Skip to main content

อย่างที่เราเคยได้ยินกันว่า “คนที่ตายแล้วก็สบายไป ที่เหลือไว้คือลูกหลานที่แย่งชิงมรดก” หากไม่มีการวางแผนและจัดการปัญหาไว้ล่วงหน้า ก็อาจมีปัญหาในครอบครัวตามมาหากว่าความรักไม่อาจเอาชนะความโลภได้ แต่ในบางครั้งก็มิใช่เพียงกิเลสเท่านั้นที่ทำให้เกิดเรื่องเนื่องจากยังมีความยุ่งยากภายในครอบครัวตามมาอีกมากมาย เพราะความสัมพันธ์ของคนในช่วงชีวิตหนึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะทำอะไรให้ชัดเจนและง่ายดายเหมือนอย่างที่คนอื่นคาดหวัง   เราไปฟังเรื่องต่อไปนี้เพื่อวางแผนให้ดีก่อนจะถึงวันที่สายไปกันครับ  

ผมเป็นลูกของภรรยานอกสมรส เนื่องจากพ่อของผมพาเราสองคนแม่ลูกเข้ามาอยู่กับครอบครัวใหญ่ หลังจากได้ร้างรากับภรรยาเก่าที่อยู่อีกจังหวัดหนึ่ง เนื่องจากมีปัญหากันและห่างไกลกันหลังจากพ่อต้องย้ายกลับมาทำมาหากินที่บ้านเกิด  พ่อกับภรรยาเก่านั้นได้สมรสกันตั้งแต่ตอนที่พ่อยังหนุ่มๆและเข้าไปทำงานในกรุงเทพฯ ก่อนจะมีปัญหากับครอบครัวนั้นรวมถึงปัญหาธุรกิจ ทำให้พ่อย้ายกลับมาทำธุรกิจที่บ้านเกิดแล้วเจอกับแม่และมีผมออกมา โดยเป็นที่รับรู้กันในหมู่ญาติพี่น้องข้างพ่อ และบ้านโน้นก็รู้ดีแต่ไม่ได้มีปัญหาอะไรในช่วงที่พ่อยังมีชีวิตอยู่ เพราะพ่อก็ยังส่งเงินไปช่วยเหลือทางครอบครัวนู้นอยู่เป็นประจำ

เมื่อพ่อของผมเสียชีวิตลง ทางภรรยาหลวงของพ่อได้มาบอกว่าจะไม่ให้ทรัพย์สินใดกับทางผมและแม่เลย นับเป็นการเอาเปรียบในสิทธิผมมาก เพราะพ่อและแม่ผม อยู่ด้วยกันตลอดในช่วงหลายปีหลัง ทำมาหากินร่วมกันมารวมถึงเงินที่ส่งไปให้ทางบ้านนู้นใช้และทรัพย์สินทั้งหลายที่หามาได้ในช่วงหลังก็เป็นน้ำพักน้ำแรงที่แม่ผมมีส่วนหามาด้วย   แต่ว่าพ่อผมไม่ได้ทำเรื่องหย่าขาดจากบ้านนั้นทำให้เขาอ้างว่าทรัพย์สินที่ได้มาเป็นของเขาแน่ๆ เนื่องจากยังมีทะเบียนสมรสกันจนวันสิ้นชีวิตของพ่อ   ทั้งที่ก่อนพ่อผมเสียได้มีการแบ่งมรดกทรัพย์สินกับทางผมมากกว่า  ทำให้เราคิดว่านี่อาจเป็นชนวนเหตุให้อีกฝ่ายไม่พอใจและทำเรื่องตั้งผู้จัดการมรดกขึ้นมาและบอกว่าผมไม่มีสิทธิรับมรดก เพราะพ่อผมไม่ได้เขียนพินัยกรรมไว้เป็นลายลักษณ์อักษร

                แม่ผมได้ปรึกษาทนายความและตกลงกับทางญาติข้างพ่อซึ่งรับรู้เรื่องราวต่างๆ ก่อนพ่อเสียโดยขอให้กลุ่มคนที่ได้ยินพ่อผมพูดมาช่วยให้การต่อศาลว่าผมมีสิทธิที่จะได้ทรัพย์สินของพ่อที่ได้บอกก่อนเสียชีวิต กระทั่งทนายความได้ดำเนินการจนสำเร็จและผมได้รับส่วนแบ่งมรดก และได้เสียเงินค่าว่าจ้างทนายที่คิดว่ามากเกินความจำเป็น แต่แม่ผมคิดว่าสมเหตุสมผล เนื่องจากดีกว่าไม่เหลืออะไรเลย

หลังจากนั้นแม่ผมได้ย้ายออกจากครอบครัวเดิม และแม่ก็ไม่มีสิทธิ์ในมรดกของตระกูลใหญ่ของพ่อ  เนื่องจากได้แต่งงานใหม่และใช้นามสกุลของคู่สมรสใหม่แล้ว   แต่เมื่อปู่ของผมเสียชีวิต แม่จึงได้เข้ามาเป็นตัวแทนผม เพื่อแบ่งมรดกกับลุงตามที่ปู่เคยบอกกล่าวไว้   เนื่องจากพ่อพาแม่และผมเข้ามาอยู่กับครอบครัวตั้งแต่ผมเด็กและปู่ก็ดูแลผมมาตั้งแต่ยังแบเบาะ เอ็นดูผมมาก เนื่องจากเป็นหลานเล็กคนเดียวที่อยู่กับปู่ในช่วงบั้นปลายชีวิต   หลังจากปู่เสียชีวิตแม่จึงเข้ามาเรียกร้องสิทธิให้ผมโดยให้เหตุผลว่าผมผู้เป็นหลานแท้ๆของปู่มีสิทธิ์ในมรดกดังกล่าว โดยปู่ได้บอกว่าบ้านและที่ดินที่อาศัยอยู่ในปัจจุบันจะยกให้กับผมผู้เป็นหลาน แต่ตอนนี้ตกเป็นของคุณลุงซึ่งเข้ามาอยู่อาศัยอยู่ โดยลุงได้กลายเป็นเป็นผู้จัดการมรดกไปแล้วหลังจากปู่เสีย เพราะได้ให้ทนายไปทำเรื่องตั้งผู้จัดการมรดกให้ตั้งแต่ปู่เสียชีวิตใหม่ๆ

หลังจากนั้นแม่ได้นัดเข้าพูดคุยกับคุณลุงเพื่อตกลงเรื่องการแบ่งมรดกให้เป็นไปตามความตั้งใจของคุณปู่   เมื่อพูดคุยเจรจาแล้วผลปรากฏว่าคุณลุงบอกจะโอนมรดกให้แก่ผม   แต่อ้างว่ากฎหมายจะให้คนรับมรดกก็ต่อเมื่ออายุครบ 20 ปีที่ถือว่าบรรลุนิติภาวะแล้วเท่านั้น แต่ขณะนั้นผมอายุ 18 ปี ยังไม่บรรลุนิติภาวะ จึงยังรับมรดกไม่ได้   ผมก็แม่ก็รู้สึกว่ามันแปลกมากที่ต้องรอให้บรรลุนิติภาวะก่อนจึงจะรับมรดกได้ เลยเข้ามาสอบถามว่าจะต้องรออย่างที่ลุงบอกหรือไม่ เพราะตอนที่พ่อเสียก่อนหน้านั้น ผมและแม่ก็ยังได้แบ่งมรดกได้เลย และทำอย่างไรจึงจะได้มรดกมาตามที่คุณปู่เคยกล่าวไว้”

เหตุการณ์ของน้องคนนี้มีสองช่วงแต่มีประเด็นปัญหาร่วมกันอยู่ คือ มิได้มีการทำสัญญาลายลักษณ์อักษรของเจ้ามรดก ทำให้มีความยุ่งยากในการวิเคราะห์ปัญหาและการแบ่งมรดกให้เป็นไปตามเจตนาของเจ้ามรดกก่อนเสียชีวิต ดังนั้นจึงวิเคราะห์ประเด็นผลบังคับของมรดกรวบไปในคราวเดียวกัน แต่ในประเด็นปลีกย่อยจะได้แยกวิเคราะห์ให้เข้าใจถึงรายละเอียดของแต่ละประเด็น

วิเคราะห์ปัญหา

1.             หากเจ้ามรดกไม่ได้ทำพินัยกรรมลายลักษณ์อักษรไว้ก่อนเสียชีวิต จะต้องแบ่งมรดกกันอย่างไร สามารถนำคำบอกกล่าวหรือการพูดปากเปล่ามาเป็นพินัยกรรมในการแบ่งมรดกได้หรือไม่

2.             ลูกนอกสมรสถือเป็นบุตรของบิดาหรือไม่ มีสิทธิได้รับมรดกของบิดาหรือไม่

3.             ลูกนอกสมรสถือเป็นหลานของปู่หรือไม่ มีสิทธิได้รับมรดกของปู่รึเปล่า

4.             การรับมรดกจะต้องมีอายุครบ 20 ปี เพื่อบรรลุภาวะก่อนจะรับมรดกได้หรือไม่

5.             การจัดการมรดกนั้นเป็นอำนาจของผู้จัดการมรดกหรือไม่ แล้วจะต้องจัดการอย่างไร

การนำกฎหมายมาแก้ไข

1.             หากเจ้ามรดกไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ก่อนเสียชีวิต จะต้องแบ่งมรดกกันตามกฎหมายซึ่งกำหนดสัดส่วนไว้   แต่ในกรณีทั้งสองสามารถนำคำบอกกล่าวหรือการพูดปากเปล่ามาเป็นพินัยกรรมปากเปล่าในการแบ่งทรัพย์สินได้ โดยมีการนำสืบพยานที่รับรู้การแสดงเจตนาของเจ้ามรดกได้

2.             ลูกนอกสมรสถือเป็นบุตรของบิดาได้จากการรับรองบุตรของบิดาไม่เกี่ยวกับการจดทะเบียนสมรส แม้ไม่เคยรับรองบุตรก็อาจใช้วิธีทางนิติวิทยาศาสตร์ได้  บุตรนอกสมรสมีสิทธิได้รับมรดกของพ่อ  และในกรณีนี้อาจอ้างพยานในพินัยกรรมปากเปล่าได้เพิ่มเติมอีกด้วย

3.             ลูกนอกสมรสถือเป็นหลานของปู่ได้จากการรับรองบุตรของบิดาไม่เกี่ยวกับการจดทะเบียนสมรส แม้ไม่เคยรับรองบุตรก็อาจใช้วิธีทางนิติวิทยาศาสตร์ได้ หลานมีสิทธิได้รับมรดกของปู่ และในกรณีนี้อาจอ้างพยานในพินัยกรรมปากเปล่าได้เพิ่มเติมอีกด้วย

4.             การรับมรดกสามารถทำได้ตั้งแต่มีสภาพบุคคล คือ ตั้งแต่เกิด ไม่ต้องรอให้บรรลุภาวะก่อนจะรับมรดก การรับสิทธิสามารถกระทำได้ทันที

5.             การจัดการมรดกนั้นเป็นอำนาจของผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาล แล้วผู้จัดการจะต้องจัดการมรดกตามพินัยกรรมอย่างเคร่งครัด เพราะหากฝ่าฝืนจะมีความผิดทางกฎหมายและเสียสิทธิในมรดกด้วย ส่วนการจ้างและตกลงว่าจ้างทนายเป็นเรื่องความสมัครใจแต่อยู่ในกรอบมารยาททนายความ

ช่องทางเรียกร้องสิทธิ

1.             โดยทั่วไปคดีมรดกสามารถตั้งทนายหรือติดต่อด้วยตัวเองในการฟ้องเรียกร้องสิทธิในศาลแพ่งฯ

2.             ปัจจุบันสำนักงานอัยการได้เข้ามารับดูแลคดีมรดก จึงอาจเข้าขอความช่วยเหลือในการจัดการจากสำนักงานอัยการประจำพื้นที่ของเจ้ามรดกได้

3.             หาไม่แล้วก็ติดต่อทนายความเพื่อจัดการกระบวนการทั้งหลายเพราะจะมีธุรกรรมต่างๆ ตามมาอีกจำนวนหนึ่ง เช่น การโอนอสังหาริมทรัพย์ที่สำนักงานที่ดินฯ เป็นต้น โดยค่าใช้จ่ายอยู่ที่ตกลงกัน

สรุปแนวทางแก้ไข

ส่วนแรกใช้หลักการแบ่งมรดกด้วยพินัยกรรมปากเปล่า การนำสืบพยาน และนิติกรรมสัญญากับทนาย   ซึ่งกรณีนี้เป็นพินัยกรรมปากเปล่าจึงสามารถนำญาติซึ่งไม่มีส่วนได้เสียกับมรดกส่วนของตนมานำสืบได้ เพื่อให้มีการแบ่งทรัพย์มรดกตามเจตจำนงของเจ้ามรดก   ส่วนเรื่องค่าทนายเป็นความสมัครใจระหว่างลูกความกับทนายตกลงกัน

ส่วนหลังใช้หลักการแบ่งมรดกด้วยพินัยกรรมปากเปล่า และการจัดการมรดกตามเจตนาของเจ้ามรดก และคุณสมบัติของผู้รับมรดก ซึ่งมรดกนี้ต้องแบ่งตามที่ปู่ผู้เป็นเจ้ามรดกแสดงเจตนาไว้ แม้ลุงจะเป็นผู้จัดการมรดกก็ต้องจัดการไปตามพินัยกรรม และต้องจัดการให้ทันทีเนื่องจากบุคคลสามารถรับมรดกได้ตั้งแต่เกิดไม่ต้องรออายุ หากไม่จัดการตามพินัยกรรมอาจฟ้องเพิกถอนลุงออกจากการเป็นผู้จัดการมรดก

 

 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
มาตรการสำหรับการแก้ปัญหาความอดอยากหิวโหยที่เกิดจากภัยพิบัติธรรมชาตินั้นสามารถดำเนินการได้ใน 3 ช่วงเวลา ก็คือ การเตรียมตัวก่อนภัยพิบัติจะเกิด การบรรเทาและแก้ไขปัญหาในขณะเกิดภัยพิบัติ การเยียวยาและฟื้นฟูหลังภัยพิบัติผ่านไปแล้ว   ในบทความนี้จะนำเสนอมาตรการและกรณีศึกษาที่ใช้ในการขจัดความหิว
ทศพล ทรรศนพรรณ
มาตรการทั่วไปที่ใช้ในการประกันความอิ่มท้องของประชากรในประเทศตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติที่รัฐบาลไทยประกาศสมาทานยึดถือนั้น ตั้งอยู่บนหลักกฎหมายสิทธิมนุษยชนเรื่องสิทธิด้านอาหาร นั้นหมายถึงรัฐไทยต้องมีมาตรการเคารพ ปกป้อง และส่งเสริมสิทธิประกอบด้วย กรอบทางกฎหมาย   กรอบทางนโย
ทศพล ทรรศนพรรณ
อุดมการณ์ที่เป็นสาเหตุของปัญหาแรงงานที่เกิดขึ้นทั่วโลกอยู่นั้น มีจุดก่อตัวมาจากระบบเศรษฐกิจการเมืองแบบเสรีนิยมใหม่ที่เข้ามาพร้อม ๆ กับกระแสแห่งการพัฒนาของโลกยุคโลกาภิวัฒน์ ที่ทำให้เกิดเสรีทางการลงทุนจนนำมาซึ่งรูปแบบการจ้างงานรูปที่มีความยืดหยุ่นต่อการบริหารจัดการของบรรษัท และสามารถตอบโจทย์นักลงทุ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อแก้ไขปัญหาที่ดินจำเป็นต้องวางแผนในการดำเนินการด้วยความเข้าใจพื้นฐานที่ว่า ความขัดแย้งเป็นสิ่งธรรมดาสามัญที่เกิดขึ้นได้ หากต้องการผลักดันข้อบัญญัติท้องถิ่นให้สำเร็จจึงต้องสามารถทำความเข้าใจลักษณะของข้อพิพาทที่มักเกิดขึ้นในการจัดการที่ดิน   และมีแนวทางในการข
ทศพล ทรรศนพรรณ
 ลู่ทางส่งเสริมการการมีส่วนร่วมของประชาชนในการแก้ปัญหามลพิษ มีดังต่อไปนี้
ทศพล ทรรศนพรรณ
ปัญหาสิ่งแวดล้อมมักสร้างผลกระทบในระยะยาว ไม่ได้เกิดการบาดเจ็บ เสียหาย ทันทีทันใด   ดังนั้นเราจึงต้องมีวิธีการพิสูจน์ว่าความเจ็บป่วย เสียหายที่เกิดขึ้นนั้นมีผลมาจากปัญหาสิ่งแวดล้อมจริง   สิ่งที่เราต้องทำคือการเก็บหลักฐานอย่างต่อเนื่องและชัดเจนเพื่อนำไปใช้เป็นพยานหลักฐาน &n
ทศพล ทรรศนพรรณ
การจัดชุมนุมสาธารณะย่อมเป็นที่สนใจของสังคมตามความประสงค์ของผู้จัด จึงมีสื่อมวลชนที่เข้าร่วมทำข่าวทั้งที่เป็นสื่อมวลชนอาชีพที่มีสังกัดประจำหรือสื่อพลเมืองที่ทำหน้าที่ติดตามสถานการณ์และรายงานข่าวตามภูมิทัศน์เทคโนโลยีสื่อสารที่ปรับตัวไป 
ทศพล ทรรศนพรรณ
การชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธมีข้อจำกัดที่อาจถูกรัฐเข้าระงับหรือแทรกแซงการใช้สิทธิได้ตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) ข้อ 4 ในสภาวะฉุกเฉินสาธารณะที่คุกคามความอยู่รอดของชาติที่ถูกประกาศอย่างเป็นทางการ และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาญาจักไทย พุทธศักราช 2560 กำหนดถึงเหตุที
ทศพล ทรรศนพรรณ
การชุมนุมโดยสงบเป็นเครื่องมือที่ทำให้บุคคลทั้งหลายสามารถแสดงออกร่วมกันและมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลง ให้ปัจเจกสามารถแสดงความเป็นตัวตนของตัวเองร่วมกับผู้อื่น   โดยการเลือกสถานที่การชุมนุมอยู่ภายใต้หลักมองเห็นและได้ยิน (sight and sound) ทั้งนี้ผู้ชุมนุมต้องอยู่ในที่ที่มองเห็นและสาธารณชนต้อ
ทศพล ทรรศนพรรณ
ขบวนการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้น ในบริบทโครงสร้างทางอำนาจในสังคมที่ไม่เท่าเทียมกัน การรวมศูนย์อำนาจหรือการครอบงำทางวัฒนธรรมโดยใช้วัฒนธรรมเดียว สิทธิชุมชนจึงเป็นการต่อสู้เพื่อปรับสัมพันธภาพทางอำนาจ สร้างตำแหน่งแห่งที่ให้ชุมชนให้เกิดความเป็นธรรมและเคารพในความหลากหลาย โดยท้องถิ่นมีเสรีภาพในการกำหนดกติกา
ทศพล ทรรศนพรรณ
ข้อกล่าวอ้างสำคัญของรัฐบาลไทยในการเพิ่มศักยภาพในด้านข่าวกรองและออกกฎหมายที่ให้อำนาจสอดส่องการสื่อสารของประชาชน คือ “ถ้าประชาชนไม่ได้ทำผิดจะกลัวอะไร” โดยมิได้คำนึงหลักการพื้นฐานเบื้องต้นว่า แม้ประชาชนมิได้ทำผิดกฎหมายอันใดก็มีสิทธิความเป็นส่วนตัว ปลอดจากการแทรกแซงการสื่อสาร อันเป็นสิทธิพื้นฐานตามกฎ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การพัฒนารัฐที่ใช้กฎหมายเป็นหลักประกันสิทธิมนุษยชนของประชาชน และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของพลเมืองในประเด็นสาธารณะของผู้ตื่นตัวทางการเมืองในลักษณะ “นิติรัฐอย่างเป็นทางการ” แตกต่างจากความสัมพันธ์ทางอำนาจแบบ “ไม่เป็นทางการ” ที่รัฐอาจหลีกเลี่ยงการใช้อำนาจปกครองภายใต้กรอบของกฎหมายเพื่อประกันสิทธิเสรีภาพต