Skip to main content

เรื่องของสัตว์ในบางครั้งก็สร้างความยุ่งยากให้กับคน ยิ่งสัตว์เลี้ยงไปสร้างความเสียหายให้กับคนอื่นก็ย่อมเป็นเรื่องปวดหัวให้เจ้าของต้องจัดการ ก่อนที่ปัญหาจะลุกลามกลายเป็นการทรมานหรือสังหารสัตว์อย่างที่เห็นสื่อนะครับ   ในทางกฎหมายเรื่องสัตว์เลี้ยงนี้เป็นข้อพิพาทในทางทรัพย์สิน จึงอยู่ที่การใช้การบังคับด้วยวิธีการตามกฎหมายวิธีพิจาณาความแพ่งเป็นหลัก

หมาถือเป็นเพื่อนคู่ใจคนไทยจำนวนมาก แต่หากปล่อยปละละเลยไม่ดูแลควบคุมให้ดีก็อาจมีปัญหาตามมา เหมือนเรื่องนี้ที่เกิดจาก สุนัขพันธุ์ไทยตัวหนึ่งซึ่งมีนิสัยขี้เล่นอารมณ์ดี เพราะเจ้าของสัตว์ไม่เคยที่จะขังสุนัขไว้เลย ปล่อยให้วิ่งเล่นได้ อยู่มาวันหนึ่งมีเด็กข้างบ้านมาแหย่สุนัขตัวดังกล่าว จึงถูกสุนัขกัด เจ้าของสุนัขแสดงความรับผิดชอบด้วยการนำไปรักษาพยาบาลและได้ให้เงินค่าทำขวัญแก่ครอบครัวเด็ก

วันต่อมาเด็กไปโรงเรียนเด็กกลับร้องไห้กลัวสุนัขที่โรงเรียน ครอบครัวเด็กกลัวสุนัขเป็นโรคพิษสุนัขบ้า แต่เจ้าของได้ยืนยันว่าสุนัขดังกล่าวได้รับวัคซีนแล้วไม่เป็นโรคแน่นอน แต่ครอบครัวของเด็กคนดังกล่าวไม่ยอม ต้องการที่จะฆ่าสุนัขตัวดังกล่าว เรื่องนี้จึงได้สร้างความสลดใจแก่ผู้เป็นเจ้าของเป็นอย่างมาก

เรื่องนี้ทางเจ้าของหมาเข้ามาปรึกษาเพราะคิดว่าน่าจะมีองค์กรอนุรักษ์สัตว์มาช่วยและชาวบ้านไม่น่าที่จะทำร้ายสัตว์ ควรหาทางออกที่ดีกว่านี้ เช่น การสร้างกรงให้สุนัขตัวดังกล่าวแทนการฆ่าสัตว์

 

วิเคราะห์ปัญหา

1.              เจ้าของสุนัขมีสิทธิและหน้าที่อย่างไรบ้างในการดูแลสุนัขของตน

2.              เมื่อสุนัขของตนไปกัดผู้อื่นแต่เกิดจากการยั่วยุ ผลในทางกฎหมายเป็นอย่างไร มีความความผิดหรือไม่ ต้องชดใช้กันอย่างไร

3.              สุนัขที่กัดคนต้องได้รับการดูแลควบคุมอย่างไร

การนำกฎหมายมาแก้ไข

1.                  เจ้าของสุนัขมีสิทธิและหน้าที่ในการดูแลสุนัขของตนไม่ให้สร้างความเดือดร้อน ทำลายทรัพย์สิน หรือทำร้ายร่างกายผู้อื่น เพราะสุนัขถือเป็นทรัพย์ในการครอบครองและดูแลของเจ้าของ

2.                  เมื่อสุนัขของตนไปกัดผู้อื่นแต่เกิดจากการยั่วยุ เจ้าของจะต้องรับผิดในมูลละเมิดที่เกิดขึ้นในฐานะเจ้าของ มีความหนี้ต่อฝ่ายผู้เสียหาย แต่การพิสูจน์ว่าเด็กมายั่วยุก่อนทำให้เจ้าของไม่ต้องรับผิดเพราะเด็กเป็นผู้เร้าสัตว์เอง ถ้าเด็กไม่ได้ยั่วยุเจ้าของต้องชดใช้สินไหมทดแทน แต่ถ้าเด็กเร้าสุนัขก่อนก็ไม่ต้องรับผิดใดๆทั้งสิ้น

3.                  สุนัขที่ดุร้ายกัดคนต้องได้รับการดูแลควบคุมโดยตรวจรักษาว่าเป็นโรคอันตรายหรือไม่ หากปกติดีก็อาจต้องนำเข้าสู่กระบวนการบำบัดโดยหน่วยงานที่ฝึกหัดสุนัขโดยเจ้าของต้องเป็นผู้เสียค่าใช้จ่าย

ช่องทางเรียกร้องสิทธิ

1.         การเรียกค่าเสียหายจากการละเมิดสามารถตกลงกันเองได้ก่อนตามความพอใจ หากตกลงกันไม่ได้ก็ต้องตั้งทนายไปฟ้องเรียกร้องและพิสูจน์ค่าเสียหายที่ศาลแพ่งฯ

2.         การควบคุมดูแลสุขภาพสุนัขไม่ให้ทำอันตรายต้องร้องเรียนไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่เพื่อประสานไปยังหน่วยงานด้านสาธารณสุขต่อไป

สรุปแนวทางแก้ไข

ใช้หลักกฎหมายทรัพย์และละเมิด วิธีพิจารณาความแพ่ง ซึ่งกรณีนี้การกล่าวหาว่าสัตว์เป็นโรคต้องพิสูจน์ก่อนด้วยการนำไปตรวจ หากไม่เป็นโรคเจ้าของสามารถกำหนดอนาคตของชีวิตสุนัขได้เท่าที่ไม่เป็นการทรมานสัตว์   ส่วนการทำทารุณต่อสัตว์เจ้าของสามารถฟ้องต่อศาลฐานละเมิดทำให้เสียทรัพย์และเรียกร้องค่าเสียหายในทางแพ่งได้

 

 

 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
มาตรการสำหรับการแก้ปัญหาความอดอยากหิวโหยที่เกิดจากภัยพิบัติธรรมชาตินั้นสามารถดำเนินการได้ใน 3 ช่วงเวลา ก็คือ การเตรียมตัวก่อนภัยพิบัติจะเกิด การบรรเทาและแก้ไขปัญหาในขณะเกิดภัยพิบัติ การเยียวยาและฟื้นฟูหลังภัยพิบัติผ่านไปแล้ว   ในบทความนี้จะนำเสนอมาตรการและกรณีศึกษาที่ใช้ในการขจัดความหิว
ทศพล ทรรศนพรรณ
มาตรการทั่วไปที่ใช้ในการประกันความอิ่มท้องของประชากรในประเทศตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติที่รัฐบาลไทยประกาศสมาทานยึดถือนั้น ตั้งอยู่บนหลักกฎหมายสิทธิมนุษยชนเรื่องสิทธิด้านอาหาร นั้นหมายถึงรัฐไทยต้องมีมาตรการเคารพ ปกป้อง และส่งเสริมสิทธิประกอบด้วย กรอบทางกฎหมาย   กรอบทางนโย
ทศพล ทรรศนพรรณ
อุดมการณ์ที่เป็นสาเหตุของปัญหาแรงงานที่เกิดขึ้นทั่วโลกอยู่นั้น มีจุดก่อตัวมาจากระบบเศรษฐกิจการเมืองแบบเสรีนิยมใหม่ที่เข้ามาพร้อม ๆ กับกระแสแห่งการพัฒนาของโลกยุคโลกาภิวัฒน์ ที่ทำให้เกิดเสรีทางการลงทุนจนนำมาซึ่งรูปแบบการจ้างงานรูปที่มีความยืดหยุ่นต่อการบริหารจัดการของบรรษัท และสามารถตอบโจทย์นักลงทุ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อแก้ไขปัญหาที่ดินจำเป็นต้องวางแผนในการดำเนินการด้วยความเข้าใจพื้นฐานที่ว่า ความขัดแย้งเป็นสิ่งธรรมดาสามัญที่เกิดขึ้นได้ หากต้องการผลักดันข้อบัญญัติท้องถิ่นให้สำเร็จจึงต้องสามารถทำความเข้าใจลักษณะของข้อพิพาทที่มักเกิดขึ้นในการจัดการที่ดิน   และมีแนวทางในการข
ทศพล ทรรศนพรรณ
 ลู่ทางส่งเสริมการการมีส่วนร่วมของประชาชนในการแก้ปัญหามลพิษ มีดังต่อไปนี้
ทศพล ทรรศนพรรณ
ปัญหาสิ่งแวดล้อมมักสร้างผลกระทบในระยะยาว ไม่ได้เกิดการบาดเจ็บ เสียหาย ทันทีทันใด   ดังนั้นเราจึงต้องมีวิธีการพิสูจน์ว่าความเจ็บป่วย เสียหายที่เกิดขึ้นนั้นมีผลมาจากปัญหาสิ่งแวดล้อมจริง   สิ่งที่เราต้องทำคือการเก็บหลักฐานอย่างต่อเนื่องและชัดเจนเพื่อนำไปใช้เป็นพยานหลักฐาน &n
ทศพล ทรรศนพรรณ
การจัดชุมนุมสาธารณะย่อมเป็นที่สนใจของสังคมตามความประสงค์ของผู้จัด จึงมีสื่อมวลชนที่เข้าร่วมทำข่าวทั้งที่เป็นสื่อมวลชนอาชีพที่มีสังกัดประจำหรือสื่อพลเมืองที่ทำหน้าที่ติดตามสถานการณ์และรายงานข่าวตามภูมิทัศน์เทคโนโลยีสื่อสารที่ปรับตัวไป 
ทศพล ทรรศนพรรณ
การชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธมีข้อจำกัดที่อาจถูกรัฐเข้าระงับหรือแทรกแซงการใช้สิทธิได้ตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) ข้อ 4 ในสภาวะฉุกเฉินสาธารณะที่คุกคามความอยู่รอดของชาติที่ถูกประกาศอย่างเป็นทางการ และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาญาจักไทย พุทธศักราช 2560 กำหนดถึงเหตุที
ทศพล ทรรศนพรรณ
การชุมนุมโดยสงบเป็นเครื่องมือที่ทำให้บุคคลทั้งหลายสามารถแสดงออกร่วมกันและมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลง ให้ปัจเจกสามารถแสดงความเป็นตัวตนของตัวเองร่วมกับผู้อื่น   โดยการเลือกสถานที่การชุมนุมอยู่ภายใต้หลักมองเห็นและได้ยิน (sight and sound) ทั้งนี้ผู้ชุมนุมต้องอยู่ในที่ที่มองเห็นและสาธารณชนต้อ
ทศพล ทรรศนพรรณ
ขบวนการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้น ในบริบทโครงสร้างทางอำนาจในสังคมที่ไม่เท่าเทียมกัน การรวมศูนย์อำนาจหรือการครอบงำทางวัฒนธรรมโดยใช้วัฒนธรรมเดียว สิทธิชุมชนจึงเป็นการต่อสู้เพื่อปรับสัมพันธภาพทางอำนาจ สร้างตำแหน่งแห่งที่ให้ชุมชนให้เกิดความเป็นธรรมและเคารพในความหลากหลาย โดยท้องถิ่นมีเสรีภาพในการกำหนดกติกา
ทศพล ทรรศนพรรณ
ข้อกล่าวอ้างสำคัญของรัฐบาลไทยในการเพิ่มศักยภาพในด้านข่าวกรองและออกกฎหมายที่ให้อำนาจสอดส่องการสื่อสารของประชาชน คือ “ถ้าประชาชนไม่ได้ทำผิดจะกลัวอะไร” โดยมิได้คำนึงหลักการพื้นฐานเบื้องต้นว่า แม้ประชาชนมิได้ทำผิดกฎหมายอันใดก็มีสิทธิความเป็นส่วนตัว ปลอดจากการแทรกแซงการสื่อสาร อันเป็นสิทธิพื้นฐานตามกฎ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การพัฒนารัฐที่ใช้กฎหมายเป็นหลักประกันสิทธิมนุษยชนของประชาชน และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของพลเมืองในประเด็นสาธารณะของผู้ตื่นตัวทางการเมืองในลักษณะ “นิติรัฐอย่างเป็นทางการ” แตกต่างจากความสัมพันธ์ทางอำนาจแบบ “ไม่เป็นทางการ” ที่รัฐอาจหลีกเลี่ยงการใช้อำนาจปกครองภายใต้กรอบของกฎหมายเพื่อประกันสิทธิเสรีภาพต