Skip to main content

ค่าไฟ เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ใกล้ตัวเรามากในสมัยนี้ เพราะ ไฟฟ้าเป็นพลังงานที่ไม่ว่าบ้านไหนก็คงต้องใช้ขับเคลื่อนเครื่องใช้ไฟฟ้ากันใช่ไหมครับ แต่ผมก็เคยออกไปลงพื้นที่กับคลินิกกฎหมายในพื้นที่ห่างไกลไม่มีไฟฟ้าอยู่บ้างเหมือนกันครับ ซึ่งชีวิตของคนในพื้นที่นั้นจะต่างจากในเมืองหรือบ้านที่ไฟฟ้าเข้าถึงเลยครับ เค้าจะกินนอนตามเวลาธรรมชาติ ไม่เหมือนพวกเราที่นอนดึกตื่นสายเพราะมีไฟฟ้าใช้และก็เผลอดูทีวี เล่นอินเตอร์เน็ต หรือบางคนก็นั่งทำงานอ่านหนังสือจนดึกดื่นเลยทีเดียว   ไฟฟ้าจึงเป็นปัจจับสำคัญมากสำหรับคนยุคนี้ แต่ที่สำคัญกว่าเห็นจะเป็น “ค่าไฟ” นะครับ  ลองไปดูเรื่องที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับการใช้บริการไฟฟ้าแล้วมีปัญหาได้เลยครับ

น้องคนหนึ่งเข้ามาเรียนหนังสือที่มหาวิทยาลัยในต่างจังหวัดจึงต้องเข้ามาเช่าห้องพักอาศัยอยู่ใกล้ๆมหาวิทยาลัยเพื่อจะได้ใช้เวลาน้อยหน่อยในการเดินทางเพราะเธอไม่ได้ขับรถและขี่มอเตอร์ไซค์ไม่เป็น   หอพักที่เธออยู่ก็สุขสงบดีอ่านหนังสือได้พักผ่อนได้ปกติไม่มีปัญหาอะไร   จนมาวันหนึ่งที่หม้อแปลงของหอพักแห่งนั้นเกิดระเบิดขึ้นมา จึงทำให้หอพักดังกล่าวไม่มีไฟฟ้าใช้ กว่าจะทำการซ่อมกินเวลาไป 4 วัน ในระหว่างนั้นผู้พักอาศัยต้องใช้เทียนไขเป็นแสงสว่าง จากนั้นหม้อแปลงก็เสียอีกมีการซ่อมแซมกันอีกครั้ง เวลาผ่านไปจนถึงสิ้นเดือนมีการเรียกเก็บค่าไฟ ปรากฏว่าค่าไฟพุ่งสูงขึ้น เป็น 4 เท่าจากเดือนก่อน ทั้งที่ห้องพักของน้องที่ถูกเรียกเก็บไม่มีเครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างอื่นนอกจาก หลอดไฟ และพัดลม จึงไปแจ้งเรื่องแก่ผู้ดูแลหอพักแต่กลับถูกเพิกเฉย และค่าใช้ไฟฟ้าก็พุ่งนี้อีกในเดือนที่สอง ผู้พักอาศัยจึงต้องย้ายออก

เรื่องถัดมาเป็นปัญหาของคนในหมู่บ้านที่อยู่ในละแวกเดียวกันสังเกตว่าค่าไฟฟ้าที่บ้านขึ้นราคาผิดปกติจากเดือนก่อนๆ จึงได้ลองไปทวงถามจากการไฟฟ้านครหลวงเขตใกล้บ้านดูจึงพบว่าเพิ่งมีการปรับปรุงระบบมาตรวัดไฟใหม่ หลังจากนั้นไม่นานได้รับคำฟ้องจากการไฟฟ้านครหลวงให้ชำระค่าไฟฟ้าย้อนหลังเป็นเวลาห้าปี รวมเป็นเงินกว่า150,000 บาท ทั้งๆที่เจ้าของบ้านก็ชำระเงินค่าไฟฟ้ามาโดยตลอดกว่า 20 ปี ที่ได้เป็นเจ้าของบ้านหลังนี้มา ไม่เคยค้างแม้แต่เดือนเดียว ทุกเดือนจ่ายค่าไฟฟ้าเดือนละเกือบสามพันบาททุกเดือน   แต่เหตุใดการไฟฟ้าจึงมาทำเช่นนี้กับผู้บริโภคที่ซื่อสัตย์แบบนี้ได้ ในคำฟ้องระบุไว้ชัดเจนว่า เจ้าหน้าที่การไฟฟ้าไปพบว่า มาตรวัดไฟมีการต่อคร่อมโดยสายโลหะหุ้มฉนวน ทำให้กระแสไฟฟ้าเดินผ่านน้อยกว่าปกติ ทำให้ค่าไฟที่ตรวจวัดก่อนหน้าตรวจพบจะเดินน้อย ทำให้จ่ายค่าไฟน้อยลงแต่สอบถามพี่เค้าแล้วปรากฏว่าไม่เคยทำอะไรอย่างว่าเลย  อีกทั้งมาตรไฟฟ้าของบ้านทุกหลังในหมู่บ้านนี้ก็อยู่นอกรั้วบ้าน   คุณพี่ท่านนี้บอกว่า เรื่องไฟฟ้า ประปาอะไรนี่พี่ไม่รู้เรื่องหรอกจะไปดัดแปลงเอาเองได้ยังไง ไม่ได้เรียนจบวิศวะหรือช่างมานะ เรื่องอะไรจะมาเสี่ยงอันตรายตายกับกับไฟฟ้าแรงสูง ที่สำคัญตัวเองไม่มีความรู้อะไรซักนิดว่ามันทำอย่างนี้กันได้ด้วยเหรอ ขนาดใช้ไดร์เป่าผมยังโดนไฟดูดบ่อยๆ จะมาต่อระบบคร่อมกับมาตรวัดไฟฟ้าอย่างนี้ไม่ใช่จะทำกันได้ง่ายๆ

พี่เขาก็เลยให้เพื่อนที่เป็นทนายทำคำให้การสู้คดีไป โดยสู้ว่า จำเลยไม่มีหน้าที่ในการตรวจสอบมาตรวัดไฟฟ้า เจ้าหน้าที่การไฟฟ้ามาจดมาตรไฟฟ้าทุกเดือนแต่กลับไม่เห็นมีการต่อคร่อมมาตั้ง 20 กว่าปีแล้ว หากมีการมาจดวัดมาตรทุกเดือนก็น่าจะเห็นตั้งแต่ต้น อีกทั้งหลักฐานที่การไฟฟ้านำมาแสดงต่อศาล แสดงจำนวนการใช้ไฟฟ้าย้อนหลังถึงห้าปีว่า คือตั้งแต่ปี พ.ศ.2550 ถึงปี พ.ศ.2555 โดยพยายามนำสืบว่านับแต่นั้นมามีการใช้ไฟฟ้าน้อยผิดปกติ แต่ที่น่าสงสัยมากก็คือการไฟฟ้าไม่แสดงหลักฐานการใช้ไฟฟ้าก่อนหน้า คือในปี พ.ศ. 2549 เพื่อเทียบเคียงว่า ค่าไฟฟ้าปี 2550 น้อยกว่าจำนวนหน่วยค่าไฟฟ้า ปี 2549 มากน้อยเพียงไร เพื่อเชื่อมโยงว่าค่าไฟฟ้าที่น้อยผิดปกติเกิดจากการต่อคร่อมมาตรวัดกระแสไฟฟ้า ส่วนการไฟฟ้านครหลวงก็นำช่างเทคนิคของการไฟฟ้าเองมาพิสูจน์กันในศาลถึง 2-3 คน เพื่อจะกล่าวหาให้อยู่หมัดว่าพี่เจ้าของบ้านลักลอบคร่อมมาตรวัดจริง จะได้เรียกค่าเสียหายได้เต็มเม็ดเต็มหน่อย                 

และในที่สุดก็มีคำพิพากษาออกมาแล้วว่า ศาลไม่เชื่อว่าหลักฐานการใช้ไฟฟ้าย้อนหลังห้าปีที่การไฟฟ้าอ้างว่าเป็นการใช้ไฟฟ้าของจำเลยนั้นถูกต้อง แต่เชื่อว่ามาตรไฟฟ้ามีการต่อคร่อมจริงดังการนำสืบของการไฟฟ้าและผู้เชี่ยวชาญ ศาลจึงวินิจฉัยว่า จำเลยมีหน้าที่ดูแลมาตรไฟฟ้าของบ้านตน  และพิพากษาให้พี่เค้าชำระหนี้ค่าไฟฟ้าแสนกว่าบาท ซึ่งตอนนี้คุณพี่ก็เดือดดาลมากเลยตั้งคิดว่าจะอุทธรณ์ต่อ เพื่อลดค่าใช้จ่าย โดยพยายามจะชี้ประเด็นว่าถ้าจะให้เสียค่าไฟฟ้าเพิ่ม ก็ควรจะต้องจ่ายเฉพาะเดือนที่พบมาตรไฟฟ้าถูกต่อคร่อม ซึ่งจะทำให้การไฟฟ้าต้องพิสูจน์ให้ได้ว่าเริ่มมีการต่อคร่อมหรือค่าไฟฟ้าลดลงผิดปกติเมื่อไหร่นั่นเอง

เรื่องสุดท้ายในช่วงน้ำท่วมใหญ่ปี 2554 มีผู้ร้องเรียนว่าค่าไฟฟ้าเพิ่มขึ้นมหาศาลทั้งที่ไม่ได้อยู่บ้านโดยการไฟฟ้าออกมาชี้แจงว่า ขั้นตอนการดำเนินการจดหน่วยการใช้ไฟจะทำคร่อมในลักษณะ 2 เดือน คือ จดหน่วยครั้งสุดท้ายในเดือนตุลาคมก่อนน้ำท่วม และไปจดอีกครั้งเดือนธันวาคมที่น้ำลดแล้ว ดังนั้น ระยะเวลาของรอบตัวเลขจริง ๆ เป็นรอบ 60 วัน ทางการไฟฟ้าฯ มาพิจารณาแบ่งหน่วยการใช้ไฟออกเป็น 2 เดือน คือ รอบเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน และรอบเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม ทั้งนี้ การไฟฟ้ามองในเรื่องของประโยชน์ของผู้ใช้ไฟเป็นหลัก โดยมองว่า หากเก็บรอบเดียว 60 วันอาจถูกคิดค่าไฟฟ้าในอัตราก้าวหน้า นอกจากนี้ สำหรับกรณีการถูกเรียกเก็บค่าไฟสูงในช่วงที่ถูกน้ำท่วม ทั้งที่ได้ออกจากบ้านมาแล้ว และไม่ได้มีการใช้ไฟฟ้า ทางการไฟฟ้า ได้ชี้แจงว่า จากการตรวจสอบพบว่า อาจจะมีปัญหาในเรื่องกระแสไฟฟ้ารั่ว ทำให้เกิดค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ ซึ่งตรงนี้ประชาชนผู้ใช้ไฟฟ้าแจ้งให้การไฟฟ้ามาทำการตรวจสอบมีกรณีเกิดไฟฟ้ารั่วในพื้นที่บ้านหรือไม่ เพื่อให้มีการเก็บค่าใช้ไฟฟ้าที่เป็นธรรม 

 

วิเคราะห์ปัญหา

1.             การเช่าหอพักแล้วมีการจัดเก็บค่าไฟเกินจริงเป็นความผิดตามกฎหมายหรือไม่ เราจะสามารถเรียกร้องให้เก็บตามจริง ไม่มีการเก็บเพิ่มเกินปกติได้หรือไม่

2.             ใครเป็นผู้มีหน้าที่ในการดูแลมาตรวัดไฟฟ้า หากมีความผิดปกติเกิดขึ้นกับมาตรวัดไฟใครจะต้องเป็นผู้ตรวจสอบและแก้ไข

3.             ค่าไฟฟ้าที่น้อยเกินจริง หรือมากเกินจริง เป็นหน้าที่ใครจะต้องนำสืบ และประชาชนมีสิทธิร้องคัดค้าน เพื่อทักท้วงให้มีการจัดเก็บค่าไฟฟ้าตามจริงได้หรือไม่

4.             หากผู้ใช้ไฟฟ้าต้องการให้มีการเรียกเก็บเงินรายเดือนแทนการเก็บแบบคร่อมเดือน จะร้องเรียนเข้ามายังการไฟฟ้าให้มีการเรียกเก็บในอัตราการใช้ไฟฟ้าตามจริงได้หรือไม่

5.             สำหรับกรณีที่หลายท่านเป็นห่วงว่าปีต่อไปน้ำจะท่วมอีกนั้น แล้วเกิดปัญหาไฟรั่วจนค่าไฟขึ้นสูงจะต้องดำเนินการอย่างไร และใครเป็นผู้มีหน้าที่รับผิดชอบ

การนำกฎหมายมาแก้ไข

1.             การเช่าหอพักแล้วมีการจัดเก็บค่าไฟเกินจริงเป็นความผิดตามกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค ผู้บริโภคสามารถจะสามารถเรียกร้องให้เก็บตามจริง โดยการขอดูการจดวัดมาตรวัดไฟเปรียบเทียบได้กับใบเสร็จเดือนก่อนๆ

2.             กฎหมายของการไฟฟ้าได้กำหนดให้ประชาชนผู้ขอติดตั้งมาตรวัดไฟเป็นผู้มีหน้าที่ในการดูแลมาตรวัดไฟฟ้า หากมีความผิดปกติเกิดขึ้นกับมาตรวัดไฟประชาชนจะต้องเป็นผู้ตรวจสอบและเรียกให้เจ้าหน้าที่การไฟฟ้าเข้ามาแก้ไข

3.             ค่าไฟฟ้าที่น้อยเกินจริง หรือมากเกินจริง เป็นหน้าที่การไฟฟ้าจะต้องนำสืบ และประชาชนมีสิทธิร้องคัดค้าน เพื่อทักท้วงให้มีการจัดเก็บค่าไฟฟ้าตามจริงได้ โดยต้องมีการนำหลักฐานใบเสร็จในรอบบิลต่างๆมายืนยัน

4.             หากผู้ใช้ไฟฟ้าต้องการให้มีการเรียกเก็บเงินรายเดือนแทนการเก็บแบบคร่อมเดือน จะร้องเรียนเข้ามายังการไฟฟ้าให้มีการเรียกเก็บในอัตราการใช้ไฟฟ้าตามจริงได้

5.             สำหรับกรณีที่หลายท่านเป็นห่วงว่าปีต่อไปน้ำจะท่วมอีกนั้น แล้วเกิดปัญหาไฟรั่วจนค่าไฟขึ้นสูงจะต้องเรียกให้การไฟฟ้ามาดำเนินการยกมิเตอร์ และประชาชนเป็นผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในเบื้องต้นโดยแจ้งการไฟฟ้ามาจัดการ

ช่องทางเรียกร้องสิทธิ

1.             ผู้บริโภคสามารถเรียกร้องให้เจ้าของหอพักชำระหนี้ส่วนเกินมาได้หากพิสูจน์แล้วว่าเก็บค่าไฟฟ้าเกินจริง หากเจ้าของหอพักเพิกเฉยหรือบ่ายเบี่ยงหลบเลี่ยง ก็สามารถนำความเดือดร้อนนี้ไปร้องยังสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค(สคบ.)  (กรุงเทพฯ) หรือคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคประจำจังหวัดในจังหวัดที่ท่านอาศัยอยู่ได้

2.             เรื่องไฟรั่ว เก็บค่าไฟเกิน การเก็บค่าไฟย้อนหลังสามารถร้องเรียนไปยังฝ่ายคุ้มครองสิทธิประโยชน์ สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สกพ.) และหน่วยงานในระดับพื้นที่ เช่น การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.)

3.             ประชาชนควรเรียกร้องให้ทาง สกพ.จึงมีการพิจารณาออกหลักเกณฑ์ว่า ประชาชนสามารถไปร้องเรียนต่อการไฟฟ้าในพื้นที่ให้มีการตรวจสอบ และออกบิลเรียกเก็บในอัตราตามจริงได้

4.             หากพบว่ามีความเสี่ยงกระแสไฟฟ้ารั่วให้แจ้งไปยัง กฟน. หรือ กฟภ.มีหน่วยเคลื่อนที่เร็วไปยกมิเตอร์ให้ได้

สรุปแนวทางแก้ไข

ใช้หลักความผิดเกี่ยวการฉ้อโกงทางอาญา การคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค ซึ่งกรณีนี้มีหากมีความชัดเจนเรื่องการมาปรับแต่งมิเตอร์ไฟฟ้า ซึ่งสามารถทักท้วงเจ้าของหอพัก หรือนำไปฟ้องต่อศาลแพ่งแผนกคดีผู้บริโภค หรือแจ้ง สกพ. และ สคบ.ให้ดูแล หรืออาจใช้กระบวนการทางอาญาโดยไปแจ้งความเรื่องฉ้อโกงต่อตำรวจให้ดำเนินการได้เพื่อลงโทษทางอาญาและเรียกค่าไฟคืนในทางแพ่ง  และเจ้าของมาตรต้องดูแลมาตรวัดไฟฟ้าหรือเรียกเจ้าหน้าที่มาตรวจสอบเป็นระยะเมื่อพบความผิดปกติ


 

 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
ตลอดระยะเวลาแห่งความขัดแย้งทางการเมือง ได้มีกลุ่มต่างๆ เสนอทางออกของปัญหาด้วยการใช้กฎหมายมากมายหลายมาตรา   แต่มาตราหนึ่งซึ่งเป็นข้อถกเถียงมาก คือ การใช้รัฐธรรมนูญ ม.7 ตั้งแต่เมื่อคราวที่ยังใช้รัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 เรื่อยมาจนถึง ฉบับปี 2550   คนจำนวนไม่น้อยคงสงสัยมากว่า มาตรา 7
ทศพล ทรรศนพรรณ
เอาล่ะครับ พ่อแม่พี่น้อง เรื่องถัดไปนี่คงเป็นความสนใจของเพื่อนพ้องหลายๆพื้นที่นะครับ ผมได้รับแจ้งเข้ามาว่า  เจ้าพนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่หนึ่งมีการเพิกเฉย ละเลย ดูแลปัญหาความเดือดร้อนของคนในพื้นที่ แถมยังมีเรื่องราวกินสินบาทคาดสินบนทำให้ชาวบ้านจนปัญญาจะหาทางแก้ไขเข้าไปอีก&n
ทศพล ทรรศนพรรณ
พลังเหนือมนุษย์ ที่จะพูดถึงในครั้งนี้ประกอบไปด้วยสองส่วน คือ พลังธรรมชาติ และพลังลี้ลับ   ซึ่งกฎหมายก็ได้พูดถึงสองสิ่งนี้อยู่ไม่น้อยทีเดียว
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้เป็นสารพัดปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้ใช้แรงงานในยามที่เจอกับภาวะเศรษฐกิจตกสะเก็ด เราคงได้ยินเสียงผู้ประกอบการบ่นให้ฟังว่า ยอดสั่งซื้อตก กำไรหด ต้องลดกำลังการผลิตเพื่อให้บริษัทอยู่รอดกันใช่ไหมครับ  แต่ทราบไหมครับว่า ทุกครั้งที่บอกว่าขาดทุนและต้องลดต้นทุนหรือกำลังการผลิตนั้น มันหมายถึงการป
ทศพล ทรรศนพรรณ
             กฎหมายสมัยใหม่ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้ มีสิ่งที่ต้องเข้าใจร่วมกันว่า ได้ให้อำนาจเด็ดขาดแก่รัฐในการบีบบังคับประชาชนในรัฐ และลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืนกฎหมายโดยการใช้ความรุนแรงนับตั้งแต่ การประหารชีวิต การจำคุก การควบคุมตัว ริบทรัพย์ ในระบบกฎหมายอาญา  ไ
ทศพล ทรรศนพรรณ
ทุกท่านคงทราบกันแล้วนะครับว่าปัจจุบันกฎหมายไทยเกี่ยวกับเรื่องข่มขืนได้มีการปรับปรุงแก้ไขไปให้ทันกับสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นจริง เพราะมิใช่เพียง
ทศพล ทรรศนพรรณ
คงมีหลายคนสงสัยว่าทำไมนักกฎหมายมักย้ำเสมอว่าปัญหาทางกฎหมายต้องตอบในลักษณะ “หนึ่งคำถาม หนึ่งคำตอบ”    กล่าวคือ ในปัญหาเรื่องนั้นจะต้องมีคำชี้ขาดขององค์กรตุลาการหรือองค์กรวินิจฉัยชี้ขาดที่ชัดเจนแน่นอนเพียงหนึ่งเดียว   ห้ามมีคำตอบแตกต่างหลากหลาย   เช่น  
ทศพล ทรรศนพรรณ
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งกับผู้ใช้รถใช้ถนนทั้งในเมืองและต่างจังหวัด เนื่องจากในบางเส้นทางจะมีด่านตรวจของเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งเราก็ไม่แน่ใจว่าจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไรเมื่อถูกกักตัวหรือขอตัวค้นรถตอนถึงด่าน   ทั้งยังสงสัยกับพฤติกรรมของเจ้าหน้าที่ตรงด่านว่าใช่ตำรวจหรือไม่ มีอำนาจหน้าที่อะไ
ทศพล ทรรศนพรรณ
       หลายครั้งที่เราสงสัยกันว่าทำไมเรื่องที่เค้าเถียงกันแทบเป็นแทบตายไม่มีคำตอบที่ชัดเจนสักที ตำรวจก็บอกว่าต้องทำตามกฎหมายข้อนี้ นักกฎหมายก็อ้างว่าไม่ได้ต้องดูกฎหมายอีกฉบับด้วย แล้วพอไปออกรายการทีวีเถียงกันก็ยังไม่ค่อยจะรู้เรื่อง เพราะปัญหาเดียวกันไหงมีกฎหมายมาเกี่ยวข้องต้อง
ทศพล ทรรศนพรรณ
ปัจจุบันมีคนจำนวนมากเข้าไปทำงานตามร้านอาหารหรือสถานบริการต่างๆมากขึ้นกว่าแต่ก่อน ตามจำนวนร้านรวงที่ผุดขึ้นมาเป็นดอกเห็ด จุดไหนมีคนทำงานหรือเรียนหนังสือเยอะๆก็จะมีร้านตั้งมาดักไว้เต็มไปหมด ก็มีคนพูดไว้เยอะว่าร้านอาหารที่ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นแหล่งมั่วสุมของนักศึกษาหรือว่าคนทำงานในวัยหนุ่มสาว&
ทศพล ทรรศนพรรณ
ตอนนี้เราจะมาดูกันนะครับว่า ทำไมเมื่อเกิดความขัดแย้งขึ้นมาในสังคม เราจึงต้องใช้กฎหมายมายุติความขัดแย้ง   เหตุผลของเรื่องนี้ก็ต่อมาจากตอนที่แล้วซึ่งเราบอกว่า กฎหมาย คือ กติกา ที่สังคมกำหนดขึ้นมาร่วมกัน เพื่อชี้ว่าเมื่อเกิดเหตุการณ์ต่างๆขึ้น แล้วตกลงกันไม่ได้ จะ “ยุติ” ความขัดแย้งอย่างไรใ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องที่ผมจะเอามาเล่าสู่กันฟังเป็นความเดือดร้อนแสนสาหัสของน้องสองคนซึ่งได้รับผลกระทบจากการประกาศภาวะฉุกเฉิน เคอร์ฟิว ในช่วงที่มีการปราบปรามและสลายการชุมนุม   ซึ่งมันเกี่ยวพันกับชีวิตคนธรรมดาอย่างเราๆท่านๆมากขึ้น เพราะสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2