Skip to main content

ยุทธศาสตร์ของชนชั้นนำไทยที่ลักลั่นระหว่าง การผลักดันเศรษฐกิจดิจิทัล หรือไทยแลนด์ 4.0 กับ การมุ่งรักษาความมั่นคงของรัฐ(บาล) โดยการปราบปรามผู้วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล และมุ่งเสาะแสวงหาผู้ที่คิดต่างกับรัฐเพื่อปราบปรามโดยใช้มาตรการทางกฎหมายที่รุนแรง  แสดงให้เห็นถึงความขาดแคลนองค์ความรู้อย่างรอบด้านในการธำรงความมั่นคงและสงบเรียบร้อยในโลกไซเบอร์ โดยส่งเสริมความก้าวหน้าของตลาดเศรษฐกิจดิจิทัลไปในคราวเดียวกัน  

จึงมีความจำเป็นต้องส่งเสริม "ความรู้" ที่มุ่งสู่การส่งเสริมความเบ่งบานของโครงการไทยแลนด์ 4.0 บนพื้นฐานของการสนับสนุนความคิดสร้างสรรค์จากผู้คนหลากหลายในสังคม   การรักษาความปลอดภัยและมั่นคงเป็นสิ่งสำคัญ แต่พึงระลึกเสมอว่า เป้าหมายของมันคือ การรักษาสิทธิของพลเมืองเน็ตทั้งหลายให้มีโอกาสแสดงออกซึ่งความเจริญงอกงามทางความคิดจินตนาการ  มิใช่ควบคุมให้อยู่ในกระถางบอนไซเล็กๆที่ล้อมกรอบไว้   เพราะการแข่งขันในตลาดโลกสูง ความคิดที่สดใหม่ ไร้กรอบเท่านั้นที่จะทะลุปล้องไปแข่งขันได้

กฎหมายอาชญากรรม สงคราม และความมั่นคงไซเบอร์ 
Law on Cybercrime, Cyber warfare and Cybersecurity

วิชานี้จะมุ่งเน้นไปที่การรักษาระบบปฏิบัติการและโครงสร้างการสื่อสารด้านโทรคมนาคมที่มีลักษณะเชื่อมโยงผ่านโครงข่ายคลื่นและสร้างพื้นที่ชนิดใหม่ที่เรียกว่า “พื้นที่ไซเบอร์” (Cyberspace)

โดยในปัจจุบันมีกรณีศึกษาทั้งระดับรัฐและระดับโลกที่สะท้อนให้เห็นถึงความจำเป็นในการสร้างระบอบการกำกับดูแลโลกไซเบอร์ รวมทั้งการกำหนดความผิดและโทษต่อการโจมตีหรือก่ออาชญากรรมต่อระบบ อันได้แก่
1) การก่ออาชญากรรมต่อเครือข่ายการสื่อสารทางอินเตอร์ หรือการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์
2) การทำสงครามระหว่างประเทศ หรือการโจมตีระบบโดยองค์กรอาชญากรรม หรืออาชญากรข้ามชาติ
3) การแทรกซึม บ่อนทำลายหรือแพร่ข้อมูลที่ทำอันตรายระบบปฏิบัติและเครือข่ายการสื่อสารและความมั่นคง


เวทีประชาคมโลกที่เจรจาหาระบอบในการควบคุมการกระทำความผิดและปกป้องสิทธิของพลเมืองผู้ใช้อินเตอร์เน็ตและผลักดันให้รัฐสมาชิกตลาดอิเล็กทรอนิกส์ที่เชื่อมโยงกันสถาปนากฎหมายและกลไกมาบังคับใช้มาตรการร่วมกันใน 3 ประเด็น คือ
1) กฎหมายอาชญากรรมไซเบอร์ ทั้งในระดับสนธิสัญญาระหว่างประเทศ และรัฐบัญญัติของแต่ละประเทศ
2) สนธิสัญญาระหว่างประเทศเพื่อป้องกันการโจมตีระบบปฏิบัติการระหว่างประเทศ และกลไกระหว่างรัฐ
3) การสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศในการรักษาความมั่นคงไซเบอร์ร่วม และการผลักดันกลไกภายในรัฐ


กลุ่มเป้าหมายหลัก คือ องค์กร หน่วยงาน และผู้ปฏิบัติการทั้งในหน่วยงานรัฐและเอกชน ที่เกี่ยวข้องกับภารกิจทั้ง 3 ด้านดังกล่าวไปแล้ว อาทิ กระทรวงเศรษฐกิจดิจิทัล สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กองทัพ สภาความมั่นคงแห่งชาติ บริษัทที่ปรึกษาด้านความมั่นคงไซเบอร์ และผู้ควบคุมระบบปฏิบัติการในหน่วยงานรัฐ และเอกชน ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามการขยายตัวของเศรษฐกิจดิจิทัล และสังคมไทยตามแผนยุทธศาสตร์ไทยแลนด์ 4.0

*หวังว่าจะไม่มีอาจารย์ผู้สอนวิชาเหล่านี้ให้ความเห็นว่า Like สเตตัสเป็นความผิดอาญาอีกนะครั่บ

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
การพัฒนาสิทธิแรงงานรับจ้างอิสระ (Freelancer) ต้องยึดโยงกับหลักกฎหมายสำคัญเรื่องการประกันสิทธิของแรงงานอันมีสิทธิมนุษยชนเป็นพื้นฐาน (Human Rights-Based Approach – HRBA) ไว้ เพื่อเป็นรากฐานทางกฎหมายในการอ้างสิทธิและเสนอให้ภาครัฐสร้างมาตรการบังคับตามสิทธิอย่างเป็นรูปธรรม ตั้งแต่การประกันรายได้รูปแบบ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของปัจเจกชนจากการเก็บข้อมูลและประมวลผลโดยบรรษัทเอกชนจำต้องปกป้องคุ้มครองสิทธิของเจ้าของข้อมูลตามมาตรฐานที่กำหนดหน้าที่ของผู้ควบคุมระบบตามกฎหมายด้วย เนื่องจากบุคคลหรือกลุ่มองค์กรเหล่านี้ทำหน้าที่ในการคุ้มครองสิทธิเจ้าของข้อมูลในหลายรูปแบบ อาทิ การให้ความรู้เกี่ยวกับสภาพปั
ทศพล ทรรศนพรรณ
บุคคลแต่ละคนย่อมมีทุนที่แตกต่างกันไปทั้ง ทุนความรู้ ทุนทางเศรษฐกิจ ทำให้การตัดสินใจนั้นตั้งอยู่บนข้อจำกัดของแต่ละคนไม่ว่าจะเป็นการไม่รู้เท่าทันเทคโนโลยี ขาดความรู้ทางการเงิน ไปจนถึงขาดการตระหนักรู้ถึงผลกระทบต่อสุขภาพตนเองและผู้อื่นในระยะยาว ยิ่งไปกว่านั้นรัฐไทยยังมีนโยบายที่มิได้วางอยู่บนพื้นฐานข
ทศพล ทรรศนพรรณ
บทบัญญัติกฎหมายที่ใช้เป็นรากฐานในการอ้างสิทธิในการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนนั้น จะพบว่ารัฐไทยได้วางบรรทัดฐานทางกฎหมายที่รับสิทธิของประชาชนในการรวมกลุ่มกันเพื่อแสดงออกในประเด็นทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยเริ่มต้นจากหลักการพื้นฐานสำคัญที่เชื่อมโยงเรื่องสิทธิม
ทศพล ทรรศนพรรณ
เทคโนโลยีด้านการสื่อสารที่เข้ามามีอิทธิพลแทบจะทุกมิติของชีวิต ส่งผลให้พฤติกรรมด้านการปฏิสัมพันธ์ของประชาชนเปลี่ยนแปลงไปตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยี มีประชาชนจำนวนมากที่ใช้เทคโนโลยีในการหา “คู่” หรือแสวง “รัก” ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดการกระทำความผิดที่เรียกว่า Romance Scam หรือ “พิศวาสอาชญากรรม”&
ทศพล ทรรศนพรรณ
เมื่อถามนักปกป้องสิทธิมนุษยชนว่าอยากเห็นสังคมไทยเป็นเช่นไรในประเด็นการมีส่วนร่วมต่อการกำหนดนโยบายสาธารณะ หรือมีความคาดหวังให้รัฐไทยปรับปรุงอะไรเพื่อส่งเสริมการพิทักษ์สิทธิมนุษยชนของกลุ่มเสี่ยง   นักปกป้องสิทธิมนุษยชนในไทยได้ฉายภาพความฝัน ออกมาดังต่อไปนี้
ทศพล ทรรศนพรรณ
นักปกป้องสิทธิมนุษยชนผู้คร่ำหวอดอยู่ในสนามมายาวนานได้วิเคราะห์สถานการณ์การคุกคามผ่านประสบการณ์ของตนและเครือข่ายแล้วแสดงทัศนะออกมาในหลากหลายมุมมอง ดังนี้
ทศพล ทรรศนพรรณ
สถานการณ์ในด้านสิทธิมนุษยชนในต่างประเทศนั้น มีความสัมพันธ์กับหลายปัจจัยที่อาจเกิดความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาการละเมิดต่อนักปกป้องสิทธิมนุษยชนภายในประเทศที่เกิดจากข้อค้นพบจากกรณีศึกษา มีปัจจัยดังต่อไปนี้1. สถานการณ์สิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับบริบทภายในประเทศ
ทศพล ทรรศนพรรณ
บทวิเคราะห์ที่ได้จากการถอดบทสัมภาษณ์นักปกป้องสิทธิมนุษยชนมากประสบการณ์ ในหลากหลายภูมิภาคไปจนถึงความแตกต่างของการทำงานกับกลุ่มเสี่ยงที่มีปัญหาสิทธิแตกต่างกันไป   เป็นที่ชัดเจนว่าเขาเหล่านั้นมีชีวิตและอยู่ในวัฒนธรรมแตกต่างไปจากมาตรฐานด้านสิทธิมนุษยชนและนิติรัฐที่ปรากฏในสังคมตะวันตก ซึ่งสะ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงได้ถูกรับรองไว้โดยพันธกรณีระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนต่าง ๆ ให้ความสำคัญประกอบจนก่อให้เกิดอนุสัญญาเฉพาะสำหรับกลุ่มเสี่ยงนั้น ๆ ประกอบไปด้วย สตรี, เด็ก, เชื้อชาติ และ แรงงานอพยพ รวมถึง ผู้พิการ โดยกลุ่มเสี่ยงมีสิทธิที่ถูกระบุไว้ในปฏิญญาว่าด้วย
ทศพล ทรรศนพรรณ
แนวทางในการสร้างนโยบาย กฎหมาย และกลไกเพื่อคุ้มครองสิทธิประชาชนจากการสอดส่องโดยรัฐมาจาการทบทวนมาตรฐานและแนวทางตามมาตรฐานสากลเพื่อสร้างข้อเสนอแนะเชิงนโยบายครอบคลุม 2 ประเด็นหลัก คือ
ทศพล ทรรศนพรรณ
ต้นปี 2563 หลังจากการอ่านคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรคอนาคตใหม่ บรรยากาศความขัดแย้งทางการเมืองไทยที่ถูกกดไว้มาตั้งแต่หลังการรัฐประหาร 2557 ก็ปะทุขึ้นอีกครั้ง เกิดการเคลื่อนไหวชุมนุมทางการเมืองเพื่อต่อต้านรัฐบาลกระจายไปทั่วทุกจังหวัดในรัฐไทย จุดสำคัญและเป็นเรื่องที่ไม่ปรากฏขึ้นมาก่อนในหน้าประว