Skip to main content

กฎหมาย เขียนด้วยคน บังคับด้วยคน และก็เป็นการควบคุมพฤติกรรมของคน   จึงมีคนสงสัยว่า แล้วอย่างนี้จะมีกฎหมายสิ่งแวดล้อมไปทำไมในเมื่อไปบังคับ ดิน ฟ้า อากาศ หรือน้ำ ไม่ได้  
อืมมมมม......เป็นการท้าทายที่ดีครับ แต่รู้หรือไม่ ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เราเผชิญกันอยู่นี้ส่วนใหญ่เกิดจากฝีมือมนุษย์   ดังนั้นการออกกฎหมายจึงมีทั้งไปควบคุมลงโทษมนุษย์ผู้สร้างมลพิษ ซึ่งจริงๆก็ไม่ค่อยสำเร็จ เพราะหูตารัฐและเครื่องมือมักไปไม่ทั่วถึง   ในยุคหลังเลยมีการคิดวิธีป้องกันด้วยมาตรการต่างๆ ออกมาแทน

ยกตัวอย่าง ปัญหาหมอกควัน แอ่งเชียงใหม่-ลำพูน

สาเหตุของควันปริมาณมหาศาลจากการเผา คืออะไร

ผมไปเจอตอนลงพื้นที่วิจัยเกษตรพันธสัญญาเรื่องข้าวโพด แถบเชียงใหม่ และแพร่ น่าน พะเยา นะครับ

ความคิดที่ว่าชาวเขาบนดอยเผานี่มีส่วนจริง แต่ทำไมเดี๋ยวนี้เผาหนักขึ้น และดูดซับควันไม่ไหวจนลอยมาปกคลุมแอ่งในเมือง จนปัญหาร้ายแรง

สาเหตุเกิดจาก การปลูกแข่งกับเวลา เพิ่มรอบปลูกให้ได้มากที่สุดครับ เนื่องจากชาวบ้านต้อง เร่งระยะเวลาขึ้นรอบปลูกใหม่ครับ จึงต้อง "เผา" ซางของเก่าให้ไวที่สุด (ไม่ปล่อยให้เสียเวลาแม้แต่วันเดียว เกษตรพาณิชย์แข่งกับดอกเบี้ยที่วิ่งทุกวัน) 
การปลูกพืชเชิงเดี่ยวแบบอุตสาหกรรมกินพื้นที่ภูเขาหลายหมื่นไร่นี่เป็นสาเหตุของน้ำท่วมด้วยครับ เพราะบนเขาเป็นเป็นหัวโล้น เนื่องจากต้องปลูกพืชเป็นแนวเรียงให้เหมาะกับการใช้เครื่องจักรขนาดใหญ่

ต่างจากการทำไร่หมุนเวียนของชุมชนดั้งเดิม ที่ปลูกพืชหลายอย่างสลับไปมา และไม่ต้องเร่งรอบ(ไม่ต้องเผา) นะครับ รวมถึงต้องรักษาป่าบางส่วนไว้เพื่อรักษาความชื้นหน้าดินด้วย

ส่วนสาเหตุที่ทำไมคนบนดอยเปลี่ยนมาอยู่ระบบนี้ ง่ายๆเลยครับ

"ทำไร่หมุนเวียนถูกจับ รับเมล็ดจากบรรษัททำอะไรใครไม่ยุ่ง"

ชาวบ้านในพื้นที่บอกเองเลยครับ มาร่วมงานเสวนาอีกที่พี่น้องชาติพันธุ์จากที่อื่นเดินเข้ามาคุยหลังเวทีก็บอกว่าเจอแบบเดียวกันเป๊ะ

เทรนด์นี้เหมือนกันทั่วโลกครับ ลาตินอเมริกาเคยโดนมาก่อน ด้วยเมล็ดพันธุ์ของยี่ห้อระดับโลก ซึ่งบรรษัทของไทยซื้อเมล็ดและวิธีการผลิตต่อมาอีกทอดครับ

หมอกควันจึงเป็นเรื่องปัญหา "วาทกรรมการพัฒนา" ที่เกิดจากการเชื่อว่าการผลิตเชิงเดี่ยวแบบใช้เทคโนโลยีขนาดใหญ่จะแก้ปัญหาได้ แต่สุดท้ายอาจต้องหวนไปทำเกษตรผสมผสาน หรือ ถ้าคิดว่าจะเอาเกษตรอุตสาหกรรมให้ได้จริงๆ และอยากแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมด้วย

ทางออกคือ ต้องใช้ ‎เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ในการจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อม คือ การบังคับให้จ่ายค่าปล่อยควันเพื่อรวมต้นทุนการเผาเข้าไปอยู่ในต้นทุนการผลิต แล้วดูว่าราคาสินค้าที่ผลิตในระบบเผานี้ จะสู้การผลิตแบบไม่เผาได้ไหม

ประเทศอื่นทำอย่างนี้ครับถึงจัดการได้เป็นระบบ ไม่อย่างนั้นก็ด่ากันไปมาหาสาเหตุไม่เจอ

ขอเชิญทุกท่านไปพิสูจน์ด้วยตาตัวเองแถบ แพร่ น่าน พะเยา ดูครับ

งานวิจัยผมทำช่วง 2553-2555 แต่ลงพื้นที่ตลอดช่วง 2552-2556 ก็เห็นเป็นแบบนี้ชัดเจน

 

ส่วนที่บอกว่า เอลนินโญ่(ช่วงที่โลกแห้งแล้ง – สลับกับช่วงที่ชื้นมาก ลานินญ่า) ถือเป็น เงื่อนไขระดับโลก ส่วนข้อค้นพบจากงานวิจัยของผมเป็นข้อค้นพบเชิงข้อเท็จจริงจากน้ำมือมนุษย์ในพื้นที่เกิดเหตุ ซึ่งเป็นเงื่อนไขที่มาคู่กันตลอดนะครับ
คำถามคือ เอลนินโญ่ เมื่อก่อนทำให้เกิดปัญหาขนาดนี้หรือไม่ ทำไมเพิ่งมาหนักขนาดนี้ ก็ได้ผลว่า ภาวะโลกร้อนทำให้เกิดการแปรปรวนรุนแรงขึ้น แล้งก็แห้งมาก ชื้นก็ท่วมมาก ไปด้วย

ดังนั้นเวลาเวทีกฎหมายสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศเจรจาเรื่อง คาร์บอนเครดิต โลกร้อน เขาจะดูอีกฟากควบคู่ไปด้วย คือ ปริมาณพื้นที่ดูดซับควันหรือควันลดลงหรือเพิ่มขึ้น
พูดง่ายๆ ป่าลดหรือเพิ่ม ถ้าลดตัดเครดิต ถ้าเพิ่มเครดิตก็เพิ่มตาม เลยมีโครงการปลูกป่า หรือทำพลังงานหมุนเวียนเก็บคาร์บอนเครดิตไงครับ 
ปัญหาแบบนี้เชียงใหม่ไม่ใช่ที่แรก มันมีทั่วโลกกำลังพัฒนาหรือด้อยพัฒนา นะครับ แถบลาติน ต้นกำเนิดชื่อ El Nino นี่หนักเรยยย
ซึ่งที่นักวิจัยโดยเฉพาะไม่ใช่นักกฎหมายไม่กล้าฟันธงว่าเป็น สาเหตุจากการกระทำของมนุษย์ โดยเฉพาะระบบการผลิตที่กลุ่มทุนสนับสนุน ก็ง่ายๆ ครับ คือ กลัวโดนฟ้อง!!!
ไม่ต้องพูดถึง อิทธิพลของ กรรมการบริษัทระดับโลกทั้งหลายที่วนเข้าไปเป็น บรรณาธิการและกรรมการอ่านบทความของ วารสารวิชาการ เพียบเลยครับ
เรื่องพวกนี้มันมีความเป็น "การเมือง" ของการผลิตความรู้ ถึงบอกว่าแก่นของปัญหา คือ เรื่อง "วาทกรรมการพัฒนา" ครับ

เรื่องการรุกป่า ถางป่าเพื่อปลูกพืชเศรษฐกิจมาพร้อมกับ วาทกรรม GMOs เมล็ดพันธุ์ข้าวโพด นะครับ 
สังเกตทั่วโลกดูนะครับว่า คนที่บอกว่าภาวะโลกร้อนไม่ได้เกิดจากมนุษย์ กับ กลุ่มสนับสนุน GMOs ใช่กลุ่มเดียวกันรึเปล่า

นักชีววิทยาทั่วโลกส่วนใหญ่ต้องสนับสนุน GMOs กับ โคลนนิ่ง อยู่แล้วครับ

ไม่งั้นเดี๋ยวจะอยู่ในชะตากรรมเดียวกับนักฟิสิกส์นิวเคลียร์ ช่วงหลังประชาคมการเมืองโลกประกาศลดการสะสมอาวุธนิวเคลียร์ และต้านโรงงานพลังนิวเคลียร์

อันนี้ยังไม่รวมกรณี บรรษัทที่ทำธุรกิจด้านนี้ที่ส่งกรรมการเข้าไปนั่งเป็น Editor กับ Peer Reviewer ในวารสารพวกนี้ ควบคุมทิศทางการผลิตความรู้มาโดยตลอด

ไอ้เรื่องผลผลิตต่อหน่วย กับ การทนทานต้านภัยคุกคาม นี่ก็เห็นกันแล้วว่า "ความหลากหลายทางชีวภาพ" คือ คำตอบ

นักคิดค้นยาหรือพัฒนาพันธุกรรมเพื่อจดสิทธิบัตรของบรรษัทถึงเที่ยวไปลงพื้นที่ขโมยภูมิปัญญานักพัฒนาสายพันธุ์ท้องถิ่นอยู่ต่อเนื่อง จนเป็นปัญหา “โจรสลัดชีวภาพ” ที่บริษัทประเทศร่ำรวยเทคโนโลยีเข้าไปขโมยพันธุ์จากประเทศร่ำรวยฐานทรัพยากร

กฎหมายสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศเรื่องฐานทรัพยากรก็พูดเรื่องนี้มากว่าครึ่งศตวรรษแล้วครับ

อยู่ที่ไทยเราจะกำหนด ตำแหน่งตัวเองในเวทีโลกว่า เป็นประเทศซีกโลก "ร่ำรวยเทคโนโลยี-ร่ำรวยทรัพยากร" ก็เท่านั้นเอง

แต่ทุนวิจัย ทุนการศึกษา ทุนสนับสนุนนู่นนี่มันก็หอมหวานนะครับ ดูตัวแทนยาที่ตามปรนนิบัติหมอ กับ นายหน้าสารเคมีที่ประกบข้าราชการ หรือ ฝ่ายCSRของบริษัทที่ประกบนักวิชาการกับสื่อสิครับ

นี่ก็ การเมืองของการผลิตความรู้ (Politics of Knowledge) ที่มีเดิมพันมูลค่ามหาศาลทั้งนั้น

 

ดังนั้น ถางป่า เผา ที่ไหน เมื่อไหร่ ไม่สำคัญเท่า "ทำไม" ซึ่งเป็นต้นเหตุ
ถ้าปัญหามีหลายสาเหตุก็แก้สาเหตุที่จัดการได้

การหา "คำตอบเดียว" ว่าเป็น "สาเหตุเดียว" นี่มันวิธีตอบข้อสอบปรนัยครับ

ใช้กับโลกแห่งความจริงที่มีความซับซ้อนยาก เพราะเงื่อนไขมันเยอะ
จะรอหาคำตอบโดยเถียงไปเรื่อยๆแล้วไม่ลงมือทำ กับ ทำเท่าที่ทำได้เพื่อบรรเทาปัญหาลงบ้าง

ก็เลือกเอาครับ
 

ทางแก้เป็นรูปธรรมสำหรับการจัดการมลพิษที่เกิดจากการรุกป่าเผาไร่ทำเกษตรพันธสัญญา คือ มันต้องแบ่งรับความเสี่ยงระหว่างเกษตรกรกับบรรษัท ตัวอย่างของประเทศอื่น คือ บรรษัทต้องจ่ายภาษีมลพิษเวลารับซื้อผลผลิต หรือถ้าบรรษัทจ้างเกษตรกรปลูก ก็ต้องเป็นคนจ่ายภาษีแต่ต้นนะครับ

มันถึงจะเห็น "ต้นทุน" ที่แท้จริงของสินค้าที่ผลิตโดยการทำลายสิ่งแวดล้อม

แต่ที่ไม่แก้ อาจเพราะเป็นเครื่องมือทำกินของ เจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องทุกระดับ ในฐานะโบรกเกอร์ กินค่าคอมมิชชั่นในการหาลูกไร่ให้บริษัทโดยทำตัวเป็น “ผู้แนะนำการเกษตรเพื่อสร้างรายได้” กันให้ยุ่บยั่บครับ

แล้วก็รวมถึงฝ่ายกุมอำนาจรัฐที่ไม่กล้าทำอะไรบรรษัทผู้อยู่เบื้องหลังการผลิตมลพิษ  เนื่องจากต้องใช้เป็นกลุ่มทุนขับเคลื่อนเศรษฐกิจกระตุ้น GDP หรือบางทีก็มีผลประโยชน์ทับซ้อนแบบอุดหนุนกันอยู่หลังฉาก ก็เป็นได้

 

ผมยังเชื่อในสันติวิธี ต้องผลักดันให้ องค์ปกครองส่วนท้องถิ่นใช้การเก็บภาษีมลพิษเป็นเครื่องมือหารายได้ครับ เพราะเป็นหน้าที่โดยตรง และเป็นเจ้าของพื้นที่รู้สถานการณ์และผู้เล่นในเกมส์ดีที่สุด

ซึ่งหมายความว่า โมเดลรัฐราชการรวมศูนย์ ให้ส่วนกลางตัดสินใจแทนท้องถิ่น เป็นอันตรายที่สุด
เพราะถ้ากลุ่มทุนไปเคลียร์กับส่วนกลางได้ทุกอย่างก็ราบคาบไปทั้งประเทศ ยิ่งหนักหากอยู่ในระบอบเผด็จการ

คนตัวเล็กๆครั่บ สู้มาเยอะไม่สำเร็จ คนอื่น(รวมถึงนักการเมือง และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชน คนในเมือง) มาช่วยด้วย


ผมเลือกเสนอข้อเสนอแนะเชิงนโยบายแล้วผลักดันมันไป รอคนอื่นเห็นด้วยช่วยขยับ. แต่ถ้าไม่เห็นด้วยก็ไม่เป็นไรครับ

เพราะ สิ่งแวดล้อมเป็นของทุกคน ไม่ใช่ของใครคนเดียว

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
ตลอดระยะเวลาแห่งความขัดแย้งทางการเมือง ได้มีกลุ่มต่างๆ เสนอทางออกของปัญหาด้วยการใช้กฎหมายมากมายหลายมาตรา   แต่มาตราหนึ่งซึ่งเป็นข้อถกเถียงมาก คือ การใช้รัฐธรรมนูญ ม.7 ตั้งแต่เมื่อคราวที่ยังใช้รัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 เรื่อยมาจนถึง ฉบับปี 2550   คนจำนวนไม่น้อยคงสงสัยมากว่า มาตรา 7
ทศพล ทรรศนพรรณ
เอาล่ะครับ พ่อแม่พี่น้อง เรื่องถัดไปนี่คงเป็นความสนใจของเพื่อนพ้องหลายๆพื้นที่นะครับ ผมได้รับแจ้งเข้ามาว่า  เจ้าพนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่หนึ่งมีการเพิกเฉย ละเลย ดูแลปัญหาความเดือดร้อนของคนในพื้นที่ แถมยังมีเรื่องราวกินสินบาทคาดสินบนทำให้ชาวบ้านจนปัญญาจะหาทางแก้ไขเข้าไปอีก&n
ทศพล ทรรศนพรรณ
พลังเหนือมนุษย์ ที่จะพูดถึงในครั้งนี้ประกอบไปด้วยสองส่วน คือ พลังธรรมชาติ และพลังลี้ลับ   ซึ่งกฎหมายก็ได้พูดถึงสองสิ่งนี้อยู่ไม่น้อยทีเดียว
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้เป็นสารพัดปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้ใช้แรงงานในยามที่เจอกับภาวะเศรษฐกิจตกสะเก็ด เราคงได้ยินเสียงผู้ประกอบการบ่นให้ฟังว่า ยอดสั่งซื้อตก กำไรหด ต้องลดกำลังการผลิตเพื่อให้บริษัทอยู่รอดกันใช่ไหมครับ  แต่ทราบไหมครับว่า ทุกครั้งที่บอกว่าขาดทุนและต้องลดต้นทุนหรือกำลังการผลิตนั้น มันหมายถึงการป
ทศพล ทรรศนพรรณ
             กฎหมายสมัยใหม่ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้ มีสิ่งที่ต้องเข้าใจร่วมกันว่า ได้ให้อำนาจเด็ดขาดแก่รัฐในการบีบบังคับประชาชนในรัฐ และลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืนกฎหมายโดยการใช้ความรุนแรงนับตั้งแต่ การประหารชีวิต การจำคุก การควบคุมตัว ริบทรัพย์ ในระบบกฎหมายอาญา  ไ
ทศพล ทรรศนพรรณ
ทุกท่านคงทราบกันแล้วนะครับว่าปัจจุบันกฎหมายไทยเกี่ยวกับเรื่องข่มขืนได้มีการปรับปรุงแก้ไขไปให้ทันกับสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นจริง เพราะมิใช่เพียง
ทศพล ทรรศนพรรณ
คงมีหลายคนสงสัยว่าทำไมนักกฎหมายมักย้ำเสมอว่าปัญหาทางกฎหมายต้องตอบในลักษณะ “หนึ่งคำถาม หนึ่งคำตอบ”    กล่าวคือ ในปัญหาเรื่องนั้นจะต้องมีคำชี้ขาดขององค์กรตุลาการหรือองค์กรวินิจฉัยชี้ขาดที่ชัดเจนแน่นอนเพียงหนึ่งเดียว   ห้ามมีคำตอบแตกต่างหลากหลาย   เช่น  
ทศพล ทรรศนพรรณ
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งกับผู้ใช้รถใช้ถนนทั้งในเมืองและต่างจังหวัด เนื่องจากในบางเส้นทางจะมีด่านตรวจของเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งเราก็ไม่แน่ใจว่าจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไรเมื่อถูกกักตัวหรือขอตัวค้นรถตอนถึงด่าน   ทั้งยังสงสัยกับพฤติกรรมของเจ้าหน้าที่ตรงด่านว่าใช่ตำรวจหรือไม่ มีอำนาจหน้าที่อะไ
ทศพล ทรรศนพรรณ
       หลายครั้งที่เราสงสัยกันว่าทำไมเรื่องที่เค้าเถียงกันแทบเป็นแทบตายไม่มีคำตอบที่ชัดเจนสักที ตำรวจก็บอกว่าต้องทำตามกฎหมายข้อนี้ นักกฎหมายก็อ้างว่าไม่ได้ต้องดูกฎหมายอีกฉบับด้วย แล้วพอไปออกรายการทีวีเถียงกันก็ยังไม่ค่อยจะรู้เรื่อง เพราะปัญหาเดียวกันไหงมีกฎหมายมาเกี่ยวข้องต้อง
ทศพล ทรรศนพรรณ
ปัจจุบันมีคนจำนวนมากเข้าไปทำงานตามร้านอาหารหรือสถานบริการต่างๆมากขึ้นกว่าแต่ก่อน ตามจำนวนร้านรวงที่ผุดขึ้นมาเป็นดอกเห็ด จุดไหนมีคนทำงานหรือเรียนหนังสือเยอะๆก็จะมีร้านตั้งมาดักไว้เต็มไปหมด ก็มีคนพูดไว้เยอะว่าร้านอาหารที่ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นแหล่งมั่วสุมของนักศึกษาหรือว่าคนทำงานในวัยหนุ่มสาว&
ทศพล ทรรศนพรรณ
ตอนนี้เราจะมาดูกันนะครับว่า ทำไมเมื่อเกิดความขัดแย้งขึ้นมาในสังคม เราจึงต้องใช้กฎหมายมายุติความขัดแย้ง   เหตุผลของเรื่องนี้ก็ต่อมาจากตอนที่แล้วซึ่งเราบอกว่า กฎหมาย คือ กติกา ที่สังคมกำหนดขึ้นมาร่วมกัน เพื่อชี้ว่าเมื่อเกิดเหตุการณ์ต่างๆขึ้น แล้วตกลงกันไม่ได้ จะ “ยุติ” ความขัดแย้งอย่างไรใ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องที่ผมจะเอามาเล่าสู่กันฟังเป็นความเดือดร้อนแสนสาหัสของน้องสองคนซึ่งได้รับผลกระทบจากการประกาศภาวะฉุกเฉิน เคอร์ฟิว ในช่วงที่มีการปราบปรามและสลายการชุมนุม   ซึ่งมันเกี่ยวพันกับชีวิตคนธรรมดาอย่างเราๆท่านๆมากขึ้น เพราะสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2