Skip to main content

เวลาเราจะเดินทางไปไหนยิ่งรีบก็ยิ่งเหมือนะยิ่งช้าถ้าไม่ใช้ความระมัดระวังเป็นอย่างดี   บางที่เราไม่ประมาทแต่คนอื่นก็ยังขับรถมาชนได้ก็มีนะครับ ซึ่งสองเรื่องที่จะเล่านี้ก็ตามวิถีไทยแท้บนท้องถนนครับ คือ รถชนกันไม่พอ แต่มีการขนญาติพี่น้องและใช้อิทธิพลมากดดันของฝ่ายหนึ่งหวังจะพึ่งกำลังภายในให้ตัวเองพ้นผิดและให้อีกฝ่ายรับผิดไปแทน โดยฝ่ายที่มีประกันชั้นหนึ่งมักจะถูกผลักภาระให้รับไปแทน ก็ไม่เข้าใจเหมือนกันว่าคิดอะไรกันอยู่เพราะหากฝ่ายมีประกันรับปัญหาไปจริงๆในท้ายที่สุด ปีนั้นจะต้องเสียเบี้ยประกันเพิ่ม หากจะย้ายประกันไปอีกยี่ห้อค้าก็มีระบบรวมประวัติระหว่างบริษัทประกันเช็คข้อมูลย้อนหลังได้ จะให้ย้ายทุกปีก็ไม่ไหวถ้ามันไม่ใช่ความผิดของเรานี่ครับ

เหตุการณ์แรกนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับ รถชนกันที่สี่แยกในคืนที่ฝนตกหนัก ระหว่างรถกระบะของผู้ที่มาปรึกษาซึ่งกำลังขับพุ่งตรงมาทางสี่แยกในด้วยความเร็วปกติและมีการชะลอรถเล็กน้อยตามธรรมชาติของการขับผ่านสี่แยกที่ต้องระมัดระวังรถอื่นๆในบริเวณทางแยกร่วม   จังหวะที่กำลังจะขับผ่านพ้นแยกไปนั้น มีรถเก๋งซึ่งอยู่ในเลนส์ขวาสุดได้เบี่ยงรถคันหน้าสุดที่ติดไฟแดงเลี้ยวขวาอยู่ออกมาทางเลนส์ซ้ายอย่างกะทันหัน   ผู้ขับรถกระบะจึงพยายามเบรครถของตัวเองอย่างกะทันหันแต่ด้วยพื้นถนนที่ลื่นเพราะฝนตกและรถก็ไม่มีระบบเบรคเอบีเอสจึงไถลไปชนเอามุมท้ายของรถกระบะที่เบี่ยงจากเลนส์ขวาเข้ามาในเลนส์ของตน   ซึ่งช่องทางเดิมของรถกระบะนั้นเป็นเลนส์บังคับเลี้ยวขวา    

หลังจากนั้นเจ้าของเก๋งอีกฝ่ายลงรถมาดูสภาพความเสียหายของรถและพยายามเคาะกระจกเรียกให้ลงมา   แต่เจ้าของรถกระบะเป็นผู้หญิงตัวคนเดียวจึงยังไม่ลงจากรถเพราะดึกแล้วฝนก็ตกหนักจึงได้โทรเรียกเพื่อนชายไปที่เกิดเหตุ เมื่อเพื่อนมาถึงก็ลองสำรวจสภาพรอบรถเห็นรถตัวเองมีรอยถลอกที่มุมกันชนหน้าด้านขวาที่จิ้มท้ายรถเก๋ง พอทั้งคู่ลงมาดูตำแหน่งของรถทั้งสองคนจึงได้เห็นว่ามีในบริเวณสี่แยกนั้นก็มีการตีเส้นทึบระหว่างช่องทางซ้ายและขวาอย่างชัดเจน   ในระหว่างนั้นคู่กรณีทั้งสองฝ่ายก็ได้เริ่มมาคุยตกลงกัน   ในขณะนั้นเองญาติฝ่ายรถเก๋งที่ขับมาชนก็มาถึงที่เกิดเหตุหลายคนโดยคนเหล่านั้นต่างมารุ่มต่อว่าคนขับรถกระบะอีกคันซึ่งเป็นผู้หญิงที่ขับรถมาและพยายามกดดันให้รับผิดโดยบอกว่า ขับรถมาชนท้ายคนอื่นยังไงก็ผิดอยู่แล้ว ถ้าเรื่องไปถึงตำรวจก็จะโดนโทษอาญาอีกนะ นี่พวกเราใจดีแล้วเคลียร์กันก่อนแล้วชดใช้ค่าเสียหายมา เรื่องจะได้ไม่ต้องไปถึงโรงถึงศาล แต่ฝ่ายรถกระบะปรึกษากันสองคนแล้วคิดว่าตนขับมาในช่องทางตัวเองแต่ที่ชนท้ายเพราะอีกคันเบี่ยงรถเข้ามาในช่องทางของตน แถมยังเป็นการเปลี่ยนเลนส์ข้ามเส้นทึบอย่างกะทันหันที่สี่แยก   ตนไม่น่าจะผิด   จึงไม่ยอมรับผิดและไม่ชดใช้ค่าเสียหายแน่ๆ

เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจกองปราบมาถึงก็ไม่มีการพ่นสีหรือถ่ายรูปแต่อย่างใด แค่มาพูดด้วยเสียงดังว่า “ไม่เห็นจะมีอะไรเลย ขับรถชนท้ายก็จ่ายค่าเสียหายให้เค้าก็จบ จะเรียกให้มาทำไม แต่ถ้าไม่จ่ายก็ไปโรงพัก”  ซ้ำอีกญาติฝ่ายรถเก๋งยังไม่หยุดการต่อว่า เมื่อฝ่ายรถกระบะชี้แจงอธิบายเหตุผลอะไรไป ทางตำรวจกองปราบก็ไม่ฟัง แล้วก็โทรเรียกตำรวจท้องที่ให้มาจัดการเอง   ส่วนตัวเองก็ขับรถออกไป (ซึ่งตอนหลังที่เจ้าของรถกระบะมาคุยเหตุการณ์ก็คิดว่า ตำรวจกองปราบคนแรกที่มาน่าจะเป็นคนรู้จักของกลุ่มรถเก๋งเสียมากกว่า เพราะผมก็บอกเค้าไปว่าเวลามีรถชนกันตำรวจเจ้าของท้องที่และตำรวจทางหลวงเท่านั้นที่มีอำนาจหน้าที่ในการจัดการ)  

รออีกประมาณครึ่งชั่วโมงก็มีตำรวจของ สน.ในพื้นที่ สองนายเข้ามาถึงที่เกิดเหตุ   เหล่าญาติของฝ่ายรถเก๋งยังไม่หยุดการต่อว่า ตำรวจที่เพิ่งมาถึงก็เพิกเฉยกับเหตุการณ์ดังกล่าว อีกทั้งบอกให้ฝ่ายรถกระบะที่ขับมาชนท้ายรับผิดไป เพราะว่ารถกระบะคันดังกล่าวมีประกัน อย่างไรประกันก็ต้องชดใช้ให้ทั้งสองฝ่าย และรถเก๋งที่ถูกชนท้ายไม่มีประกันชั้นหนึ่งอยู่ด้วย ให้รถกระบะที่มีประกันชั้นหนึ่งรับผิดไปเรื่องนี้จะได้จบ เมื่อบริษัทประกันมาถึงก็กล่าวถึงเหตุการณ์นี้ว่า น่าจะเป็นเรื่องประมาทกันทั่งคู่ให้รับผิดชอบในส่วนของตนเอง ซึ่งฝ่ายรถเก๋งไม่ยอมรับข้อเสนอที่ตามบริษัทประกันบอกจะให้ฝ่ายรถกระบะชดใช้ค่าเสียหายให้ได้ และพอเจ้าของรถกระบะถามประกันแล้วพบว่าสิ้นปีอาจจะต้องโนเพิ่มค่าเบี้ยประกันปีใหม่และอดได้เงินโบนัสคืนเพราะมีเหตุเฉี่ยวชน เท่ากับมาเสียประโยชน์จากความผิดคนอื่น

คู่กรณีทั้งสองฝ่ายจึงไปตกลงที่โรงพัก โดยมีตำรวจคนหนึ่งเข้ามาคุยกับฝ่ายรถกระบะว่าทำไมไม่ยอมความ ฝ่ายรถกระบะก็บอกว่าเรียนกฎหมายมาจบถึงเนติบัณฑิตจะยอมรับผิดที่ไม่ได้ทำผิดกฎหมายได้อย่างไร ตำรวจคนนั้นกลับบอกว่าหัวหน้าตำรวจที่เป็นเจ้าของสำนวนก็จบสถาบันเนติบัณฑิตเหมือนกัน ยอมๆกันไปเถอะ แต่ฝ่ายรถกระบะบอกว่าแล้วค่าเสียหายกับประกันล่ะสิ้นปีต้อจ่ายเบี้ยเพิ่มนะ ตำรวจคนนั้นบอกว่าถ้าประกันจะเก็บเบี้ยเพิ่มสิ้นปีก็ย้ายยี่ห้อเสียสิ   ฟังดังนั้นจึงตกลงไม่ได้ รอไปตรวจสภาพรถในวันรุ่งขึ้นดีกว่า   สุดท้ายในวันรุ่งขึ้นตำรวจท้องที่โทรมาแจ้งว่าฝ่ายเจ้าของรถเก๋งขอยอมความจะได้ไม่ต้องเอารถไปตรวจสภาพที่ สน.อีกแห่งที่มีระบบพิสูจน์หลักฐานให้ยุ่งยากอีก   ขณะที่ไปเซ็นเอกสารยอมความอยู่นั้น ก็เห็นญาติผู้ใหญ่ฝ่ายรถเก๋งคุยกับตำรวจท้องที่ถามไถ่สารทุกข์สุขดิบเสมือนเป็นญาติพี่น้องกัน  ทั้งที่เมื่อวานทำเป็นไม่รู้จักกัน   ส่วนตำรวจอีกคนที่มาหว่านล้อมให้ยอมรับผิดแล้วให้ประกันชดใช้ค่าเสียหายให้ ก็หายหน้าไปเลย

วิเคราะห์ปัญหา

1.              เมื่อเกิดอุบัติเหตุรถชนกันจะมีวิธีการใดที่จะรู้ว่าใครผิดใครถูก คนขับรถมาชนท้ายจะต้องรับผิดเสมอหรือไม่   รถที่เปลี่ยนช่องทางคร่อมเส้นทึบมีความผิดหรือเปล่า

2.              ใครจะต้องมีหน้าที่ชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้น

3.              จำเป็นหรือไม่ที่ฝ่ายซึ่งมีประกัน หรือมีประกันชั้นหนึ่ง ควรจะรับผิดไปเพราะมีประกันคุ้มครองอยู่แล้ว

4.              ในคดีจราจร ใครเป็นเจ้าพนักงานที่มีอำนาจในการทำคดี

5.              หากพบว่าเจ้าพนักงานมีการปฏิบัติหน้าที่ไปในทางที่เป็นประโยชน์กับฝ่ายหนึ่ง และเสียหายกับอีกฝ่ายอย่างไม่เป็นธรรม จะดำเนินการอย่างไรได้บ้าง

การนำกฎหมายมาแก้ไข

1.              เมื่อเกิดอุบัติเหตุรถชนกันจะรู้ว่าใครผิดใครถูกก็ด้วยการพิจารณาตามกฎหมายเท่านั้นเหมือนตอนที่ไปสอบใบขับขี่ ตำรวจใช้ดุลยพินิจส่วนตัวไม่ได้ คนขับรถมาชนท้ายจะต้องรับผิดเสมอก็ต่อเมื่อขับอยู่ในช่องทางเดียวกันทั้งคู่เพราะคันหลังต้องระมัดระวังคันหน้า   ส่วนรถที่เปลี่ยนช่องทางคร่อมเส้นทึบมีความผิดอย่างชัดเจนเพราะฝ่าฝืนข้อห้ามอย่างเคร่งครัดของกฎหมายจราจร อาจถ่ายภาพหรือคลิปวีดีโอเก็บไว้เป็นหลักฐานได้

2.              ผู้ที่ทำผิดกฎหมายจราจรจะต้องมีหน้าที่ชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้น เพราะถือว่าเป็นผู้ทำผิดกฎหมาย มีความประมาทมากกว่าอีกฝ่าย

3.              หากเกิดอุบัติเหตุ ไม่มีความจำเป็นใดๆ ที่ฝ่ายซึ่งไม่มีประกัน หรือมีประกันชั้นหนึ่ง จะรับต้องผิดไปเพราะแม้มีประกันคุ้มครองอยู่แล้ว อาจจะต้องเสียประกันเพิ่มเมื่อต่ออายุ และเสียเบี้ยกำนัลสิ้นปี

4.              ในคดีจราจร เจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรเจ้าของพื้นที่ แล้วแต่ว่าอยู่ในเขตของ สน. หรือ สภ. หรือตำรวจทางหลวงในกรณีทางหลวงใหญ่ จะเป็นเจ้าพนักงานที่มีอำนาจในการทำคดี ผู้อื่นไม่เกี่ยว

5.              หากพบว่าเจ้าพนักงานมีการปฏิบัติหน้าที่ไปในทางที่เป็นประโยชน์กับฝ่ายหนึ่ง และเสียหายกับอีกฝ่ายอย่างไม่เป็นธรรม จะสามารถร้องเรียนทางวินัยและฟ้องคดีอาญาได้

ช่องทางเรียกร้องสิทธิ

1.              เมื่อเกิดอุบัติเหตุรถชนกันจะต้องแจ้งความให้ตำรวจมาเก็บหลักฐานเพื่อทำสำนวนตามกฎหมายจราจร หากคู่กรณีตกลงกันเองไม่ได้

2.              ในคดีจราจร ต้องแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรเจ้าของพื้นที่ แล้วแต่ว่าอยู่ในเขตของ สน. หรือ สภ. หรือตำรวจทางหลวงในกรณีทางหลวงใหญ่

3.              คดีจราจรจะต้องมีการพิสูจน์หลักฐานที่สำนักงานพิสูจน์หลักฐานหรือ สถานีตำรวจที่มีแล็ปเก็บหลักฐาน หากเป็นข้อพิพาททีต้องดูหลักฐานละเอียด

4.              คดีจราจรจะขึ้นศาลอาญาโดยที่ฝ่ายผิดจะต้องรับโทษทางอาญาก่อน และขอให้ชดเชยค่าเสียหายในทางแพ่งฯในศาลเดียวกันไปได้เลย

5.              ผู้เสียหายสามารถร้องเรียนทางวินัยต่อผู้บัญชาการ และฟ้องคดีอาญาที่สถานีตำรวจหรือตั้งทนายฟ้องเอง หรือร้องเรียนต่อ ปปช. ก็ได้

สรุปแนวทางแก้ไข

                ใช้หลักกฎหมายละเมิด และความผิดต่อทรัพย์ทางอาญา และการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบของเจ้าพนักงาน ซึ่งกรณีนี้การถกเถียงไม่ช่วยอะไรเนื่องจากความผิดทางจราจรต้องใช้กฎหมายเฉพาะ คือ พรบ.จราจรทางบก มาปรับใช้กับข้อเท็จจริงว่ากฎหมายกำหนดความผิดเด็ดขาดให้กับใคร ซึ่งหลัก ทางเอก-ทางโท เป็นกฎหมายเด็ดขาดต้องตัดสินตามกฎหมาย  เจ้าพนักงานต้องดำเนินคดีตามกฎหมาย หากคู่กรณีไม่พอใจการไกล่เกลี่ย ให้ยืนยันดำเนินคดีต่อไปยังศาล เพื่อให้มีการตัดสินผิดถูก และกำหนดค่าสินไหมทดแทนต่อไป หากเจ้าพนักงานทุจริตร้องเรียนผู้บังคับบัญชาและ ปปช. ได้

 

 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนกุลพันธ์

ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
การพัฒนาสิทธิแรงงานรับจ้างอิสระ (Freelancer) ต้องยึดโยงกับหลักกฎหมายสำคัญเรื่องการประกันสิทธิของแรงงานอันมีสิทธิมนุษยชนเป็นพื้นฐาน (Human Rights-Based Approach – HRBA) ไว้ เพื่อเป็นรากฐานทางกฎหมายในการอ้างสิทธิและเสนอให้ภาครัฐสร้างมาตรการบังคับตามสิทธิอย่างเป็นรูปธรรม ตั้งแต่การประกันรายได้รูปแบบ
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของปัจเจกชนจากการเก็บข้อมูลและประมวลผลโดยบรรษัทเอกชนจำต้องปกป้องคุ้มครองสิทธิของเจ้าของข้อมูลตามมาตรฐานที่กำหนดหน้าที่ของผู้ควบคุมระบบตามกฎหมายด้วย เนื่องจากบุคคลหรือกลุ่มองค์กรเหล่านี้ทำหน้าที่ในการคุ้มครองสิทธิเจ้าของข้อมูลในหลายรูปแบบ อาทิ การให้ความรู้เกี่ยวกับสภาพปั
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
บุคคลแต่ละคนย่อมมีทุนที่แตกต่างกันไปทั้ง ทุนความรู้ ทุนทางเศรษฐกิจ ทำให้การตัดสินใจนั้นตั้งอยู่บนข้อจำกัดของแต่ละคนไม่ว่าจะเป็นการไม่รู้เท่าทันเทคโนโลยี ขาดความรู้ทางการเงิน ไปจนถึงขาดการตระหนักรู้ถึงผลกระทบต่อสุขภาพตนเองและผู้อื่นในระยะยาว ยิ่งไปกว่านั้นรัฐไทยยังมีนโยบายที่มิได้วางอยู่บนพื้นฐานข
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
บทบัญญัติกฎหมายที่ใช้เป็นรากฐานในการอ้างสิทธิในการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนนั้น จะพบว่ารัฐไทยได้วางบรรทัดฐานทางกฎหมายที่รับสิทธิของประชาชนในการรวมกลุ่มกันเพื่อแสดงออกในประเด็นทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยเริ่มต้นจากหลักการพื้นฐานสำคัญที่เชื่อมโยงเรื่องสิทธิม
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
เทคโนโลยีด้านการสื่อสารที่เข้ามามีอิทธิพลแทบจะทุกมิติของชีวิต ส่งผลให้พฤติกรรมด้านการปฏิสัมพันธ์ของประชาชนเปลี่ยนแปลงไปตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยี มีประชาชนจำนวนมากที่ใช้เทคโนโลยีในการหา “คู่” หรือแสวง “รัก” ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดการกระทำความผิดที่เรียกว่า Romance Scam หรือ “พิศวาสอาชญากรรม”&
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
เมื่อถามนักปกป้องสิทธิมนุษยชนว่าอยากเห็นสังคมไทยเป็นเช่นไรในประเด็นการมีส่วนร่วมต่อการกำหนดนโยบายสาธารณะ หรือมีความคาดหวังให้รัฐไทยปรับปรุงอะไรเพื่อส่งเสริมการพิทักษ์สิทธิมนุษยชนของกลุ่มเสี่ยง   นักปกป้องสิทธิมนุษยชนในไทยได้ฉายภาพความฝัน ออกมาดังต่อไปนี้
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
นักปกป้องสิทธิมนุษยชนผู้คร่ำหวอดอยู่ในสนามมายาวนานได้วิเคราะห์สถานการณ์การคุกคามผ่านประสบการณ์ของตนและเครือข่ายแล้วแสดงทัศนะออกมาในหลากหลายมุมมอง ดังนี้
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
สถานการณ์ในด้านสิทธิมนุษยชนในต่างประเทศนั้น มีความสัมพันธ์กับหลายปัจจัยที่อาจเกิดความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาการละเมิดต่อนักปกป้องสิทธิมนุษยชนภายในประเทศที่เกิดจากข้อค้นพบจากกรณีศึกษา มีปัจจัยดังต่อไปนี้1. สถานการณ์สิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับบริบทภายในประเทศ
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
บทวิเคราะห์ที่ได้จากการถอดบทสัมภาษณ์นักปกป้องสิทธิมนุษยชนมากประสบการณ์ ในหลากหลายภูมิภาคไปจนถึงความแตกต่างของการทำงานกับกลุ่มเสี่ยงที่มีปัญหาสิทธิแตกต่างกันไป   เป็นที่ชัดเจนว่าเขาเหล่านั้นมีชีวิตและอยู่ในวัฒนธรรมแตกต่างไปจากมาตรฐานด้านสิทธิมนุษยชนและนิติรัฐที่ปรากฏในสังคมตะวันตก ซึ่งสะ
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
การคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงได้ถูกรับรองไว้โดยพันธกรณีระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนต่าง ๆ ให้ความสำคัญประกอบจนก่อให้เกิดอนุสัญญาเฉพาะสำหรับกลุ่มเสี่ยงนั้น ๆ ประกอบไปด้วย สตรี, เด็ก, เชื้อชาติ และ แรงงานอพยพ รวมถึง ผู้พิการ โดยกลุ่มเสี่ยงมีสิทธิที่ถูกระบุไว้ในปฏิญญาว่าด้วย
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
แนวทางในการสร้างนโยบาย กฎหมาย และกลไกเพื่อคุ้มครองสิทธิประชาชนจากการสอดส่องโดยรัฐมาจาการทบทวนมาตรฐานและแนวทางตามมาตรฐานสากลเพื่อสร้างข้อเสนอแนะเชิงนโยบายครอบคลุม 2 ประเด็นหลัก คือ
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
ต้นปี 2563 หลังจากการอ่านคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรคอนาคตใหม่ บรรยากาศความขัดแย้งทางการเมืองไทยที่ถูกกดไว้มาตั้งแต่หลังการรัฐประหาร 2557 ก็ปะทุขึ้นอีกครั้ง เกิดการเคลื่อนไหวชุมนุมทางการเมืองเพื่อต่อต้านรัฐบาลกระจายไปทั่วทุกจังหวัดในรัฐไทย จุดสำคัญและเป็นเรื่องที่ไม่ปรากฏขึ้นมาก่อนในหน้าประว