Skip to main content

เรื่องของสัตว์ในบางครั้งก็สร้างความยุ่งยากให้กับคน ยิ่งสัตว์เลี้ยงไปสร้างความเสียหายให้กับคนอื่นก็ย่อมเป็นเรื่องปวดหัวให้เจ้าของต้องจัดการ ก่อนที่ปัญหาจะลุกลามกลายเป็นการทรมานหรือสังหารสัตว์อย่างที่เห็นสื่อนะครับ   ในทางกฎหมายเรื่องสัตว์เลี้ยงนี้เป็นข้อพิพาทในทางทรัพย์สิน จึงอยู่ที่การใช้การบังคับด้วยวิธีการตามกฎหมายวิธีพิจาณาความแพ่งเป็นหลัก

หมาถือเป็นเพื่อนคู่ใจคนไทยจำนวนมาก แต่หากปล่อยปละละเลยไม่ดูแลควบคุมให้ดีก็อาจมีปัญหาตามมา เหมือนเรื่องนี้ที่เกิดจาก สุนัขพันธุ์ไทยตัวหนึ่งซึ่งมีนิสัยขี้เล่นอารมณ์ดี เพราะเจ้าของสัตว์ไม่เคยที่จะขังสุนัขไว้เลย ปล่อยให้วิ่งเล่นได้ อยู่มาวันหนึ่งมีเด็กข้างบ้านมาแหย่สุนัขตัวดังกล่าว จึงถูกสุนัขกัด เจ้าของสุนัขแสดงความรับผิดชอบด้วยการนำไปรักษาพยาบาลและได้ให้เงินค่าทำขวัญแก่ครอบครัวเด็ก

วันต่อมาเด็กไปโรงเรียนเด็กกลับร้องไห้กลัวสุนัขที่โรงเรียน ครอบครัวเด็กกลัวสุนัขเป็นโรคพิษสุนัขบ้า แต่เจ้าของได้ยืนยันว่าสุนัขดังกล่าวได้รับวัคซีนแล้วไม่เป็นโรคแน่นอน แต่ครอบครัวของเด็กคนดังกล่าวไม่ยอม ต้องการที่จะฆ่าสุนัขตัวดังกล่าว เรื่องนี้จึงได้สร้างความสลดใจแก่ผู้เป็นเจ้าของเป็นอย่างมาก

เรื่องนี้ทางเจ้าของหมาเข้ามาปรึกษาเพราะคิดว่าน่าจะมีองค์กรอนุรักษ์สัตว์มาช่วยและชาวบ้านไม่น่าที่จะทำร้ายสัตว์ ควรหาทางออกที่ดีกว่านี้ เช่น การสร้างกรงให้สุนัขตัวดังกล่าวแทนการฆ่าสัตว์

 

วิเคราะห์ปัญหา

1.              เจ้าของสุนัขมีสิทธิและหน้าที่อย่างไรบ้างในการดูแลสุนัขของตน

2.              เมื่อสุนัขของตนไปกัดผู้อื่นแต่เกิดจากการยั่วยุ ผลในทางกฎหมายเป็นอย่างไร มีความความผิดหรือไม่ ต้องชดใช้กันอย่างไร

3.              สุนัขที่กัดคนต้องได้รับการดูแลควบคุมอย่างไร

การนำกฎหมายมาแก้ไข

1.                  เจ้าของสุนัขมีสิทธิและหน้าที่ในการดูแลสุนัขของตนไม่ให้สร้างความเดือดร้อน ทำลายทรัพย์สิน หรือทำร้ายร่างกายผู้อื่น เพราะสุนัขถือเป็นทรัพย์ในการครอบครองและดูแลของเจ้าของ

2.                  เมื่อสุนัขของตนไปกัดผู้อื่นแต่เกิดจากการยั่วยุ เจ้าของจะต้องรับผิดในมูลละเมิดที่เกิดขึ้นในฐานะเจ้าของ มีความหนี้ต่อฝ่ายผู้เสียหาย แต่การพิสูจน์ว่าเด็กมายั่วยุก่อนทำให้เจ้าของไม่ต้องรับผิดเพราะเด็กเป็นผู้เร้าสัตว์เอง ถ้าเด็กไม่ได้ยั่วยุเจ้าของต้องชดใช้สินไหมทดแทน แต่ถ้าเด็กเร้าสุนัขก่อนก็ไม่ต้องรับผิดใดๆทั้งสิ้น

3.                  สุนัขที่ดุร้ายกัดคนต้องได้รับการดูแลควบคุมโดยตรวจรักษาว่าเป็นโรคอันตรายหรือไม่ หากปกติดีก็อาจต้องนำเข้าสู่กระบวนการบำบัดโดยหน่วยงานที่ฝึกหัดสุนัขโดยเจ้าของต้องเป็นผู้เสียค่าใช้จ่าย

ช่องทางเรียกร้องสิทธิ

1.         การเรียกค่าเสียหายจากการละเมิดสามารถตกลงกันเองได้ก่อนตามความพอใจ หากตกลงกันไม่ได้ก็ต้องตั้งทนายไปฟ้องเรียกร้องและพิสูจน์ค่าเสียหายที่ศาลแพ่งฯ

2.         การควบคุมดูแลสุขภาพสุนัขไม่ให้ทำอันตรายต้องร้องเรียนไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่เพื่อประสานไปยังหน่วยงานด้านสาธารณสุขต่อไป

สรุปแนวทางแก้ไข

ใช้หลักกฎหมายทรัพย์และละเมิด วิธีพิจารณาความแพ่ง ซึ่งกรณีนี้การกล่าวหาว่าสัตว์เป็นโรคต้องพิสูจน์ก่อนด้วยการนำไปตรวจ หากไม่เป็นโรคเจ้าของสามารถกำหนดอนาคตของชีวิตสุนัขได้เท่าที่ไม่เป็นการทรมานสัตว์   ส่วนการทำทารุณต่อสัตว์เจ้าของสามารถฟ้องต่อศาลฐานละเมิดทำให้เสียทรัพย์และเรียกร้องค่าเสียหายในทางแพ่งได้

 

 

 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
คำถามที่สำคัญในเศรษฐกิจการเมืองยุคดิจิทัล ก็คือ บทบาทหน้าที่ของภาครัฐรัฐท่ามกลางการเติบโตของตลาดดิจิทัลที่ภาคเอกชนเป็นผู้ผลักดันและก่อร่างสร้างระบบมาตั้งแต่ต้น  ซึ่งสร้างผลกระทบต่อชีวิตผู้คนในรัฐให้เกิดขึ้นอย่างกว้างขวางและลึกซึ้ง   อย่างไรก็ดีความเจริญก้าวหน้าของตลาดย่อมเกิดบนพื้น
ทศพล ทรรศนพรรณ
แนวทางในการส่งเสริมสิทธิคนทำงานในยุคดิจิทัลประกอบไปด้วย 2 แนวทางหลัก คือ1. การระงับข้อพิพาทที่เกิดขึ้นภายในความสัมพันธ์ระหว่าง แพลตฟอร์ม กับ คนทำงาน2. การพัฒนารัฐให้รองรับสิทธิคนทำงานอย่างถ้วนหน้า
ทศพล ทรรศนพรรณ
เนื่องจากการทำงานของคนในแพลตฟอร์มดิจิทัลในช่วงก่อนหน้าสถานการณ์วิกฤตโรคระบาดนั้นยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นทำให้ปริมาณคนที่เข้ามาทำงานมีไม่มากนัก และเป็นช่วงทำการตลาดของเหล่าแพลตฟอร์มต่าง ๆ ในการดึงคนเข้ามาร่วมงานกับแพลตฟอร์มตนยังผลให้สิทธิประโยชน์เกิดขึ้นมากมายเป็นที่พึงพอใจของผู้เข้าร่วมทำงานกับแพลตฟ
ทศพล ทรรศนพรรณ
รัฐชาติในโลกปัจจุบันไม่เปิดโอกาสให้บุคคลเคลื่อนย้ายถิ่นฐาน ที่อยู่ แหล่งทำมาหากินได้อย่างอิสระ เสรีมาตั้งแต่การสถาปนารัฐสมัยใหม่ขึ้นในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วโลก   เช่นเดียวกับประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อย่าง ไทย พม่า ลาว หรือกัมพูชา   ก็ล้วนเกิดพรมแดนระหว่างรัฐในลักษณะที
ทศพล ทรรศนพรรณ
นับตั้งแต่เกิดปรากฏการณ์ “สีเสื้อ”   สื่อกลายเป็นประเด็นสำคัญที่เป็นตัวสะท้อนภาพของคนและสังคมเพื่อขับเน้นประเด็นเคลื่อนไหวทางสังคมให้ปรากฏเป็นขบวนการทางการเมืองที่มีผู้คนเข้าร่วมอย่างมากมายมหาศาล และมีกิจกรรมทางการเมืองหลากหลายรูปแบบ   ดังนั้นอำนาจในการสื่อสารและการมีส่วนร่วมใ
ทศพล ทรรศนพรรณ
สังคมไทยเผชิญหน้ากับความเปลี่ยนแปลง แตกแยก และปะทะกันอย่างรุนแรงทั้งในด้านความคิด และกำลังประหัตประหารกัน ระหว่างการปะทะกันนั้นระบบรัฐ ระบบยุติธรรม ระบบคุณค่าเกียรติยศ และวัฒนธรรมถูกท้าทายอย่างหนัก จนสูญเสียอำนาจในการบริหารจัดการรัฐ   ในวันนี้ความตึงเครียดจากการเผชิญหน้าอาจเบาบางลง พร้อ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เศรษฐกิจและการเมืองยุคดิจิทัล ใช้ข้อมูลของประชาชนและผู้บริโภคเป็นพื้นฐานในการทำความเข้าใจตลาดการเมืองและเศรษฐกิจ อย่างไรก็ดีเจ้าของข้อมูลทั้งหลายได้รับประกันสิทธิในความเป็นส่วนตัวและข้อมูลส่วนบุคคลจะถูกนำไปใช้ตามอำเภอใจไม่ได้ เว้นแต่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่กฎหมายยอมรับ หรือได้รับความยินยอมจากเจ
ทศพล ทรรศนพรรณ
หากรัฐไทยต้องการสร้างกรอบทางกฎหมายเพื่อส่งเสริมให้เกิดการใช้ประโยชน์จากข้อมูลพันธุกรรมมนุษย์ในช่วงเวลาที่ยังไม่มีการประกาศใช้ พระราชบัญญัติจริยธรรมวิจัยในมนุษย์ มาบังคับกับการวิจัยในพันธุกรรมมนุษย์ ซึ่งถือเป็นข้อมูลส่วนบุคคลอ่อนไหวจำต้องมีมาตรการประกันสิทธิเจ้าของข้อมูลพันธุกรรมให้สอดคล้องกับมาตร
ทศพล ทรรศนพรรณ
กองทัพเป็นรากเหง้าที่สำคัญของความขัดแย้งเนื่องจากทหารเข้ามามีบทบาทแทรกแซงทางการเมืองมานาน โดยการข่มขู่ว่าจะใช้กำลัง การใช้อิทธิพลกดดันนโยบายของรัฐบาล กดดันเพื่อเปลี่ยนรัฐมนตรี และการยึดอำนาจโดยปฏิวัติรัฐประหาร ซึ่งทหารมักอ้างว่ารัฐบาลไม่มีเสถียรภาพ ระบบการเมืองไม่เป็นประชาธิปไตยเท่าที่ควรมีการฉ้อ
ทศพล ทรรศนพรรณ
 ปัญหาทางเศรษฐกิจที่มีขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมเรียกร้องมาตลอด คือ การผูกขาด ซึ่งมีรากเหง้ามาจากการแสวงหาค่าเช่าทางเศรษฐกิจของกลุ่มผลประโยชน์ที่ทรงอำนาจ แล้วนำไปสู่ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจอันเป็นปรากฏการณ์ทางสังคมที่ขบวนการความเป็นธรรมทางสังคมเสนอให้แก้ไข   บทความนี้จะพยายามแสดงให
ทศพล ทรรศนพรรณ
การแสดงออกไม่ว่าจะในสื่อเก่าหรือสื่อใหม่ย่อมมีขอบเขตการใช้สิทธิเสรีภาพเพื่อป้องกันการละเมิดสิทธิของผู้อื่น ดังนั้นรัฐจึงได้ขีดเส้นไว้ไม่ให้ประชาชนใช้สิทธิเสรีภาพจนไปถึงขั้นละเมิดสิทธิของผู้อื่นเอาไว้ในกรอบกฎหมายหลายฉบับ บทความนี้จะพาชาวเน็ตไปสำรวจเส้นพรมแดนที่มิอาจล่วงล้ำให้เห็นพอสังเขป
ทศพล ทรรศนพรรณ
การช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติที่อดอยากหิวโหยที่นั้นดำเนินการได้โดยตรงด้วยมาตรการความช่วยเหลือด้านอาหารโดยตรง (Food Aid) ซึ่งมีทั้งมาตรการระหว่างประเทศ และมาตรการภายใน   ในบทความนี้จะนำเสนอมาตรการและกรณีศึกษาที่ใช้ในการช่วยเหลือด้านอาหารในสถานการณ์ฉุกเฉินเหล่านั้น แต่ความแตกต่างจากการสงเ