Skip to main content

เอาล่ะครับ พ่อแม่พี่น้อง เรื่องถัดไปนี่คงเป็นความสนใจของเพื่อนพ้องหลายๆพื้นที่นะครับ มีเรื่องจำนวนมากเกี่ยวกับ  เจ้าพนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในบางพื้นที่เพิกเฉย ละเลย ดูแลปัญหาความเดือดร้อนของคนในพื้นที่ แถมยังมีเรื่องราวกินสินบาทคาดสินบนทำให้ชาวบ้านจนปัญญาจะหาทางแก้ไขเข้าไปอีก   ลองมาฟังเรื่องของชุมชนนี้แล้วผมจะชี้ทางออกและผลักดันให้การแก้ไขให้ได้ด้วยครับ

เรื่องมีอยู่ว่า หมู่บ้านหนึ่งซึ่งอยู่นอกเขตชลประทาน เนื่องจากหมู่บ้านและตำบลนี้ไม่ได้มีการเพาะปลูกอะไรมากนัก เพราะอยู่ห่างไกลแหล่งน้ำและบรรพบุรุษก็ทำกิจกรรมอื่นที่ได้เกี่ยวข้องกับการใช้น้ำมากมายจึงอาศัยน้ำฝน น้ำบ่อในการใช้สอยดื่มกิน   แต่มาในระยะหลังเกิดปัญหาฝนทิ้งช่วงในหน้าแล้งและเกิดปัญหาขาดน้ำอย่างที่เราได้ฟังข่าวกันทุกปีช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์-พฤษภาคม  เมื่อสักสิบปีก่อนพี่ป้าน้าอาเขาเลยไปขอให้ทางกำนันติดต่อการประปาเข้ามาวางท่อส่งน้ำให้ใช้กันหมู่บ้านบ้างก็อยู่กันได้ดีมีสุข   จนในระยะหลังทางหมู่บ้านนี้โด่งดังไปทั่วว่ามีภูมิทัศน์สวยงามน่าท่องเที่ยว จนเริ่มมีนายทุนจากภายนอกเข้ามาสร้างรีสอร์ต ทั้งหน่วยงานรัฐก็มาส่งเสริมให้คนมาเที่ยวกันล้นหลาม จนเมื่อถึงหน้าแล้งปีนี้ ชาวบ้านก็ได้รับความเดือดร้อนจากการใช้น้ำประปาที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการเนื่องจากสืบได้ว่าทางรีสอร์ตและสถานที่ท่องเที่ยวรายใหญ่ได้กักน้ำไว้ใช้ล่วงหน้า อีกทั้งยังมีการใช้เส้นสายทำให้เกิดการเปลี่ยนทางส่งจ่ายน้ำเพื่อรองรับรับนักท่องเที่ยวจนเกิดความวุ่นวายไปหมด นี่ยังไม่นับรวมปัญหารถเข้ามาในพื้นที่จนแออัด และขยะมูลฝอย มลภาวะที่ตามมาอีกมาก

ด้วยเหตุนี้ชาวบ้านจึงได้แจ้งให้แก่ทางประปาจังหวัดให้รีบแก้ไข โดยในระหว่างนั้นชาวบ้านในหมู่บ้านนี้ต้องเปลี่ยนวิถีการใช้น้ำมาใช้น้ำตอนกลางคืนแทนตอนกลางวันโดยไปขอให้กำนันผู้ใหญ่บ้านไปต่อรองกับผู้ใหญ่ในพื้นที่ว่าช่วยไปเคลียร์กับทางรีสอร์ตต่างๆให้ช่วยสลับเวลาดึงน้ำกันหน่อย ชาวบ้านเดือดร้อนจนจะทนกันไม่ไหวแล้ว   เมื่อเวลาผ่านไปปัญหาก็ไม่ได้รับการแก้ไข โดยเจ้าหน้าที่อ้างว่า งบประมาณหมดต้องรอเบิกจากรัฐเสียก่อน  และได้ทำสัญญาตกลงว่าจะต่อท่อน้ำประปาไปยังหมู่บ้านที่เกิดขึ้นมาใหม่หากชาวบ้านที่เหลืออยู่ในพื้นที่ตกลงขายที่ดินให้กลุ่มนายทุนท่องเที่ยวทั้งหลายและย้ายไปอยู่กับชาวบ้านท้องถิ่นกลุ่มเดิมที่ยอมขายที่ดินแล้วย้ายออกไปก่อนหน้านี้ เมื่อเวลาผ่านไปจนชาวบ้านทนไม่ไหว จึงมีการร้องเรียนต่อการประปาส่วนภูมิภาค เมื่อตรวจสอบพบว่ามีการทุจริตรับเงินของเจ้าหน้าที่   ทำให้ไม่มีงบประมาณในการเพิ่มท่อน้ำให้แก่ชาวบ้าน ดังนั้นในเรื่องนี้การประปาส่วนภูมิภาคสำนักงานใหญ่จึงต้องออกมายืนยันว่าจะดำเนินแก้ไขปัญหาของชาวบ้านแทน   แต่จนแล้วจนรอดท่อส่งน้ำและปริมาณน้ำก็ยังไม่พอต่อความต้องการเนื่องจากมีรีสอร์ตเข้ามาเปิดใหม่อยู่เรื่อยๆ รวมถึงมีข่าวว่าจะมีโรงแรมดังระดับโลกมาสร้างอีก ชาวบ้านจึงกังวลว่าสถานการณ์จะแย่ไปกว่านี้

หลังจากนั้นสิ่งที่ชาวบ้านกังวลก็เป็นจริงเพราะเริ่มมีนายหน้าเข้ามาติดต่อกว้านซื้อที่ดินโดยไม่บอกว่าจะเอาไปทำอะไรแต่พฤติกรรมที่เข้ามกว้านซื้อที่ดินผืนใหญ่ต่อเนื่องกัน ซ้ำยังได้ข่าวว่าอาจรุกเข้าไปในพื้นที่ป่าสงวนที่ชาวบ้านรู้กันดีว่าไม่มีใครจะเข้าไปทำประโยชน์ได้เพราะผิดกฎหมายอาจโดนเจ้าหน้าที่ป่าไม้จับเอาได้ เพราะเคยมีลุงป้าคู่หนึ่งเข้าไปเก็บหน่อไม้แล้วโดนตำรวจจับติดคุก ต้องขึ้นโรงขึ้นศาลกันมาแล้ว   จนชาวบ้านเข็ดขยาดและ อบตงในพื้นที่ก็ไม่กล้าประกาศเป็นเขตป่าชุมชนเพราะเจ้าหน้าที่อุทยานฯ ในพื้นที่ไม่ประสานความร่วมมือ ต่างจากพื้นที่อื่นซึ่ง อบต.กับ อุทยานฯ ทำสัญญาทางปกครองตกลงกันให้ชาวบ้านใช้ประโยชน์จากทรัพยากรได้บ้างแต่ก็มีหน้าที่ร่วมรักษาผืนป่าและฟื้นฟูไปด้วย ดังที่ได้ออกข่าวกับรายการดังจนเป็นที่มาของเรื่อง ป่าชุมชน และมีนักวิชาการ นักศึกษา เข้ามาค้นคว้าวิจัยจนเติบใหญ่ทางวิชาชีพกันไปทั่ว           

เมื่อชาวบ้านไม่ยอมขายที่ดิน นายหน้าก็รุกคืบไปทำกิจกรรมกับกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และสมาชิก อบต. แทน   โดยชาวบ้านเห็นว่าหลังๆ กิจกรรมในชุมชนจะมีรีสอร์ต นายทุนภายนอกเข้ามาสนับสนุน แต่พอเป็นกิจกรรมงานบุญประเพณีท้องถิ่น กลับไม่มีใครเหลียวแลเหมือนในอดีต  จะมีเข้ามาช่วยบ้างก็ช่วงใกล้จะเลือกตั้งครั้งใหม่   โดยในหมู่บ้านแห่งหนึ่งซึ่งอยู่ในเขตการปกครองของ อบต. แต่ใกล้กับพื้นที่ของรีสอร์ตใหม่มาก หมู่บ้านดังกล่าวชาวบ้านได้รับความเดือดร้อนจากการสัญจร เนื่องจากถนนที่ใช้กันภายในหมู่บ้านมีความชำรุด เป็นหลุม เป็นบ่อ ชาวบ้านได้เรียกร้องต่อผู้ใหญ่บ้าน แต่ได้กลับเพิกเฉยไม่ได้ดำเนินการอะไร จนมีชาวบ้านคนหนึ่งได้เขียนข้อความประท้วงลงในใบปลิวตามท้องถนน ปรากฏว่าเช้าวันต่อมา อบต. มีการขึ้นป้ายกระดาษขนาดใหญ่ โดยระบุข้อความว่า ถนนเส้นดังกล่าวไม่ได้อยู่ในความรับผิดชอบของ อบต. แต่เป็นความรับผิดชอบของ อบจ. ซึ่งได้สร้างความแปลกใจว่าการทำงานของหน่วงงานของรัฐไร้ประสิทธิภาพเป็นอย่างมากในการติดต่อประสานงานกัน เพื่อบรรเทาทุกข์ของชาวบ้าน เรื่องนี้น่าจะร้องเรียนหน่อยงานที่เกี่ยวข้องให้มาจัดการเรื่องนี้อย่างเด็ดขาดเสียที เพราะไม่อย่างนั้นชาวบ้านคงโดนบีบให้ขายที่ดินแล้วหนีไปอยู่หมู่บ้านใหม่ที่ห่างออกไปจากเดิม เพราะนับวันต้องทนกับพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวต่างถิ่น ปริมาณรถ รวมถึงการเปิดผับบาร์ซึ่งสร้างเสียงรบกวนเพิ่มมาอีก ทั้งที่ชุมชนอยู่มาก่อน

วิเคราะห์ปัญหา

1. การเกิดปัญหาแย่งชิงน้ำ มีกระบวนการพิสูจน์ผู้ก่อผลกระทบและแก้ไขเยียวยาปัญหาอย่างไรได้บ้าง   ใครจะต้องชดเชยค่าเสียหาย และจัดหาน้ำมาให้เพียงพอต่อความต้องการของประชาชนในพื้นที่บ้าง

2. ผลกระทบด้านการสัญจร และถนนหนทางพัง ซึ่งเกิดขึ้นจากโรงแรม รีสอร์ตเป็นการละเมิดสิทธิประชาชนที่อยู่รอบข้างหรือไม่ ส่วนมลภาวะทางเสียงไม่เกิดค่ามาตรฐานที่กฎหมายเฉพาะกำหนดจะมีกฎหมายอื่นควบคุมไหม

3. การตั้งโรงแรมและรีสอร์ตในบริเวณใกล้เคียงกับพื้นที่พักอาศัยของประชาชนสามารถกระทำได้หรือไม่   กระบวนการในการกำหนดผังเมือง หรือบังคับไม่ให้มีการรุกล้ำพื้นที่ซึ่งผังเมืองกำหนดไว้จะทำได้หรือไม่ ประชาชนจะมีส่วนร่วมได้มากน้อยเพียงไร

4. หากร้องเรียนเจ้าหน้าที่ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแต่ยังไม่มีความคืบหน้า ประชาชนจะสามารถดำเนินการอย่างไรเพื่อให้เกิดการเยียวยาอย่างทันท่วงทีได้บ้าง

5. ปัญหาเกี่ยวกับการแย่งชิงทรัพยากรควรจะใช้วิธีการใดในการเข้าไปแก้ไขจัดการปัญหา เมื่อประชาชนไม่มีเวลาในการเฝ้าหาหลักฐานว่าใครทำถนนเสียหาย หรือขาดความเชี่ยวชาญทางเทคนิคในการตรวจเสียง ตรวจวัดน้ำ

การนำกฎหมายมาแก้ไข

1. เรื่องการแย่งชิงทรัพยากรน้ำนั้นกฎหมายจะกำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และการประปาส่วนภูมิภาคต้องมาตรวจวัด และจัดหาน้ำให้ใช้สอยได้ตามเป็นปกติ  หากแจ้งไปแล้วไม่มาดำเนินการถือเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่

2. กฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมมลพิษส่วนใหญ่จะกำหนดค่ามาตรฐานไว้ หากเวลาที่เจ้าหน้าที่มาตรวจวัดแล้วผับบาร์ไม่ทำเสียงดังก็จะไม่ผิดกฎหมาย   ดังนั้นอาจต้องปรับไปใช้กฎหมายอาญาเกี่ยวกับการสร้างความเดือดร้อนรำคาญเพราะเป็นการใช้สิทธิเกินส่วนจนกระทบกระเทือนสิทธิผู้อื่น ซึ่งเป็นความผิดลหุโทษแก่ผู้ก่อความรำคาญ  ในกรณีของผับ ดิสโก้เธค หรือการจัดงานสังสรรค์เสียงดังจนเกิดความรำคาญ

3. การวางผังเมืองโดยทั่วไปจะมีการกำหนดเขตพื้นที่ในการใช้ประโยชน์ไม่ให้ปะปนกันเพื่อป้องกันการสร้างความเดือดร้อนรำคาญของกันและกัน โดยจะกำหนดมิให้มีการสร้างอาคารหรือใช้พื้นที่ผิดวัตถุประสงค์ตั้งแต่การขอใบอนุญาตสร้างอาคาร และตั้งกิจการต่างๆ   หากมีการใช้พื้นที่ผิดวัตถุประสงค์สามารถเพิกถอนใบอนุญาตและให้ผู้ฝ่าฝืนรับโทษตามกฎหมายได้ และกรมผังเมืองเป็นผู้ดำเนินการกำหนดผังเมืองทุกห้าปี โดยให้ประชาชนมีส่วนได้เสียเข้ามามีส่วนร่วมกำหนดได้

4. หากเจ้าพนักงานเพิกเฉย ละเลยไม่ใส่ใจ สามารถร้องเรียนไปยังผู้บังคับบัญชาให้มีคำสั่งกวดขันเร่งดำเนินการตามหน้าที่ได้ หรือฟ้องคดีปกครองให้เจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายกำหนดได้ หากมีความเสียหายก็เรียกค่าเสียหายเพิ่มเติมได้ด้วย

ช่องทางเรียกร้องสิทธิ

1.  หากเป็นเหตุเดือดร้อนรำคาญเล็กน้อยอาจแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ปกครอง หรือตำรวจได้

2.  คดีเกี่ยวกับมลภาวะนั้นสามารถร้องเรียนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ได้

3.  กรมควบคุมมลพิษ และคณะกรรมการส่งเสริมและกำกับธุรกิจโรงแรม และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีหน้าที่ในการควบคุมโรงแรม รีสอร์ตไม่ให้ก่อมลพิษเกินกว่าที่กฎหมายวางค่ามาตรฐานกำหนดไว้   จึงต้องไปร้องเรียนสองหน่วยงานนี้ในระดับท้องที่ เช่น ศาลากลางอำเภอ หรือศูนย์ราชการจังหวัด  หากไม่คืบหน้าก็อาจร้องเรียนต่อไปยังคณะกรรมการอุทธรณ์ของกรมควบคุมมลพิษ หรือฟ้องศาลปกครอง

4.  เรื่องการวางผังเมืองและการใช้ประโยชน์ผิดวัตถุประสงค์ที่ผังเมืองกำหนดนั้น ต้องร้องเรียนไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเจ้าของพื้นที่นั้นหรือกรมการผังเมือง หรือคณะกรรมการส่งเสริมและกำกับธุรกิจโรงแรมได้

5. ในคดีแย่งชิงทรัพยากรสามารถฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายจากผู้แย่งชิงทรัพยากรโดยตรงในศาลยุติธรรมได้ทั้งที่เป็นความผิดทางอาญาและการชดใช้ค่าเสียหายในทางแพ่งฯ แต่ยังมีศาลปกครองที่มีเขตอำนาจรับคดีด้วยเนื่องจากทรัพยากรทุกอย่างจะมีหน่วยงานรัฐรับผิดชอบอยู่   ในหลายกรณีที่ต้องอาศัยความสามารถทางเทคนิคในการตรวจความเสียหายและใช้ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ จึงมีการฟ้องร้องคดีไปยังศาลปกครองก่อน เพื่ออาศัยกระบวนการไต่สวนของศาลปกครองที่ผู้พิพากษามีอำนาจเรียกหลักฐานและผู้เชี่ยวชาญเข้ามาได้ เป็นการแบ่งเบาภาระในการหาหลักฐานของประชาชน เมื่อได้ชุดหลักฐานแล้วก็สามารถนำไปใช้ฟ้องในศาลยุติธรรมต่อไปภายหลังได้ด้วย

สรุปแนวทางแก้ไข

                ใช้หลักสัญญาในการจัดทำบริการสาธารณะ และความโปร่งใส   ซึ่งกรณีนี้เป็นหน้าที่ขององค์กรที่เกี่ยวข้องของรัฐ ทั้ง อปท. และรัฐวิสาหกิจ ในการจัดบริการสาธารณะอย่างต่อเนื่องและทั่วถึง   ส่วนการทุจริตในการใช้งบประมาณอาจร้องเรียนต่อสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน(สตง.)ให้ตรวจสอบต่อไป   การควบคุมดูแลกิจการโรงแรมและรีสอร์ตและการเรียกร้องให้จัดบริการขั้นพื้นฐานให้เพียงพอใช้หลักการจัดทำบริการสาธารณะโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และการกระทำทางปกครอง  ซึ่งสามารถนำกรณีนี้ไปร้องเรียนต่อองค์กรที่มีหน้าที่ในการรับผิดชอบโดยตรงคือ อบจ. หรือคณะกรรมการส่งเสริมและกำกับธุรกิจโรงแรม และต้องพยายามเข้าไปมีส่วนร่วมในการกำหนดผังเมือง หากมีปัญหาให้ร้องเรียนกับกรมผังเมือง หรือฟ้องร้องการทำผังเมืองไม่ชอบด้วยกฎหมายที่ศาลปกครอง

 

 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
ตลอดระยะเวลาแห่งความขัดแย้งทางการเมือง ได้มีกลุ่มต่างๆ เสนอทางออกของปัญหาด้วยการใช้กฎหมายมากมายหลายมาตรา   แต่มาตราหนึ่งซึ่งเป็นข้อถกเถียงมาก คือ การใช้รัฐธรรมนูญ ม.7 ตั้งแต่เมื่อคราวที่ยังใช้รัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 เรื่อยมาจนถึง ฉบับปี 2550   คนจำนวนไม่น้อยคงสงสัยมากว่า มาตรา 7
ทศพล ทรรศนพรรณ
เอาล่ะครับ พ่อแม่พี่น้อง เรื่องถัดไปนี่คงเป็นความสนใจของเพื่อนพ้องหลายๆพื้นที่นะครับ ผมได้รับแจ้งเข้ามาว่า  เจ้าพนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่หนึ่งมีการเพิกเฉย ละเลย ดูแลปัญหาความเดือดร้อนของคนในพื้นที่ แถมยังมีเรื่องราวกินสินบาทคาดสินบนทำให้ชาวบ้านจนปัญญาจะหาทางแก้ไขเข้าไปอีก&n
ทศพล ทรรศนพรรณ
พลังเหนือมนุษย์ ที่จะพูดถึงในครั้งนี้ประกอบไปด้วยสองส่วน คือ พลังธรรมชาติ และพลังลี้ลับ   ซึ่งกฎหมายก็ได้พูดถึงสองสิ่งนี้อยู่ไม่น้อยทีเดียว
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้เป็นสารพัดปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้ใช้แรงงานในยามที่เจอกับภาวะเศรษฐกิจตกสะเก็ด เราคงได้ยินเสียงผู้ประกอบการบ่นให้ฟังว่า ยอดสั่งซื้อตก กำไรหด ต้องลดกำลังการผลิตเพื่อให้บริษัทอยู่รอดกันใช่ไหมครับ  แต่ทราบไหมครับว่า ทุกครั้งที่บอกว่าขาดทุนและต้องลดต้นทุนหรือกำลังการผลิตนั้น มันหมายถึงการป
ทศพล ทรรศนพรรณ
             กฎหมายสมัยใหม่ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้ มีสิ่งที่ต้องเข้าใจร่วมกันว่า ได้ให้อำนาจเด็ดขาดแก่รัฐในการบีบบังคับประชาชนในรัฐ และลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืนกฎหมายโดยการใช้ความรุนแรงนับตั้งแต่ การประหารชีวิต การจำคุก การควบคุมตัว ริบทรัพย์ ในระบบกฎหมายอาญา  ไ
ทศพล ทรรศนพรรณ
ทุกท่านคงทราบกันแล้วนะครับว่าปัจจุบันกฎหมายไทยเกี่ยวกับเรื่องข่มขืนได้มีการปรับปรุงแก้ไขไปให้ทันกับสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นจริง เพราะมิใช่เพียง
ทศพล ทรรศนพรรณ
คงมีหลายคนสงสัยว่าทำไมนักกฎหมายมักย้ำเสมอว่าปัญหาทางกฎหมายต้องตอบในลักษณะ “หนึ่งคำถาม หนึ่งคำตอบ”    กล่าวคือ ในปัญหาเรื่องนั้นจะต้องมีคำชี้ขาดขององค์กรตุลาการหรือองค์กรวินิจฉัยชี้ขาดที่ชัดเจนแน่นอนเพียงหนึ่งเดียว   ห้ามมีคำตอบแตกต่างหลากหลาย   เช่น  
ทศพล ทรรศนพรรณ
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งกับผู้ใช้รถใช้ถนนทั้งในเมืองและต่างจังหวัด เนื่องจากในบางเส้นทางจะมีด่านตรวจของเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งเราก็ไม่แน่ใจว่าจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไรเมื่อถูกกักตัวหรือขอตัวค้นรถตอนถึงด่าน   ทั้งยังสงสัยกับพฤติกรรมของเจ้าหน้าที่ตรงด่านว่าใช่ตำรวจหรือไม่ มีอำนาจหน้าที่อะไ
ทศพล ทรรศนพรรณ
       หลายครั้งที่เราสงสัยกันว่าทำไมเรื่องที่เค้าเถียงกันแทบเป็นแทบตายไม่มีคำตอบที่ชัดเจนสักที ตำรวจก็บอกว่าต้องทำตามกฎหมายข้อนี้ นักกฎหมายก็อ้างว่าไม่ได้ต้องดูกฎหมายอีกฉบับด้วย แล้วพอไปออกรายการทีวีเถียงกันก็ยังไม่ค่อยจะรู้เรื่อง เพราะปัญหาเดียวกันไหงมีกฎหมายมาเกี่ยวข้องต้อง
ทศพล ทรรศนพรรณ
ปัจจุบันมีคนจำนวนมากเข้าไปทำงานตามร้านอาหารหรือสถานบริการต่างๆมากขึ้นกว่าแต่ก่อน ตามจำนวนร้านรวงที่ผุดขึ้นมาเป็นดอกเห็ด จุดไหนมีคนทำงานหรือเรียนหนังสือเยอะๆก็จะมีร้านตั้งมาดักไว้เต็มไปหมด ก็มีคนพูดไว้เยอะว่าร้านอาหารที่ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นแหล่งมั่วสุมของนักศึกษาหรือว่าคนทำงานในวัยหนุ่มสาว&
ทศพล ทรรศนพรรณ
ตอนนี้เราจะมาดูกันนะครับว่า ทำไมเมื่อเกิดความขัดแย้งขึ้นมาในสังคม เราจึงต้องใช้กฎหมายมายุติความขัดแย้ง   เหตุผลของเรื่องนี้ก็ต่อมาจากตอนที่แล้วซึ่งเราบอกว่า กฎหมาย คือ กติกา ที่สังคมกำหนดขึ้นมาร่วมกัน เพื่อชี้ว่าเมื่อเกิดเหตุการณ์ต่างๆขึ้น แล้วตกลงกันไม่ได้ จะ “ยุติ” ความขัดแย้งอย่างไรใ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องที่ผมจะเอามาเล่าสู่กันฟังเป็นความเดือดร้อนแสนสาหัสของน้องสองคนซึ่งได้รับผลกระทบจากการประกาศภาวะฉุกเฉิน เคอร์ฟิว ในช่วงที่มีการปราบปรามและสลายการชุมนุม   ซึ่งมันเกี่ยวพันกับชีวิตคนธรรมดาอย่างเราๆท่านๆมากขึ้น เพราะสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2