Skip to main content

เรื่องต่อไปนี้สะท้อนความเป็นไปในระบบการศึกษาไทยได้เป็นอย่างดีเลยครับ เพราะอย่างที่เรารู้กันว่าอนาคตของเราฝากไว้ที่การสอบเข้ามหาวิทยาลัยไม่น้อยเลยทีเดียว   หากอยากเข้ามหาวิทยาลัยดีๆ คณะดังๆ เพื่อหวังว่าจบมาจะหางานทำง่ายๆ คงรู้กันว่าต้องเตรียมตัวสอบเข้าให้ได้ เลยเกิดโรงเรียนกวดวิชาขึ้นมามากมายทั้งในกรุงเทพฯและเริ่มขยายออกไปตามหัวเมืองใหญ่ๆ ในจังหวัดต่างๆ จนตอนนี้โรงเรียนกวดวิชาบางแห่งมีสาขาเป็นร้อยแล้ว   คนที่เข้าไปเกี่ยวพันกับการกวดวิชาแต่ละปีก็มีเป็นหมื่นย่อมต้องเกิดปัญหาตามมาแน่ๆ เพราะบางทีก็แย่เน้นแต่เรื่องหาผลกำไร มากกว่าความมุ่งหวังในการเผยแพร่แก่ผู้คนไปแล้วนั่นเอง   ดังเช่นน้องคนนี้ที่ได้เข้ามาปรึกษาว่าจะหาทางแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการกวดวิชาอย่างไรดีครับ

“ข้าพเจ้าสมัครเรียนพิเศษวิชาภาษาอังกฤษที่สถาบันแห่งหนึ่ง ที่มีค่าสมัครเรียนในห้องสอนสดกับอาจารย์ตัวเป็นๆแพงกว่าคอร์สที่เรียนกับ ดีวีดี พอมาถึงวันหนึ่งซึ่งก็เป็นวันที่ข้าพเจ้ามาเรียนตามปกติ แต่เมื่อมาถึงกลับพบว่ามีเพื่อนนักเรียนคนหนึ่งมานั่งเรียนที่นั่งของข้าพเจ้า

ข้าพเจ้าจึงไปแจ้งกับพนักงาน พนักงานจึงบอกให้ข้าพเจ้าไปเรียนอีกห้องหนึ่งแทนซึ่งเป็นห้องถ่ายทอดสด จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้ข้าพเจ้าไม่เข้าใจ และคิดว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมในการสมัครเรียนครั้งนี้ เพราะข้าพเจ้าได้สมัครเรียนในคอร์สที่มีอาจารย์สอนสด แต่กลับมานั่งเรียนในห้องที่มีการถ่ายทอดการเรียนการสอนทางทีวีที่ถ่ายทอดสดแทน  ในเหตุการณ์ครั้งนั้นข้าพเจ้าได้แต่ทำตามที่พนักงานบอกหากไม่ทำตามจะเกิดความวุ่นวาย ต้องเคลื่อนย้ายที่ อาจทำให้ส่งผลกระทบต่อคนส่วนใหญ่รวมถึงอาจารย์ที่สอนด้วย ข้าพเจ้ามองเห็นถึงปัญหานี้จึงได้เสียสละประโยชน์ที่ข้าพเจ้าควรได้รับในครั้งนั้น โดยคิดวาคงเป็นเหตุจำเป็นครั้งนี้ครั้งเดียวและข้าพเจ้าอาจจะพลาดเพราะมาสายทำให้มีคนมานั่งแทน

พอมาถึงอาจารย์เริ่มสอนแล้ว ถ้าเข้าไปเรียกให้คนที่นั่งลุกขึ้นอาจจะกลายเป็นเรื่องใหญ่เจอสายตาคนนับร้อยในห้องจ้องก็ไม่ดี                สัปดาห์ถัดมาเมื่อข้าพเจ้าไปที่ห้องก็เห็นคนอื่นมานั่งแทนที่ของข้าพเจ้าอีก จึงเดินเข้าไปบอกแล้วเขาก็ลุกออกไป แต่ก็ทำให้มีปากเสียงกันนิดหน่อยจนพลอยเสียอารมณ์ในการเรียนวันนั้นไปเหมือนกัน   แต่ก็ยังดีกว่าเพื่อนของข้าพเจ้าที่โอนเงินมาเพื่อนสมัครเรียนในห้องสดแต่พอมาถึงวันเรียนกลับพบว่าห้องเต็มไม่ได้นั่งห้องสด ต้องไปติดตามขอเงินคืนและเปลี่ยนไปนั่งห้องวีดีโอแทน”

ยิ่งไปกว่านั้นยังมีคนมาเล่าให้ฟังว่าโรงเรียนกวดวิชาชื่อดังหลายที่เปิดคอร์สรับเด็กจำนวนมากเกินจนล้นห้อง ต้องนั่งเบียดแออัดกันมาก อากาศก็ไม่ถ่ายเท เวลาเข้าออกก็ต้องปีนป่ายให้ได้อายกันตลอดเวลา ไหนจะทางขึ้นลงห้องน้ำห้องท่าไม่สะดวก  จนแอบคิดกันว่าถ้าไฟไหม้ขึ้นมาคงโดนรมควันตายหมู่ในห้องเป็นแน่ เพราะเด็กคงแห่กันไปกระจุกตรงประตูทางออกแคบๆ จนเหยียบกันตายไม่ได้ออกไปแน่ๆเลย

นอกจากนี้ยังมีการประกาศรับรองผลการเรียนประเภทติดแน่ๆ คนนั้นก็เป็นศิษย์เก่า คนนี้ก็ใช่ เอารายชื่อคนที่สอบเข้ามหาวิทยาลัยมาแอบอ้างว่าเคยเรียนกับที่นี่ ทั้งที่เจ้าตัวไม่ได้เรียนกับที่นี่ หรือบางคนเคยเรียนตอนเด็กๆ ไม่เกี่ยวข้องอะไรกับโรงเรียนแห่งนี้ตอนมัธยมปลายเลยก็มี ซึ่งถือเป็นความหลอกลวงของโรงเรียนกวดวิชาด้วยการโฆษณาเกินความจริง

ซ้ำร้ายโรงเรียนกวดวิชาที่สอนกันเองบางแห่งแม้จะประกาศว่าได้รับการรับรองเป็นที่เชื่อถือ โฆษณาในโบรชัวร์ หรือติดป้ายประกาศ หรือโฆษณาในอินเตอร์เน็ตนั้น เมื่อเข้าไปตรวจสอบกันจริงๆ พบว่า บางแห่งเปิดสอนโดยไม่มีใบอนุญาต แต่ก็ยังมีคนมาเปิดสอนเถื่อนกันอยู่เรื่อยๆ เป็นจำนวนมาก

วิเคราะห์ปัญหา

1. การจองที่นั่งในการกวดวิชาแล้วไม่ได้นั่งเรียนในคอร์สที่สมัครเรียนไป เรามีสิทธิเรียกร้องอะไรได้บ้าง

2. หากสมัครคอร์สสอนสดโดยจ่ายเงินไปแล้วแต่ไม่ได้เรียนจริง จะเรียกเงินคืน หรือดำเนินการอย่างไรได้บ้าง

3. โรงเรียนกวดวิชาต้องดูแลความปลอดภัยและความสะอาดของสถานที่ด้วยหรือไม่

4. การโฆษณาเกินจริงของโรงเรียนกวดวิชามีความผิดหรือไม่

5. การเปิดโรงเรียนกวดวิชาโดยไม่ต้องขอใบอนุญาตนั้นสามารถกระทำได้หรือไม่

การนำกฎหมายมาแก้ไข

1. การจองที่นั่งในการกวดวิชาแล้วไม่ได้นั่งเรียนในคอร์สที่สมัครเรียนไป เรามีสิทธิเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่จัดให้เรานั่งเรียนตามที่ทำสัญญาตกลงกันไว้ตั้งแต่การจ่ายเงินได้

2. หากสมัครคอร์สสอนสดโดยจ่ายเงินไปแล้วแต่ไม่ได้เรียนจริง ผู้บริโภคสามารถเรียกเงินคืน หรือดำเนินการเปลี่ยนคอร์สการเรียนและรับเงินส่วนต่างคืนได้ ตามที่ตกลงกับโรงเรียนกวดวิชาใหม่

3. โรงเรียนกวดวิชาต้องดูแลความปลอดภัยและความสะอาดของสถานที่ให้เป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัยของอาคารที่มีการเปิดสอนและมีบุคคลเข้าไปใช้บริการจำนวนมาก

4. การโฆษณาเกินจริงของโรงเรียนกวดวิชามีความผิดตามกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค และกฎหมายอาญาตามนัยมาตรา 271 ซึ่งเป็นความผิดเกี่ยวกับการค้า โดยการหลอกลวงด้วยประการใดๆ ให้ผู้ซื้อหลงเชื่อในแหล่งกำเนิด สภาพ คุณภาพ หรือปริมาณ สิ่งของนั้นอันเป็นเท็จ จะมีโทษทั้งจำทั้งปรับ

5. การเปิดสอนกันเองจำนวนน้อยในบ้านพักหรือสถานที่ต่างๆทำได้ตามความสมัครใจของสองฝ่าย แต่หากมีการเปิดโรงเรียนกวดวิชาโดยไม่ต้องขอใบอนุญาตนั้นจะมีความผิดตามกฎหมายลูกของกระทรวงศึกษาธิการแต่มีโทษปรับเท่านั้น 

ช่องทางเรียกร้องสิทธิ

1. ร้องเรียนปัญหาไปยังสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.)

2. หากยังไม่มีการชำระหนี้ หรือบ่ายเบี่ยงหลบเลี่ยง ก็สามารถนำความเดือดร้อนนี้ไปร้องยังสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค(สคบ.)  (กรุงเทพฯ) หรือคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคประจำจังหวัดในจังหวัดที่ท่านอาศัยอยู่ได้

3. ผู้บริโภคสามารถนำเรื่องไปฟ้องยังศาลแพ่งและพาณิชย์ แผนกคดีผู้บริโภคได้ ซึ่งจะมีขั้นตอนและวิธีการดำเนินคดี รวมถึงไกล่เกลี่ยประนีประนอมที่เอื้ออำนวยความสะดวกให้กับผู้บริโภค

4. การหลอกลวง ฉ้อโกงทางการค้า สามารถแจ้งความเพื่อดำเนินคดีทางอาญาต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจได้

สรุปแนวทางแก้ไข

ใช้หลักนิติกรรมสัญญา และข้อสัญญาไม่เป็นธรรม สิทธิผู้บริโภค หากเราได้เรียนตามเงื่อนไขที่กำหนดก็เป็นการได้รับสิทธิตามสัญญา แต่การที่เพื่อนจ่ายน้อยกว่าแต่ได้เรียนในสภาพเดียวกันย่อมเป็นการใช้สิทธิเกินส่วนซึ่งโรงเรียนกวดวิชามีหน้าที่กวดขันให้เป็นไปตามเงื่อนไข อาจร้องต่อ สช. และ สคบ.ให้ตรวจการให้บริการของโรงเรียนกวดวิชา รวมถึงแจ้งความเป็นคดีอาญาต่อตำรวจได้

 

 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
จากข่าวที่ประเทศสวิสเซอร์แลนด์กำลังจะยกเลิกการใช้เงินกระดาษทุกแบบไปสู่การใช้เงินดิจิตัล หรือการประกาศใช้ระบบรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ และการระงับข้อพิพาทออนไลน์ ในหลายประเทศ มาจนถึงการผลักดันโครงการดิจิตัลอีโคโนมี่ในประเทศไทย ทำให้เห็นแนวโน้มว่าถนนทุกสายมุ่งสู่โลกไซเบอร์
ทศพล ทรรศนพรรณ
จากเหตุวินาศกรรมในวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 2001 ที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตนับพันคนในทันที และมีผู้บาดเจ็บและตกอยู่ในภาวะพิการ เจ็บป่วยทางจิตอีกจำนวนมาก รวมถึงการสูญเสียของญาติพี่น้องในเหตุการณ์ดังกล่าวยังความเสียใจอย่างรุนแรงให้เกิดขึ้นทั่วโลกมิใช่ในสหรัฐอเมริกา
ทศพล ทรรศนพรรณ
ภาพยนตร์สารคดีเรื่อง Citizen Four ที่สร้างโดยนักทำหนังต่อต้านสงครามและนโยบายลิดรอนสิทธิมนุษยชนชื่อดัง ได้เปิดโปงให้เห็นภัยของเทคโนโลยีสารสนเทศที่ผู้ใช้ไม่รู้เท่าทัน จนมิอาจปกป้องตนเองให้พ้นจากการสอดส่องของเจ้าของเทคโนโลยี และฝ่ายความมั่นคงของรัฐ   โดยเฉพาะกลุ่มพันธมิตร Five Eyes อันได้แ
ทศพล ทรรศนพรรณ
นับแต่รัฐประหาร 2557 คณะผู้กุมอำนาจได้รุกไล่และปราบปรามการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดอนาคตประเทศเป็นอย่างมาก  ยุทธวิธีที่สำคัญ คือ การสอดส่องผู้พิทั
ทศพล ทรรศนพรรณ
ยุทธศาสตร์ของชนชั้นนำไทยที่ลักลั่นระหว่าง การผลักดันเศรษฐกิจดิจิทัล หรือไทยแลนด์ 4.0 กับ การมุ่งรักษาความมั่นคงของรัฐ(บาล) โดยการปราบปรามผู้วิพากษ์วิจารณ์รั
ทศพล ทรรศนพรรณ
รัฐสมัยใหม่สถาปนาขึ้นมาบนพื้นฐานของการเข้าใจร่วมกันในประเด็นพื้นฐานที่ว่า “รัฐมีหน้าที่ปกป้องชีวิตและคุ้มครองทรัพย์สินของประชาชน”  แต่ก็เกิดข้อกังขาเสมอมาในลักษณะที่ว่า หากรัฐเป็นผู้ละเมิดชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนเสียเอง แล้วจะทำเช่นไร  หรือถ้ารัฐไม่ทำหน้าที่ปล่อยปละละเลยจนเกิดการละเม
ทศพล ทรรศนพรรณ
ประเด็นสำคัญของ EU-US Umbrella Agreement 20161.       ข้อตกลงระหว่างสหภาพยุโรปกับสหรัฐเพื่อคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่อยู่ในการควบคุมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมทางอาญาตั้งแต่ ตำรวจไปจนถึงศาล ลงนามเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2559
ทศพล ทรรศนพรรณ
มีอะไรใหม่ใน กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลสหภาพยุโรป EU General Data Protection Regulation 20161.       เป็นครั้งแรกที่ EU มีกฎหมายรวมกฎคุ้มครองข้อมูลต่างๆที่กระจัดกระจายมาอยู่ในกฎหมายเดียว (General Regulation)
ทศพล ทรรศนพรรณ
เวลาเราจะเดินทางไปไหนยิ่งรีบก็ยิ่งเหมือนะยิ่งช้าถ้าไม่ใช้ความระมัดระวังเป็นอย่างดี   บางที่เราไม่ประมาทแต่คนอื่นก็ยังขับรถมาชนได้ก็มีนะครับ ซึ่งสองเรื่องที่จะเล่านี้ก็ตามวิถีไทยแท้บนท้องถนนครับ คือ รถชนกันไม่พอ แต่มีการขนญาติพี่น้องและใช้อิทธิพลมากดดันของฝ่ายหนึ่งหวังจะพึ่งกำลังภายในให้
ทศพล ทรรศนพรรณ
ต่อไปจะกล่าวถึงปัญหาที่เกิดจากวิถีชีวิตและความสัมพันธ์ของคนในสังคมที่เปลี่ยนไปมากจากวันเวลาของพ่อแม่เรา   บางเรื่องอาจจะได้ยินซ้ำๆซากๆและเป็นปัญหาคาราคาซังในสังคมทุกยุคทุกสมันและมีวิธีจัดการต่างกันไปในแต่ละยุค  คือ เรื่องเด็กกำพร้าที่ในอดีตเป็นเรื่องที่ชุมชนหรือสถาบันทางศาสนาเข้ามา