็ดขาดคือการฟ้องคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตฯ (ป.ป.ช.)

3.             ปัจจุบันสามารถเรียกหาการคุ้มครองจากกรมคุ้มครองพยาน กระทรวงยุติธรรม

4.             ค่าเสียหายและการเยียวยาขอให้ศาลอาญาสั่งให้ชดเชยค่าสินไหมทดแทนได้   และยังสามารถเรียกค่าเยียวยาเบื้องต้นจากกองทุนยุติธรรม

สรุปแนวทางแก้ไข

ใช้หลักคดีความผิดต่อชีวิตทางอาญา และกระบวนการยุติธรรมทางอาญา และกระบวนการคุ้มครองผู้เสียหายและพยาน   ซึ่งกรณีนี้หากได้แจ้งความให้เจ้าหน้าที่ดำเนินคดีแล้วไม่คืบหน้า อาจร้องไปยังกองปราบและสำนักงานตำรวจแห่งชาติเพื่อเร่งรัดคดี หรือร้องเรียน ปปช. ปัจจุบันมีกรมคุ้มครองสิทธิเสรีภาพที่ให้ความช่วยเหลือแก่เหยื่อในคดีอาญาและมีกองทุนฯซึ่งสามารถช่วยเหลือเบื้องต้น รวมถึงขอเข้าโครงการคุ้มครองพยานได้อีกด้วย   หากตำรวจและอัยการสั่งไม่ฟ้อง ก็อาจแต่งตั้งทนายให้ฟ้องคดีต่อศาลได้เองเพื่อเอาผิดต่อผู้ร่วมกระทำผิดและให้ชดเชยสินไหมทดแทนด้วย

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
ตลอดระยะเวลาแห่งความขัดแย้งทางการเมือง ได้มีกลุ่มต่างๆ เสนอทางออกของปัญหาด้วยการใช้กฎหมายมากมายหลายมาตรา   แต่มาตราหนึ่งซึ่งเป็นข้อถกเถียงมาก คือ การใช้รัฐธรรมนูญ ม.7 ตั้งแต่เมื่อคราวที่ยังใช้รัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 เรื่อยมาจนถึง ฉบับปี 2550   คนจำนวนไม่น้อยคงสงสัยมากว่า มาตรา 7
ทศพล ทรรศนพรรณ
เอาล่ะครับ พ่อแม่พี่น้อง เรื่องถัดไปนี่คงเป็นความสนใจของเพื่อนพ้องหลายๆพื้นที่นะครับ ผมได้รับแจ้งเข้ามาว่า  เจ้าพนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่หนึ่งมีการเพิกเฉย ละเลย ดูแลปัญหาความเดือดร้อนของคนในพื้นที่ แถมยังมีเรื่องราวกินสินบาทคาดสินบนทำให้ชาวบ้านจนปัญญาจะหาทางแก้ไขเข้าไปอีก&n
ทศพล ทรรศนพรรณ
พลังเหนือมนุษย์ ที่จะพูดถึงในครั้งนี้ประกอบไปด้วยสองส่วน คือ พลังธรรมชาติ และพลังลี้ลับ   ซึ่งกฎหมายก็ได้พูดถึงสองสิ่งนี้อยู่ไม่น้อยทีเดียว
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้เป็นสารพัดปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้ใช้แรงงานในยามที่เจอกับภาวะเศรษฐกิจตกสะเก็ด เราคงได้ยินเสียงผู้ประกอบการบ่นให้ฟังว่า ยอดสั่งซื้อตก กำไรหด ต้องลดกำลังการผลิตเพื่อให้บริษัทอยู่รอดกันใช่ไหมครับ  แต่ทราบไหมครับว่า ทุกครั้งที่บอกว่าขาดทุนและต้องลดต้นทุนหรือกำลังการผลิตนั้น มันหมายถึงการป
ทศพล ทรรศนพรรณ
             กฎหมายสมัยใหม่ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้ มีสิ่งที่ต้องเข้าใจร่วมกันว่า ได้ให้อำนาจเด็ดขาดแก่รัฐในการบีบบังคับประชาชนในรัฐ และลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืนกฎหมายโดยการใช้ความรุนแรงนับตั้งแต่ การประหารชีวิต การจำคุก การควบคุมตัว ริบทรัพย์ ในระบบกฎหมายอาญา  ไ
ทศพล ทรรศนพรรณ
ทุกท่านคงทราบกันแล้วนะครับว่าปัจจุบันกฎหมายไทยเกี่ยวกับเรื่องข่มขืนได้มีการปรับปรุงแก้ไขไปให้ทันกับสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นจริง เพราะมิใช่เพียง
ทศพล ทรรศนพรรณ
คงมีหลายคนสงสัยว่าทำไมนักกฎหมายมักย้ำเสมอว่าปัญหาทางกฎหมายต้องตอบในลักษณะ “หนึ่งคำถาม หนึ่งคำตอบ”    กล่าวคือ ในปัญหาเรื่องนั้นจะต้องมีคำชี้ขาดขององค์กรตุลาการหรือองค์กรวินิจฉัยชี้ขาดที่ชัดเจนแน่นอนเพียงหนึ่งเดียว   ห้ามมีคำตอบแตกต่างหลากหลาย   เช่น  
ทศพล ทรรศนพรรณ
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งกับผู้ใช้รถใช้ถนนทั้งในเมืองและต่างจังหวัด เนื่องจากในบางเส้นทางจะมีด่านตรวจของเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งเราก็ไม่แน่ใจว่าจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไรเมื่อถูกกักตัวหรือขอตัวค้นรถตอนถึงด่าน   ทั้งยังสงสัยกับพฤติกรรมของเจ้าหน้าที่ตรงด่านว่าใช่ตำรวจหรือไม่ มีอำนาจหน้าที่อะไ
ทศพล ทรรศนพรรณ
       หลายครั้งที่เราสงสัยกันว่าทำไมเรื่องที่เค้าเถียงกันแทบเป็นแทบตายไม่มีคำตอบที่ชัดเจนสักที ตำรวจก็บอกว่าต้องทำตามกฎหมายข้อนี้ นักกฎหมายก็อ้างว่าไม่ได้ต้องดูกฎหมายอีกฉบับด้วย แล้วพอไปออกรายการทีวีเถียงกันก็ยังไม่ค่อยจะรู้เรื่อง เพราะปัญหาเดียวกันไหงมีกฎหมายมาเกี่ยวข้องต้อง
ทศพล ทรรศนพรรณ
ปัจจุบันมีคนจำนวนมากเข้าไปทำงานตามร้านอาหารหรือสถานบริการต่างๆมากขึ้นกว่าแต่ก่อน ตามจำนวนร้านรวงที่ผุดขึ้นมาเป็นดอกเห็ด จุดไหนมีคนทำงานหรือเรียนหนังสือเยอะๆก็จะมีร้านตั้งมาดักไว้เต็มไปหมด ก็มีคนพูดไว้เยอะว่าร้านอาหารที่ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นแหล่งมั่วสุมของนักศึกษาหรือว่าคนทำงานในวัยหนุ่มสาว&
ทศพล ทรรศนพรรณ
ตอนนี้เราจะมาดูกันนะครับว่า ทำไมเมื่อเกิดความขัดแย้งขึ้นมาในสังคม เราจึงต้องใช้กฎหมายมายุติความขัดแย้ง   เหตุผลของเรื่องนี้ก็ต่อมาจากตอนที่แล้วซึ่งเราบอกว่า กฎหมาย คือ กติกา ที่สังคมกำหนดขึ้นมาร่วมกัน เพื่อชี้ว่าเมื่อเกิดเหตุการณ์ต่างๆขึ้น แล้วตกลงกันไม่ได้ จะ “ยุติ” ความขัดแย้งอย่างไรใ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องที่ผมจะเอามาเล่าสู่กันฟังเป็นความเดือดร้อนแสนสาหัสของน้องสองคนซึ่งได้รับผลกระทบจากการประกาศภาวะฉุกเฉิน เคอร์ฟิว ในช่วงที่มีการปราบปรามและสลายการชุมนุม   ซึ่งมันเกี่ยวพันกับชีวิตคนธรรมดาอย่างเราๆท่านๆมากขึ้น เพราะสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2