Skip to main content

นับแต่รัฐประหาร 2557 คณะผู้กุมอำนาจได้รุกไล่และปราบปรามการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดอนาคตประเทศเป็นอย่างมาก  ยุทธวิธีที่สำคัญ คือ การสอดส่องผู้พิทักษ์สิทธิมนุษยชน ที่มีส่วนสนับสนุนประชาชนและองค์กรต่างๆให้มีความหาญกล้าท้าทายอำนาจรัฐ  ยิ่งไปกว่านั้นยังใช้มาตรการทางกฎหมายในการกดดันอย่างต่อเนื่อง

การต่อสู้ต่อรองเพื่อคืน "สิทธิในการกำหนดอนาคต" คืนอำนาจให้กับประชาชนเจ้าของประเทศ จึงจำเป็นต้องคิดค้นหลักสูตรวิชาใหม่ให้เข้ากับสถานการณ์ที่กองทัพ บรรษัทร่วมกันยึดครองประเทส และสอดรับกับยุทธศาสตร์ในการทวงคืนประเทศไทยใน 20 ปีให้กับปวงชนชาวไทย 


"กฎหมายกับการมีส่วนร่วมของประชาชน"

หลักสูตรนี้จะช่วยให้เห็นถึงสภาพปัญหาในการเข้าไปมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคมและวัฒนธรรมของประชาชนที่อาจมีอุปสรรคจากการละเมิดโดยภาครัฐ หรือการเพิกเฉย ละเลยไม่ใส่ใจของรัฐต่อการละเมิดสิทธิโดยเอกชน


การมีส่วนร่วมของประชาชนตั้งอยู่บนสิทธิพลเมืองและการเมืองที่มีกฎหมายรับรองในประเด็นหลัก 5 ประการ คือ 
1) สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารสาธารณะ 
2) เสรีภาพในการแสดงออก 
3) สิทธิในการรวมกลุ่มหรือชุมนุมเพื่อเรียกร้องสิทธิ 
4) สิทธิในความเป็นส่วนตัวปลอดจากการคุกคามแทรกแซงหรือทำลายเกียรติยศชื่อเสียง 
5) สิทธิในชีวิตเนื้อตัวร่างการปราศจากการถูกทรมานหรืออุ้มหาย ทำให้ตาย


ทั้งนี้ประเด็นเกี่ยวกับสิทธิพลเมืองและการเมืองทั้ง 5 มีส่วนส่งเสริมการพัฒนาสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม จึงควรสร้างหลักประกันในรูปแบบกฎหมายและกลไกให้ครอบคลุมลักษณะเฉพาะทั้ง 5 ประเด็น คือ
1) กฎหมายการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารราชการ (ICCPR, รธน., พรบ.ข้อมูลข่าวสารราชการ)
2) กฎหมายคุ้มครองความเป็นอิสระในการเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของสื่อมวลชน หรือปกป้องการแสดงออกทางวิชาการ หรือรักษาเสรีภาพในการแสดงออกของประชาชนทั่วไป (ICCPR, รธน., พรบ.สื่อ, ปอ., Anti-SLAPP Law)
3) กฎหมายเกี่ยวกับการชุมนุมหรือการรวมกลุ่มเป็นสมาคม สหภาพ (ICCPR, รธน., พรบ.การชุมนุม, พรบ.แรงงานสัมพันธ์, พรบ.พรรคการเมือง, พรบ.จัดตั้งสมาคมและมูลนิธิ, ปพพ.)
4) กฎหมายปกป้องความเป็นส่วนตัวและคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคล (ICCPR, รธน., พรบ.ข้อมูลส่วนบุคคล, ชุดกฎหมายความมั่นคง, พรบ.ดักข้อมูล, ปอ., ปพพ.)
5) กฎหมายต่อต้านการทรมานและขจัดการบังคับให้บุคคลสูญหาย ((ICCPR, CAT, CED, รธน., พรบ.เยียวยาผู้เสียหายในคดีอาญา, ปอ.แก้ไขเพิ่มเติมทรมาน/บังคับสูญหาย, ปพพ.)


โดยกลุ่มเป้าหมายของวิชานี้คือผู้พิทักษ์สิทธิมนุษยชน (Human Rights Defender) ที่มีบทบาทปกป้องสิทธิของกลุ่มเสี่ยงอื่นๆ หากผู้พิทักษ์ตกอยู่ในภาวะเสี่ยงเสียเองก็ย่อมปกป้องผู้อื่นได้ยากขึ้น


*ไม่สงวนสิทธิคณะวิชาหรือสถาบันใดๆ จะนำไปเปิดเป็นวิชาหรือหลักสูตรอบรมใดใดทั้งสิ้น

บล็อกของ ทศพล ทรรศนกุลพันธ์

ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
การพัฒนาสิทธิแรงงานรับจ้างอิสระ (Freelancer) ต้องยึดโยงกับหลักกฎหมายสำคัญเรื่องการประกันสิทธิของแรงงานอันมีสิทธิมนุษยชนเป็นพื้นฐาน (Human Rights-Based Approach – HRBA) ไว้ เพื่อเป็นรากฐานทางกฎหมายในการอ้างสิทธิและเสนอให้ภาครัฐสร้างมาตรการบังคับตามสิทธิอย่างเป็นรูปธรรม ตั้งแต่การประกันรายได้รูปแบบ
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของปัจเจกชนจากการเก็บข้อมูลและประมวลผลโดยบรรษัทเอกชนจำต้องปกป้องคุ้มครองสิทธิของเจ้าของข้อมูลตามมาตรฐานที่กำหนดหน้าที่ของผู้ควบคุมระบบตามกฎหมายด้วย เนื่องจากบุคคลหรือกลุ่มองค์กรเหล่านี้ทำหน้าที่ในการคุ้มครองสิทธิเจ้าของข้อมูลในหลายรูปแบบ อาทิ การให้ความรู้เกี่ยวกับสภาพปั
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
บุคคลแต่ละคนย่อมมีทุนที่แตกต่างกันไปทั้ง ทุนความรู้ ทุนทางเศรษฐกิจ ทำให้การตัดสินใจนั้นตั้งอยู่บนข้อจำกัดของแต่ละคนไม่ว่าจะเป็นการไม่รู้เท่าทันเทคโนโลยี ขาดความรู้ทางการเงิน ไปจนถึงขาดการตระหนักรู้ถึงผลกระทบต่อสุขภาพตนเองและผู้อื่นในระยะยาว ยิ่งไปกว่านั้นรัฐไทยยังมีนโยบายที่มิได้วางอยู่บนพื้นฐานข
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
บทบัญญัติกฎหมายที่ใช้เป็นรากฐานในการอ้างสิทธิในการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนนั้น จะพบว่ารัฐไทยได้วางบรรทัดฐานทางกฎหมายที่รับสิทธิของประชาชนในการรวมกลุ่มกันเพื่อแสดงออกในประเด็นทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยเริ่มต้นจากหลักการพื้นฐานสำคัญที่เชื่อมโยงเรื่องสิทธิม
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
เทคโนโลยีด้านการสื่อสารที่เข้ามามีอิทธิพลแทบจะทุกมิติของชีวิต ส่งผลให้พฤติกรรมด้านการปฏิสัมพันธ์ของประชาชนเปลี่ยนแปลงไปตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยี มีประชาชนจำนวนมากที่ใช้เทคโนโลยีในการหา “คู่” หรือแสวง “รัก” ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดการกระทำความผิดที่เรียกว่า Romance Scam หรือ “พิศวาสอาชญากรรม”&
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
เมื่อถามนักปกป้องสิทธิมนุษยชนว่าอยากเห็นสังคมไทยเป็นเช่นไรในประเด็นการมีส่วนร่วมต่อการกำหนดนโยบายสาธารณะ หรือมีความคาดหวังให้รัฐไทยปรับปรุงอะไรเพื่อส่งเสริมการพิทักษ์สิทธิมนุษยชนของกลุ่มเสี่ยง   นักปกป้องสิทธิมนุษยชนในไทยได้ฉายภาพความฝัน ออกมาดังต่อไปนี้
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
นักปกป้องสิทธิมนุษยชนผู้คร่ำหวอดอยู่ในสนามมายาวนานได้วิเคราะห์สถานการณ์การคุกคามผ่านประสบการณ์ของตนและเครือข่ายแล้วแสดงทัศนะออกมาในหลากหลายมุมมอง ดังนี้
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
สถานการณ์ในด้านสิทธิมนุษยชนในต่างประเทศนั้น มีความสัมพันธ์กับหลายปัจจัยที่อาจเกิดความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาการละเมิดต่อนักปกป้องสิทธิมนุษยชนภายในประเทศที่เกิดจากข้อค้นพบจากกรณีศึกษา มีปัจจัยดังต่อไปนี้1. สถานการณ์สิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับบริบทภายในประเทศ
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
บทวิเคราะห์ที่ได้จากการถอดบทสัมภาษณ์นักปกป้องสิทธิมนุษยชนมากประสบการณ์ ในหลากหลายภูมิภาคไปจนถึงความแตกต่างของการทำงานกับกลุ่มเสี่ยงที่มีปัญหาสิทธิแตกต่างกันไป   เป็นที่ชัดเจนว่าเขาเหล่านั้นมีชีวิตและอยู่ในวัฒนธรรมแตกต่างไปจากมาตรฐานด้านสิทธิมนุษยชนและนิติรัฐที่ปรากฏในสังคมตะวันตก ซึ่งสะ
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
การคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงได้ถูกรับรองไว้โดยพันธกรณีระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนต่าง ๆ ให้ความสำคัญประกอบจนก่อให้เกิดอนุสัญญาเฉพาะสำหรับกลุ่มเสี่ยงนั้น ๆ ประกอบไปด้วย สตรี, เด็ก, เชื้อชาติ และ แรงงานอพยพ รวมถึง ผู้พิการ โดยกลุ่มเสี่ยงมีสิทธิที่ถูกระบุไว้ในปฏิญญาว่าด้วย
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
แนวทางในการสร้างนโยบาย กฎหมาย และกลไกเพื่อคุ้มครองสิทธิประชาชนจากการสอดส่องโดยรัฐมาจาการทบทวนมาตรฐานและแนวทางตามมาตรฐานสากลเพื่อสร้างข้อเสนอแนะเชิงนโยบายครอบคลุม 2 ประเด็นหลัก คือ
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
ต้นปี 2563 หลังจากการอ่านคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรคอนาคตใหม่ บรรยากาศความขัดแย้งทางการเมืองไทยที่ถูกกดไว้มาตั้งแต่หลังการรัฐประหาร 2557 ก็ปะทุขึ้นอีกครั้ง เกิดการเคลื่อนไหวชุมนุมทางการเมืองเพื่อต่อต้านรัฐบาลกระจายไปทั่วทุกจังหวัดในรัฐไทย จุดสำคัญและเป็นเรื่องที่ไม่ปรากฏขึ้นมาก่อนในหน้าประว