Skip to main content

                ประเทศไทยประกาศต่อประชาชนในประเทศว่าจะรับประกันสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ และประกาศต่อโลกว่าเป็น รัฐประชาธิปไตย มีกฎหมายใช้จัดการความขัดแย้งอย่างยุติธรรม รวมไปถึงป้องกันการใช้อำนาจตามอำเภอใจของรัฐ   แต่การประกาศใช้กฎอัยการศึกได้ทำลายสิทธิตามรัฐธรรมนูญ และคุกคามประชาธิปไตย อย่างร้ายแรง

                กฎอัยการศึก พ.ศ.2457 เป็น ซากอารยธรรมที่เหลือค้างมาตั้งแต่ก่อนประเทศไทยจะเปลี่ยนแปลงการปกครอง   ตัวกฎหมายมีเนื้อหาที่ จำกัดสิทธิ และขัดกับระบอบประชาธิปไตยมาก   ซึ่งจะขอเล่าให้เข้าใจกันง่ายๆ ดังนี้

1)      การประกาศใช้กฎอัยการศึก เป็นของฝ่ายทหารโดยแท้ ครั้งนี้ ผบ.ทบ. ประกาศใช้กฎอัยการศึก โดยไม่ปรึกษารัฐบาลรักษาการ

2)      การใช้อำนาจตามกฎอัยการศึก เป็นอำนาจของฝ่ายทหาร  หากจำได้สมัยอดีตนายกฯสมัคร เคยประกาศกฎอัยการศึก   แต่ ผบ. ในขณะนั้นแถลงออกโทรทัศน์ว่าจะไม่ใช้อำนาจใดๆ ในการยุติความรุนแรง    แต่ในสมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์และรองนายกสุเทพ เทือกสุบรรณ  กองทัพใช้กำลังทหารเข้าปราบปรามการชุมนุมจนทำให้ผู้ชุมนุม และผู้ไม่เกี่ยวข้อง ตาย! เช่น เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และผู้สังเกตการณ์สิทธิมนุษยชน สื่อมวลชน คนเร่ร่อน ฯลฯ

3)      อำนาจในการออกกฎหมายลูกมาจำกัดสิทธิเพิ่มเติมอยู่ในมือของฝ่ายทหาร เช่น การประกาศห้ามออกอากาศ ห้ามเสนอข่าว ห้ามเดินทาง ห้ามอยู่อาศัย ไปจนถึงการยึดสถานที่ต่างๆ   อันเป็นการจำกัดสิทธิอย่างร้ายแรง โดยไม่มีระบบตรวจสอบถ่วงดุล   ลองเทียบกับรัฐบาลพลเรือน หากจะออกกฎหมายที่จำกัดสิทธิประชาชนต้องผ่าน รัฐสภา ซึ่งมีการอภิปราย ตรวจสอบหลายขั้นตอน

4)      การกีดกันกระบวนการยุติธรรมออกไปจากพื้นที่ เพราะให้อำนาจทหารตั้งป้อม สร้างด่าน ตรวจกัก ตรวจค้น   ที่ต่างจากการตั้งด่านปกติที่ต้องมีขั้นตอนและรายละเอียดชัดเจน    ทั้งยังมีอำนาจการควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยได้โดยไม่ต้องขอหมายศาล  และยืดเวลาฝากขังโดยไม่ต้องไปพบศาลได้ยาวนานกว่าปกติมาก แถมยังต่อเวลาได้อีกด้วย   ต่างจากรัฐธรรมนูญและกฎวิธีพิจารณาความอาญา

5)      การเลือกระงับสิทธิของประชาชนบางพื้นที่/บางเวลา โดยไม่ต้องบอกเหตุผลและรายละเอียดที่แน่ชัด ทำให้ประชาชนในพื้นที่นั้นเสียสิทธิหลายประการเมื่อเทียบกับพื้นที่อื่น  คนในกรุงเทพฯและปริมณฑลเป็นผู้รับเคราะห์บ่อยครั้ง แต่ก็ไม่เท่ากับพี่น้องใน 3-4 จังหวัดชายแดนใต้ ที่ต้องอยู่กับภาวะนี้ยาวนาน  ครั้งนี้ประกาศใช้ทั้งประเทศ เท่ากับ ยกเลิกการใช้รัฐธรรมนูญหลายมาตรา! ทั้งประเทศ!!!

6)      ในบางกรณีไม่มีการระบุแน่ชัดว่าใครเป็นผู้ต้องสงสัย มีหลักฐานชี้มูลความผิดเจาะจงไปที่ใคร แต่ใช้การประกาศหว่านคลุมหลายพื้นที่ หลายถนนเพื่อเข้าคุมพื้นที่ แล้วตรวจค้น จับกุม ประชาชาน  ซึ่งเป็นการเสี่ยงต่อการจับผิดตัว ยัดหลักฐาน ปรักปรำคนผิด  พูดง่ายๆ  “จับแพะ”   หรือ จัดการกับฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองได้ง่ายๆ

7)      การประกาศเลิกใช้กฎอัยการศึกต้องมีพระบรมราชโองการ ซึ่งนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีกลาโหมต้องเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ  พูดง่ายๆ รัฐบาลต้องชนกับกองทัพในสถานการณ์ที่รัฐบาลรักษาการกำลังโงนเงน

8)      การยกเว้นโทษและความรับผิดทางกฎหมายทั้งหมด พูดง่ายๆ ถ้าเกิดความเสียหายกับชีวิตและทรัพย์สินกับประชาชน/บริษัทห้างร้านใดๆ   ทหารไม่ต้องรับผิดชอบ   แม้ประชาชนผู้เดือดร้อนจะพิสูจน์ได้ว่าเจ้าหน้าที่จะใช้อำนาจโดยทุจริต เลือกประติบัติ เกินสมควรแก่เหตุ  เพราะทหารทำไปเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของ ชาติ ศาสน์ กษัตริย์ จากศัตรูภายนอกและภายใน

 

อย่างไรก็ดี ต้องไม่ลืมว่า ภาวะอัยการศึกได้ทำลาย “ความจริง” ลงตั้งแต่แรกเพราะประกาศปิดสื่อได้ทุกรูปแบบ   ทำให้ประชาชนโดนปิดหู ปิดตา ปิดปาก ยากจะพิสูจน์ความจริง ว่า ประเทศกำลังประสบภัยคุกคามจาก "ศัตรู" ของประเทศ จริงหรือไม่   ฤาแท้จริงเป็นเพียงประชาชนผู้ต้องการใช้สิทธิทางการเมืองแต่ไม่ตรงใจกองทัพ?

โดยศึกนี้มี "ต้นทุน" สูงลิบ คือการทำลายอำนาจของ ฝ่ายบริหาร ตุลาการ และนิติบัญญัติ ลงทันที   โดยมี สิทธิเสรีภาพของประชาชนและความมั่นคงของระบอบประชาธิปไตย เป็น "ดอกเบี้ย"   ที่แพงลิบ!!!

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
ตลอดระยะเวลาแห่งความขัดแย้งทางการเมือง ได้มีกลุ่มต่างๆ เสนอทางออกของปัญหาด้วยการใช้กฎหมายมากมายหลายมาตรา   แต่มาตราหนึ่งซึ่งเป็นข้อถกเถียงมาก คือ การใช้รัฐธรรมนูญ ม.7 ตั้งแต่เมื่อคราวที่ยังใช้รัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 เรื่อยมาจนถึง ฉบับปี 2550   คนจำนวนไม่น้อยคงสงสัยมากว่า มาตรา 7
ทศพล ทรรศนพรรณ
เอาล่ะครับ พ่อแม่พี่น้อง เรื่องถัดไปนี่คงเป็นความสนใจของเพื่อนพ้องหลายๆพื้นที่นะครับ ผมได้รับแจ้งเข้ามาว่า  เจ้าพนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่หนึ่งมีการเพิกเฉย ละเลย ดูแลปัญหาความเดือดร้อนของคนในพื้นที่ แถมยังมีเรื่องราวกินสินบาทคาดสินบนทำให้ชาวบ้านจนปัญญาจะหาทางแก้ไขเข้าไปอีก&n
ทศพล ทรรศนพรรณ
พลังเหนือมนุษย์ ที่จะพูดถึงในครั้งนี้ประกอบไปด้วยสองส่วน คือ พลังธรรมชาติ และพลังลี้ลับ   ซึ่งกฎหมายก็ได้พูดถึงสองสิ่งนี้อยู่ไม่น้อยทีเดียว
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้เป็นสารพัดปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้ใช้แรงงานในยามที่เจอกับภาวะเศรษฐกิจตกสะเก็ด เราคงได้ยินเสียงผู้ประกอบการบ่นให้ฟังว่า ยอดสั่งซื้อตก กำไรหด ต้องลดกำลังการผลิตเพื่อให้บริษัทอยู่รอดกันใช่ไหมครับ  แต่ทราบไหมครับว่า ทุกครั้งที่บอกว่าขาดทุนและต้องลดต้นทุนหรือกำลังการผลิตนั้น มันหมายถึงการป
ทศพล ทรรศนพรรณ
             กฎหมายสมัยใหม่ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้ มีสิ่งที่ต้องเข้าใจร่วมกันว่า ได้ให้อำนาจเด็ดขาดแก่รัฐในการบีบบังคับประชาชนในรัฐ และลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืนกฎหมายโดยการใช้ความรุนแรงนับตั้งแต่ การประหารชีวิต การจำคุก การควบคุมตัว ริบทรัพย์ ในระบบกฎหมายอาญา  ไ
ทศพล ทรรศนพรรณ
ทุกท่านคงทราบกันแล้วนะครับว่าปัจจุบันกฎหมายไทยเกี่ยวกับเรื่องข่มขืนได้มีการปรับปรุงแก้ไขไปให้ทันกับสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นจริง เพราะมิใช่เพียง
ทศพล ทรรศนพรรณ
คงมีหลายคนสงสัยว่าทำไมนักกฎหมายมักย้ำเสมอว่าปัญหาทางกฎหมายต้องตอบในลักษณะ “หนึ่งคำถาม หนึ่งคำตอบ”    กล่าวคือ ในปัญหาเรื่องนั้นจะต้องมีคำชี้ขาดขององค์กรตุลาการหรือองค์กรวินิจฉัยชี้ขาดที่ชัดเจนแน่นอนเพียงหนึ่งเดียว   ห้ามมีคำตอบแตกต่างหลากหลาย   เช่น  
ทศพล ทรรศนพรรณ
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งกับผู้ใช้รถใช้ถนนทั้งในเมืองและต่างจังหวัด เนื่องจากในบางเส้นทางจะมีด่านตรวจของเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งเราก็ไม่แน่ใจว่าจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไรเมื่อถูกกักตัวหรือขอตัวค้นรถตอนถึงด่าน   ทั้งยังสงสัยกับพฤติกรรมของเจ้าหน้าที่ตรงด่านว่าใช่ตำรวจหรือไม่ มีอำนาจหน้าที่อะไ
ทศพล ทรรศนพรรณ
       หลายครั้งที่เราสงสัยกันว่าทำไมเรื่องที่เค้าเถียงกันแทบเป็นแทบตายไม่มีคำตอบที่ชัดเจนสักที ตำรวจก็บอกว่าต้องทำตามกฎหมายข้อนี้ นักกฎหมายก็อ้างว่าไม่ได้ต้องดูกฎหมายอีกฉบับด้วย แล้วพอไปออกรายการทีวีเถียงกันก็ยังไม่ค่อยจะรู้เรื่อง เพราะปัญหาเดียวกันไหงมีกฎหมายมาเกี่ยวข้องต้อง
ทศพล ทรรศนพรรณ
ปัจจุบันมีคนจำนวนมากเข้าไปทำงานตามร้านอาหารหรือสถานบริการต่างๆมากขึ้นกว่าแต่ก่อน ตามจำนวนร้านรวงที่ผุดขึ้นมาเป็นดอกเห็ด จุดไหนมีคนทำงานหรือเรียนหนังสือเยอะๆก็จะมีร้านตั้งมาดักไว้เต็มไปหมด ก็มีคนพูดไว้เยอะว่าร้านอาหารที่ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นแหล่งมั่วสุมของนักศึกษาหรือว่าคนทำงานในวัยหนุ่มสาว&
ทศพล ทรรศนพรรณ
ตอนนี้เราจะมาดูกันนะครับว่า ทำไมเมื่อเกิดความขัดแย้งขึ้นมาในสังคม เราจึงต้องใช้กฎหมายมายุติความขัดแย้ง   เหตุผลของเรื่องนี้ก็ต่อมาจากตอนที่แล้วซึ่งเราบอกว่า กฎหมาย คือ กติกา ที่สังคมกำหนดขึ้นมาร่วมกัน เพื่อชี้ว่าเมื่อเกิดเหตุการณ์ต่างๆขึ้น แล้วตกลงกันไม่ได้ จะ “ยุติ” ความขัดแย้งอย่างไรใ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องที่ผมจะเอามาเล่าสู่กันฟังเป็นความเดือดร้อนแสนสาหัสของน้องสองคนซึ่งได้รับผลกระทบจากการประกาศภาวะฉุกเฉิน เคอร์ฟิว ในช่วงที่มีการปราบปรามและสลายการชุมนุม   ซึ่งมันเกี่ยวพันกับชีวิตคนธรรมดาอย่างเราๆท่านๆมากขึ้น เพราะสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2