Skip to main content

เรื่องของสัตว์ในบางครั้งก็สร้างความยุ่งยากให้กับคน ยิ่งสัตว์เลี้ยงไปสร้างความเสียหายให้กับคนอื่นก็ย่อมเป็นเรื่องปวดหัวให้เจ้าของต้องจัดการ ก่อนที่ปัญหาจะลุกลามกลายเป็นการทรมานหรือสังหารสัตว์อย่างที่เห็นสื่อนะครับ   ในทางกฎหมายเรื่องสัตว์เลี้ยงนี้เป็นข้อพิพาทในทางทรัพย์สิน จึงอยู่ที่การใช้การบังคับด้วยวิธีการตามกฎหมายวิธีพิจาณาความแพ่งเป็นหลัก

หมาถือเป็นเพื่อนคู่ใจคนไทยจำนวนมาก แต่หากปล่อยปละละเลยไม่ดูแลควบคุมให้ดีก็อาจมีปัญหาตามมา เหมือนเรื่องนี้ที่เกิดจาก สุนัขพันธุ์ไทยตัวหนึ่งซึ่งมีนิสัยขี้เล่นอารมณ์ดี เพราะเจ้าของสัตว์ไม่เคยที่จะขังสุนัขไว้เลย ปล่อยให้วิ่งเล่นได้ อยู่มาวันหนึ่งมีเด็กข้างบ้านมาแหย่สุนัขตัวดังกล่าว จึงถูกสุนัขกัด เจ้าของสุนัขแสดงความรับผิดชอบด้วยการนำไปรักษาพยาบาลและได้ให้เงินค่าทำขวัญแก่ครอบครัวเด็ก

วันต่อมาเด็กไปโรงเรียนเด็กกลับร้องไห้กลัวสุนัขที่โรงเรียน ครอบครัวเด็กกลัวสุนัขเป็นโรคพิษสุนัขบ้า แต่เจ้าของได้ยืนยันว่าสุนัขดังกล่าวได้รับวัคซีนแล้วไม่เป็นโรคแน่นอน แต่ครอบครัวของเด็กคนดังกล่าวไม่ยอม ต้องการที่จะฆ่าสุนัขตัวดังกล่าว เรื่องนี้จึงได้สร้างความสลดใจแก่ผู้เป็นเจ้าของเป็นอย่างมาก

เรื่องนี้ทางเจ้าของหมาเข้ามาปรึกษาเพราะคิดว่าน่าจะมีองค์กรอนุรักษ์สัตว์มาช่วยและชาวบ้านไม่น่าที่จะทำร้ายสัตว์ ควรหาทางออกที่ดีกว่านี้ เช่น การสร้างกรงให้สุนัขตัวดังกล่าวแทนการฆ่าสัตว์

 

วิเคราะห์ปัญหา

1.              เจ้าของสุนัขมีสิทธิและหน้าที่อย่างไรบ้างในการดูแลสุนัขของตน

2.              เมื่อสุนัขของตนไปกัดผู้อื่นแต่เกิดจากการยั่วยุ ผลในทางกฎหมายเป็นอย่างไร มีความความผิดหรือไม่ ต้องชดใช้กันอย่างไร

3.              สุนัขที่กัดคนต้องได้รับการดูแลควบคุมอย่างไร

การนำกฎหมายมาแก้ไข

1.                  เจ้าของสุนัขมีสิทธิและหน้าที่ในการดูแลสุนัขของตนไม่ให้สร้างความเดือดร้อน ทำลายทรัพย์สิน หรือทำร้ายร่างกายผู้อื่น เพราะสุนัขถือเป็นทรัพย์ในการครอบครองและดูแลของเจ้าของ

2.                  เมื่อสุนัขของตนไปกัดผู้อื่นแต่เกิดจากการยั่วยุ เจ้าของจะต้องรับผิดในมูลละเมิดที่เกิดขึ้นในฐานะเจ้าของ มีความหนี้ต่อฝ่ายผู้เสียหาย แต่การพิสูจน์ว่าเด็กมายั่วยุก่อนทำให้เจ้าของไม่ต้องรับผิดเพราะเด็กเป็นผู้เร้าสัตว์เอง ถ้าเด็กไม่ได้ยั่วยุเจ้าของต้องชดใช้สินไหมทดแทน แต่ถ้าเด็กเร้าสุนัขก่อนก็ไม่ต้องรับผิดใดๆทั้งสิ้น

3.                  สุนัขที่ดุร้ายกัดคนต้องได้รับการดูแลควบคุมโดยตรวจรักษาว่าเป็นโรคอันตรายหรือไม่ หากปกติดีก็อาจต้องนำเข้าสู่กระบวนการบำบัดโดยหน่วยงานที่ฝึกหัดสุนัขโดยเจ้าของต้องเป็นผู้เสียค่าใช้จ่าย

ช่องทางเรียกร้องสิทธิ

1.         การเรียกค่าเสียหายจากการละเมิดสามารถตกลงกันเองได้ก่อนตามความพอใจ หากตกลงกันไม่ได้ก็ต้องตั้งทนายไปฟ้องเรียกร้องและพิสูจน์ค่าเสียหายที่ศาลแพ่งฯ

2.         การควบคุมดูแลสุขภาพสุนัขไม่ให้ทำอันตรายต้องร้องเรียนไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่เพื่อประสานไปยังหน่วยงานด้านสาธารณสุขต่อไป

สรุปแนวทางแก้ไข

ใช้หลักกฎหมายทรัพย์และละเมิด วิธีพิจารณาความแพ่ง ซึ่งกรณีนี้การกล่าวหาว่าสัตว์เป็นโรคต้องพิสูจน์ก่อนด้วยการนำไปตรวจ หากไม่เป็นโรคเจ้าของสามารถกำหนดอนาคตของชีวิตสุนัขได้เท่าที่ไม่เป็นการทรมานสัตว์   ส่วนการทำทารุณต่อสัตว์เจ้าของสามารถฟ้องต่อศาลฐานละเมิดทำให้เสียทรัพย์และเรียกร้องค่าเสียหายในทางแพ่งได้

 

 

 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
ผู้พิทักษ์สิทธิมนุษยชน (Human Rights Defender – “นักปกป้องสิทธิมนุษยชน” คือ คำแปลทางการของรัฐไทย) ที่องค์การสหประชาชาติได้ให้นิยามไว้นั้นหมายถึง "บุคคลผู้ดำเนินการโดยลำพังหรือร่วมกับบุคคลอื่น กระทำการเพื่อส่งเสริมหรือคุ้ครองสิทธิมนุษยชน"
ทศพล ทรรศนพรรณ
เกษตรกรรมถือเป็นวิถีการผลิตที่อยู่ควบคู่กับชีวิตคนไทยจำนวนไม่น้อยมาเป็นเวลานาน   แต่ในปัจจุบันนี้การผลิตในวิถีทางเดิมได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างที่คนในสังคมไทยมิได้ตระหนักรู้    ความคิดและจินตนาการเดิมเกี่ยวกับเกษตรกรรมที่มีทุ่งนาสีเขียว ชาวนารวมตัวกันลงแขกเกี่ยวข้าว หรือทำการผ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การใช้กำลังเข้าประหัตประหารกันของมนุษย์ปรากฏอยู่อย่างต่อเนื่องยาวนานควบคู่กับทุกสังคม   แต่ก็มีหลายอารยธรรมพยายามสร้างขอบเขตและแนวทางในการควบคุมความเสียหายของการใช้กำลังมิให้กระทบกระเทือนชีวิตผู้คน ทรัพย์สิน และสังคม มากเกินกว่าจะธำรงเผ่าพันธุ์ของมนุษย์ไว้ได้
ทศพล ทรรศนพรรณ
การรวมกลุ่มประเทศในระดับภูมิภาคเพื่อสร้างนโยบาย หรือกฎหมายร่วมกันของรัฐสมาชิก ตั้งอยู่บนหลักความสมัครใจเข้าร่วมของรัฐ โดยส่วนใหญ่ยึดถือเจตจำนงของรัฐเป็นสำคัญเหนือสิ่งอื่นใด   เนื่องจากรัฐทั้งหลายที่เข้ารวมกลุ่มนั้นย่อมีความหวังที่จะบรรลุเป้าหมายความเจริญก้าวหน้า และประโยชน์ของรัฐตนเป็นท
ทศพล ทรรศนพรรณ
7.เสรีภาพในการแสดงออก การสอดส่องของรัฐ และการควบคุมเนื้อหา  
ทศพล ทรรศนพรรณ
แรงงานสร้างสรรค์ในบทความนี้ที่จะพูดถึง คือ ผู้คนที่ทำงานในอุตสาหกรรมภาคสร้างสรรค์ เช่น คนทำสื่อสาระ บันเทิง ละคร นักเขียน ไปจนถึง นักแปล ดารา นักแสดง ศิลปิน ที่กลายเป็นอาชีพที่ปัญญาชน หรือผู้มีการศึกษายึดเป็นวิถีทางในการประกอบสัมมาอาชีพ หารายได้เลี้ยงดูตนเองและครอบครัว กันเป็นจำนวนมาก
ทศพล ทรรศนพรรณ
การประกวดความงามในช่วงหลังได้กลายเป็นเวทีแสดงพลังของความงดงามที่หลากหลาย และใช้ประเด็นการสร้างความเข้มแข็งให้สตรีเป็นแกนหลักส่งเสริมความงาม “อย่างมีคุณค่า”
ทศพล ทรรศนพรรณ
ระบอบการกำกับโลกไซเบอร์และตัวแบบในการกำกับดูแลพื้นที่ไซเบอร์
ทศพล ทรรศนพรรณ
4.ความเป็นส่วนตัวในการสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์และการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล       
ทศพล ทรรศนพรรณ
Internet Communication            ปัจจุบันเทคโนโลยีถือเป็นตัวกำหนดภูมิทัศน์ทางสังคม เศรษฐกิจและวัฒนธรรม ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ถือเป็นความท้าทายในสังคมยุดิจิทัลซึ่งผู้ให้บริการในโลกธุรกิจต้องเผชิญ เ
ทศพล ทรรศนพรรณ
มาตรการรัดเข็มขัด (Austerity) หรือ นโยบายที่มีแนวโน้มปรับลดค่าใช้จ่ายภาครัฐหรือเพิ่มการจัดเก็บภาษีควบคู่ไปด้วย  แนวทางนี้เป็นสิ่งที่ถูกโจมตีโดยนักคิดนักวิเคราะห์สายส่งเสริมสวัสดิการสังคมและพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนมาอย่างต่อเนื่องเพราะการตัดลดงบประมาณหมายถึงการลดคุณภาพและปริมาณสวัสดิการสังคมที