Skip to main content

ปัญหาที่เกิดขึ้นมาพร้อมกับสังคมที่ใช้เงินทองเป็นตัวกลางแลกเปลี่ยนสินค้า ก็คือ การกู้ยืมเงิน มีตั้งแต่การกู้ยืมกันธรรมดาระหว่างญาติพี่น้องคนรู้จักและเพื่อนฝูง ไปจนถึงการกู้ยืมกับคนร่ำรวยในพื้นที่ ถึงขนาดมีผู้มีอิทธิพลปล่อยกู้นอกระบบจนกลายเป็นเรื่องราวใหญ่โตเมื่อเกิดการทวงหนี้แล้วมีปัญหาใช้ความรุนแรงกัน   แต่วิธีการที่คนไทยนิยมอีกแบบ คือ การตั้งวงแชร์ที่ทุกคนรวมเงินกันแล้วเปียแข่งกันว่าใครให้ผลตอบแทนดีกว่าก็จะได้เงินเอาไปใช้แล้วค่อยเอาผลตอบแทนมาคืนใช่ไหมครับ ซึ่งแชร์นี่ก็ลดความนิยมไปเยอะแล้วเพราะถ้าไม่มีความสัมพันธ์ที่ดีกันในกลุ่ม แชร์ก็ล่ม มีการหนีหนี้แล้วทวงกันไม่ได้ตลอด   ปัจจุบันสังคมเรามันเปลี่ยนไปเยอะแล้วนี่ครับจะทำแบบเดิมคงไม่ง่าย แต่ก็ยังมีวิธีการหาเงินมาใช้กันอีกมากครับ จะทำอย่างไรได้ล่ะคะ ค่าใช้จ่ายและเหตุฉุกเฉินในชีวิตแต่ละคนมันเยอะ พอหมุนเงินไม่ทันก็ต้องหาแหล่งทุนมาใช้ ไหนจะต้องเอามาลงทุนทำการค้าอะไรอีกมากมาย แล้วใช่ว่าทุกคนจะไปขอกู้จากธนาคาร สหกรณ์ หรือกลุ่มออมทรัพย์ต่างๆได้ง่ายๆ โดยเฉพาะคนที่อยู่ในเมือง   หลังๆจึงมีการตั้งกลุ่มขึ้นในที่ทำงานเพื่อรวบรวมเงินกันแล้วมีการปล่อยกู้เพื่อหาทางหมุนเวียนเงินในยามคับขัน แล้วหาวิธีการประกันความเสี่ยงกันเองมากมายเพราะบางทีมันก็ก้ำกึ่งว่าจะล้ำเส้นของกฎหมายไปบ้างเหมือนกัน   ฟังเรื่องนี้ดูคงได้เห็นการดิ้นรนของชนชั้นกลางได้ดีว่าการมีหนี้เป็นสิ่งธรรมดาสามัญเหลือเกินสำหรับคนเหล่านี้ เพราะไม่มีทางเลือกในการเข้าถึงทุนนัก

“ข้าพเจ้าได้จัดตั้งกลุ่มกับเพื่อนๆ ในที่ทำงานเพื่อกู้ยืมกันในกลุ่ม  โดยได้เก็บเงินรวบรวมกันเป็นงวดๆ แล้วเอาเงินออกให้กู้นอกระบบสำหรับสมาชิกเท่านั้น   โดยข้าพเจ้าเป็นคนรับผิดชอบดำเนินการและติดตามทวงเงินเข้ากลุ่ม  ทุกคนสามารถกู้ยืมได้แต่ต้องเสียดอกเบี้ยเข้ากลุ่มในอัตราร้อยละ 4 ต่อเดือน ต่อมาในปีนั้นมีสมาชิกคนหนึ่งขอกู้เงินจำนวน 600,000 บาท เพื่อไปลงทุนเปิดธุรกิจที่บ้านเป็นประเภทอาหารและเครื่องดื่ม ด้วยความไว้ใจกันและเห็นว่าพี่คนนี้ก็อยู่ในกลุ่มกันมานาน ร้านที่จะเปิดก็เป็นหลักแหล่งสามารถไปดูงานหรือติดตามทวงหนี้ได้ไม่ยาก จึงไม่ได้ทำสัญญาใดๆทังสิ้น ทางกลุ่มกำหนดให้คืนเงินภายในระยะเวลา 1 ปี เท่านั้น เพราะเป็นกฎทั่วไปที่เราก็รู้กันอยู่แล้ว นี่ก็ขยายให้มากที่สุดแล้วเพราะเห็นใจที่เป็นเงินก้อนใหญ่ซึ่งกู้ไปทำธุรกิจ ก็รอให้คืนทุนได้ก่อนแล้วจึงเอามาคืน ร้านพี่เขาจะได้ตั้งตัวได้

แต่แล้วก็เกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด เพราะพี่เขาตัดสินใจลาออกจากบริษัทอย่างกะทันหันโดยไม่มีใครทราบล่วงหน้าแม้แต่น้อย แม้เราจะกังวลกันอยู่บ้างเวลาปล่อยกู้ไปก้อนใหญ่ๆ แต่ที่นอนใจกันอยู่ได้ก็เพราะคิดว่าบริษัทที่อยู่กันค่อนข้างใหญ่ มีชื่อเสียง ผลตอบแทนและสวัสดิการดี ไม่น่ามีใครลาออกไปทำงานที่อื่นหรือตัดทางทำมาหากินที่มั่นคงทิ้ง  แถมข้อมูลต่างๆเกี่ยวกับพนักงานซึ่งเป็นสมาชิกก็สามารถตามได้จากเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลซึ่งเป็นคนในกลุ่มเช่นกัน   ดังนั้นเราจึงรีบแก้ไขปัญหาโดยการติดตามทวงหนี้ทันที เมื่อค้นข้อมูลมาได้เราก็พยายามโทรติดต่อพี่เขาทันที พี่เขาบอกว่าไม่มีอะไร ที่ตัดสินใจลาออก ก็เพราะร้านเริ่มมีลูกค้าเข้ามามากแฟนเขาจัดการคนเดียวไม่ไหว เขาเลยตัดสินใจลาออกกลับไปช่วยงานจะได้หาเงินมาคืนทุนได้ไวไว เสียงพี่เค้าดูครึกครื้นดีใจ เหมือนมีความหวังใหม่ในชีวิตเพราะธุรกิจกำลังติดลมบน ทุกคนในกลุ่มพอทราบเรื่องก็โล่งใจ

แต่ทางกลุ่มก็ยังอยากได้เงินคืนเพราะเป็นเงินก้อนใหญ่มากหากเสียไปคนทั้งกลุ่มมีปัญหาแน่ๆ จึงได้แจ้งพี่เขาไปว่าใกล้จะครบกำหนดแล้วนะ และพี่ก็ลาออกไปแล้วควรจะคืนเงินกลับมาก่อนเพื่อความสบายใจของทุกคน  โดยมีการโทรศัพท์นัดคืนเงินอยู่ตลอดเวลา และเมื่อถึงเวลาก็ผิดนัดทุกครั้งโดยพี่เขามักจะอ้างว่าติดลูกค้าออกไปไม่ได้ ยุ่งวุ่นวายที่ร้านมากเลยไปไหนไม่สะดวก ส่วนพวกเราก็ทำงานอยู่ที่บริษัทจะติดตามไปทวงที่ร้านเขาไม่ง่าย  ด้วยความร้อนรนใจของพวกเรา จึงยกกันไปติดตามพี่เขาที่บ้าน ให้เขาทำสัญญาเงินกู้ที่ถูกต้องตามกฎหมาย โดยการเอาที่ดินของเขามาเป็นหลักฐานทรัพย์ในการค้ำประกัน และกำหนดให้คืนเงินภายในระยะเวลา 6 เดือน ถ้าไม่ทำตามสัญญาจะยึดทรัพย์สินของเขา  

เมื่อครบกำหนดชำระหนี้พร้อมดอกเบี้ยครั้งหลังพวกเราได้ติดต่อไปแต่พี่เขาปิดสายและหายไปจากบ้านหลายวัน จนมันผิดปกติมากและทางกลุ่มกลัวจะเสียหายหลายแสนจึงตัดสินว่าต้องดำเนินการอะไรให้เด็ดขาดแล้ว  ข้าพเจ้าจึงไปติดต่อทนายเพื่อขอคำปรึกษา โดยทางทนายให้ส่งหมายศาลให้เรียกตัว และนัดขึ้นศาลเพื่อพูด คุย เจรจาไกล่เกลี่ยกันก่อน กระทั่งครั้งสุดท้ายทำให้เราได้เจอกันหลังจากที่เขาผิดนัดหลายครั้ง โดยการพูดคุยเราจะตกลงยินยอมกันโดยให้เขาโอนทรัพย์ซึ่งเป็นที่ดินให้ข้าพเจ้าเพราะเสียเวลามาก  หากจะให้พี่เขาผ่อนชำระเป็นรายเดือน แถมดอกเบี้ยที่ตกลงกันไว้ก็อาจจะไม่ได้อีกต่างหาก

ข้าพเจ้าและทางกลุ่มของเราคิดเห็นร่วมกันว่าเอาทรัพย์สินดีกว่าที่ต้องรอ แม้ว่าราคาที่ดินจะไม่เท่ากับจำนวนหนี้เดิม แต่ก็ยังดีกว่าต้องเสียเวลารอให้พี่เขาผ่อนนานๆ กับการต้องรอคำสั่งศาลให้ถึงที่สุดอีก   เลยจะลองมาปรึกษาดูว่าถ้าทางกลุ่มจะดำเนินการต่อไปควรจะวางแผนกันอย่างไรดี”

วิเคราะห์ปัญหา

1.              การตั้งกลุ่มออมทรัพย์โดยมีการปล่อยกู้นั้นสามารถกระทำได้เองโดยไม่ต้องมีการขออนุญาตหรือไม่

2.              การตกลงกันใช้ระบบสมาชิกกู้ยืมเงินและใช้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ร้อยละ 4 ต่อเดือน เป็นเงื่อนไขที่กระทำได้ตามกฎหมายหรือไม่

3.              การให้กู้ยืมเงินจำนวนมากโดยไม่มีการทำสัญญาลายลักษณ์อักษรไว้เป็นวิธีการที่รัดกุมหรือไม่

4.              การให้กู้ยืมเงินโดยไม่มีการค้ำประกันโดยทรัพย์สินหรือบุคคลเป็นความเสี่ยงเกินไปหรือไม่

5.              การติดตามทวงหนี้ที่เกิดขึ้นจากการผิดนัดชำระหนี้จะทำได้อย่างไรบ้าง

6.              แนวทางในการดำเนินการในกลุ่มควรปรับปรุงอย่างไรบ้าง

การนำกฎหมายมาแก้ไข

1.              การตั้งกลุ่มออมทรัพย์โดยมีการปล่อยกู้นั้นสามารถกระทำได้เองหากไม่มีลักษณะเก็บอัตราดอกเบี้ยเกินที่กฎหมายกำหนดและมีวิธีการทวงหนี้ที่ผิดกฎหมาย เช่นใช้ความรุนแรง  แต่ถ้ามีการจัดตั้งเป็นกลุ่มสหกรณ์ออมทรัพย์หรือเผาศพโดยมีการขออนุญาตต่อกรมสหกรณ์ก็จะมีหน่วยงานรัฐสนับสนุน   แต่ก็ขึ้นอยู่กับการบริหารและตกลงกันในกลุ่มเพื่อความสะดวกตามความสมัครใจ

2.              การตกลงกันใช้ระบบสมาชิกกู้ยืมเงินและใช้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ร้อยละ 4 ต่อเดือน เป็นเงื่อนไขที่ขัดกับกฎหมายเพราะกลุ่มมิใช่สถาบันการเงินที่รัฐอนุญาตให้เก็บดอกเบี้ยเกินร้อยละ 15 ต่อปี ดอกเบี้ยที่เกินจากกฎหมายกำหนดจะตกเป็นโมฆะทั้งหมด เหลือแต่เงินต้นที่บังคับกันได้

3.              การให้กู้ยืมเงินจำนวนมากโดยไม่มีการทำสัญญาลายลักษณ์อักษรไว้เป็นวิธีการที่อันตรายมาก เพราะไม่สามารถบังคับกันได้ตามกฎหมายแพ่งฯ และวิธีพิจารณาความแพ่งฯ เพราะต้องมีหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษรลงลายมือชื่อฝ่ายลูกหนี้ที่ต้องรับภาระชำระหนี้

4.              การให้กู้ยืมเงินโดยไม่มีการค้ำประกันโดยทรัพย์สินหรือบุคคลเป็นความเสี่ยงจึงอาจต้องวางแผนให้ผู้กู้ยืมหาหลักประกัน เช่น ทรัพย์สินหรือบุคคล แต่ก็อาจกระทบกับเงื่อนไขเบื้องต้นที่การตั้งกลุ่มอย่างไม่เป็นทางการก็เพื่อให้เกิดความสะดวก เนื่องจากถ้าเขามีทรัพย์/บุคคลค้ำประกัน ก็อาจไปกู้ในระบบแทน  ก็ต้องวางแผนจัดการความเสี่ยงแบบต่างๆต่อไป

5.              การติดตามทวงหนี้ที่เกิดขึ้นจากการผิดนัดชำระหนี้จะต้องยื่นหนังสือทวงหนี้ และกำหนดชำระหนี้ หากไม่สำเร็จก็นำฟ้องบังคับคดีที่ศาลแพ่งฯ ซึ่งศาลจะนัดไกล่เกลี่ย หรือนำไปสู่การตัดสินคดีหรือมีการประนีประนอมยอมความในระหว่างนั้นได้  โดยการหนีหนี้เป็นความผิดทางอาญา

6.              กลุ่มอาจยกระดับขึ้นเป็นกลุ่มสหกรณ์หรือกลุ่มเผาศพเพื่อร่างระเบียบข้อบังคับและจัดระบบประกันความเสี่ยงและรูปแบบสัญญาที่เป็นระบบมากขึ้น มีหลักฐานพยานในการบังคับชำระหนี้ที่ดีขึ้น

ช่องทางเรียกร้องสิทธิ

1.              การตั้งกลุ่มออมทรัพย์โดยจัดตั้งเป็นกลุ่มสหกรณ์ออมทรัพย์หรือเผาศพต้องไปยื่นขอจดทะเบียนต่อกรมสหกรณ์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งมีสำนักงานอยู่ในทุกจังหวัด

2.              การติดตามทวงหนี้ในทางแพ่งฯ ต้องนำฟ้องบังคับคดีที่ศาลแพ่งฯ ซึ่งศาลจะนัดไกล่เกลี่ย หรือนำไปสู่การตัดสินคดีหรือมีการประนีประนอมยอมความในระหว่างนั้นได้ และกรมบังคับคดีจะเป็นผู้บังคับชำระหนี้ให้ เช่น นำไปสู่การโอนทรัพย์ให้ หรือในอนาคตจะมีการนำทรัพย์ประกันขายทอดตลาดเพื่อเอาเงินมาใช้หนี้ให้

3.              การหนีหนี้ที่เป็นความผิดทางอาญาสามารถแจ้งความต่อเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองหรือเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อให้ติดตามและรับผิดทางกฎหมายได้

สรุปแนวทางแก้ไข

                ใช้หลักนิติกรรมสัญญากู้ยืม อัตราดอกเบี้ย การใช้ทรัพย์เป็นหลักประกัน และการระงับข้อพิพาท ซึ่งกรณีนี้หากดอกเบี้ยเกินกว่าร้อยละ 15 ต่อปี ดอกเบี้ยจะตกเป็นโมฆะ ส่วนเงินทุนยังอยู่แล้วแต่ว่าจะบังคับเอาอย่างไร หากมีการนำทรัพย์สินมาเป็นประกันหากจะนำมาชดใช้หนี้ต้องขายทอดตลาดได้เงินมาเท่าไหร่จึงนำมาใช้หนี้หากเหลือต้องคืนให้เจ้าทรัพย์ อย่างไรก็ดีหากการโอนทรัพย์สินมิใช่หลักประกันแต่เป็นเพียงการนำทรัพย์มาชำระหนี้แทนเงินก็สามารถทำได้ทันทีตามความสมัครใจ   ซึ่งกรณีนี้เป็นคดีแพ่งคู่ความอาจระงับข้อพิพาทอย่างใดแล้วแต่ใจสมัครของสองฝ่าย

 

 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
ตลอดระยะเวลาแห่งความขัดแย้งทางการเมือง ได้มีกลุ่มต่างๆ เสนอทางออกของปัญหาด้วยการใช้กฎหมายมากมายหลายมาตรา   แต่มาตราหนึ่งซึ่งเป็นข้อถกเถียงมาก คือ การใช้รัฐธรรมนูญ ม.7 ตั้งแต่เมื่อคราวที่ยังใช้รัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 เรื่อยมาจนถึง ฉบับปี 2550   คนจำนวนไม่น้อยคงสงสัยมากว่า มาตรา 7
ทศพล ทรรศนพรรณ
เอาล่ะครับ พ่อแม่พี่น้อง เรื่องถัดไปนี่คงเป็นความสนใจของเพื่อนพ้องหลายๆพื้นที่นะครับ ผมได้รับแจ้งเข้ามาว่า  เจ้าพนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่หนึ่งมีการเพิกเฉย ละเลย ดูแลปัญหาความเดือดร้อนของคนในพื้นที่ แถมยังมีเรื่องราวกินสินบาทคาดสินบนทำให้ชาวบ้านจนปัญญาจะหาทางแก้ไขเข้าไปอีก&n
ทศพล ทรรศนพรรณ
พลังเหนือมนุษย์ ที่จะพูดถึงในครั้งนี้ประกอบไปด้วยสองส่วน คือ พลังธรรมชาติ และพลังลี้ลับ   ซึ่งกฎหมายก็ได้พูดถึงสองสิ่งนี้อยู่ไม่น้อยทีเดียว
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้เป็นสารพัดปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้ใช้แรงงานในยามที่เจอกับภาวะเศรษฐกิจตกสะเก็ด เราคงได้ยินเสียงผู้ประกอบการบ่นให้ฟังว่า ยอดสั่งซื้อตก กำไรหด ต้องลดกำลังการผลิตเพื่อให้บริษัทอยู่รอดกันใช่ไหมครับ  แต่ทราบไหมครับว่า ทุกครั้งที่บอกว่าขาดทุนและต้องลดต้นทุนหรือกำลังการผลิตนั้น มันหมายถึงการป
ทศพล ทรรศนพรรณ
             กฎหมายสมัยใหม่ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้ มีสิ่งที่ต้องเข้าใจร่วมกันว่า ได้ให้อำนาจเด็ดขาดแก่รัฐในการบีบบังคับประชาชนในรัฐ และลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืนกฎหมายโดยการใช้ความรุนแรงนับตั้งแต่ การประหารชีวิต การจำคุก การควบคุมตัว ริบทรัพย์ ในระบบกฎหมายอาญา  ไ
ทศพล ทรรศนพรรณ
ทุกท่านคงทราบกันแล้วนะครับว่าปัจจุบันกฎหมายไทยเกี่ยวกับเรื่องข่มขืนได้มีการปรับปรุงแก้ไขไปให้ทันกับสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นจริง เพราะมิใช่เพียง
ทศพล ทรรศนพรรณ
คงมีหลายคนสงสัยว่าทำไมนักกฎหมายมักย้ำเสมอว่าปัญหาทางกฎหมายต้องตอบในลักษณะ “หนึ่งคำถาม หนึ่งคำตอบ”    กล่าวคือ ในปัญหาเรื่องนั้นจะต้องมีคำชี้ขาดขององค์กรตุลาการหรือองค์กรวินิจฉัยชี้ขาดที่ชัดเจนแน่นอนเพียงหนึ่งเดียว   ห้ามมีคำตอบแตกต่างหลากหลาย   เช่น  
ทศพล ทรรศนพรรณ
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งกับผู้ใช้รถใช้ถนนทั้งในเมืองและต่างจังหวัด เนื่องจากในบางเส้นทางจะมีด่านตรวจของเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งเราก็ไม่แน่ใจว่าจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไรเมื่อถูกกักตัวหรือขอตัวค้นรถตอนถึงด่าน   ทั้งยังสงสัยกับพฤติกรรมของเจ้าหน้าที่ตรงด่านว่าใช่ตำรวจหรือไม่ มีอำนาจหน้าที่อะไ
ทศพล ทรรศนพรรณ
       หลายครั้งที่เราสงสัยกันว่าทำไมเรื่องที่เค้าเถียงกันแทบเป็นแทบตายไม่มีคำตอบที่ชัดเจนสักที ตำรวจก็บอกว่าต้องทำตามกฎหมายข้อนี้ นักกฎหมายก็อ้างว่าไม่ได้ต้องดูกฎหมายอีกฉบับด้วย แล้วพอไปออกรายการทีวีเถียงกันก็ยังไม่ค่อยจะรู้เรื่อง เพราะปัญหาเดียวกันไหงมีกฎหมายมาเกี่ยวข้องต้อง
ทศพล ทรรศนพรรณ
ปัจจุบันมีคนจำนวนมากเข้าไปทำงานตามร้านอาหารหรือสถานบริการต่างๆมากขึ้นกว่าแต่ก่อน ตามจำนวนร้านรวงที่ผุดขึ้นมาเป็นดอกเห็ด จุดไหนมีคนทำงานหรือเรียนหนังสือเยอะๆก็จะมีร้านตั้งมาดักไว้เต็มไปหมด ก็มีคนพูดไว้เยอะว่าร้านอาหารที่ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นแหล่งมั่วสุมของนักศึกษาหรือว่าคนทำงานในวัยหนุ่มสาว&
ทศพล ทรรศนพรรณ
ตอนนี้เราจะมาดูกันนะครับว่า ทำไมเมื่อเกิดความขัดแย้งขึ้นมาในสังคม เราจึงต้องใช้กฎหมายมายุติความขัดแย้ง   เหตุผลของเรื่องนี้ก็ต่อมาจากตอนที่แล้วซึ่งเราบอกว่า กฎหมาย คือ กติกา ที่สังคมกำหนดขึ้นมาร่วมกัน เพื่อชี้ว่าเมื่อเกิดเหตุการณ์ต่างๆขึ้น แล้วตกลงกันไม่ได้ จะ “ยุติ” ความขัดแย้งอย่างไรใ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องที่ผมจะเอามาเล่าสู่กันฟังเป็นความเดือดร้อนแสนสาหัสของน้องสองคนซึ่งได้รับผลกระทบจากการประกาศภาวะฉุกเฉิน เคอร์ฟิว ในช่วงที่มีการปราบปรามและสลายการชุมนุม   ซึ่งมันเกี่ยวพันกับชีวิตคนธรรมดาอย่างเราๆท่านๆมากขึ้น เพราะสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2