Skip to main content

จากเหตุวินาศกรรมในวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 2001 ที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตนับพันคนในทันที และมีผู้บาดเจ็บและตกอยู่ในภาวะพิการ เจ็บป่วยทางจิตอีกจำนวนมาก รวมถึงการสูญเสียของญาติพี่น้องในเหตุการณ์ดังกล่าวยังความเสียใจอย่างรุนแรงให้เกิดขึ้นทั่วโลกมิใช่ในสหรัฐอเมริกา

              แต่สิ่งน่าสังเกต คือ เหตุใด ฝ่ายความมั่นคงของสหรัฐอเมริกาที่รู้ล่วงหน้าว่า จะมีแผนก่อวินาศกรรมขึ้น กลับไม่สามารถป้องกันเหตุการณ์ได้อย่างทันท่วงที หรืออย่างน้อยๆ ก็ไม่มีแผนปฏิบัติการใดๆในการควบคุมสถานการณ์   หลักฐานจำนวนมากชี้ให้เห็นว่า   นี่เป็นจุดเริ่มต้น ของการหวนคืนสู่อำนาจของฝ่ายความมั่นคงทั่วโลก    หลังจากหมดความสำคัญลงไปเมื่อสงครามเย็นและกำแพงแห่งความหวาดกลัวสิ้นสุดลงในต้นทศวรรษ 1990

                จุดเริ่มต้นแห่งการสูญเสีย เกิดขึ้นนับแต่ การประกาศทำสงครามต่อต้านการก่อการร้ายเต็มรูปแบบของมหาอำนาจสหรัฐอเมริกาและพันธมิตรทั้งในและนอกนาโต้   การทำสงครามระหว่างประเทศรุกรานโดยไม่ขอมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ทำให้ประชาชนชาวอัฟกานิสถาน อิรัก ได้รับผลกระทบ ไม่ว่าจะเป็นการเสียชีวิตจากการโจมตีไม่จำกัดขอบเขต การทำลายบริการสาธารณะขั้นพื้นฐาน   แล้วส่งโครงการฟื้นฟูเข้าไปโดยแลกกลับการใช้น้ำมันของสองประเทศเป็นค่าใช้จ่าย 

                แต่ความสูญเสียที่กระทบกับพวกเราทุกคนทั่วโลก คือ การสร้างระบอบอำนาจทหารให้เข้มแข็งขึ้นมาอีกครั้งหลังการพัฒนาความแข็งแกร่งให้หน่วยงานด้านความมั่นคงทั่วโลก   กองทัพและฝ่ายความมั่นคงทั่วโลกฉวยใช้ ความหวาดกลัวต่อภัยก่อการร้ายมาเป็น “ข้ออ้าง” ในการจัดซื้อจัดจ้างเทคโนโลยี อาวุธ และที่ปรึกษาด้านความมั่นคงเป็นมูลค่ามหาศาล

                ยิ่งไปกว่านั้นกฎหมายที่ให้อำนาจรัฐแก่ฝ่ายบริหาร เพื่ออ้างความมั่นคงเข้าไปตรวจตรา ตรวจสอบ เฝ้าระวัง หรือติดตามสืบสวนบุคคล โดยไม่ต้องขออำนาจศาลก็เพิ่มขึ้น  ดังปรากฏกฎหมายความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ และกฎหมายข่าวกรองระหว่างประเทศ ของสหรัฐอเมริกาเป็นแม่แบบ  

                ประเทศไทยในสมัยรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ก็ได้ใช้ข้ออ้างในการจัดการภัยก่อการร้ายในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อออก พระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินฯ พ.ศ.2548   ต่อมารัฐบาลสุรยุทธ์ จุลานนท์ ก็ผลักดันให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติออกพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551 ตามการร้องขอและผลักดันของกองทัพในช่วงที่เป็นรัฐบาลหลังการรัฐประหาร พ.ศ.2549 นั่นเอง 

                การใช้กฎหมายทั้งสองฉบับ รวมไปถึง กฎอัยการศึก พ.ศ.2457 ได้กลายเป็นเครื่องมือสำคัญของรัฐบาลทหารและพลเรือนในการใช้ควบคุมประชาชนที่เห็นต่าง คัดค้านรัฐบาลเสมอ   ไม่ว่าจะเป็นการแสดงความคิดเห็น การชุมนุม รวมไปถึงให้อำนาจ “สืบในทางลับ” และนำไปสู่การจับกุม และดำเนินคดีโดยอาศัยบทบัญญัติกฎหมายเหล่านี้ เป็นที่ทราบกันดีว่าเนื้อหาในกฎหมายทั้งสามฉบับนี้ ละเมิดสิทธิตามรัฐธรรมนูญ และกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศที่ไทยเป็นภาคี และมี พระราชบัญญัติอนุวัติการให้มีผลบังคับใช้ในศาลไทยอยู่   แต่แนวทางการปฏิบัติของฝ่ายต่างๆ ก็แสดงให้เห็นแล้วว่า ยอมตามอำนาจรัฐและฝ่ายความมั่นคง  มากกว่า การประกันสิทธิของประชาชน

                คนจำนวนมากไม่สนใจ ไม่เข้าใจ และไม่คิดว่าเป็นปัญหา ตราบเท่าที่ “คุณไม่ได้ทำผิดกฎหมาย จะกลัวอะไร”   แต่คนหลายกลุ่มก็เริ่มเข้าใจแล้วว่า   แม้ไม่ได้ทำอะไรผิดกฎหมาย แต่ถ้าทำอะไรไม่เป็นที่สบายใจของผู้มีอำนาจก็อาจต้องโทษทัณฑ์ขั้นร้ายแรงได้ เช่น ไม่ไปรายงานตัวเมื่อโดนเรียก   หรือ การกินอาหารฟาสต์ฟู้ด   หรือ ยืนชูสามนิ้วในที่สาธารณะ  เรื่อยไปจนถึงการตั้งรางวัลนำจับให้ พลเมืองดีจับตาดูผู้ที่เป็นภัยต่อชาติในอินเตอร์เน็ต

                หากท่านยังคิดว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนี้ เป็นเรื่อง “ปกติ” และ “ยอมรับได้”   นั่นหมายความว่า ท่านได้เอาตัวเองเข้าไปเสี่ยงเช่นกัน   เพราะวันหนึ่งท่านอาจเป็นฝ่ายตรงข้ามผู้มีอำนาจได้เช่นกัน   เมื่อวันเวลาของขั้วอำนาจเปลี่ยนไป

                ในฐานะประชาชนทั่วไปในหลายประเทศทั่วโลก   ภัยที่ชัดเจนและมาพร้อมยุคสมัยแห่งเทคโนโลยีข้อมูลข่าวสาร ก็คือ การคุกคามความเป็นส่วนตัว ด้วยเทคโนโลยีติดตาม ตรวจดักข้อมูล และการเฝ้าระวัง (Surveillance Technology) โดยเฉพาะเมื่อมีการเปิดเผยข้อมูลจากอดีตเจ้าหน้าที่ข่าวกรองของหน่วยงานความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐ NSA – Eric Snowdens ให้ข้อมูลอย่างต่อเนื่องว่า ข้อมูลที่เราคิดว่าไม่มีใครรู้ เป็นความลับของเรา การใช้อินเตอร์เน็ตนั้นปลอดภัย อยู่ในการดูแลของบริษัทผู้บริการ นั้นไม่เป็นความจริงเสมอไป   ทำให้เกิดความตื่นตระหนกทั่วโลก แต่อาจไม่ใช่ประเทศไทย

                หากเพราะเราอาจคุ้นชินกันไปแล้วกับการถูกรุกรานเข้ามาในชีวิตส่วนตัว รวมถึงการฝังหัวว่าสิ่งสำคัญสูงสุดมิใช่ ความเป็นมนุษย์ที่เสมอภาค มีเสรีภาพในคิดเห็น และแสดงออกตามความคิดความเชื่อของตน   โดยที่ไม่ถูก “จับตา” ควบคุมสอดส่องให้แสดงความเห็นอยู่ในร่องที่รัฐเผด็จการขีดวางไว้

                การควบคุมไปจนถึงการกำหนดว่า “ความสุข” แบบใดที่รัฐมอบให้และประชาชนต้องอภิรมย์ แทนที่ความสุขทั่วไปที่ประชาชนเลือกชมได้ ถือเป็นการพยายามกลืนกลายประชาชนให้กลายเป็นก้อนกลมเดียวกัน   ไม่เหลือความคิดสร้างสรรค์อื่นใดให้พัฒนาตนเอง และสังคมไปในทิศทางที่ รัฐไม่รู้จัก ไม่คุ้นเคย และหวาดระแวง

                ความเป็นส่วนตัว ในการคิดและการแสดงออกโดยปราศจากการจับจ้อง จึงเป็น “รากฐาน” ขั้นต่ำสุดของสังคมที่ต้องการความก้าวหน้าแบบไม่ต้องมีใครมาชักนำพาจูงจมูก

                หากมองย้อนกลับไปคงได้เห็นแล้วว่า เหตุการณ์ 9/11 ที่เกิดขึ้นในปี 2001 ได้ทำให้เกิดปัญหาอะไร และสังคมต้นทางอย่างสหรัฐได้ตื่นรู้ และประชาชนอเมริกันได้ลุกขึ้นสู้เพื่อต่อต้านการครอบงำของฝ่ายความมั่นคงอย่างไรบ้าง

บล็อกของ ทศพล ทรรศนกุลพันธ์

ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
การพัฒนาสิทธิแรงงานรับจ้างอิสระ (Freelancer) ต้องยึดโยงกับหลักกฎหมายสำคัญเรื่องการประกันสิทธิของแรงงานอันมีสิทธิมนุษยชนเป็นพื้นฐาน (Human Rights-Based Approach – HRBA) ไว้ เพื่อเป็นรากฐานทางกฎหมายในการอ้างสิทธิและเสนอให้ภาครัฐสร้างมาตรการบังคับตามสิทธิอย่างเป็นรูปธรรม ตั้งแต่การประกันรายได้รูปแบบ
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของปัจเจกชนจากการเก็บข้อมูลและประมวลผลโดยบรรษัทเอกชนจำต้องปกป้องคุ้มครองสิทธิของเจ้าของข้อมูลตามมาตรฐานที่กำหนดหน้าที่ของผู้ควบคุมระบบตามกฎหมายด้วย เนื่องจากบุคคลหรือกลุ่มองค์กรเหล่านี้ทำหน้าที่ในการคุ้มครองสิทธิเจ้าของข้อมูลในหลายรูปแบบ อาทิ การให้ความรู้เกี่ยวกับสภาพปั
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
บุคคลแต่ละคนย่อมมีทุนที่แตกต่างกันไปทั้ง ทุนความรู้ ทุนทางเศรษฐกิจ ทำให้การตัดสินใจนั้นตั้งอยู่บนข้อจำกัดของแต่ละคนไม่ว่าจะเป็นการไม่รู้เท่าทันเทคโนโลยี ขาดความรู้ทางการเงิน ไปจนถึงขาดการตระหนักรู้ถึงผลกระทบต่อสุขภาพตนเองและผู้อื่นในระยะยาว ยิ่งไปกว่านั้นรัฐไทยยังมีนโยบายที่มิได้วางอยู่บนพื้นฐานข
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
บทบัญญัติกฎหมายที่ใช้เป็นรากฐานในการอ้างสิทธิในการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนนั้น จะพบว่ารัฐไทยได้วางบรรทัดฐานทางกฎหมายที่รับสิทธิของประชาชนในการรวมกลุ่มกันเพื่อแสดงออกในประเด็นทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยเริ่มต้นจากหลักการพื้นฐานสำคัญที่เชื่อมโยงเรื่องสิทธิม
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
เทคโนโลยีด้านการสื่อสารที่เข้ามามีอิทธิพลแทบจะทุกมิติของชีวิต ส่งผลให้พฤติกรรมด้านการปฏิสัมพันธ์ของประชาชนเปลี่ยนแปลงไปตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยี มีประชาชนจำนวนมากที่ใช้เทคโนโลยีในการหา “คู่” หรือแสวง “รัก” ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดการกระทำความผิดที่เรียกว่า Romance Scam หรือ “พิศวาสอาชญากรรม”&
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
เมื่อถามนักปกป้องสิทธิมนุษยชนว่าอยากเห็นสังคมไทยเป็นเช่นไรในประเด็นการมีส่วนร่วมต่อการกำหนดนโยบายสาธารณะ หรือมีความคาดหวังให้รัฐไทยปรับปรุงอะไรเพื่อส่งเสริมการพิทักษ์สิทธิมนุษยชนของกลุ่มเสี่ยง   นักปกป้องสิทธิมนุษยชนในไทยได้ฉายภาพความฝัน ออกมาดังต่อไปนี้
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
นักปกป้องสิทธิมนุษยชนผู้คร่ำหวอดอยู่ในสนามมายาวนานได้วิเคราะห์สถานการณ์การคุกคามผ่านประสบการณ์ของตนและเครือข่ายแล้วแสดงทัศนะออกมาในหลากหลายมุมมอง ดังนี้
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
สถานการณ์ในด้านสิทธิมนุษยชนในต่างประเทศนั้น มีความสัมพันธ์กับหลายปัจจัยที่อาจเกิดความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาการละเมิดต่อนักปกป้องสิทธิมนุษยชนภายในประเทศที่เกิดจากข้อค้นพบจากกรณีศึกษา มีปัจจัยดังต่อไปนี้1. สถานการณ์สิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับบริบทภายในประเทศ
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
บทวิเคราะห์ที่ได้จากการถอดบทสัมภาษณ์นักปกป้องสิทธิมนุษยชนมากประสบการณ์ ในหลากหลายภูมิภาคไปจนถึงความแตกต่างของการทำงานกับกลุ่มเสี่ยงที่มีปัญหาสิทธิแตกต่างกันไป   เป็นที่ชัดเจนว่าเขาเหล่านั้นมีชีวิตและอยู่ในวัฒนธรรมแตกต่างไปจากมาตรฐานด้านสิทธิมนุษยชนและนิติรัฐที่ปรากฏในสังคมตะวันตก ซึ่งสะ
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
การคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงได้ถูกรับรองไว้โดยพันธกรณีระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนต่าง ๆ ให้ความสำคัญประกอบจนก่อให้เกิดอนุสัญญาเฉพาะสำหรับกลุ่มเสี่ยงนั้น ๆ ประกอบไปด้วย สตรี, เด็ก, เชื้อชาติ และ แรงงานอพยพ รวมถึง ผู้พิการ โดยกลุ่มเสี่ยงมีสิทธิที่ถูกระบุไว้ในปฏิญญาว่าด้วย
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
แนวทางในการสร้างนโยบาย กฎหมาย และกลไกเพื่อคุ้มครองสิทธิประชาชนจากการสอดส่องโดยรัฐมาจาการทบทวนมาตรฐานและแนวทางตามมาตรฐานสากลเพื่อสร้างข้อเสนอแนะเชิงนโยบายครอบคลุม 2 ประเด็นหลัก คือ
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
ต้นปี 2563 หลังจากการอ่านคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรคอนาคตใหม่ บรรยากาศความขัดแย้งทางการเมืองไทยที่ถูกกดไว้มาตั้งแต่หลังการรัฐประหาร 2557 ก็ปะทุขึ้นอีกครั้ง เกิดการเคลื่อนไหวชุมนุมทางการเมืองเพื่อต่อต้านรัฐบาลกระจายไปทั่วทุกจังหวัดในรัฐไทย จุดสำคัญและเป็นเรื่องที่ไม่ปรากฏขึ้นมาก่อนในหน้าประว