Skip to main content

เรื่องนี้ผู้ที่มาปรึกษาเล่าว่า “บิดาข้าพเจ้าไปเซ็นค้ำประกันการซื้อรถยนต์ให้กับเพื่อนที่สนิทกันมานาน เนื่องจากเพื่อนไม่มีญาติเป็นข้าราชการ อีกทั้งสินทรัพย์ต่างๆก็ไม่มีจะเอาไปค้ำประกัน   แต่จำเป็นต้องซื้อรถเพื่อเอามาขนส่งของทำมาหากิน พ่อของข้าพเจ้าเห็นว่าควรช่วยให้เพื่อนมีช่องทางทำมาหากิน และรู้จักกันมานานไม่น่าจะมาหลอกลวงกันแต่อย่างใด เลยไปเซ็นค้ำประกันให้เพื่อนเช่าซื้อรถมา

ต่อมาเพื่อนพ่อผู้ซื้อรถไม่ได้ส่งค่างวดตามที่บริษัทกำหนดหลายเดือน บริษัทเจ้าของรถจึงต้องมีการดำเนินการฟ้องศาล แต่ตัวเจ้าของรถได้นำรถออกจนอกจังหวัดหายไป บริษัทเจ้าของรถจึงฟ้องศาลขอให้ผู้ค้ำประกันทั้งสองคนเป็นผู้รับผิดชอบและติดตามนำรถมาคืนให้ได้ในเวลา 75 วัน หากเกินกำหนดให้ผู้ค้ำประกันชดใช้ค่าทนาย ค่างวด ค่าปรับต่างๆ รวมถึงค่างวดที่จะมาถึงในงวดต่อๆมาด้วย 

พ่อข้าพเจ้าไม่รู้เรื่องกฎหมายและไม่ได้ปรึกษากับทนายเพราะต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก จนเรื่องไปถึงศาลและทนายฝ่ายบริษัทก็นำเอกสารสัญญามาปรักปรำว่าพ่อของข้าพเจ้าเป็นผู้ค้ำประกันยังไงก็ต้องรับผิดชอบการกระทำของเพื่อนที่นำรถหายไป              ทนายฝ่ายบริษัทได้เอาหมายศาลมาบังคับพ่อให้ยอมตกลงโดยขู่ว่าจะต้องไปสู้กันในศาลและไม่รอดแน่ๆ เพราะมีสัญญาเขียนชัดเจนว่านายประกันต้องรับผิดชอบแทนผู้ซื้อ   พ่อเห็นว่าท่าจะไม่ดีหากต้องเป็นคดีขึ้นโรงขึ้นศาลเรื่องจะยาวจึงทำตามที่ทนายบอก โดยเขานำหนังสือยินยอมมาให้พ่อข้าพเจ้าเซ็นโดยไม่ชี้แจงซักนิด โดยบิดาข้าพเจ้าต้องทำตามที่ศาลมีคำสั่งทนายบริษัทมาบอก   บิดาข้าพเจ้าหลงเชื่อจึงเซ็นรับสภาพหนี้ไป

เรื่องราวลุกลามใหญ่โตเมื่อบริษัทกับทนายได้เอกสารหนี้ไปแล้ว เนื่องจากบริษัทได้เปลี่ยนวิธีติดตามเร่งรัดหนี้สินด้วยการจ้างแก๊งค์ทวงหนี้มาบังคับข่มขู่อยู่ทุกสัปดาห์ ทั้งการให้คนโทรมาหาที่บ้านสามเวลาบางทีญาติผู้ใหญ่เป็นคนรับก็ข่มขู่ต่อว่าสารพัดหาว่าเป็นคนชั่วเป็นหนี้แล้วไม่จ่าย ปู่ย่าไม่อายไม่สั่งสอนลูกหลานตัวเองบ้างหรือ   บางทีก็โทรเข้ามือถือบ่อยๆจนพ่อต้องปิดไปเสียหายไปถึงการติดต่องานเพราะต้องปิดเครื่องไว้เกือบตลอดเวลา   หนักเข้าก็โทรหาแม่ที่ทำงานจนหัวหน้างานต้องเรียกเข้าไปคุยเพราะรบกวนคนที่ทำงานคนอื่นด้วย ไหนจะส่งผู้ชายสองคนใส่ชุดดำสวมหมวกกันน็อคขี่มอเตอร์ไซค์มาด้อมๆมองๆที่บ้านทั้งกลางวันกลางคืน               การท้วงหนี้แบบนี้สร้างปัญหาให้ครอบครัวเรามากจนทนไม่ไหว

พ่อจึงตัดสินใจขอให้ตำรวจที่คนรู้จักแนะนำมาให้ช่วยโดยให้ค่าติดตามหรือค่าเสียเวลากับเขา บิดาข้าพเจ้าเสียเงินให้ตำรวจครั้งแรก 20,000 บาท และตามมาอีกหลายพันในครั้งต่อๆมา หลายเดือนผ่านไปไม่มีความคืบหน้าว่าจะได้รถกลับมาหรือจะได้เจอหน้าของเพื่อนผู้นำรถหนีหายไป     กระทั่งต้องไปต่อว่าและประสานงานบอกเลขรถ สีรถ ยี่ห้อ แลรูปพรรณสัณฐานของเจ้าของให้กับเพื่อนตำรวจด้วยกันในจุดต่างๆ เพื่อที่จะสามารถติดตามรถคืนบริษัทจนผ่านไป 2 เดือนก็ไร้วี่แวว

วิธีแก้ตอนนั้น คือ บริษัทเจ้าของรถยื่นเรื่องต่อศาลให้ขอให้ยื้อระยะเวลาออกไปอีก จนครึ่งเดือนพบเห็นผู้ซื้อรถพร้อมรถได้ย้อนกลับมาที่บ้าน จึงได้รีบแจ้งตำรวจและขอหมายศาลที่มีคำสั่งให้สามารถยึดรถไว้ ทำให้บิดาข้าพเจ้ารอดจากการรับผิดชอบหนี้สินทั้งหมดไปอย่างหวุดหวิด

วิเคราะห์ปัญหา

1.              การเซ็นสัญญาค้ำประกันผู้อื่น แล้วคนที่เราค้ำประกันให้หลบหนีไป ทำให้นายประกันต้องรับผิดชอบมากน้อยเพียงไร

2.              นายประกันมีอำนาจหน้าที่ในการติดตามลูกหนี้หรือไม่ และมีมาตรการใดที่นำมาใช้เพื่อไปต้องชดใช้หนี้แทนลูกหนี้ได้บ้าง

3.              การทวงหนี้แบบดุดันและละเมิดสิทธินั้นชอบด้วยกฎหมายหรือไม่

4.              การเรียกรับเงินของเจ้าหน้าที่ตำรวจกระทำได้หรือไม่ มีความผิดอย่างใดตามกฎหมาย

การนำกฎหมายมาแก้ไข

1.                  การเซ็นสัญญาค้ำประกันผู้อื่นเท่ากับเป็นการรับสภาพเป็นลูกหนี้แทนโดยการค้ำประกัน   เมื่อลูกหนี้คนต้นทางหลบหนีไปก็กลายเป็นลูกหนี้ต่อเจ้าหนี้เดิมแทนทันที ทำให้นายประกันต้องรับผิดชอบหนี้ทั้งหมดเสมือนว่าตนเป็นคนทำสัญญาเองแต่แรก

2.                  นายประกันมีอำนาจหน้าที่ในการติดตามลูกหนี้ได้ทั้งในตอนแรกเริ่ม หากนายประกันชำระหนี้แทนไปแล้วก็สามารถไล่เบี้ยเอาได้บวกดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่ชำระหนี้แทนไป และฟ้องอาญาข้อหาหนีหนี้เพื่อบังคับโดยอาศัยเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อบีบลูกหนี้ต้องกลับมาชดใช้หนี้

3.                  การทวงหนี้แบบดุดันและละเมิดสิทธินั้นไม่ชอบด้วยกฎหมายกระทำไม่ได้  และการใช้ความรุนแรงข่มขู่คุกคามถือเป็นความผิดตามกฎหมายอาญาด้วย

4.                  การเรียกรับเงินของเจ้าหน้าที่ตำรวจถือเป็นความผิดฐานเจ้าพนักงานเรียกรับสินบนประพฤติผิดต่อหน้าที่โดยทุจริตตามกฎหมายอาญา

ช่องทางเรียกร้องสิทธิ

1.         การติดต่อทวงถามหนี้เป็นสิทธิธรรมดาหากมีการใช้ความรุนแรง คุกคาม ลูกหนี้สามารถแจ้งความดำเนินคดีกับฝ่ายปกครองหรือเจ้าหน้าที่ตำรวจได้

2.         การขอให้ติดตามลูกหนี้นั้น อาจใช้วิธีแจ้งความให้ตำรวจติดตามได้ตามความผิดฐานหนีหนี้ แต่วิธีพื้นฐานอีกแนว คือ ฟ้องต่อศาลแพ่งฯเพื่อไล่เบี้ยกับลูกหนี้ผู้หลบหนี โดยอาศัยกลไกของกรมบังคับคดี

3.         การเรียกรับสินบนสามารถแจ้งความกับสถานีตำรวจในท้องที่โดยร้องเรียนต่อผู้บังคับบัญชา หรืออาจส่งเรื่องไปให้ ปปช. เพื่อดำเนินคดีทั้งทางวินัยและอาญาต่อไปได้

สรุปแนวทางแก้ไข

กรณีนี้ใช้หลักกฎหมายค้ำประกัน และการติดตามเจ้าของทรัพย์มาบังคับชำระหนี้ วิธีพิจารณาความแพ่ง ซึ่งกรณีนี้นายประกันจะตกอยู่ในสถานะผู้รับผิดชอบชำระหนี้ให้แก่บริษัทและสามารถฟ้องไล่เบี้ยเอากับคนที่ตนเข้าค้ำประกันให้ และสามารถติดตามทรัพย์เพื่อนำมาบังคับคดีให้กลายเป็นทรัพย์ที่ใช้ชำระหนี้ได้   อย่างไรก็ดีการทวงหนี้ต้องทวงโดยสุจริตไม่ละเมิดสิทธิของลูกหนี้เกินควร

 

(รูปเมืองเวนิช: แรงบันดาลใจจากบทประพันธ์เวนิซวาณิชย์ ที่มีการทวงหนี้แบบขูดเลือดเฉือนเนื้อ)

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
ตลอดระยะเวลาแห่งความขัดแย้งทางการเมือง ได้มีกลุ่มต่างๆ เสนอทางออกของปัญหาด้วยการใช้กฎหมายมากมายหลายมาตรา   แต่มาตราหนึ่งซึ่งเป็นข้อถกเถียงมาก คือ การใช้รัฐธรรมนูญ ม.7 ตั้งแต่เมื่อคราวที่ยังใช้รัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 เรื่อยมาจนถึง ฉบับปี 2550   คนจำนวนไม่น้อยคงสงสัยมากว่า มาตรา 7
ทศพล ทรรศนพรรณ
เอาล่ะครับ พ่อแม่พี่น้อง เรื่องถัดไปนี่คงเป็นความสนใจของเพื่อนพ้องหลายๆพื้นที่นะครับ ผมได้รับแจ้งเข้ามาว่า  เจ้าพนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่หนึ่งมีการเพิกเฉย ละเลย ดูแลปัญหาความเดือดร้อนของคนในพื้นที่ แถมยังมีเรื่องราวกินสินบาทคาดสินบนทำให้ชาวบ้านจนปัญญาจะหาทางแก้ไขเข้าไปอีก&n
ทศพล ทรรศนพรรณ
พลังเหนือมนุษย์ ที่จะพูดถึงในครั้งนี้ประกอบไปด้วยสองส่วน คือ พลังธรรมชาติ และพลังลี้ลับ   ซึ่งกฎหมายก็ได้พูดถึงสองสิ่งนี้อยู่ไม่น้อยทีเดียว
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้เป็นสารพัดปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้ใช้แรงงานในยามที่เจอกับภาวะเศรษฐกิจตกสะเก็ด เราคงได้ยินเสียงผู้ประกอบการบ่นให้ฟังว่า ยอดสั่งซื้อตก กำไรหด ต้องลดกำลังการผลิตเพื่อให้บริษัทอยู่รอดกันใช่ไหมครับ  แต่ทราบไหมครับว่า ทุกครั้งที่บอกว่าขาดทุนและต้องลดต้นทุนหรือกำลังการผลิตนั้น มันหมายถึงการป
ทศพล ทรรศนพรรณ
             กฎหมายสมัยใหม่ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้ มีสิ่งที่ต้องเข้าใจร่วมกันว่า ได้ให้อำนาจเด็ดขาดแก่รัฐในการบีบบังคับประชาชนในรัฐ และลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืนกฎหมายโดยการใช้ความรุนแรงนับตั้งแต่ การประหารชีวิต การจำคุก การควบคุมตัว ริบทรัพย์ ในระบบกฎหมายอาญา  ไ
ทศพล ทรรศนพรรณ
ทุกท่านคงทราบกันแล้วนะครับว่าปัจจุบันกฎหมายไทยเกี่ยวกับเรื่องข่มขืนได้มีการปรับปรุงแก้ไขไปให้ทันกับสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นจริง เพราะมิใช่เพียง
ทศพล ทรรศนพรรณ
คงมีหลายคนสงสัยว่าทำไมนักกฎหมายมักย้ำเสมอว่าปัญหาทางกฎหมายต้องตอบในลักษณะ “หนึ่งคำถาม หนึ่งคำตอบ”    กล่าวคือ ในปัญหาเรื่องนั้นจะต้องมีคำชี้ขาดขององค์กรตุลาการหรือองค์กรวินิจฉัยชี้ขาดที่ชัดเจนแน่นอนเพียงหนึ่งเดียว   ห้ามมีคำตอบแตกต่างหลากหลาย   เช่น  
ทศพล ทรรศนพรรณ
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งกับผู้ใช้รถใช้ถนนทั้งในเมืองและต่างจังหวัด เนื่องจากในบางเส้นทางจะมีด่านตรวจของเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งเราก็ไม่แน่ใจว่าจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไรเมื่อถูกกักตัวหรือขอตัวค้นรถตอนถึงด่าน   ทั้งยังสงสัยกับพฤติกรรมของเจ้าหน้าที่ตรงด่านว่าใช่ตำรวจหรือไม่ มีอำนาจหน้าที่อะไ
ทศพล ทรรศนพรรณ
       หลายครั้งที่เราสงสัยกันว่าทำไมเรื่องที่เค้าเถียงกันแทบเป็นแทบตายไม่มีคำตอบที่ชัดเจนสักที ตำรวจก็บอกว่าต้องทำตามกฎหมายข้อนี้ นักกฎหมายก็อ้างว่าไม่ได้ต้องดูกฎหมายอีกฉบับด้วย แล้วพอไปออกรายการทีวีเถียงกันก็ยังไม่ค่อยจะรู้เรื่อง เพราะปัญหาเดียวกันไหงมีกฎหมายมาเกี่ยวข้องต้อง
ทศพล ทรรศนพรรณ
ปัจจุบันมีคนจำนวนมากเข้าไปทำงานตามร้านอาหารหรือสถานบริการต่างๆมากขึ้นกว่าแต่ก่อน ตามจำนวนร้านรวงที่ผุดขึ้นมาเป็นดอกเห็ด จุดไหนมีคนทำงานหรือเรียนหนังสือเยอะๆก็จะมีร้านตั้งมาดักไว้เต็มไปหมด ก็มีคนพูดไว้เยอะว่าร้านอาหารที่ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นแหล่งมั่วสุมของนักศึกษาหรือว่าคนทำงานในวัยหนุ่มสาว&
ทศพล ทรรศนพรรณ
ตอนนี้เราจะมาดูกันนะครับว่า ทำไมเมื่อเกิดความขัดแย้งขึ้นมาในสังคม เราจึงต้องใช้กฎหมายมายุติความขัดแย้ง   เหตุผลของเรื่องนี้ก็ต่อมาจากตอนที่แล้วซึ่งเราบอกว่า กฎหมาย คือ กติกา ที่สังคมกำหนดขึ้นมาร่วมกัน เพื่อชี้ว่าเมื่อเกิดเหตุการณ์ต่างๆขึ้น แล้วตกลงกันไม่ได้ จะ “ยุติ” ความขัดแย้งอย่างไรใ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องที่ผมจะเอามาเล่าสู่กันฟังเป็นความเดือดร้อนแสนสาหัสของน้องสองคนซึ่งได้รับผลกระทบจากการประกาศภาวะฉุกเฉิน เคอร์ฟิว ในช่วงที่มีการปราบปรามและสลายการชุมนุม   ซึ่งมันเกี่ยวพันกับชีวิตคนธรรมดาอย่างเราๆท่านๆมากขึ้น เพราะสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2