Skip to main content

เรื่องสุดท้ายของบริการด้านสื่อสารแล้วนะครับ เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับทุกบ้านแน่ๆ เพราะเดี๋ยวนี้เรามีอินเตอร์เน็ตใช้ที่บ้านกันแล้วแทบทุกหลังเพราะมันทำให้เราสามารถทำงานหรือพักผ่อนที่บ้านได้โดยไม่ต้องเดินทางออกไปนั่งทำงานที่อื่นหรือเสียเงินออกไปซื้อความบันเทิงนอกบ้าน   หนูก็ชอบดูซีรี่ส์และละครในช่วงสุดสัปดาห์เหมือนกันเพราะในระหว่างสัปดาห์เราก็ต้องทำงานจนกลับบ้านมาหลับเป็นตายไม่ได้เสพสื่ออะไรกันเลย ต้องมาไล่ดูย้อนหลังนี่ล่ะครับ   แต่ก็อย่างที่เรารู้ว่าอินเตอร์เน็ตในประเทศไทยยังเข้าไม่ถึงทุกพื้นที่ในประเทศไทยนะครับ โดยเฉพาะเรื่องที่จะเล่าต่อไปนี้ ผู้บริโภคไปขอใช้บริการก็ต้องเสียเวลาเป็นอย่างมากในการดึงโครงข่ายอินเตอร์เน็ตเข้ามาถึงบ้าน และก็ยังมีปัญหาเมื่อพยายามจะเปลี่ยนเป็นเชื่อมต่อผ่านเครือข่ายโทรศัพท์มือถือแทน ลองไปฟังปัญหาที่ทำให้ประเทศเรายังมีความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศดูครับ ว่ามันเกิดเพราะอะไร และเราจะแก้ได้อย่างไรบ้าง

ผู้บริโภคขอใช้บริการอินเตอร์เน็ตได้ขอเปิดใช้บริการต่อบริษัทผู้ให้บริการชื่อดังแห่งหนึ่ง โดยได้มีข้อความในสัญญาข้อหนึ่งระบุไว้ว่า การเปิดใช้บริการผู้ขอเปิดบริการจะต้องผูกพันการใช้บริการอย่างน้อย 12 เดือน หากมีการยกเลิกสัญญาก่อนกำหนด จะเสียค่าปรับ 2,500 บาท หลังจากนั้นผู้ขอใช้บริการได้ติดตั้งอุปกรณ์การใช้อินเตอร์ตามคำแนะนำของผู้ให้บริการ เมื่อติดตั้งเสร็จแล้ว กลับพบว่า ไม่สามารถใช้อินเตอร์เน็ตได้ ผู้ขอให้บริการจึงติดไปยังผู้ให้บริการ ซึ่งทางผู้ให้บริการได้รับปากว่าจะส่งช่างไปตรวจสอบให้ เมื่อเวลาผ่านไป ช่างก็ยังไม่มาจัดการซ่อม ผู้ให้บริการจึงติดต่อไปยังผู้ให้บริการอีกครั้ง พนังงานก็รับปากว่าจะประสานเรื่องให้จนเวลาล่วงเลยนานนับเดือนช่างก็ไม่ได้เข้ามาซ่อม แถมยังมีใบแจ้งหนี้จากผู้ให้บริการตลอด 6 เดือนที่ไม่สามารถใช้บริการเลย ผู้ขอใช้บริการ จึงไปยกเลิกการใช้บริการดังกล่าวแต่ถูกบริษัทปฏิเสธ โดยแจ้งว่าจะต้องชำระค่าบริการที่ค้างชำระและต้องเสียค่าปรับ 2,500บาทตามที่ระบุไว้ในสัญญา จึงจะยกเลิกการใช้บริการได้ เหตุการณ์ดังกล่าวจึงสร้างความไม่เป็นธรรมแก่ผู้ขอใช้บริการเป็นอย่างมาก เพราะนอกจากจะไม่ได้ใช้บริการแล้วยังจะต้องเสียค่าบริการแบบฟรีๆ

อีกกรณีผู้บริโภคร้องเรียนว่าถูกเก็บค่า “เน็ตผ่านมือถือ” กว่าสามแสน เพราะบริษัทมือถือให้สิทธิผู้บริโภคเลือกสมัครบริการเสียงและข้อมูล กลายเป็นผู้บริโภคไม่รู้ในตอนตอนทำสัญญาว่าโดนเหมารวมบริการ ทั้งผู้บริโภคยังไม่รู้ว่าต้องปิดการเชื่อมต่อที่เครือข่ายป้องกันปัญหาเน็ตรั่ว ทำให้เกิดการคิดค่าบริการผิดพลาดจากการที่โทรศัพท์มือถือเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตอย่างต่อเนื่อง และสาเหตุที่เรื่องใหญ่โตโดนเก็บค่าบริการถึงสามแสนบาท เนื่องจากการคิดค่าบริการผิดพลาดจากบริการระหว่างประเทศและการใช้ภายในประเทศ ซึ่งเกิดจากการใช้เกินโปรโมชั่นและการเชื่อมต่ออัตโนมัติทั้ง WIFI EDGE และ GPRS โดยปัญหามาจากการถูกเรียกเก็บค่าบริการอินเทอร์เน็ตทั้งที่ไม่ได้สมัครใช้บริการ โดยเฉพาะในกรณีการเชื่อมต่อในต่างประเทศเมื่อผู้บริโภคขอเปิดใช้บริการโรมมิ่งเสียง แล้วบริษัทเปิดบริการโรมมิ่งดาต้าให้ด้วย ทั้งที่ผู้บริโภคไม่ได้ขอเปิดใช้บริการ ทำให้เมื่อเดินทางกลับประเทศไทย ถูกเรียกเก็บค่าบริการในอัตราสูง จำนวนเงินสูงสุดที่ถูกเรียกเก็บจากการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านมือถือ คือสามแสนกว่าบาท นอกจากนี้ยังมีการสมัครใช้บริการในประเทศและโทรศัพท์มีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตอัตโนมัติให้ตลอด ทำให้ผู้บริโภคถูกเรียกเก็บค่าบริการทั้งที่ไม่ได้ตั้งใจใช้

ผู้บริโภคที่มาหาหลายๆคนคิดว่าบริษัทและหน่วยงานรัฐ (ในเรื่องนี้คือ กสทช.) ควรแก้ปัญหาการถูกเรียกเก็บค่าบริการอินเทอร์เน็ตทั้งที่ไม่ได้สมัครใช้บริการว่า  “ในการเปิดให้บริการข้อมูลแก่ผู้ใช้บริการทั่วไป เพื่อความถูกต้องและเป็นธรรมแล้ว ผู้ใช้บริการควรมีโอกาสได้แจ้งความจำนงกับบริษัทว่าต้องการใช้บริการหรือไม่ หากผู้ใช้บริการไม่แสดงความจำนงเข้ามา แต่เปิดให้บริการเองย่อมเป็นการยัดเยียด อีกทั้งการที่ผู้บริโภคสมัครใช้บริการเสียง จะเหมารวมว่าผู้บริโภคขอใช้บริการข้อมูลไปด้วยคงไม่ถูกต้อง โดยเฉพาะในกรณีของการสมัครใช้บริการโรมมิ่งควรมีการแยกสมัครระหว่างเสียงและข้อมูลให้ชัดเจน”    จึงรวมตัวกันเรียกร้องให้ บริษัทที่พวกตนร้องเรียนคืนเงินค่าบริการและยุติการเรียกเก็บค่าบริการ จากผู้บริโภคด้วย เนื่องจากบริษัทไม่แสดงหลักฐานเพื่อยืนยันความถูกต้องของการเรียกเก็บค่าบริการภายใน 60 วัน ตามประกาศ กทช. เรื่อง กระบวนการร้องเรียนและพิจารณาเรื่องร้องเรียนของผู้ใช้บริการ และประกาศ กทช. เรื่องมาตรฐานสัญญาให้บริการโทรคมนาคม

สำหรับปัญหานี้เพิ่งเกิดขึ้นมามากช่วง 4-5 ปีหลังที่ผู้บริโภคที่ใช้โทรศัพท์มือถือประเภทสมาร์ทโฟน แต่ขาดความระมัดระวังในการใช้บริการ และไม่ได้ศึกษาระบบเครื่องโทรศัพท์ให้ดี จึงมิได้ตรวจสอบการใช้บริการเป็นระยะ จนเกิดปัญหาเน็ตรั่วจากการลืมปิดการเชื่อมต่อที่เครื่องโทรศัพท์ และลืมปิดการเชื่อมต่อที่ระบบเครือข่ายผู้ให้บริการด้วย ทั้งที่แต่ละเครือข่ายจะมีเบอร์ตรงในการปิด-เปิดการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต แต่ผู้บริโภคเจ้าของปัญหาล้วนบอกตรงกันว่า พนักงานที่ปิดบริการให้ไม่ได้แจ้งรายละเอียดข้างต้นให้เข้าใจ

วิเคราะห์ปัญหา

1. การทำสัญญาติดตั้งอินเตอร์เน็ต บริษัทมีหน้าที่อย่างไรต่อผู้บริโภคที่ได้ทำสัญญากับบริษัทบ้าง

2. การระบุสัญญาสร้างเงื่อนไขในการยกเลิกสัญญาโดยสร้างภาระให้แก่ผู้บริโภคเป็นค่าปรับ แต่ไม่คำนึงถึงความผิดพลาดในการให้บริการของบริษัท เป็นสัญญาที่บังคับต่อไปได้หรือไม่

3. การเปิดบริการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต และโรมมิ่ง โดยไม่แจ้งรายละเอียดของการบริการทั้งการเปิดและปิดบริการ ค่าใช้จ่าย และข้อมูลที่เป็นสาระสำคัญเป็นความรับผิดชอบของบริษัทหรือผู้บริโภค

4. หากเกิดปัญหาจากการเก็บค่าบริการ การพิสูจน์ความเสียหายและค่าใช้จ่าย หน้าที่ในการนำสืบเป็นของใคร

5. การลักลอบใช้สัญญาณอินเตอร์เน็ตของผู้อื่นโดยเจ้าของไม่ยินยอมมีความผิดหรือไม่ ใครมีหน้าที่ในการหาตัวผู้กระทำผิด

การนำกฎหมายมาแก้ไข

1. การทำสัญญาติดตั้งอินเตอร์เน็ต บริษัทมีหน้าที่ในการเชื่อมต่อโครงข่ายให้ผู้บริโภคตามที่ได้ทำสัญญากับบริษัท จึงจะเกิดหนี้ที่บังคับให้ชำระค่าบริการกันได้

2. การระบุสัญญาสร้างเงื่อนไขในการยกเลิกสัญญาโดยสร้างภาระให้แก่ผู้บริโภคเป็นค่าปรับ แต่การให้บริการของบริษัทมีข้อบกพร่อง ไม่สามารถให้บริการอินเตอร์เน็ตตามสัญญาที่กันไว้ถือเป็นความผิดของฝั่งบริษัท เป็นสัญญาที่บังคับต่อไปไม่ได้ ผู้บริโภคขอยกเลิกสัญญาได้โดยไม่ต้องเสียค่าปรับ ทั้งยังเรียกร้องค่าเสียหายเพิ่มเติมได้

3. การเปิดบริการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต และโรมมิ่ง โดยไม่แจ้งรายละเอียดของการบริการทั้งการเปิดและปิดบริการ ค่าใช้จ่าย และข้อมูลที่เป็นสาระสำคัญเป็นความรับผิดชอบของบริษัทตามคำสั่งของ กสทช. ที่บริษัทผู้เชี่ยวชาญต้องใช้ความระมัดระวังมากกว่าผู้บริโภคซึ่งมีความเชี่ยวชาญน้อยกว่า

4. หากเกิดปัญหาจากการเก็บค่าบริการ การพิสูจน์ความเสียหายและค่าใช้จ่าย หน้าที่ในการนำสืบเป็นของบริษัทผู้เป็นเจ้าของเทคโนโลยีและให้บริการ สามารถติดตามและนำหลักฐานมาชี้แจงได้มากกว่าผู้บริโภค เนื่องจากบริษัทเป็นเจ้าของข้อมูลและความรู้ทั้งหลาย

5. การลักลอบใช้สัญญาณอินเตอร์เน็ตของผู้อื่นโดยเจ้าของไม่ยินยอมมีความผิดฐานจงใจกระทำให้เกิดการรบกวนหรือขัดขวางต่อการวิทยุคมนาคม  ผู้ให้บริการมีหน้าที่ในการหาตัวผู้กระทำผิด

ช่องทางเรียกร้องสิทธิ

1.  เรื่องนี้มีหน่วยงานเฉพาะในการรับเรื่องร้องทุกข์ จึงสามารถร้องเรียนไปที่ กลุ่มภารกิจด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม ภายใต้สำนักงานคณะกรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)

2. หากยังไม่มีการชำระหนี้ หรือบ่ายเบี่ยงหลบเลี่ยง ก็สามารถนำความเดือดร้อนนี้ไปร้องยังสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค(สคบ.)  (กรุงเทพฯ) หรือคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคประจำจังหวัดในจังหวัดที่ท่านอาศัยอยู่ได้

3. มาตรการขั้นเด็ดขาด ผู้บริโภคสามารถนำเรื่องไปฟ้องยังศาลแพ่งและพาณิชย์ แผนกคดีผู้บริโภคได้ ซึ่งจะมีขั้นตอนและวิธีการดำเนินคดี รวมถึงไกล่เกลี่ยประนีประนอมที่เอื้ออำนวยความสะดวกให้กับผู้บริโภค

4. การฟ้องเรื่องความผิดฐานจงใจกระทำให้เกิดการรบกวนหรือขัดขวางต่อการวิทยุคมนาคมนั้นเริ่มด้วยการเข้าแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจและอัยการสั่งฟ้องไปยังศาลอาญาก็ได้เช่นกัน โดยสามารถขอให้เรียกร้องค่าเสียหายที่เกิดขึ้นได้ในคราวเดียวกันไปเลย

5. ประชาชนสามารถฟ้องบังคับให้ กสทช. และ สคบ. ปฏิบัติหน้าที่ในการคุ้มครองสิทธิของประชาชน เช่น ออกเกณฑ์ คำสั่ง และบังคับควบคุมบริษัทได้ที่ศาลปกครอง

สรุปแนวทางแก้ไข

ใช้หลักสัญญาและการปฏิบัติตามสัญญาโดยสุจริต และการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค   ซึ่งผู้ให้บริการมีหน้าที่ในการให้บริการตามข้อสัญญาที่ตกลงกันไว้เนื่องจากมีการเสียค่าบริการ ผู้บริโภคสามารถร้องเรียน กสทช. และ สคบ.  หากไม่สำเร็จอาจนำเรื่องเข้าสู่การบังคับคดีในศาลแพ่งฯ โดยฟ้องเป็นคดีผู้บริโภคได้   ส่วนการลักลอบใช้สัญญาณมือถือที่รั่วออกมาเป็นความผิดทางอาญาฐานจงใจกระทำให้เกิดการรบกวนหรือขัดขวางต่อการวิทยุคมนาคมสามารถแจ้งความต่อตำรวจเพื่อให้ฟ้องในศาลอาญาและเรียกค่าเสียหายมาในคราวเดียวกัน


 

 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
ตลอดระยะเวลาแห่งความขัดแย้งทางการเมือง ได้มีกลุ่มต่างๆ เสนอทางออกของปัญหาด้วยการใช้กฎหมายมากมายหลายมาตรา   แต่มาตราหนึ่งซึ่งเป็นข้อถกเถียงมาก คือ การใช้รัฐธรรมนูญ ม.7 ตั้งแต่เมื่อคราวที่ยังใช้รัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 เรื่อยมาจนถึง ฉบับปี 2550   คนจำนวนไม่น้อยคงสงสัยมากว่า มาตรา 7
ทศพล ทรรศนพรรณ
เอาล่ะครับ พ่อแม่พี่น้อง เรื่องถัดไปนี่คงเป็นความสนใจของเพื่อนพ้องหลายๆพื้นที่นะครับ ผมได้รับแจ้งเข้ามาว่า  เจ้าพนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่หนึ่งมีการเพิกเฉย ละเลย ดูแลปัญหาความเดือดร้อนของคนในพื้นที่ แถมยังมีเรื่องราวกินสินบาทคาดสินบนทำให้ชาวบ้านจนปัญญาจะหาทางแก้ไขเข้าไปอีก&n
ทศพล ทรรศนพรรณ
พลังเหนือมนุษย์ ที่จะพูดถึงในครั้งนี้ประกอบไปด้วยสองส่วน คือ พลังธรรมชาติ และพลังลี้ลับ   ซึ่งกฎหมายก็ได้พูดถึงสองสิ่งนี้อยู่ไม่น้อยทีเดียว
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้เป็นสารพัดปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้ใช้แรงงานในยามที่เจอกับภาวะเศรษฐกิจตกสะเก็ด เราคงได้ยินเสียงผู้ประกอบการบ่นให้ฟังว่า ยอดสั่งซื้อตก กำไรหด ต้องลดกำลังการผลิตเพื่อให้บริษัทอยู่รอดกันใช่ไหมครับ  แต่ทราบไหมครับว่า ทุกครั้งที่บอกว่าขาดทุนและต้องลดต้นทุนหรือกำลังการผลิตนั้น มันหมายถึงการป
ทศพล ทรรศนพรรณ
             กฎหมายสมัยใหม่ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้ มีสิ่งที่ต้องเข้าใจร่วมกันว่า ได้ให้อำนาจเด็ดขาดแก่รัฐในการบีบบังคับประชาชนในรัฐ และลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืนกฎหมายโดยการใช้ความรุนแรงนับตั้งแต่ การประหารชีวิต การจำคุก การควบคุมตัว ริบทรัพย์ ในระบบกฎหมายอาญา  ไ
ทศพล ทรรศนพรรณ
ทุกท่านคงทราบกันแล้วนะครับว่าปัจจุบันกฎหมายไทยเกี่ยวกับเรื่องข่มขืนได้มีการปรับปรุงแก้ไขไปให้ทันกับสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นจริง เพราะมิใช่เพียง
ทศพล ทรรศนพรรณ
คงมีหลายคนสงสัยว่าทำไมนักกฎหมายมักย้ำเสมอว่าปัญหาทางกฎหมายต้องตอบในลักษณะ “หนึ่งคำถาม หนึ่งคำตอบ”    กล่าวคือ ในปัญหาเรื่องนั้นจะต้องมีคำชี้ขาดขององค์กรตุลาการหรือองค์กรวินิจฉัยชี้ขาดที่ชัดเจนแน่นอนเพียงหนึ่งเดียว   ห้ามมีคำตอบแตกต่างหลากหลาย   เช่น  
ทศพล ทรรศนพรรณ
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งกับผู้ใช้รถใช้ถนนทั้งในเมืองและต่างจังหวัด เนื่องจากในบางเส้นทางจะมีด่านตรวจของเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งเราก็ไม่แน่ใจว่าจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไรเมื่อถูกกักตัวหรือขอตัวค้นรถตอนถึงด่าน   ทั้งยังสงสัยกับพฤติกรรมของเจ้าหน้าที่ตรงด่านว่าใช่ตำรวจหรือไม่ มีอำนาจหน้าที่อะไ
ทศพล ทรรศนพรรณ
       หลายครั้งที่เราสงสัยกันว่าทำไมเรื่องที่เค้าเถียงกันแทบเป็นแทบตายไม่มีคำตอบที่ชัดเจนสักที ตำรวจก็บอกว่าต้องทำตามกฎหมายข้อนี้ นักกฎหมายก็อ้างว่าไม่ได้ต้องดูกฎหมายอีกฉบับด้วย แล้วพอไปออกรายการทีวีเถียงกันก็ยังไม่ค่อยจะรู้เรื่อง เพราะปัญหาเดียวกันไหงมีกฎหมายมาเกี่ยวข้องต้อง
ทศพล ทรรศนพรรณ
ปัจจุบันมีคนจำนวนมากเข้าไปทำงานตามร้านอาหารหรือสถานบริการต่างๆมากขึ้นกว่าแต่ก่อน ตามจำนวนร้านรวงที่ผุดขึ้นมาเป็นดอกเห็ด จุดไหนมีคนทำงานหรือเรียนหนังสือเยอะๆก็จะมีร้านตั้งมาดักไว้เต็มไปหมด ก็มีคนพูดไว้เยอะว่าร้านอาหารที่ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นแหล่งมั่วสุมของนักศึกษาหรือว่าคนทำงานในวัยหนุ่มสาว&
ทศพล ทรรศนพรรณ
ตอนนี้เราจะมาดูกันนะครับว่า ทำไมเมื่อเกิดความขัดแย้งขึ้นมาในสังคม เราจึงต้องใช้กฎหมายมายุติความขัดแย้ง   เหตุผลของเรื่องนี้ก็ต่อมาจากตอนที่แล้วซึ่งเราบอกว่า กฎหมาย คือ กติกา ที่สังคมกำหนดขึ้นมาร่วมกัน เพื่อชี้ว่าเมื่อเกิดเหตุการณ์ต่างๆขึ้น แล้วตกลงกันไม่ได้ จะ “ยุติ” ความขัดแย้งอย่างไรใ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องที่ผมจะเอามาเล่าสู่กันฟังเป็นความเดือดร้อนแสนสาหัสของน้องสองคนซึ่งได้รับผลกระทบจากการประกาศภาวะฉุกเฉิน เคอร์ฟิว ในช่วงที่มีการปราบปรามและสลายการชุมนุม   ซึ่งมันเกี่ยวพันกับชีวิตคนธรรมดาอย่างเราๆท่านๆมากขึ้น เพราะสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2