Skip to main content

อย่างที่เราเคยได้ยินกันว่า “คนที่ตายแล้วก็สบายไป ที่เหลือไว้คือลูกหลานที่แย่งชิงมรดก” หากไม่มีการวางแผนและจัดการปัญหาไว้ล่วงหน้า ก็อาจมีปัญหาในครอบครัวตามมาหากว่าความรักไม่อาจเอาชนะความโลภได้ แต่ในบางครั้งก็มิใช่เพียงกิเลสเท่านั้นที่ทำให้เกิดเรื่องเนื่องจากยังมีความยุ่งยากภายในครอบครัวตามมาอีกมากมาย เพราะความสัมพันธ์ของคนในช่วงชีวิตหนึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะทำอะไรให้ชัดเจนและง่ายดายเหมือนอย่างที่คนอื่นคาดหวัง   เราไปฟังเรื่องต่อไปนี้เพื่อวางแผนให้ดีก่อนจะถึงวันที่สายไปกันครับ  

ผมเป็นลูกของภรรยานอกสมรส เนื่องจากพ่อของผมพาเราสองคนแม่ลูกเข้ามาอยู่กับครอบครัวใหญ่ หลังจากได้ร้างรากับภรรยาเก่าที่อยู่อีกจังหวัดหนึ่ง เนื่องจากมีปัญหากันและห่างไกลกันหลังจากพ่อต้องย้ายกลับมาทำมาหากินที่บ้านเกิด  พ่อกับภรรยาเก่านั้นได้สมรสกันตั้งแต่ตอนที่พ่อยังหนุ่มๆและเข้าไปทำงานในกรุงเทพฯ ก่อนจะมีปัญหากับครอบครัวนั้นรวมถึงปัญหาธุรกิจ ทำให้พ่อย้ายกลับมาทำธุรกิจที่บ้านเกิดแล้วเจอกับแม่และมีผมออกมา โดยเป็นที่รับรู้กันในหมู่ญาติพี่น้องข้างพ่อ และบ้านโน้นก็รู้ดีแต่ไม่ได้มีปัญหาอะไรในช่วงที่พ่อยังมีชีวิตอยู่ เพราะพ่อก็ยังส่งเงินไปช่วยเหลือทางครอบครัวนู้นอยู่เป็นประจำ

เมื่อพ่อของผมเสียชีวิตลง ทางภรรยาหลวงของพ่อได้มาบอกว่าจะไม่ให้ทรัพย์สินใดกับทางผมและแม่เลย นับเป็นการเอาเปรียบในสิทธิผมมาก เพราะพ่อและแม่ผม อยู่ด้วยกันตลอดในช่วงหลายปีหลัง ทำมาหากินร่วมกันมารวมถึงเงินที่ส่งไปให้ทางบ้านนู้นใช้และทรัพย์สินทั้งหลายที่หามาได้ในช่วงหลังก็เป็นน้ำพักน้ำแรงที่แม่ผมมีส่วนหามาด้วย   แต่ว่าพ่อผมไม่ได้ทำเรื่องหย่าขาดจากบ้านนั้นทำให้เขาอ้างว่าทรัพย์สินที่ได้มาเป็นของเขาแน่ๆ เนื่องจากยังมีทะเบียนสมรสกันจนวันสิ้นชีวิตของพ่อ   ทั้งที่ก่อนพ่อผมเสียได้มีการแบ่งมรดกทรัพย์สินกับทางผมมากกว่า  ทำให้เราคิดว่านี่อาจเป็นชนวนเหตุให้อีกฝ่ายไม่พอใจและทำเรื่องตั้งผู้จัดการมรดกขึ้นมาและบอกว่าผมไม่มีสิทธิรับมรดก เพราะพ่อผมไม่ได้เขียนพินัยกรรมไว้เป็นลายลักษณ์อักษร

                แม่ผมได้ปรึกษาทนายความและตกลงกับทางญาติข้างพ่อซึ่งรับรู้เรื่องราวต่างๆ ก่อนพ่อเสียโดยขอให้กลุ่มคนที่ได้ยินพ่อผมพูดมาช่วยให้การต่อศาลว่าผมมีสิทธิที่จะได้ทรัพย์สินของพ่อที่ได้บอกก่อนเสียชีวิต กระทั่งทนายความได้ดำเนินการจนสำเร็จและผมได้รับส่วนแบ่งมรดก และได้เสียเงินค่าว่าจ้างทนายที่คิดว่ามากเกินความจำเป็น แต่แม่ผมคิดว่าสมเหตุสมผล เนื่องจากดีกว่าไม่เหลืออะไรเลย

หลังจากนั้นแม่ผมได้ย้ายออกจากครอบครัวเดิม และแม่ก็ไม่มีสิทธิ์ในมรดกของตระกูลใหญ่ของพ่อ  เนื่องจากได้แต่งงานใหม่และใช้นามสกุลของคู่สมรสใหม่แล้ว   แต่เมื่อปู่ของผมเสียชีวิต แม่จึงได้เข้ามาเป็นตัวแทนผม เพื่อแบ่งมรดกกับลุงตามที่ปู่เคยบอกกล่าวไว้   เนื่องจากพ่อพาแม่และผมเข้ามาอยู่กับครอบครัวตั้งแต่ผมเด็กและปู่ก็ดูแลผมมาตั้งแต่ยังแบเบาะ เอ็นดูผมมาก เนื่องจากเป็นหลานเล็กคนเดียวที่อยู่กับปู่ในช่วงบั้นปลายชีวิต   หลังจากปู่เสียชีวิตแม่จึงเข้ามาเรียกร้องสิทธิให้ผมโดยให้เหตุผลว่าผมผู้เป็นหลานแท้ๆของปู่มีสิทธิ์ในมรดกดังกล่าว โดยปู่ได้บอกว่าบ้านและที่ดินที่อาศัยอยู่ในปัจจุบันจะยกให้กับผมผู้เป็นหลาน แต่ตอนนี้ตกเป็นของคุณลุงซึ่งเข้ามาอยู่อาศัยอยู่ โดยลุงได้กลายเป็นเป็นผู้จัดการมรดกไปแล้วหลังจากปู่เสีย เพราะได้ให้ทนายไปทำเรื่องตั้งผู้จัดการมรดกให้ตั้งแต่ปู่เสียชีวิตใหม่ๆ

หลังจากนั้นแม่ได้นัดเข้าพูดคุยกับคุณลุงเพื่อตกลงเรื่องการแบ่งมรดกให้เป็นไปตามความตั้งใจของคุณปู่   เมื่อพูดคุยเจรจาแล้วผลปรากฏว่าคุณลุงบอกจะโอนมรดกให้แก่ผม   แต่อ้างว่ากฎหมายจะให้คนรับมรดกก็ต่อเมื่ออายุครบ 20 ปีที่ถือว่าบรรลุนิติภาวะแล้วเท่านั้น แต่ขณะนั้นผมอายุ 18 ปี ยังไม่บรรลุนิติภาวะ จึงยังรับมรดกไม่ได้   ผมก็แม่ก็รู้สึกว่ามันแปลกมากที่ต้องรอให้บรรลุนิติภาวะก่อนจึงจะรับมรดกได้ เลยเข้ามาสอบถามว่าจะต้องรออย่างที่ลุงบอกหรือไม่ เพราะตอนที่พ่อเสียก่อนหน้านั้น ผมและแม่ก็ยังได้แบ่งมรดกได้เลย และทำอย่างไรจึงจะได้มรดกมาตามที่คุณปู่เคยกล่าวไว้”

เหตุการณ์ของน้องคนนี้มีสองช่วงแต่มีประเด็นปัญหาร่วมกันอยู่ คือ มิได้มีการทำสัญญาลายลักษณ์อักษรของเจ้ามรดก ทำให้มีความยุ่งยากในการวิเคราะห์ปัญหาและการแบ่งมรดกให้เป็นไปตามเจตนาของเจ้ามรดกก่อนเสียชีวิต ดังนั้นจึงวิเคราะห์ประเด็นผลบังคับของมรดกรวบไปในคราวเดียวกัน แต่ในประเด็นปลีกย่อยจะได้แยกวิเคราะห์ให้เข้าใจถึงรายละเอียดของแต่ละประเด็น

วิเคราะห์ปัญหา

1.             หากเจ้ามรดกไม่ได้ทำพินัยกรรมลายลักษณ์อักษรไว้ก่อนเสียชีวิต จะต้องแบ่งมรดกกันอย่างไร สามารถนำคำบอกกล่าวหรือการพูดปากเปล่ามาเป็นพินัยกรรมในการแบ่งมรดกได้หรือไม่

2.             ลูกนอกสมรสถือเป็นบุตรของบิดาหรือไม่ มีสิทธิได้รับมรดกของบิดาหรือไม่

3.             ลูกนอกสมรสถือเป็นหลานของปู่หรือไม่ มีสิทธิได้รับมรดกของปู่รึเปล่า

4.             การรับมรดกจะต้องมีอายุครบ 20 ปี เพื่อบรรลุภาวะก่อนจะรับมรดกได้หรือไม่

5.             การจัดการมรดกนั้นเป็นอำนาจของผู้จัดการมรดกหรือไม่ แล้วจะต้องจัดการอย่างไร

การนำกฎหมายมาแก้ไข

1.             หากเจ้ามรดกไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ก่อนเสียชีวิต จะต้องแบ่งมรดกกันตามกฎหมายซึ่งกำหนดสัดส่วนไว้   แต่ในกรณีทั้งสองสามารถนำคำบอกกล่าวหรือการพูดปากเปล่ามาเป็นพินัยกรรมปากเปล่าในการแบ่งทรัพย์สินได้ โดยมีการนำสืบพยานที่รับรู้การแสดงเจตนาของเจ้ามรดกได้

2.             ลูกนอกสมรสถือเป็นบุตรของบิดาได้จากการรับรองบุตรของบิดาไม่เกี่ยวกับการจดทะเบียนสมรส แม้ไม่เคยรับรองบุตรก็อาจใช้วิธีทางนิติวิทยาศาสตร์ได้  บุตรนอกสมรสมีสิทธิได้รับมรดกของพ่อ  และในกรณีนี้อาจอ้างพยานในพินัยกรรมปากเปล่าได้เพิ่มเติมอีกด้วย

3.             ลูกนอกสมรสถือเป็นหลานของปู่ได้จากการรับรองบุตรของบิดาไม่เกี่ยวกับการจดทะเบียนสมรส แม้ไม่เคยรับรองบุตรก็อาจใช้วิธีทางนิติวิทยาศาสตร์ได้ หลานมีสิทธิได้รับมรดกของปู่ และในกรณีนี้อาจอ้างพยานในพินัยกรรมปากเปล่าได้เพิ่มเติมอีกด้วย

4.             การรับมรดกสามารถทำได้ตั้งแต่มีสภาพบุคคล คือ ตั้งแต่เกิด ไม่ต้องรอให้บรรลุภาวะก่อนจะรับมรดก การรับสิทธิสามารถกระทำได้ทันที

5.             การจัดการมรดกนั้นเป็นอำนาจของผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาล แล้วผู้จัดการจะต้องจัดการมรดกตามพินัยกรรมอย่างเคร่งครัด เพราะหากฝ่าฝืนจะมีความผิดทางกฎหมายและเสียสิทธิในมรดกด้วย ส่วนการจ้างและตกลงว่าจ้างทนายเป็นเรื่องความสมัครใจแต่อยู่ในกรอบมารยาททนายความ

ช่องทางเรียกร้องสิทธิ

1.             โดยทั่วไปคดีมรดกสามารถตั้งทนายหรือติดต่อด้วยตัวเองในการฟ้องเรียกร้องสิทธิในศาลแพ่งฯ

2.             ปัจจุบันสำนักงานอัยการได้เข้ามารับดูแลคดีมรดก จึงอาจเข้าขอความช่วยเหลือในการจัดการจากสำนักงานอัยการประจำพื้นที่ของเจ้ามรดกได้

3.             หาไม่แล้วก็ติดต่อทนายความเพื่อจัดการกระบวนการทั้งหลายเพราะจะมีธุรกรรมต่างๆ ตามมาอีกจำนวนหนึ่ง เช่น การโอนอสังหาริมทรัพย์ที่สำนักงานที่ดินฯ เป็นต้น โดยค่าใช้จ่ายอยู่ที่ตกลงกัน

สรุปแนวทางแก้ไข

ส่วนแรกใช้หลักการแบ่งมรดกด้วยพินัยกรรมปากเปล่า การนำสืบพยาน และนิติกรรมสัญญากับทนาย   ซึ่งกรณีนี้เป็นพินัยกรรมปากเปล่าจึงสามารถนำญาติซึ่งไม่มีส่วนได้เสียกับมรดกส่วนของตนมานำสืบได้ เพื่อให้มีการแบ่งทรัพย์มรดกตามเจตจำนงของเจ้ามรดก   ส่วนเรื่องค่าทนายเป็นความสมัครใจระหว่างลูกความกับทนายตกลงกัน

ส่วนหลังใช้หลักการแบ่งมรดกด้วยพินัยกรรมปากเปล่า และการจัดการมรดกตามเจตนาของเจ้ามรดก และคุณสมบัติของผู้รับมรดก ซึ่งมรดกนี้ต้องแบ่งตามที่ปู่ผู้เป็นเจ้ามรดกแสดงเจตนาไว้ แม้ลุงจะเป็นผู้จัดการมรดกก็ต้องจัดการไปตามพินัยกรรม และต้องจัดการให้ทันทีเนื่องจากบุคคลสามารถรับมรดกได้ตั้งแต่เกิดไม่ต้องรออายุ หากไม่จัดการตามพินัยกรรมอาจฟ้องเพิกถอนลุงออกจากการเป็นผู้จัดการมรดก

 

 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
คำถามที่สำคัญในเศรษฐกิจการเมืองยุคดิจิทัล ก็คือ บทบาทหน้าที่ของภาครัฐรัฐท่ามกลางการเติบโตของตลาดดิจิทัลที่ภาคเอกชนเป็นผู้ผลักดันและก่อร่างสร้างระบบมาตั้งแต่ต้น  ซึ่งสร้างผลกระทบต่อชีวิตผู้คนในรัฐให้เกิดขึ้นอย่างกว้างขวางและลึกซึ้ง   อย่างไรก็ดีความเจริญก้าวหน้าของตลาดย่อมเกิดบนพื้น
ทศพล ทรรศนพรรณ
แนวทางในการส่งเสริมสิทธิคนทำงานในยุคดิจิทัลประกอบไปด้วย 2 แนวทางหลัก คือ1. การระงับข้อพิพาทที่เกิดขึ้นภายในความสัมพันธ์ระหว่าง แพลตฟอร์ม กับ คนทำงาน2. การพัฒนารัฐให้รองรับสิทธิคนทำงานอย่างถ้วนหน้า
ทศพล ทรรศนพรรณ
เนื่องจากการทำงานของคนในแพลตฟอร์มดิจิทัลในช่วงก่อนหน้าสถานการณ์วิกฤตโรคระบาดนั้นยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นทำให้ปริมาณคนที่เข้ามาทำงานมีไม่มากนัก และเป็นช่วงทำการตลาดของเหล่าแพลตฟอร์มต่าง ๆ ในการดึงคนเข้ามาร่วมงานกับแพลตฟอร์มตนยังผลให้สิทธิประโยชน์เกิดขึ้นมากมายเป็นที่พึงพอใจของผู้เข้าร่วมทำงานกับแพลตฟ
ทศพล ทรรศนพรรณ
รัฐชาติในโลกปัจจุบันไม่เปิดโอกาสให้บุคคลเคลื่อนย้ายถิ่นฐาน ที่อยู่ แหล่งทำมาหากินได้อย่างอิสระ เสรีมาตั้งแต่การสถาปนารัฐสมัยใหม่ขึ้นในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วโลก   เช่นเดียวกับประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อย่าง ไทย พม่า ลาว หรือกัมพูชา   ก็ล้วนเกิดพรมแดนระหว่างรัฐในลักษณะที
ทศพล ทรรศนพรรณ
นับตั้งแต่เกิดปรากฏการณ์ “สีเสื้อ”   สื่อกลายเป็นประเด็นสำคัญที่เป็นตัวสะท้อนภาพของคนและสังคมเพื่อขับเน้นประเด็นเคลื่อนไหวทางสังคมให้ปรากฏเป็นขบวนการทางการเมืองที่มีผู้คนเข้าร่วมอย่างมากมายมหาศาล และมีกิจกรรมทางการเมืองหลากหลายรูปแบบ   ดังนั้นอำนาจในการสื่อสารและการมีส่วนร่วมใ
ทศพล ทรรศนพรรณ
สังคมไทยเผชิญหน้ากับความเปลี่ยนแปลง แตกแยก และปะทะกันอย่างรุนแรงทั้งในด้านความคิด และกำลังประหัตประหารกัน ระหว่างการปะทะกันนั้นระบบรัฐ ระบบยุติธรรม ระบบคุณค่าเกียรติยศ และวัฒนธรรมถูกท้าทายอย่างหนัก จนสูญเสียอำนาจในการบริหารจัดการรัฐ   ในวันนี้ความตึงเครียดจากการเผชิญหน้าอาจเบาบางลง พร้อ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เศรษฐกิจและการเมืองยุคดิจิทัล ใช้ข้อมูลของประชาชนและผู้บริโภคเป็นพื้นฐานในการทำความเข้าใจตลาดการเมืองและเศรษฐกิจ อย่างไรก็ดีเจ้าของข้อมูลทั้งหลายได้รับประกันสิทธิในความเป็นส่วนตัวและข้อมูลส่วนบุคคลจะถูกนำไปใช้ตามอำเภอใจไม่ได้ เว้นแต่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่กฎหมายยอมรับ หรือได้รับความยินยอมจากเจ
ทศพล ทรรศนพรรณ
หากรัฐไทยต้องการสร้างกรอบทางกฎหมายเพื่อส่งเสริมให้เกิดการใช้ประโยชน์จากข้อมูลพันธุกรรมมนุษย์ในช่วงเวลาที่ยังไม่มีการประกาศใช้ พระราชบัญญัติจริยธรรมวิจัยในมนุษย์ มาบังคับกับการวิจัยในพันธุกรรมมนุษย์ ซึ่งถือเป็นข้อมูลส่วนบุคคลอ่อนไหวจำต้องมีมาตรการประกันสิทธิเจ้าของข้อมูลพันธุกรรมให้สอดคล้องกับมาตร
ทศพล ทรรศนพรรณ
กองทัพเป็นรากเหง้าที่สำคัญของความขัดแย้งเนื่องจากทหารเข้ามามีบทบาทแทรกแซงทางการเมืองมานาน โดยการข่มขู่ว่าจะใช้กำลัง การใช้อิทธิพลกดดันนโยบายของรัฐบาล กดดันเพื่อเปลี่ยนรัฐมนตรี และการยึดอำนาจโดยปฏิวัติรัฐประหาร ซึ่งทหารมักอ้างว่ารัฐบาลไม่มีเสถียรภาพ ระบบการเมืองไม่เป็นประชาธิปไตยเท่าที่ควรมีการฉ้อ
ทศพล ทรรศนพรรณ
 ปัญหาทางเศรษฐกิจที่มีขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมเรียกร้องมาตลอด คือ การผูกขาด ซึ่งมีรากเหง้ามาจากการแสวงหาค่าเช่าทางเศรษฐกิจของกลุ่มผลประโยชน์ที่ทรงอำนาจ แล้วนำไปสู่ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจอันเป็นปรากฏการณ์ทางสังคมที่ขบวนการความเป็นธรรมทางสังคมเสนอให้แก้ไข   บทความนี้จะพยายามแสดงให
ทศพล ทรรศนพรรณ
การแสดงออกไม่ว่าจะในสื่อเก่าหรือสื่อใหม่ย่อมมีขอบเขตการใช้สิทธิเสรีภาพเพื่อป้องกันการละเมิดสิทธิของผู้อื่น ดังนั้นรัฐจึงได้ขีดเส้นไว้ไม่ให้ประชาชนใช้สิทธิเสรีภาพจนไปถึงขั้นละเมิดสิทธิของผู้อื่นเอาไว้ในกรอบกฎหมายหลายฉบับ บทความนี้จะพาชาวเน็ตไปสำรวจเส้นพรมแดนที่มิอาจล่วงล้ำให้เห็นพอสังเขป
ทศพล ทรรศนพรรณ
การช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติที่อดอยากหิวโหยที่นั้นดำเนินการได้โดยตรงด้วยมาตรการความช่วยเหลือด้านอาหารโดยตรง (Food Aid) ซึ่งมีทั้งมาตรการระหว่างประเทศ และมาตรการภายใน   ในบทความนี้จะนำเสนอมาตรการและกรณีศึกษาที่ใช้ในการช่วยเหลือด้านอาหารในสถานการณ์ฉุกเฉินเหล่านั้น แต่ความแตกต่างจากการสงเ